สรุปงานและ session ที่เราเข้าไปฟังในงาน CTC2020

Event Jan 20, 2020

งาน CTC2020 มีชื่อเต็มว่า AP Thailand and SEAC Present Creative Talk Conference 2020 “Trends and Conversations of The New Decade” อย่างยาวเลย ฮ่าๆ โชคดีที่อ่านชื่องานตอนอัด podcast ไม่ผิด555

งาน Creative Talk Conference ครั้งแรกเราไปเมื่อปี 2018 จ้า ตามบล็อกนี้

มาเติมความรู้สร้างสรรค์ให้เท่าทันในยุคดิจิตอลในงาน CTC2018 - CREATIVE TALK CONFERENCE 2018
งาน CTC2018 - CREATIVE TALK CONFERENCE 2018 บอกเลยว่าน่าสนใจมากๆในแง่ของ speaker เห็นชื่อแต่ละคนนี่ร้องหู้วววว เด็ดๆทั้งนั้น และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านด้วยนะ โดยที่ไม่ต้องรู้ก่อนว่าคนนี้ พูดเรื่องอะไร บางท่านเราเองไม่เคยตัวจริงมาก่อนเลยด้วยนะ

ซึ่งเรื่องของอาหารการกินทางทีมงานเปลี่ยนปีจัดปีที่แล้ว คือ ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ พบว่าสามารถแก้ปัญหาเรื่องอาหารไปได้เยอะเลย เพราะตอนนั้นคือวิ่งไปห้างแถวนั้นไม่ทันแน่ๆจ้า ส่วนอื่นๆคิดว่าจำนวนอาสาสมัครในปีนี้เยอะพอที่จะช่วย flow งานออกมาดีได้อะเนอะ :D

สาเหตุที่ไปงานนี้ เพราะ เราเป็น podcaster มือใหม่มากกกกๆๆๆ ที่อยากลองไปสัมผัสประสบการณ์การอัดรายการแบบเครื่องไม้เครื่องมือเต็มที่ แล้วก็ช่วยทีมด้วยส่วนนึง ก็เลยลงชื่อตาม Google Form ของพี่เก่ง หัวเรือใหญ่ของงานนี้

รายละเอียดวัน meeting แอบเอาไปบ่นใน Facebook แล้ว คนเยอะมากๆเพราะว่าเขานัดอาสาสมัครช่วยงานด้วยนี่สิ คนเยอะ มีแต่คนไม่คุ้นหน้า ในการทำงานจะมีกรุ๊ปไลน์รวม แยกทีม ส่วนของ podcaster ก็จะมีอีกกลุ่มนึง และมีการจองห้องเพื่อทำรายการ podcast ด้วยหล่ะ ทางเรามีการขอรายชื่อ speaker เพิ่อทำ panel discussion เล็กๆ ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็คงเป็นการสรุปเนื้อหาใน session ที่เข้า ซึ่งรายการ Coding Universe ของเรา นอกจากจะพูดถึงการทำงานสาย Tech ก็จะมีเนื้อหาที่ไม่ใช่ Tech แต่เกี่ยวข้องด้วย

ในวันนี้มีหลายๆบริษัทออกบูธ ก็เข้าไปส่องบ้าง แล้วในงานมีโซนที่น่าสนใจ เช่น mentoring 1–1 กับ workshop ที่ต้องเข้าไปจองก่อนเนอะ แล้วก็โซนแลกหนังสือ

เราเอาเล่นที่ไม่ได้อ่านจริงๆมาแลก ได้เล่มนี้มา

เห็นปกแล้วเกือบลั่น เพราะนึกถึงสิ่งที่พี่ในทีมชอบบ่นอ่ะ

นํ้าในงาน เนื่องจากเขาเล็งเห็นว่าคนมาตั้ง 4000 คน การกินนํ้าที่มาจากขวดพลาสติกอาจจะเป็นการสร้างขยะที่ย่อยสลายยาก เลยทำมาเป็นกระป๋อง ที่ตัวมันสามารถรีไซเคิ้ลได้

พอถ่ายใน story เสร็จ เปิดกิน อ้าว ;___________; เลยเอานิ้วกระทุ้งไปนิดหน่อย ได้กินล้าววว เย้ๆ

และในงานมีตู้ Podcast ด้วย

ดังนั้นรายการ Podcast ของเราที่ชื่อว่า Coding Universe ก็มีการจัดการเพื่อสรุปเนื้อหาในช่วงเช้าแบบรีวิวนิดๆ ที่เราเอง ก็ไม่ได้มาเช้า ให้ฟังย้อนหลังกันด้วยจ้า ซึ่งเราอัดรายการตอนบ่ายสองโมงเลย ต้องขอบคุณออมที่มาเป็นแขกรับเชิญในเทปนี้ด้วย ได้เปิดโลกกันสุดๆ

แต่มีเหตุไม่คาดฝันคือตอนที่ทำ podcast กันอยู่ ใส่ลำโพงไม่ได้ยินเสียงไมค์ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ปรากฏว่ารายการตอนนี้ที่อัดไป 25 นาทีนั้น มีแต่เสียงซ่าๆ ไม่มีเสียงคนพูดเลย จากที่จะชมงานนี้หน่อยเลยเฟลมาก เพราะมันเป็นความผิดของเราหรอ ฮือออออ

เลยอยากจะอัดรายการใหม่แบบ Droid Dev Talk เพื่อรบกวน effort ที่มีอยู่ให้น้อยที่สุด เพราะจริงๆเขียนบล็อกแบบนี้ก็ใช้ effort เยอะพอสมควร เขียนเสร็จก็น่าจะนาน แต่บล็อกงานนี้ของเราไม่แน่ใจว่ายัง engagement ที่ได้มันจะคุ้มกับที่เราทำหรือเปล่า

ดังนั้นเราเลยสรุป session ที่เข้าไปฟังกัน มีแบบเข้าไปฟังคร่าวๆ กับเข้าไปฟังแบบเต็มๆ

Brand Purpose Marketing, Something are bigger than the Brands

— คุณปัญชรี สิทธิเสนี Country Head (Thailand) ที่ MediaDonuts และ Twitter Exclusive Partner TH,PH, คุณเลิศวสิษฐ เทียนทอง Creative Strategy Manager, MediaDonuts Thailand

อันนี้เข้ามาแบบไม่ได้ตั้งใจมาฟัง คือเข้าไปรอ session ที่อยากฟัง และคนล้นห้องด้วยนะ เลยยืนข้างหลังห้อง แต่บางอย่างพยายามพิมพ์ลงมือถือ เพราะมันน่าสนใจมาก แน่นอนว่าเรามางานนี้สาย มาก็เขาพูดไปครึ่งนึงแล้วอ่ะ

  • มีแบรนด์เสื้อผ้านึง นามว่า Patagonias ทำ ads ออกมาว่า อย่าซื้อเสื้อของเรานะ จริงๆแล้วแบรนด์เขาสื่อว่า ลดการซื้อของตัวเอง ให้ซื้อของที่จำเป็น และช่วยลดสิ่งแวดล้อมด้วย เย้ๆ (ซึ่งเราคิดว่าไม่ควรเอาของไม่ sprak joy เข้าบ้านเว้ย เดี๋ยวต้องจัดบ้านกันอีกก)
  • แคมเปญสร้างสรรค์สังคมของ Gillette ซึ่ง ads ที่ออกมาดีมากๆเลย
  • AXE ภาพจำของคนที่มีต่อแบรนด์นี้คือ ผู้ชายเนอะ ที่มีสาวๆรุมเยอะๆ เขาเลยเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่ support เรื่อง LGBT+

อันนี้แคมเปญในทวิตเตอร์

  • เรื่องขายนํ้ามะนาว ที่ดันมีกฎหมายแปลกๆของรัฐนั้น แบบขายเยอะระดับนึงแล้วต้องเสียภาษีอ่ะ จนเด็ก 5 ขวบที่ขายนํ้ามะนาวซวยโดนปรับ แบรนด์นํ้ามะนาว CountryTime เลยออกมาช่วย

How Social Listening Makes Your Customer Happy

— คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO at Wisesight

เพราะตั้งใจอยากฟัง session นี้ เพราะยังไง developer อยากเราก็ต้องรู้ feedback user อยู่แล้วป้ะ

อันนี้ขออภัยในความไม่โฟกัสของรูปค่า

ใน session นี้จะกล่าวถึงว่า เราจะช่วยให้ลูกค้ามีความสถขได้อย่างไร และเนื้อหาเกี่ยวกับ marketing โดยตรง

