Work From Home ในช่วง COVID - 19
จริงๆเท่าที่ได้ยินคร่าวๆ ในงาน CTC2020 นั้นมี session เกี่ยวกับ work from home และเนื่องด้วยไวรัสโควิท-19 ด้วย ทำให้หลายๆคนรวมทั้งเรานั้น ต้อง work from home ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ใหม่ที่ต้องปรับตัวกันในช่วงนี้
และแน่นอนว่า เพลงนี้ เป็นมีม เลยนะนั่น
ซึ่งในหลายๆที่นั้น เขาก็ work from home กันมาแล้ว อย่างเช่น Brand Inside ซึ่งเขาบอกว่าที่นี่ทำมา 3 ปีแล้วจ้า
จาก video ความยาวประมาณ 8 นาที เราสามารถสรุปได้ดังนี้
ส่วนเรื่อง course online ก็เห็นหลายๆเว็บแต่ไม่ได้เซฟเก็บได้ ตัวอย่างเช่น
Work From Home ฉบับชาวเดฟ
แล้วสำหรับชาวเดฟอย่างเราหล่ะ จริงๆในทีมเราก็น้องจากเชียงใหม่ ทำงาน Work From Home ด้วยเช่นกัน ดังนั้นน้องเขาจะคุ้นชินมากกว่าพวกเราอะเนอะ ที่สำคัญน้องเขาเป็นคนที่เปลี่ยน background ตอน video call บ่อยมากเลยนะ คงกลัวพี่ๆเบื่อกัน
ก่อนเราจะ work from home นั้น ทางหัวหน้าเราก็ได้บอกกติกามารยาท เพราะกว่าจะได้เจอหน้าอีกที น่าจะนานนะ กว่าโควิท-19 จะหมดโลกไป
- เวลาเริ่มงานและเลิกงาน: เข้างานได้ตามเวลาเดิมที่ตกลงกันไว้หรือตามสะดวก
- กำหนดเวลาพักเที่ยงร่วมกัน คือ บ่ายโมงถึงบ่ายสอง
- ที่บริษัทเราจะให้พนักงานลง Workplace (เอาไว้ประกาศข่าวสาร) และ Workchat (เอาไว้คุยงาน) ในมือถือกันอยู่แล้ว คราวนี้ให้ลงใน desktop ให้หมดทุกคนด้วย
- กำหนดเวลาที่ทุกคนสามารถ Video Conference และตอบงานได้ พร้อม support ทีม ซึ่งทีมเราคือ 10.30 - 17:00 (ก็คือเวลาเข้างานเลทสุด และ เวลาเลิกงานเร็วสุด)
- แน่นอนว่าการ Work From Home เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เพื่อนร่วมงานเราทำอะไรอยู่ ดังนั้นถ้ามีการคุยงานแยกกัน ให้แจ้งทีมให้สามารถ และเมื่อคุยเสร็จ ก็แจ้งทีมอีกครั้งหนึ่ง
- ส่งงานก่อนเลิกงาน(ให้ได้ทุกครั้งถ้าทำได้)
- ทีมเราทำงานกันแบบ Agile ดังนั้น เราจะมีการทำพิธีกรรมประจำวัน คือ stand-up meeting ซึ่งเราจะนัดกันตอนสิบโมงครึ่ง (แต่อาจจะเช้าได้กว่านี้อีกในอนาคต แต่คงไม่แปดโมงหรอก เพราะยังไม่ตื่นกัน)
- หัวหน้ายํ้าว่า Work From Home ให้ทำงานที่บ้านนะ แล้วก็ต้องระวังด้วยว่า เราทำงานที่บ้านไม่ใช่อยู่บ้าน ดังนั้นอย่าเพิ่ง support คนในครอบครัวในเวลางาน เช่น แม่เรียกให้ช่วยทำกับข้าว แม่เรียกให้ช่วยล้างจาน แม่เรียกให้ช่วยบลาๆๆๆๆๆ ประมาณนี้
และทีม developer นั้น เป็นทีมแรกที่บริษัทให้ Work From Home นะ เพราะอะไรหน่ะเหรอ?