ความสุขส่วนใหญ่อยู่บนโต๊ะอาหาร แน่นอนว่าเราต้องกินข้าววันละ 3 ครั้งเนอะ และบางทีก็หายไปอย่างรวดเร็ว เช่น สั่งข้าวแล้วเจอสิ่งแปลกปลอมในอาหาร และในมุมมองร้านหล่ะ เขาจะจัดการหรือ handle ยังไงต่อ อาจจะเอาไปทำใหม่งี้

เมื่อก่อนลูกค้าจะด่าพนักงานด่าร้านตรงนั้นเลย แต่ตอนนี้บนใน social ช่องทางต่างๆจนเขียนกระทู้ขึ้นพันทิป

ซึ่งแบบประเมินร้านอาหาร มันว่างมาก (แน่หล่ะไม่มีคนกรอกอะไร) จึงไม่ค่อยได้ feedback และบางทีมันก็ถูกใช้ไปจดอย่างอื่น เช่น เบอร์โทร จดรายละเอียดตอนโทรศัพท์งี้ และทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า (เราเคยเขียน logic code ในนั้นเหมือนกันแต่เอากลับบ้านง่ะ แต่ทำแค่ครั้งเดียวเอง)

เมื่อลูกค้าไม่ happy ทาง marketing ก็ไม่ happy ด้วย เพราะนอกจากโดนลูกค้าด่าแล้ว หัวหน้า/เจ้านายก็มาด่าอีก ดังนั้น เราจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่าย happy

ใน session นี้มี case study จริงๆ ซึ่งเป็นของลูกค้าเขาทั้งหมดเลย และมีการ censor ไว้ด้วย ใครอยากเดา เดาผิดเดาถูกก็เดาไปนะ 555

ทำอย่างไรให้ happy หล่ะ? >> kano model

  1. Solve pain : แก้ pain ให้ดีขึ้น ไม่ให้ pain อีก และเราโดนด่าน้อยลง
  2. Serve joy : ลูกค้าอยากได้อะไร

ใน Kano model จะแบ่งของออกเป็น 2 อย่าง คือ

  1. ของที่คนคาดหวังตลอดเวลา เช่น ระบบสาธาณนูปโภค ต่างๆ เช่น นํ้า ไฟ รถไฟฟ้า แล้วก็ธนาคาร
  2. ลูกค้าไม่ได้คาดหวังมาก แต่ตอบโจทย์ความหวังของลูกค้า

Case Study ต่างๆ

  • ธนาคารล่ม : ตอนแรกทางธนาคารแจ้งว่า ระบบปิดเที่ยงคืนถึงตีห้า เจ็ดโมงเช้า user twit ด่าว่า ระบบยังล่มแยู่ ใช้ไม่ได้ ลามมาพันทิป ตอนเที่ยงเพจธนาคารแจ้งว่ายังไม่เสร็จ และโผล่มาอีกทีตอนเย็นๆเมื่อระบบเสร็จแล้ว ระหว่างนั้น user ด่าไปเรียบร้อยแล้ว ความโชคดีในความโชคร้าย ระบบล่มอีกรอบ และเพจธนาคารบอกว่าตอนนี้ระบบ call center ก็ล่มด้วย ไม่ค้องโทรไปนะ ไป inbox ผ่านเพจเอา แล้วเขาก็มีอัพเดตเรื่อยๆ เช่น ตอนนี้ยังล่มอยู่ แต่เอาบัตร ATM ธนาคารไปกดตู้อื่นได้นะ และมีการแจ้งอัพเดตความคืบหน้าว่าอะไรใช้ได้บ้าง user มีความหวังขึ้นมาจนสุดท้ายระบบที่พังก็แก้เสร็จ user ขอบคุณธนาคารด้วย สรุปทางแก้ในเคสนี้คือ สื่อสารให้เข้าใจปัญหาให้มากขึ้น
  • เวชสำอางค์ยี่ห้อหนึ่ง : เกิดจากชาวทวิตคนหนึ่ง ใช้ยี่ห้อนี้แล้วดี happy เลยลองทวิต และคน retweet เยอะมั้ง แบบคนสนใจเยอะ ทางแบรนด์เห็นช่องทางการโปรโมต เลยไปพ่วง boost post ให้เจ้าของทวิตนั้น แต่เจ้าของทวิตนั้นซวย เพราะคนคิดว่าเป็นหน้าม้าป่ะเนี่ย ใช่จริงหรือเปล่าเธอ มีคนออกมาแย้งชาวเน็ตให้เจ้าของทวิตนั้นว่าเขาใช้จริงๆนะ สุดท้ายแบรนด์เลยไป reply คนใช้จริงแล้วรีวิวให้ในทวิต ว่าทางแบรนด์ขอบคุณมากๆเลย ขออนุญาตใช้โปรโมตนะ คนดราม่าน้อยลง
  • รถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง : รถรุ่นนี้ออกเมื่อกลางปีที่แล้ว เป็นรถที่พัฒนามา 2 ปี เป็น SUV 7 ที่นั่ง คนบ่นใน social เยอะว่ากระจังหน้าไม่สวย นี่รถปี 2012 เปล่าเนี่ย มองแล้วนึกว่ารถกระบะติดหลังแครี่บอยอ่ะ สุดท้ายเลยปรับมุมมองให้ด้านหน้าดูสวยขึ้น ขายด้านหลังว่าเปิดท้ายได้ด้วยไฟฟ้านะ และปรับโปรโมชั่นให้ดีขึ้น
  • บาบิคิวพลาซ่า : โฆษณาบุฟเฟต์รีฟีล เอา insight จาก social มาทำโฆษณาจริงๆ เอ๊ะจริงหรือเปล่านะ? (แปะได้แต่ลิ้งมันไม่ยอม render video มาให้อ่ะ)
ตีแผ่เรื่องจริงของลูกค้ารีฟิล

กินร่างพัง สั่งร่างแหลก โปรฯ ร้านแตก รวมเรื่องจริงสุดคลั่งของแฟนรีฟีลไว้ในคลิปเดียว #กินดุหรอก้อนไหวนะ #ร่างกายต้องการรีฟีล #RefillFever

โพสต์โดย Bar B Q Plaza เมื่อ วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2019

สรุปจริงจ้า มีคนบอกว่าให้ไปโคกับยาลดกรด และยอมวิ่งเพื่อให้ย่อยได้มากขึ้น

  • ร้านสุกี้แบรนด์หนึ่งจริงๆใน session บอกแล้วแหละว่า MK (ตอนอัด podcast รอบที่พังเผลอพูดชื่อด้วย แต่มีเรื่องชานมที่เปิดเผยไง เลยเล่าต่อได้): มีคนอยากกินคนเดียว เลยมีที่นั่งกินคนเดียวที่สาขานึง ไปๆมาๆคนก็กลายเป็นขายตัวเองโสด เพราะที่นั่งมันค่อนข้างติดกัน

มีขายชานมไข่มุกที่โคกับชาไข่มุกเจ้านึง (ซึ่งเจ้านี้ก็หากินยากอยู่นะ555) มีแต่คนซื้อชานมไข่มุกที่ร้านสุกี้ เพราะมีแต่รูปถ่ายนอกร้าน ขนาดเพจนึงยังบอกเลยว่าเขาซื้อชาไข่มุกอย่างเดียว เลยหารูปคนที่กินในร้านว่ากินกับอะไร พบว่ากินกับเป็ดย่าง เลยออกโปรเดลิเวอรี่ออกมา

เคสทั้งหมดที่ฟังเกี่ยวกับ Design Thinking เช่นมีโปรออกมา ลูกค้า happy ไหม ซึ่ง Design Thinking จะมี session ของคุณต้อง เจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่ง อยู่ด้านล่างจ้า เพราะเราเข้าไปฟังด้วย

ถ้ามี feedback แย่ๆออกมา เราอย่าไปทำลายเสรีภาพในการพูดบน social และ empathize ลูกค้า / ให้กลับไป define objective

จบท้ายด้วยคลิปขอแต่งงาน เขารู้ว่าแฟนเขาชอบการ์ตูนดีสนีย์ ก็เลยสืบดูว่าชอบเรื่องไหน แล้วจ้างนักวาดการ์ตูนมาวาดหน้าเขากับแฟนเขา และเอามาใช้ขอแต่งงานจ้า

สรุป ทำยังไงให้ลูกค้า happy ถ้าเราตามเขาก้วนึง เขาจะคาดหวังกับเราเยอะ ในเชิงการจลาดแล้ว อะไรที่ทำไปแล้วคือเก่า และดูแลลูกค้าให้ดี

Empower your business with tech capabilities

— คุณวรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Shift Ventures

อีก session นึงเข้ามาเจอตอนจะจบ เพราะเราเข้ามาฟัง session ต่อจากนี้นี่แหละ ตอนเข้าไปพูดถึงร้านเฟรนชายซักรีดร้านหนึ่ง ซึ่งแถวบ้านเราก็มี ตอนแรกเกือบเจ๊ง เขาเลยเปลี่ยนกลยุทธ์ สุดท้ายเลยมี 200 สาขา

เขา monitor เครื่องทั้งหมดด้วยระบบ IT เจ้าของมีหน้าที่แค่มาเอาเงินตอนมันเต็ม

อันนี้สรุป

Put The Right Me to The Right Job

— คุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ Founder and Creator at ท้อฟฟี่ แบรดชอว์, คุณอภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director at QGEN (คุณบี), คุณอานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ Head of People ที่ Wongnai (คุณวุฒิ)

อันนี้ตั้งใจเข้ามา เพราะเห็นหัวข้อน่าสนใจ เพราะทุกคนก็ต้องทำงานเกี่ยวกับคนเนอะ แถม speaker น่าสนใจด้วย session นี้เป็น panel discussion ซึ่งเกี่ยวกับ หาตัวเราเองกับงานที่ใช่

และข่าวที่น่ายินดีสำหรับเรานั่นก็คือ รายการ podcast I hate my job จะมี season 2 ภายในปีนี้ เย้ๆๆๆๆ คือเราอยากให้มี season 2 ไวๆมากๆเลยอ่ะ รายการสนุก มีสาระ

ใน session จะมีคำถามให้เหล่าพี่ๆ speaker ได้ตอบกัน ซึ่งของใส่เป็นชื่อเล่นพี่ๆคนนั้นๆเป็นคนตอบ โดยการสรุปความ ไม่ได้ถอดคำพูดทั้งหมด

ในยุคนี้เราจะรู้ว่าอย่างไรว่างานที่เราทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ชอบ หรือเจองานที่ใช่

คุณบี :

  • เราสามารถเจองานที่ใช่จริงๆได้ ซึ่งเขาได้เล่าว่าจบเศรษฐศาสตร์มา แต่มาทำ HR ด้วยสภาพเศรษฐกิจสมัยนั้นที่มีงานอะไรก็ได้ไว้ก่อน
  • งานที่เราไม่ happy กับมัน มันคือ 20% ของทั้งหมด ดังนั้นลองวิเคราะห์ให้ดีก่อน ทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้น
  • พยายามรู้จักงานที่เรารู้จักให้ชัดเจนมากขึ้น คือเรารู้ในสิ่งที่จะทำแค่ไหน และรู้รายละเอียดของงาน

คุณวุฒิ :

  • จบวิศวกรรมไฟฟ้ามา ทำงานตรงสายพบว่าไม่ชอบ เลยเปลี่ยนมาเป็นโปรแกรมเมอร์ เป็น IT Support สื่อสารองค์กร ทำงาน Agency จนมาทำ People ของ Wongnai
  • ไม่หลอกตัวเองว่าชอบงานนี้ -> เราต้องทำงานให้ดี ทำงานให้เต็มที่ ค่อยๆหางานที่ใช่สำหรับเรา

รู้ได้อย่างไรว่าชอบงานเขียน และรู้ได้อย่างไรว่าคนอ่านหรือไม่อ่าน

คุณท้อฟฟี่ :

  • ชอบงานเขียนตั้งแต่เด็กๆ ขอบอ่านบทความที่พี่ๆชั้นที่โตกว่าเขียน และมี mission ว่าฉันต้องชนะประกวดเรียงความในวันแม่ให้ได้ เป็นสิ่งที่มำแล้วมีความสุข จึงมี passion ที่ดี
  • สิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์กับคนอื่นหรือเปล่า
  • ลองดูดีๆว่าสามารถทำให้ดีขึ้น และเปลี่ยนแปลงตัวเองและคนอื่นอย่างไรบ้าง เช่น เขียนแล้วคนอ่านได้ประโยชน์
  • รู้ได้อย่างไรว่าคนอ่านไหม คิดแค่ว่าอยากเขียน และค่อยๆพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จนมีคนมาถาม inbox ในเพจ ช่วย solve ปัญหาให้เขา ทำให้เรารู้สึก fullfill ไปด้วย (ตัดกลับมาทางเรา เราตอบเฉพาะ inbox เพจอย่างเดียวไม่ตอบ inbox ส่วนตัวถ้าไม่จำเป็นนะ)

ถ้าตั้งใจทำงานแล้วแต่รู้สึกทำงานผิดองค์กร จัดการอย่างไรให้มีความสุข

คุณบี :

  • มีคน inbox ในเพจเยอะในประเด็นนี้ ต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยู่ทำไม และมีทางเลือกเยอะขนาดไหน ดังนั้นเราจึงหา option ให้ตัวเองสมํ่าเสมอ อย่าเอาตัวเองไปอยู่ในจุดไม่มีที่ไป ดังนั้นเราจึงต้องเติมตัวเองอยู่ตลอด
  • มนุษย์เงินเดือนคือนักธุรกิจที่ขายเวลาและความสามารถ และเราต้องมีเป้าหมายเป็นของตัวเอง
  • self improvement ความเก่าหมดอายุได้ เพราะบาง skill ในอนาคตอาจจะไม่ต้องการ
  • เดินหน้าเข้าหาโอกาสอย่างสมํ่าเสมอ และอย่าใช้โอกาสเปลือง

อะไรเป็นสิ่งที่องค์กรมีแล้วชอบ และอยากอยู่ในองค์กรนั้น

คุณวุฒิ : วัฒนธรรมองค์กร ร่วมงานกันได้ดีและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

Self Improvement พบว่าตัวเองไม่ค่อยเก่ง เราจะจัดการอย่างไร

คุณท้อฟฟี่ : ต่อให้เรามีศักยภาพอยู่แล้ว ยังต้องเพิ่มอีก ถ้าหยุดอยู่เฉยๆก็ไม่เพียงพอ พยายามเรียนรู้จากคนเก่งในองค์กร หรือออกไปเรียนนอกองค์กร เช่น ลงคอร์สเรียน เราจะต้องเก่งขึ้น ทุกการเลือกผิดเป็นบทเรียนให้เรา ไม่มีงานไหนเป็น perfect fit ของเรา แล้วเราอยากทำงานแบบไหนหล่ะ? ดู Job Description แล้วเราสามารถเพิ่มอะไรได้บ้าง และอะไรเป็นต้นทุนที่เพิ่มพวกนี้ได้บ้าง

ทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่ได้ดีสักอย่าง เราจะจัดการภาวะมนุษย์เป็ดได้อย่างไร

คุณบี : ใน HR จะแบ่งพนักงานออกเป็น 2 ประเภท คือ general list กับ special list ซึ่งมี track ในการเติบโตที่ต่างกัน ซึ่งระดับหัวหน้าจะมีวิธีบริหารคนให้ทำงานแทนเขาได้ เราจึงไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องไหนเป็นพิเศษ ถ้าเราเลือก The Best ในบาง area และเรามีเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองคืออะไร ให้มองว่าตลาดต้องการอะไร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เรา

คุณวุฒิ : การเป็นเป็ดนั้นเป็นคุณต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของ start-up ไม่จำเป็นต้องเป็นเบอร์ 1 จงภูมิใจในการเป็นเป็ด และอย่าเครียดกับการเป็นเป็ด เราทำเต็มที่แล้วหรือยัง และสร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้แค่ไหน

คุณท้อฟฟี่ : จงภูมิใจในการเป็นเป็ด แต่ต้องเป็นเป็ดที่ Innovative ดังนั้นคนเราจะมี multi-skill มากมาย และมีความแตกต่าง สร้าง value ให้กับบริษัท ทุกประสบการณ์สามารถต่อยอดได้หมด จงเป็นเป็ดที่แตกต่างและโดดเด่น และพัฒนาตัวเอง

เป็นเป็ดในร่างนกฟินิกส์ (นกฟินิกส์เกิดจากเถ้าถ่านทุกครั้ง) ไม่ควรเสียใจในการเลือกผิด และได้บทเรียนอะไรบ้าง

ถ้งองค์กรอยากจะ Put The Right Me to The Right Job ได้สำเร็จ องค์กรต้องทำอย่างไรบ้าง?