- เพราะ เราเอางานขึ้นผ่าน Gitlab กันอยู่แล้ว สบายมาก เพียงเรามี Internet ก็ทำให้เราทำงานได้ทุกที่บนโลกหน่ะสิ ในที่นี้คือในบ้านเนอะ
- มีคอมพิวเตอร์(ของตัวเองหรือของบริษัท ไม่สิควรเรียกว่า macbook เลยแล้วกัน) ที่สามารถพกไปไหนก็ได้ แต่พกกลับไปทำงานที่บ้านเนอะในตอนนี้
- แล้วมี Google Drive ที่เก็บ document ต่างๆ
- แอบรวบตึง tools ที่ใช้หลักๆแถวนี้เนอะ มี Android Studio, Zeplin ไว้ทำ UI, Sourcetree ไว้ push code, Postman ไว้ยิง API ที่ได้จากหลังบ้าน
- ปกติทีมเราก็ Video Call กันบ่อยอยู่ จึงใช้ Meet กันหรือผ่าน Workchat แต่ตอนนี้อาจจะลองอันอื่นๆอีก
เรียกได้ว่า ไม่คุยกับชาวบ้านมากนักก็ทำงานได้สินะ .....
มีอันที่ในทีมลองกันในช่วงนี้เนื่องจาก Workchat ค่อนข้างกาก นั่นคือ Discord นั่นเองงงง เนื่องจากเจอโพสนี้ในเพจ blognone
ก็เลยลองสร้าง Discord ของทีมขึ้นมา มีแบ่งห้องต่างๆเหมือนใน Slack เลย แต่เหมือน Slack จะ call ไม่ได้นะ ในนั้นจะมีห้องต่างๆ ทั้งห้องงาน ห้องทั่วไป ห้องป้ายยา ห้องขอเพลง ซึ่งกลายเป็นว่า มีตี้ฟังเพลงในทีมจ้า
ซึ่ง admin ของกลุ่มสามารถนำบอทต่างๆเข้ามาได้ อย่างขอเพลงก็จะใช้ Groovy การใช้งานก็ไม่ยากเลยนะ เพียงแค่เข้าไปจอยห้อง DJ Time แล้วเพิ่มเพลงโดยใช้คำสั่งต่างๆได้ นอกจากบอทตัวนี้ยังมีตัวอื่นๆอีก เช่น บอทบอกว่ามีการ commit งานขึ้นไปใน Gitlab แล้วนะ บอทที่แจ้งเตือนเวลาต่างๆ เช่น ทำพิธีกรรมประจำวัน หรือเวลากินข้าว เนื่องจากพี่อีกคนทำงานเพลินกินตอนบ่ายสามจ้า
แต่อันนี้ ยังไม่ได้เตี้ยมนี่เนอะ ...