คุณวุฒิ : ของ Wongnai จะมี Wongnai WeShare เป็นการเชิญคนนอกมาเปิด session ให้คนในบริษัทฟัง มีคำพูดจากคุณต่อ ฟีโนมีน่า ว่า “อยากได้ปลาซ่อนให้จับปลาซ่อน ไม่ใช่จับปลาแซลม่อนมาเป็นปลาซ่อน”

อันนี้แปะไว้พอดีค้นเจอค่ะ

ข้อคิดจากพี่ต่อ ฟีโนมีน่า
ถ้าลองนึกถึงชื่อโฆษณาไทยที่คุณโปรดปรานซัก 3 เรื่อง มีโอกาสสูงมากที่อย่างน้อยหนึ่งในนั้นจะเป็นฝีมือการกำกับของพี่ต่อ…anontawong.com

หลักๆจะมี 4 ข้อคือ impact, speed, grit (ทนทายาด), flexible (เปิดกว้าง)

ของ Wongnai จะมีเขียนบล็อกลง medium เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาสมัครงาน มีชุดคำถามเพื่อดูว่าคนนี้เหมาะไม่เหมาะกับองค์กร ถ้าไม่เหมาะอาจจะมีการเปลี่ยน role และเราต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้

Life@Wongnai
Life@Wongnai - Stories from our own people.

คุณบี : เทรนของ HR ในการเลือกคนคือ ใส่ในในการเลือกคนมากกว่าเดิม ถ้าองค์การอยากพัฒนา ต้องเลือกคนที่ใช่เลย การเปลี่ยนแปลงในองค์กรเร็วทำให้องค์กรอยากได้คนที่พร้อมใช้เลย ซึ่งการเลือกคนจะมาจากเป้าหมายขององค์การ มา decode อีกที

  1. character คนที่ทำให้ไปถึง goal ขององค์กร
  2. capability ความสามารถและ skill แบบไหน เราต้องมี skill มากขึ้นกว่าเดิม อะไรที่เราต้องไม่ learn หรือ learn ใหม่ (ซึ่งตอนอัด podcast รอบแรกออมพูดว่า re-skill ซึ่งเรามองว่ามันก็ใช่แหะ)
  3. culture องค์กร คือ พฤติกรรมที่คนในองค์กรทำกัน และส่งผลดีต่อองค์กร

และคนที่อยู่ในองค์กรหล่ะ? ต้องเป็นคนที่องค์กรต้องการ ดังนั้นเราจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับองค์กรด้วย

คุณท้อฟฟี่ : เมื่อก่อน องค์กรอยากให้พนักงานอยู่ไปนานๆ (ส่วนตัวเรามองว่าบางทียังเป็นอยู่) หรือไปทำงานในองค์กรที่มั่นคง ซึ่งจะมองเหมือนแต่งงานกัน แต่จริงๆควรมองบริษัทให้เหมือนแฟน อยู่ที่ว่าเราทำอะไรให้กันบ้าง เช่น การเติบโต ดูว่ายังใช่อยู่หรือเปล่า

พิจารณาว่า 1 ปี เราทำอะไรที่เป็น moment ให้องค์กร และองค์กรให้อะไรพนักงานบ้าง เป็นการเรียนรู้ที่ดีซึ่งกันและกัน มองงานให้เหมือนมองแฟน มองให้มันมีชีวิต

ไม่มีงานไหนที่ perfact เราสามารถ design งานให้ต่างจากเดิม ให้ดีขึ้นมาให้ได้ ให้ทำงานมากกว่างานที่เราได้รับ และ invest จากมันให้มากที่สุด

ฝากคนละ 1 ประโยค ปิดท้าย

คุณบี : ถ้าบริษัทไหนปรับให้คนลาออกโดยสมัครใจ จะมี 2 ประเภท คือ ออกเอง กับเกาะขาเก้าอี้ให้แน่น / เข้าใจตัวเอง อย่าอยู่ที่ passion ให้ดูที่ความรับผิดชอบของเราด้วย

คุณวุฒิ : ขอให้มีความกล้าหาญมากกว่านี้ เช่น กล้าทำงานให้ดีขึ้น กล้าบอกว่ามันไม่โอเค

คุณท้อฟฟี่ : อย่าให้งานมันมาเปลี่ยนเรา / จัดการแก้ไขปัญหาของตัวเองก่อน ตัวเราจะมีส่วนร่วมให้แก้ปัญหาให้ดีขึ้น

Heavyweight Opinion SME Must Prepare

— ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานสถาบันส่งเสริมและพัฒนา SME, กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด, คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com, คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ Founder and CEO at OOKBEE

อันนี้เราฝากเพื่อนถ่ายให้เพราะไปกินข้าวพอดี ขอบคุณคิมมา ณ ที่นี้ด้วย ถ่ายมาให้หลายรูปเลย แต่รูปนี้พอแล้วเนอะ แล้วเพื่อนบอกว่า ตอนถ่ายรูปพี่หมูมองกล้องด้วยอ่ะ ฮ่าๆ เขิลเลย

แถวบ้านเรียกว่าสร้างภาพว่ามาดูเจ้านายขึ้นเวที55555 คือเราเข้าไปอัดรายการในตู้ podcast ตอนบ่ายสอง ตอนบ่ายโมงเลยกินข้าวและทำธุระส่วนตัวนิดหน่อย ก่อนที่จะเข้ามาฟังจ้า แล้วออกก่อนเพราะต้องเตรียมใจในการพูดใน podcast ตัวเอง ฮือออออหนูขอโทษ อันนี้จดมาแบบคร่าวๆจริงๆนะ เพราะเข้ามาก็ครึ่งหลังแล้วหล่ะ

อันนี้คือเรื่องจริงๆที่ถ่ายเอง
  • หาเทรนว่าคนสนใจเรื่องอะไร หรือชุมชนขายอะไรได้ ใช้เทคโนโลยีให้เป็น นอกจากปัจจัย 4 แล้ว ยังมีความบันเทิง (เอ๊ะเราทำแอพบันเทิงตลอดเลยนี่นา) และการเดินทางแบบประหยัดเวลา สามารถดูได้ใน Google Trend นะ
  • เขาบอกว่าการบริหาร SME เดี๋ยวนี้ คือ SME + start-up
  • เดี๋ยวนี้เปิดร้านอย่างเดียวไม่ได้เน้อ ต้องมีช่องทางออนไลน์ด้วยนะจ๊ะ

สิ่งที่คนขายออนไลน์ต้องทำ

  1. สร้างแบรนด์ : คนให้ value กับแบรนด์มากกว่าราคาสินค้า
  2. หัดใช้ระบบ online ต่างๆ ทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น
  3. เพิ่มช่องทางการขายให้มากขึ้น เช่น มี social network แล้วก็ต้องมีบน marketplace ด้วย
  4. ขายของไปยังต่างประเทศได้แล้ว เช่น ขายลง ebay
  5. สร้างทีมที่เข้าใจเรื่อง online : อย่าลงมือทำเองทุกอย่าง เพราะเราไม่ได้ถนัดทุกอย่าง หาคนที่มีความถนัดมาช่วยทำ และใส่เป้าและ target ให้เขา
  6. คุณต้องเข้าใจธุรกิจ online ด้วยเช่นกัน
อันนี้พี่หมูแกบอกประมาณว่าจะเตรียมวิ่งหล่ะ555

ธุรกิจ start-up/online มีอะไรต้องรับมือ

  1. เอาเวลาที่มีมาลงทุนในบริษัทเราเอง ให้บริษัทเติบโตได้ดี และมีพนักงานที่เก่ง
  2. ใช้ไปแล้วประหยัดเวลา ทำให้เรามีเวลามากขึ้น
  3. จัด category ในการใช้เทคโนโลยี -> ระดับหัวใจของบริษัท เช่น server ล่ม บริษัทเจ๊งหมด และอาจจะมีจุดที่ปรับปรุงได้อีก
  4. ถ้า start-up ทำไปเรื่อยๆแล้วเงินหมด : พี่หมูบอกว่าขึ้นกับการ define ของแต่ละคน ซึ่งคำว่าเจ๊งในมุมมองพี่หมูคือ เจ้าของเลิกทำจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องเงินหมด ก็ยังสามารถหาวิธีให้ได้เงินมาเพิ่มได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งถอดใจ

Future Series Part 3: Future of Skill

— ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist ที่ Facebook HQ และ Co-Founder จาก Skooldio

อันนี้ตั้งใจมาฟังค่ะ เผื่อเล่าใน podcast ถ้าในเคสที่จะพูดทั้งวันที่ไปฟังแล้วเข้ากับรายการของเราที่เราเองจะยุบแหล่ไม่แหล่หล่ะ แต่จริงๆปีที่แล้วก็ไม่ได้เข้างานที่มี session พี่ต้านี่นา แหะๆ

จริงๆสายงาน Data Science ถูกเป็นที่ต้องการในปี 2012 พี่ต้าเลย take course เรียนมาให้พร้อมกับตรงนี้

ในยุคสมัยนี้การจบปริญญาตรีนั้น ไม่ได้ช่วยให้เราได้งาน และมี skill gap ที่กว้างขึ้น ดังนั้นเราจึงอย่าหยุดที่จะเรียนรู้ เลยมี Skooldio ขึ้นมา

เมื่อก่อน product นึงนั้น กว่าจะ reach ไปถึงผู้ใช้นั้นยากเหลือเกินกว่าที่จะดังได้ แต่ในยุคนี้ Pokemon Go นั้น มีคนเล่น 50 ล้าน user ในเวลา 19 วัน! ถ้าเราทำของออกมาดีพอ คนทั้งโลกก็ใช้ของเรานะ

Technology เติบโตแบบกราฟ expo ส่วน Business จะเติบโตแบบกราฟ linear ไปช้าๆ ทำให้ gap มันเยอะขึ้นเรื่อยๆ

Lifelong Learning อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ และอาชีพเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ใครๆก็ต้องเรียน เช่น Marketing จากที่เราเคยเรียน 4P product price place promotion ก็ต้องเปลี่ยนมาทาง SEO หรือการตลาดออนไลน์, Developer อาจจะเป็น Technology Stack ต่างๆ และเราต้องเข้าใจธุรกิจและเทคโนโลยี ซึ่ง skill หลักๆในอนาคต มีดังนี้

  1. Software Development เช่น mobile developer, คนทำ chatbot
  2. Digital Business ทำ online เช่น พวก subscription freemium
  3. UX Design : หรือเรียกว่า customer experience design เข้าใจว่าลูกค้าอยากได้อะไร ทำให้ตอบโจทย์มากที่สุด
  4. Data Analytics : อันนี้เป็นการนำ data ที่ได้จากการ analytics ว่าดีไม่ดี ปรับปรุงอย่างไร
  5. ML/AI : ทำให้คอมฉลาดและทำงานแทนเราได้

Tech Trend

Bits over Atom

เข้ากับ Digital Transformation เลย

  • Software ต้องหาเงินได้ นำไปสู่ platform และ new interface ทำให้เติบโตได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งแต่ละ website ก็เป็น platform ทั้งนั้น และความสำคัญของมันคือ สามารถ scale ได้ เริ่มต้นได้เร็วเพียง launch app และช่วยทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้มากกว่า เอา product เข้าตลาดได้เร็วขึ้น เช่น Tesla อัพ firmware version ใหม่ และ data สำคัญ เมื่อเรารู้ว่า user อยากได้อะไร ปรับให้ตอบโจทย์ ได้ profit margin มากกว่า ทำให้ได้กำไร และนำไปสู่การเป็นบริษัทอันดับต้นๆของโลก
  • Platform ที่มีตลาดหรือสถานที่มากกว่า 1 กลุ่ม แบบ producer & customers เช่น เราโพสงานนี้ลงเพจเป็น producer ส่วนคนมาเจอโพสเราในเพจ หรือคนมาไถ feed ก็จะเป็น customers ซึ่ง platform ที่ดีต้องเอื้อซึ่งกันและกัน ทำให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้เกิด sharing economy และ network effect ให้คนมาซื้อ/ขายของกับเราเยอะๆ
  • แต่ ecosystem เกิดยากสุด เช่น WeChat นอกจากจะเป็นแอพแชทแล้ว ยังมีบริการอื่นๆอยู่ในแอพ (ซึ่งเราน่าจะคุ้นกันดี กับแอพสีเขียวที่มีคนใช้ 44 ล้านคนในไทย)
  • New Interface
    conversation UI สนทนาด้วยการพิมพ์/เสียง ทำให้มีท่าการ engage ลูกค้าแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น SCB Connect สะดวกกว่า sms และเปิดแอพในมือถือ

AR/VR เช่น Google Maps อย่างแยกชิบูย่าเราก็สามารถไปรูปปั้นหมาได้ถูกทาง หรือ ikea ที่มี AR วางเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเราก่อนจะไปซื้อว่าเหมาะกับบ้านเราไหม ซึ่งเราต้องหา use case ที่ work ได้

IoTs เติบโตเยอะขึ้น เปิด bluetooth sync data เข้าแอพ เช่น Thermostats ควบคุมอุณหภูมิในบ้าน Nest ช่วยประหยัดไฟจากการเรียนรู้จาก behavior ของ user Michelin เอา sersor มาจับยาง ว่ายางรถยนต์เสื่อมหรือยัง พัฒนาไปจนประหยัดค่านํ้ามัน และขาย service เช่นช่วยเปลี่ยนยาง

Skill ที่ต้องมี

  • Software Development เพราะต้องทำ product ขึ้นมา
  • Digital Business เอา software มาแก้ปัญหา user ได้อย่างไร
  • UX Design อันนี้สำคัญ เพราะ user จะเลือกแอพที่ตัวเองใช้ง่ายๆ

Experience over Product

digital product copy กันได้ง่าย แต่ UX ลอกกันยาก

สร้าง customer journey : 5A แต่ละ product มีต่างกัน หลายๆแบรนด์ที่สร้างได้ชัดเจน เมื่อ customer เห็น product นึง (aware) แล้วสนใจ (appeal) เลยไปตามอ่านรีวิวต่างๆ (ask) แล้วก็ไปซื้อ (act) ใช้แล้วชอบประทับใจก็บอกต่อเพื่อน (advocate) และเขาบอกต่ออย่างไรหล่ะ (อาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้แบบ session ด้านบนๆ) เราควรนำมาปรับเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น เช่น spotify, airbnb

    3 อย่างที่ควรกลับไปทำ

    1) Improve ทำอย่างไรให้ friction หายไป เช่น Amazon ส่งเร็ว ส่งง่าย ส่งสะดวก ให้ลูกค้าได้ของได้เร็วที่สุด เลยมีส่งผ่านโดรน หรือส่งด่วนใน 30 นาที และ Amazon คิดอะไรได้ จด patent เลยจ้า เช่น ส่งทางอากาศ แบบมีลำแม่แล้วกระจายลำลูกส่งของ หรือส่งของใต้นํ้า พอถึงเวลาก็รับของโดนวิ่งไปตามพัดลมด้านใน

    หรือ Warby Parker ร้านขายแว่น ซึ่งในไทยมี model นี้เหมือนกัน มีแว่นส่งให้ลอง ซึ่งคนใส่แว่นจะลองทีเป็นสิบๆอัน แต่เหมือนเขาส่งให้ลอง 5 อันเอง ตอนหลังมี AR ช่วงเราลองแว่นแบบต่างๆภายในร้าน โดยไม่ต้องไปลองที่ร้านเอง

    2) Rewire มี user journey ที่ซํ้าซ้อนกว่าเดิม เช่น มีคนไปซุปเปอร์ แล้วเปิดแอพ Amazon scan search ของในห้าง แล้วก็ซื้อผ่านในแอพ ทำให้ซุปเปอร์ไม่ถูกใจสิ่งนี้ (เพราะฉันไม่ได้ขายยังไงเล่า เจ้าแอมะซอน), Tesco ที่เกาหลีซื้อบิลบอร์ดที่รถไฟฟ้าใต้ดิน แล้วให้คนส่อง แล้วสั่งซื้อของได้เลย

    ดังนั้นเราต้อง rewire ให้ได้โดยการ retargeting ด้วยของที่เขาน่าจะอยากได้

    3) Extend เช่น ebay มี tool ช่วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ว่าสินค้านี้ ควรใส่กล่องขนาดไหน และราคาเท่าไหร่ หรือ airbnb ที่เดี๋ยวนี้มี airbnb trip ทำทริปพาเที่ยวด้วย เพราะเขาคิดต่อว่ามาเช่าบ้านแล้วไปทำอะไรต่อ เช่น ไปเที่ยวไหนดี

    Skill ที่ต้องมี

    • UX Design
    • Data Analytics ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล

    Data over HIPPO

    HIPPO = HIghest Paid Persion’s Opinion ความหมายคือคนที่ได้ตำแหน่งใหญ่ที่สุดและมีเงินเดือนมากที่สุด ใน context นั้นๆ

    ต้องรู้ว่าปัญหามาจากจุดไหน เช่น ติด analytics ที่ website ของเราใน url ต่างๆที่เราเคยเห็นหลัง ? มีอะไรเยอะแยะเลย จริงๆมันช่วย tracking ว่าเจอจากไหน พี่ต้าบอกว่าเราสามารถเอา ? ออกไปเปิดเองได้นะ (อันนี้เข้าใจว่าเผื่อคนที่ไม่ใช่ IT แล้วงงๆว่าทำไมลิ้งยาวจัง ตัดตรงไหนดีนะ ตัดใจจากเธออาจจะง่ายกว่า เดี๊ยวๆ)

    และบางเว็บมีการ log ด้วย heap map เช่น ก่อน user กดซื้อทำอะไรบ้าง (แน่นอนว่าส่วนใหญ่ติดกันเป็นเรื่องปกติอ่ะ)

    เก็บ data แล้ว made decision ได้ เช่น operationalize data

    มีการทำ A/B Testing เช่น Skooldio เปิดหลักสูตร Digital Leadership Bootcamp ซึ่งจะมี ads อยู่ 5 แบบ โดยจัดหมวดหมู่ตามวิทยากร ซึ่งเราเดากันไม่ออกว่าอันไหนคนกดคลิกไปดูมากสุด ซึ่งอันที่คนกดเข้ามากสุด คืออันที่มีรูปคุณเคน นครินทร์

    บรรยากาศในที่ประชุม ในเมื่อเรามี data ในมือ แต่ฮิปโปจะเอาตามใจหล่ะ?