สิ่งที่ชาวเดฟต้องเตรียมใจ
- Office Syndrome เนื่องจากบางทีบางบ้านไม่ได้รองรับการทำงาน เช่นเรา เป็นต้น ฮืออออ
- Food Delivery แน่นอนเราประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ต้องมาเจอราคาของกินตามแอพนี่แหละ ซึ่งราคาต่อจานค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
- Pets บางบ้านมีน้องหมาน้องแมว น้องน่าจะแอบงงๆว่าทำไมเราอยู่บ้าน และอาจจะมีความเชื้อเชิญให้มาเล่นในเวลางานได้ 55555
- Online Meetup ตอนนี้เริ่มมาเรื่อยๆ เช่นของ Skooldio และของ RainMaker ทั้งสองเจ้ามีการสรุปกันไว้ด้วย เผื่ออ่านย้อนหลังงี้
- Second screen จอสำหรับทำงานจะเหลือแค่จอเดียวแล้ว เพราะอะไร เพราะจอคอมอีกอันอยู่ออฟฟิคไง ใครจะแบกกลับมา อาจจะทำให้ทำงานลำบากกว่าเดิมนิดหน่อย ทางแก้ในส่วนของเรา จะใช้ไอแพดมาเป็นจอที่สอง อาจจะเล็กหน่อยเนอะ
ตัวอย่างการใช้งานจ้า แอบเอามาใช้ตอนเรียนแชทบอทเนอะ ทดสอบก่อน แล้วมันก็สะดวกดีด้วยนะ feature นี้ชื่อว่า Sidecar
วิธีการใช้ แน่นอนว่า ต้องอุปกรณ์ใน Apple Ecosystem เสียก่อนนน ในที่นี้คือ macbook กับ iPad เนอะ จากนั้นเชื่อมต่อ Internet และเปิด Bluetooth ให้เรียบร้อย ระยะห่างคือไม่เกิน 10 เมตรนะ จากนั้นเราจะเห็นไอคอนไอแพดนอนที่ด้านบน คลิกไปดู มันสามารถเชื่อมต่อผ่าน AirPlay ซึ่งเข้าใจว่านอกจาก AppleTV แล้ว สามารถเชื่อมต่อผ่าน Smart TV ที่รองรับได้ด้วย แต่ยังไม่ได้ลองเนอะ ในที่นี้เลือกเชื่อมต่อกับ iPad จ้า
พอเชื่อมต่อเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้
กดเข้าไปดูสิว่าเจออะไร พบว่าเราสามารถเลือกได้ว่า จะให้เป็นจอ mirror หรือจอที่สอง ในที่นี้แน่นอนเลือกเป็นจอที่สอง สามารถแสดงซ่อนของต่างๆ อย่าง Sidebar, Touch Bar แล้วก็ Dock ด้วย
ซึ่งไอแพดก็คือจอที่สองหน่ะเนอะ สามารถ set ได้เหมือนจอที่ออฟฟิค จอปกติเลย สบายๆ
มาดูใกล้ๆกันหน่อยจ้า
ถ้าดูในไอแพดจะพบว่ามันคือแอพๆหนึ่งนั่นแหละ
จริงๆแล้ว Work from home เป็น Future Trend ของการทำงานในอนาคต ซึ่งเป็นคำโปรยของ session หนึ่งในงาน CTC2020 ชื่อว่า "Future Series Part 1: Future of Work" ซึ่งมี speaker 3 ท่าน คือ คุณธีรยา ธีรนาคนาท, คุณมาเรีย อันโทเน็ท อันซิโร, คุณศศิวิมล เสียงแจ้ว ก็เลยลองฟังดูว่าใน session นี้เขากล่าวอะไรถึง Work From Home กันบ้าง
- กล่าวถึง Open Talent Economic ที่คนหนึ่งคน สามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งงาน และสามารถทำงานได้มากกว่า 1 บริษัท ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เช่นแอพ Grab Skootar Fastwork ช่วยงานเราในระยะเวลาสั้นๆหรือทำงานแทนเรา
- ในอเมริกามี Independency Consulttance เป็นหนึ่งในแกนของ open talent ด้วย คนกลุ่มนี้ contribute ถึง 6% ของ GDP ในประเทศเลยทีเดียว และมีหลายหลากสายงานด้วย แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1) freelancer เช่น freelance ใน Fastwork จ้างมาทำงานในช่วงเวลาสั้นๆ