    Skill ที่ต้องมี

    • Data Analytics
    • Digital Business

    Machine over Human

    ใช้ computer เรียนรู้ข้อมูลในระบบของเรา ให้ทำ automation เช่น health care ภาพถ่ายม่านตา, อันที่เป็น personalization เก็บ data ให้เสร็จ

    Skill ที่ต้องมี

    • ML/AI
    • Digital Business
    • UX Design
    • Software Development

    Speed over Efficacy

    เนื่องจากเวลาไม่พอ เลยมีของทิ้งท้าย ดังนี้

    Design Thinking

    — คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เจ้าของเพจ “แปดบรรทัดครึ่ง” และ Head of SCB10X, Siam Commercial Bank

    อันนี้ตั้งใจมาฟัง ในเวลานั้นมี session อื่นๆที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวกับ product ที่ทีมทำ แต่เรามองว่าโอกาสที่เจอคุณต้องมันไม่ได้บ่อย เลยมาฟัง session นี้ที่อยากฟัง เพราะสนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว และติดตามเพจและ podcast ของแปดบันทัดครึ่งอยู่จ้า

    ซึ่ง คน มา เยอะ มาก!

    เยอะจนเราต้องไปนั่งพื้นแถวหน้าเวทีเลยทีเดียว แถม MC ของงานบอกด้วยว่า ในห้องนี้ session นี้คนมาฟังเยอะที่สุดหล่ะจ้า

    ใน session นี้คุณต้องบอกว่า เป็นการอธิบายเรื่องความเข้าใจผิดใน design thinking ในเมืองไทย

    Design Thinking ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีคนใช้มานานแล้ว (แน่นอนว่าใน context นี้คือไม่ใช่บ้านเราแน่นอน) ซึ่งเริ่มมา boom ในปี 2015 เพราะเรื่องนี้ถูกขึ้นปกของ Harvard Business Review ซึ่งผู้บริหารบางคนจะตื่นเต้นกับหนังสือนี้เสมอ

    ซึ่ง Design Thinking มี 5 อันนี้เสมอ ซึ่งบางคนจะเจอแบบเป็น loop, diamond ไม่มีถูกผิด เพราะเป็น framework ให้เราเลือกใช้เอา

    แน่นอนว่า คนถ่ายรูปสไลด์นี้เยอะ เขาก็เลยเล่าที่สอนน้องๆวิศวะจุฬา ว่าน้องๆที่ดูหลับๆอยู่ พอเจอสไลด์นี้แล้วตื่นมาถ่าย เพราะอะไรกันนะ? เพราะว่ามันเป็น process และจับต้องได้

    สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking ข้อแรก : Design Thinking ไม่ใช่กระบวนการ แต่เป็น ทักษะ

    ทักษะ คือ สิ่งที่เราต้องทำ เช่น ขี่จักรยาน เด็กๆเรียนทักษะใหม่ๆ ไม่กลัวที่จะเรียนรู้ ไม่กลัวที่จะล้มเหลว ซึ่งต้องฝึกไปเรื่อยๆจนมันเป็นเอง อย่างคนเมาขับรถกลับบ้านได้เอง คือ บางคนเมาหนักมากๆ แล้วตื่นมางงว่าถึงบ้านได้ไงกันนะ

    หน้าเว็บของ Stanford d.school บอกไว้ว่า นวัตกร ไม่ใช่นวัตกรรม คนหรือนวัตกรเป็นเหตุ ส่วนนวัตกรรมเป็นผล คนเป็นคนสร้างสรรค์นวัตกรรม บางคนเรียนหลายอย่าง แต่ไม่ได้ดีสักอย่าง บอกว่าอันโน้นไม่ work อันนี้ไม่ work เพราะคนมันไม่ work เอง คนๆนั้นมีทัศนคติบางอย่างที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่ง Design Thinking เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน

    empathy + define = … finding the right problem to solve : feel what other feel ลองเป็นลูกค้าดูไหมหล่ะ ถึงเราจะทำเหมือนกัน แต่เราไม่ต้องรู้สึกเหมือนกันก็ได้ ซึ่งในเชิงทฤษฎีเราไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นคนละคนกัน โลกไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเห็น แต่ต้องคิดว่าทำไมเขาคิดแบบนั้น และทำความเข้าใจว่ามีอยู่จริงๆ

    empathy : observe ดูว่าเขารู้สึกอย่างไร, immerse ลองใช้บริการของตัวเองดู ซึ่งไม่ต้องไปบอกใครว่าเราจะมา เพื่อให้เจอแบบลูกค้าเจอจริงๆ, interview คนชอบทำเพราะว่าง่ายสุด

    เช่น เขาต้องการม้าที่เร็วกว่านี้ อาจจะคิดได้ว่า ให้ม้ามีลูกเยอะ ให้ม้าผอมลง หรืออะไรต่างๆนานา ซึ่ง user pain จริงๆคือการเดินจาก ทาง A ไป B เขาไม่รู้ด้วยซํ้าว่าเขาอยากได้รถ เขาแค่อยากเดินทางได้เร็วขึ้น ก็เลยมีรถยนต์ออกมา solve ปัญหานี้

    https://twitter.com/viget/status/585183453525729282

    หรือ Nokia เอาสิ่งที่ user อยากได้มาทำ เช่น อยากได้จอสี อยากได้เกมส์งูใหม่ แต่จริงๆเขาอยากได้ solution ดังนั้น เราถามหา pain point หรือปัญหาของเขา ถ้าเราถามคำถามให้เป็น

    เด็กๆชอบถามว่า “ทำไม?” ซึ่งลูกเขาก็ถามคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไมบ่อย ซึ่งเราควรเริ่มต้นถามคำตอบให้เป็นนิสัย เช่น ไปสัมภาษณ์คนเกาะนี้มาสิ เขาอยากได้อะไรกันนะ ไปเจอชายคนนึง เขาบอกว่าอยากได้สะพาน พอรู้ปั้ปบริษัทสะพานยิ้มเลย จะได้ขายสะพานแล้ว เอ้อออถ้าเราถามต่อว่า แล้วทำไมเขาอยากได้สะพานอ่ะ? อ๋อ ผมอยากข้ามไปฝั่งโน้นครับ แล้วจะข้ามสะพานไปยังไงหล่ะ? ก็จะมีให้แต่ละคนช่วยกันตอบ จะมีเรือ แพ ฮอล ต่างๆนานา แต่ไม่มีใครตอบสะพานเลย ทั้งๆที่ไปฝั่งโน้นได้เหมือนกัน จะพบได้ว่ามันมีหลายๆ solution มากที่สามารถ solve problem ได้ อาจจะมีถามเพิ่มว่าทำไมพี่อยากไปฝั่งโน้นอ่ะ? อ๋อ แฟนพี่อยู่ฝั่งโน้นอ่ะ อันนี้เราจะ solve ให้เขายังไงดีหล่ะ แฮ่มมผมมี app dating ให้พี่ลองลงนะ พี่เปลี่ยนแฟนโดยการหาในแอพนี้ได้นะ เฮ้ยยพี่เป็นคนดีไม่นอกใจแฟนหรอก หน่าๆไม่เป็นไรพี่ โหลดแอพนี้ให้ผมหน่อยนะ มีติดเครื่องไม่เป็นไรหรอกหน่าาา เอาจริงๆเป็นวิธีที่อาจจะดูชั่วไปนิดนึงอะเนอะ (อันนี้เป็นเนื้อหาใน session จริงๆแต่ปรับคำพูดนิดหน่อยให้มันดู flow ขึ้น 555)

    ดังนั้น leader ต้อง frame คำถามให้เป็น

    ตอนเขียนบล็อกไปฟัง podcast ไปด้วย เผอิญฟังอันนี้แล้วเข้ากับ session นี้พอดี เลยอยากให้ลองฟังกัน ในวิธีการ reframe คำถามตาม context ต่างๆ

    เวลาส่วนใหญ่ของบางคน คือ ประชุม ประชุม และประชุม คุยกันเอง ไม่ได้ออกไปหาลูกค้า

    สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking ข้อสอง : หยุดประชุมแล้วออกไปดูลูกค้าซะ

    ideate = idea + create generate ideas to solve problem เช่น อยากทำ podcast ถ้ารอให้มัน success อาจจะช้าไปแล้ว เพราะตอนนี้มีเป็นพันๆ podcast เนื่องจากช่วงนี้กำลังบูม (เคยฟังอยู่ว่าวงการ podcast มีแต่คนทำ ไม่ค่อยมีคนฟัง 555)

    sweet spot = good ideas + seems like a bad idea ใน idea บางอย่างเหมือนจะไม่ดี ของใหม่อยู่ในมือเรา แต่มักจะไม่ทำ เพราะดูเป็นไปไม่ได้

    ในการประชุม บางทีจะมี HIPPO อยู่ด้วย (คำนิยายอยู่ใน session ที่แล้วเน้อ) คนจะเงียบๆ HIPPO บอกว่า brainstorm สิ คนจะเงียบๆ พอเงีบสักพักจะเริ่มส่งสัญญาณไปรอบข้างว่า แกๆพูดสิๆ ทำไมถึงไม่ได้ผลหล่ะ? เพราะเราไม่เข้าใจมนุษย์ เราสั่งให้ creative ไม่ได้

    ถ้า HIPPO ได้เรียน Design Thinking มา จะพก post-it มาด้วย 5555555

    แน่นอน HIPPO คิดว่าพยายามทำทุกทางแล้ว แต่ทำไมน้องๆไม่พูดกันเลยอ่ะ

    แน่นอนว่าบรรยากาศที่แสนอึดอัดและมีฮิปโปอยู่ด้วย มันไม่เอื้ออำนวยให้การคิดอะไรออกมา ที่ Google เขาจะมีมุมขนม เพื่อให้ทุกคนมาเม้าท์มอยกัน และจากการเม้าท์มอยกันนั้น จะได้ไอเดียใหม่ๆ เขาเลยมี post-it กับปากกาอยู่แถวนั้นด้วย

    yes, we need content but have new context คือนอกจากจะมี content ใหม่ๆ เราจะต้องมี context ใหม่ๆด้วย

    การเสนอความเห็นจะมี 2 แบบ คือ

    1. create choice เอาแบบนี้ไหม
    2. critical choice พูดถึง idea ตัวเองบนของคนอื่นๆ คือไป judge เขานั้นแหละ เช่น พี่ไม่ทำแบบนี้หรอก เคยทำแล้วมันไม่ work

    เราจะต้องแยกสองอันนี้ออกจากกันอย่างสิ้นเชิง เอา creative ออกมา และห้าม judge เราจะทำได้เมื่อมีไอเดียเยอะแล้ว

    brainstorm rules หลักๆคือ เน้นปริมาณและไม่ judge idea

    สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking ข้อสาม : หลายๆครั้ง leader เองนี่แหละ เป็นคนที่สร้าง rigid box ออกมา ไม่ให้คนอื่นได้คิด

    prototype + test = … make ideas tangible and get feedback

    อันนี้สำคัญ ทำทุกอย่างแล้ว แต่ไม่ยอมทำของออกมา ดังนั้น lead ใช้ bugger ในการทำของออกมา ซึ่งจะมี success กับ fail ซึ่งมักจะมีคำพูดประมาณว่า fail fast, fail cheap, fail forward

    มีหนังสือเล่มนึงชื่อว่า The 4-hour work week ตอนแรกคิดว่าแนะนำหนังสือ ไม่ใช่จ้า มันคือ use case ที่เป็น A/B Testing แบบ Offline ก็คือเนียนเอาหนังสือเล่มนี้ในปกต่างๆไปวางในร้านหนังสือ แล้วแอบส่องดูลูกค้าว่าหยิบเล่มไหนมาจ่ายเงิน ดูจาก action ของคน ว่าลูกค้าทำอะไรกับ product ของเรา และ take action ด้วย

    from idea to reality ทำของดีที่จับต้องและสามารถใช้มันได้ เช่น software อาจจะทำ prototype กระดาษ hardware ทำเครื่องออกมาทดลองใช้ ซึ่ง cost of failure is going now ยิ่งทำยิ่งราคาถูกลง ประมาณนั้น ซึ่งการเลือกจับ texhnology เป็นสิ่งสำคัญ หรือจะลอง role play ให้ดูด้วยเมื่อ user เข้ามาทำยังไงต่อ

    rough & rapid ล้มให้เร็ว ล้มให้ไว

    start-up มีไอเดีย ได้เงินทุนมา ทำของได้

    แต่อยู่บริษัท มีคนมีไอเดีย ไปเสนอคนให้ bugget ในบริษัท (อาจจะเป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร) แล้วถึงจะทำของได้ แต่เราอาจจะติดตรงคนตรงกลางที่ให้ของ

    สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking ข้อสี่ : มีหลายๆ friction ในการทำสิ่งใหม่ๆในองค์กร

    สรุปตอนจบ ให้เราลืมเจ้า Design Thinking ที่มี 5 อย่างไป เราควรมีทักษะ 3 อย่าง คือ

    • ask ขี้สงสัย หัดถามลูกค้า
    • think คิดนอกกรอบ
    • act นำ budget ที่ได้เอาไปสร้างของเพื่อมาใช้ test และทำซํ้า

    จบด้วยหนังสือแนะนำและฝาก podcast เดี๋ยวเลื่อนไปนิดนึงเราก็ฝากให้เขาอีกจ้า

    ปล. จริงๆมีน้องจอห์น เล่นสด เป็นผู้ร่วมชะตากรรม คือเราถ่ายรูปลง story แล้วน้องทักว่า ผู้ชายใส่เสื้อเขียวคนนั้นคือผมเอง555555 แต่เราไม่รู้ไง ฮือออ

    วันรุ่งขึ้นมี podcast อันนี้จ้า เย้ๆ จริงๆงานนี้พี่เก่งเองอยากจะขยายไปถึงคนอายุ 40+ ไปกลุ่มผู้ประกอบการแบบรุ่นใหญ่นะจากที่ฟังวันนั้นที่ voluteer บรีฟกันวันนั้นอ่ะ ที่นัด podcaster มาด้วยอ่ะ ซึ่งทางเราก็เอาใจช่วยให้บรรลุเป้าหมายเลยฮับบ~~

    What’s Coming Up in LINE Tech 2020

    — คุณวริศ วรรณวิธู Developer Relations at LINE (Thailand), คุณจิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ Technology Evangelist at LINE (Thailand)

    คือออกจากห้อง session Design Thinking ยากมาก ขนาดห้องอยู่ติดกันนะ เลยมาสายนิดๆตามสถาพจราจรในการเดินมาห้องนี้ 5555555

    มีการประกาศของใหม่ด้วยจ้า แต่รูปที่เอาลงเพจน้านนน มาเรื่องกินเฉยเลย เพราะนี่มัน session สุดท้ายของงานด้วยนี่นา เพราะ medium-rare มันน่ากิงงง โดนน้องตก

    ปล. อาจจะดูข้ามๆนิดนึง เพราะเราเองเขียนถึง session ต่างๆของ LINE มาเยอะแล้ว

    Agenda ในวันนี้

    Newest Features in LINE Platform

    • LINE@ ของเดิมจะถูกเปลี่ยนเป็น LINE OA ในวันที่ 14 มกราคมถึง 29 กุมภาพันธ์จ้า หลังจากของ bot ถูกระบบย้ายให้ก่อนหน้านี้ซึ่งน่าจะครบแล้วมั้ง ของที่ปลดล็อกคือ follower unlimited ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มแล้วนะ
    • API ก็จะมี Messaging API แล้วก็ LIFF
    • Hyper Personalization เห็นว่าในหลายๆ session ได้พูดถึงด้วย (แน่นอนว่าไม่ใช่ session ที่เราเข้าเลย555) คือการเอา data มาใช้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์มากขึ้น จากเดิมที่ broadcast ไปหาทุกคน จนเขารู้สึกไม่ spark joy กับ LINE ของแบรนด์เรา เลยหนีเราไปหมด เลยมีแบบสามารถ broadcast ไปตามกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจได้ ซึ่งอันนี้เป็นของใหม่ที่ประกาศในงานนี้ที่แรกเลยนะ และมี API ให้เราชาวเดฟได้ใช้กันด้วย เย้ๆ