2) temp job เช่น independence consultant, programmer, สายงานสาขาที่ขาดแคลน
3) jobs in the sharing economy คนที่มีความเชี่ยวชาญที่เรานึกถึงได้เร็วๆ เช่น Grab, ช่างใน Fixzy, แม่บ้านใน Seekster, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
- Open Talent Economic เกี่ยวข้องกับทุก generation นะ อย่างคนที่เกษียณไปแล้วสามารถรับจ๊อบเป็น consultance ได้ด้วยนะ แบบเข้าออฟฟิคแค่วันสองวันต่อสัปดาห์ เราเคยเห็นเป็น case study มั้ง ของ Fastwork อยู่
- โลกมีความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเร็ว ดังนั้นรูปแบบการหางานจะไม่ใช่งานประจำเพัยงอย่างเดียว ยังมี platform อื่นๆด้วย และมีการคาดการณ์ว่าใน 7 ปีข้างหน้าคน Gen Z เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในการจ้างงาน ดังนั้น HR จะต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับเทรนด์ของคนกลุ่มนี้ด้วย
- น้อง Gen Z เป็นตัวของตัวเองสูง ชอบทำหลายๆอย่าง เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ทำหลายๆอย่าง แบบเรียนจบยังไม่ทำงานเลย จะไปท่องเที่ยวหรือค้นหาตัวเองก่อน ถ้าเจองานที่ชอบและมี passion ก็จะเป็นผลดีกับทางน้องและบริษัทด้วย
- แน่นอนว่างานสามารถทำได้หลาย location และบางครั้งก็ทำผ่านออนไลน์ด้วย ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นเพราะไม่ได้แข่งขันแค่ในระดับ local แต่เป็นระดับ global ด้วย ดังนั้นนายจ้างควรเพิ่มตัวเลือกในการทำงานได้ และคนทำงานก็ต้องปรับตัวในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อแข่งขันกับคนอื่นๆได้
- เนื่องจากบางทีการทำงานไม่ต้องเข้าออฟฟิค เราจะต้องมีวินัยในการพัฒนาตัวเองให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพราะโลกมันไปไว ควรอัพเดตสกิลอยู่เสมอ ซึ่งต้องปรับตัวกันหมดทุกคน และต้องการ work-life balance เช่นกัน ทำงานแบบ flexible และ freelance กันมากขึ้น เราต้องมี skill ที่ตอบโจทย์กับตลาดแรงงาน
- ข้อมูลที่เก็บมาจากนิสิตนักศึกษาจำนวน 7,000 คนผ่าน career assistment ค้นพบว่า มีแค่ 26% ที่อยากทำงานในออฟฟิค 5 วัน! แล้วคนที่ไม่อยากเข้า 5 วันหล่ะ จำนวนค่อนข้างเยอะมากๆๆเลยทีเดียว
ความมั่นคงลดความสำคัญลงไป ถึงจะยังสูงอยู่ แต่ Tengible Achivement มาแรงมาก และ Statability จะตํ่าหน่อย อันดับหนึ่งก็คือ Financial Wealth
ทุก Generation ก็สามารถอยู่ใน Open Talent Economy ได้เช่นกัน อย่าง Baby Boomer หรือคนที่เกษียรไปแล้ว สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ และ Open Talent Economy ถูก drive ด้วยข้อจำกัดในการหาคนทำงานเข้าบริษัทเช่นกัน เช่น programmer คนขาดเยอะมาก รอก็ไม่ทันกิน เลยต้องจ้าง part-time engineer เพื่อให้บริษัทไปต่อได้ เพราะทรัพยากรมีจำกัดนั่นเอง
- และตรงนี้เองที่พูดถึงการ Work From Home จ้า ซึ่งทางคุณธีรยาบอกถึงการเลือกคน และการปรับตัวของฝั่งผู้ประกอบการ อาจจะเป็นหัวหน้าก็ได้ ดังนี้
อย่างแรก เราต้องคัดเลือกคนให้ดี เพราะว่าการที่เขาไม่ต้องเข้าออฟฟิค 5 วันแล้ว จะต้องปล่อยให้เขาทำงานที่บ้านได้ ซึ่งก็ปล่อยให้น้องไป Work From Home ได้บ้าง และเราต้องเชื่อใจเขาก่อน ถ้าเราเลือกคนที่ต้องมองเขาตลอดเวลาว่าเขาทำงานไหม มันไม่ work ดังนั้นต้องเลือกคนที่เรามั่นใจว่ามีความรับผิดชอบเพียงพอ และทำงานให้เรา ส่งงานตามกำหนดได้
อย่างที่สอง เราต้องเปิดใจ เราจะเป็นครูฝ่ายปกครองไม่ได้ ต้องให้เขามีพื้นที่ส่วนตัว ในความ flexibility ในการทำงาน
อย่างที่สาม ให้เขาแสดงความคิดเห็น เพราะเขาต้องการมีตัวตน ถ้าเราจำกัดไม่ให้เขาได้แสดงความคิดเห็น หรือพยายามยัดเยียดให้เขาตลอดเวลา พอไม่เปิดโอกาสจะทำให้ทำงานกันได้ยากลำบาก และน้องอาจจะไม่อยู่แล้ว ลาออก และเราต้องโค้ชเขา ให้ gift แทนการสอนตั้งแต่ต้น ให้ guideline และเรียนรู้ไปด้วยกัน
- คุณมาเรียได้กล่าวเสริมว่า ในมุมของ Cooperate ในองค์กรใหญ่ๆ HR จะมีบทบาทที่หนักมาก มีการผสมผสาน เรียกว่า integrated work force ซึ่งจะมีคละกันของพนักงานประจำ พนักงานสัญญาจ้าง พนักงานฟรีแลนซ์ อาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเริ่มมาดู เป็น Ecosystem ของ talent และ HR ต้องรู้ว่า talent เหล่านี้มีจำนวนเท่าไหร่ business need ของเราเป็นอย่างไร จะเป็นไม่ประจำหมดไม่ได้ ต้องคุยกับผู้บริหารและ business line มี head count เท่าไหร่ มี contract ได้เท่าไหร่ และ HR รับบทหนักตรงนี้ในการ planning ว่ามีคนทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ 3 วันต่อสัปดาห์ คนที่ไม่เข้าออฟฟิค อยากจะ Work From Home และ full-time ต้องมีจำนวนเท่าไหร่ จะเป็นโจทย์ใหม่ที่ HR ยุคใหม่ต้อง focus
- นายจ้างควรเริ่มวางแพลนให้น้องๆได้ทำงานและมี policy ให้เขา จะทำให้การทำงาน smooth ขึ้น ถ้าต้องการเอาคนมาใช้ได้เลย ไม่มีเวลาปั้นใหม่ก็ใช้ Outsource เป็น specialist มาทำงานได้เลย การคุมคุณภาพและการทำงานให้ได้ต่อเนื่อง ต้องวางแพลนให้ดีด้วย
- น้องๆบางคนไม่ต้องรอปีสามแล้วไปฝึกงาน อาจจะไปฝึกกันก่อนได้ จากประสบการณ์ตรงของเราเอง ที่เจอน้องคณะ IT คือเขาไม่มีวิชาฝึกงานนะ มาสมัครฝึกงานเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน ซึ่งก็มีน้องหลายๆคนขยันสุดๆ ไปฝึกงานทุกปีที่ปิดเทอมก็มีจ้า
- การเรียนนั้น ปริญญาตรี 4 ปีอาจจะไม่ทันแล้ว เพราะโลกมันเปลี่ยนไว อาจจะมาแนว take course สั้นๆ ที่เราได้ยินมาคือมีของธรรมศาสตร์ที่มีวิชา core แล้วไปเลือกวิชาเรียนตามใจเอง ไม่จำกัดว่าต้องเป็นคณะไหนงี้
คิดว่าเนื้อหาน่าจะเยอะพอสมควรแล้ว ขอจบบล็อกเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันเนอะ คิดว่าช่วงนี้น่าจะมี content การเรียนรู้ใหม่ๆเยอะ เพราะมีคอร์สแจกฟรีเต็มไปหม๊ดเลยยย