    ในส่วนนี้จะมี 3 อันหลักๆ คือ

    • Demographic เราสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายของเราได้ เช่น เลือกเพศ OS area เป็นการ filter คนก่อนที่จะ broadcast
    • A/B Testing (อันนี้แอบดีใจเล็กๆที่มี ไม่รู้ทำไม555) ส่งข้อความในรูปแบบที่แตกต่างกันและสามารถดูผลได้
    • Audiences Re-Targeting ให้คนกลับมาซื้ออีก

    ตัวอย่าง อยากขายเค้กพรีเมี่ยม แน่นอนว่าสาวๆต้องชอบกินเค้กเนอะ ด้วยความพรีเมี่ยมเลยเลือกสาว 30+ เพราะมีกำลังจ่ายได้ และใช้ iOS เนื่องจากร้านเปิดที่กรุงเทพ ก็เลยเลือกเป้าหมายให้คนอยู่กรุงเทพเนอะ จะไปยิงไปเชียงใหม่งี้เขาจะมาซื้อยังไงอะเนอะ

    พอได้ Demographics ครบแล้ว มาทำการยิงแบบ A/B Testing ดีกว่าว่าแบบไหนกระตุ้นยอดขายได้มากกว่ากันนะ ในที่นี้เราได้ target มา 10,000 คน เลือกทำ A/B Testing 5,000 แบ่ง A และ B คนละครึ่ง อันไหนชนะก็เอาอันนั้น roll out ออกมา ซึ่งถ้าอยากทำหลายๆอันอาจจะเป็น A B C บลาๆไปตามจำนวนที่เราต้องการได้เลย

    ในการ Re-Targeting ตัวนึงที่น่าสนใจคือ userID ของลูกค้าของเรา ซึ่งชาวเดฟสามารถนำมันไปยิงหาลูกค้าคนนั้นๆได้โดยตรงเลย

    สรุปจำนวนตาม process ที่ได้ทำไป

    ตัวอย่าง use case ซึ่งใกล้ตัว speaker มากก็คือ LINER TH เป็น LINE OA ของพนักงานไลน์ ซึ่งข่าวสารต่างๆก็จะอยู่ในนั้น อย่างเมื่อก่อนคือยิงหาทุกคน บางอย่างก็ไม่เหมาะกับบางคน เช่น คอร์สแต่งหน้าซึ่งสำหรับสาวๆ แต่หนุ่มๆสนใจอุปกรณ์ออกกำลังกายมากกว่า ตัวนี้จะช่วยยิงไปให้คนที่สนใจเรื่องนั้นๆได้ หรือ LINE Cafe ร้านเครื่องดื่มสวัสดิการของพนักงาน ที่เขาเล่ากันว่าสั่งปุ๊ป รอคนมาส่งถึงโต๊ะทำงาน เขาจะเก็บรายการที่สั่ง แล้วไปยิงไปตามที่คนๆนั้นสนใจ เช่น คนนี้สั่งกาแฟบ่อยๆก็จะยิง content รายการกาแฟมาให้

    Creative with LINE API

    • Flex Message มาในปี 2018 บางคนคือเทพมาก ทำเป็นบิลค่าไฟก็มาจ้า บียอนด์สุดๆ ซึ่งสามารถสร้างแล้วก็ custom ตามที่เราเขียนโปรแกรมได้เลยว่าตรงไหนแสดงอะไร
    • LIFF เอา web app ที่มีอยู่แล้ว เอามาใส่ในห้องแชท ซึ่งเป็นการแก้ pain point ในการแสดงผลที่หลากหลายที่ chatbot แสดงไม่ได้ เช่น LINE LION Family ที่สามารถกดซื้อโฟมล้างมือได้เลยโดยไม่ต้องออกไปสั่งผ่านแอพอื่น
    • LINE MINI App ก็คือ app ที่เป็น LIFF ซึ่งเปิดโอกาสให้แอพของเรา ไปอยู่บนหน้าแรกของไลน์จ้า และสามารถเจอได้จากการ search แล้วก็แชร์ให้เพื่อนๆได้ ซึ่งตอนนี้เป็น piliot launch ถ้าใครอยากเอาแอพมาลง โปรดติดตามต่อตอนไป
    • LINE TV API มีเฉพาะในไทยเท่านั้น เป็นการ list content ของ LINE TV ออกมา และ redirect ให้ user เข้าไปดูได้ เหมาะกับคนที่ทำ content ที่ relate กับ video ซุ่ง เอ้ยย ซึ่งตัวอย่างก็คือ search คำว่าโอตะ จะเจอ 365วันกับเครื่องบินกระดาษ เอ้ยยย one year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ สิ
    • OA PLUS E-Commerce อันนี้ใกล้ launch แล้วจ้า ก็คือคนขายของออนไลน์สามารถคุยกับลูกค้าได้เลย มีระบบจัดการ track การจ่ายเงินและการส่งของได้ แล้วต่อรองราคากันได้ด้วยนะ เราเคยเจอ demo ตัวนี้มาในงาน LINE Thailand Developer Conference เมื่อปีที่แล้ว และรู้สึกชอบมากกกกกกกกกกก สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ LINE OA @ecth
    • smart channel ซึ่ง feature นี้คนบ่นกันเยอะ 555 use case ที่ดีคือ เรื่องค่าฝุ่น PM 2.5 ว่าวันนี้จะตื่นไปวิ่งดีไหมหรือนอนต่อ แล้ววันนี้ต้องใส่หน้ากากไปทำงานไหมนะ จุดประสงค์คือแนะนำสินค้าและบริการ

    และมีคำพูดคมๆจากพี่แทน ว่า

    What’s next in LINE Tech 2020

    เป็นการสรุปรวบตึงจากงาน LINE Developer Day 2019 ที่ญี่ปุ่นจ้า

    • LINE BRAIN : ทำ computer vision ต่าง

    OCR เราได้ text มาแล้วสามารถกด translate ได้ด้วย และแม่นสุดๆเมื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น

    เพราะว่าเป็นลายมืออิซากะซังแล้วดูอ่านออกไหมนะ แต่ลายมือเขาเขียนสวยจริงๆ

    Facesign ระบุตัวตนผ่านใบหน้า เคลมว่าเร็วมากๆ ให้คนที่เข้าร่วมงานส่งรูปมาใบนึง ถ้าเดินเข้างานสแกนใบหน้าปุ๊ป โหววว รู้ได้ไงว่าเป็นผมเนี่ย ขนาดผมหันข้างนะเนี่ย

    Video Analysis มีการทำ speech to text ด้วย ดู conference ได้รู้เรื่องขึ้น

    ให้ AI เขียนหนังสือแทนเรา โดย AI นั้นจะจับลายมือของเรา และ generate ออกมาเป็น font ลายมือเราจ้า โหวววว งานดีพรีเมี่ยม ในข้อนี้คืออะไรที่ทำซํ้าๆ เป็น routine AI ทำแทนเราได้หมด

    LINE AiCall ระบบจองร้านอาหาร ไม่ต้องจ้างพนักงานรับจองทางโทรศัพท์ ใช้ AI พูดแทนเรา แถมเนียนจนนึกว่าคุยกับคนจริงๆ

    ตอนแรกไม่เท่าไหร่ มองไปมองมาโดนน้องเนื้อชิ้นนั้นตกอ่ะ หิว แงงงงง

    โดยสรุปในส่วนนี้

    • Privacy First มี Internal process อย่างเข้มข้น เช่น มีการคุยกับทีมกฏหมาย ก่อนออก product จริง ซึ่งจะมี privacy ในแต่ละประเทศหรือมาตรฐานแตกต่างกัน เช่นในบ้านเรา เวลาเอา data ไปต้องถาม user ก่อนว่ายอมให้ไหม บอกเขาว่าเก็บ data เขาไปทำอะไร เก็บนานแค่ไหน เก็บที่ไหน

    สุดท้ายฝากร้านจ้า


    สุดท้ายสรุปงานแบบสั้นๆ

    • สถานที่จัดงานเดินทางสะดวกสุดๆ แบบเดินเข้ามาง่ายมากๆ
    • ตอนเข้างานจะงงๆ เลยถามน้อง voluteer ซึ่งน้องๆทำงานดีตามท้องเรื่อง
    • สองปีก่อนที่ไป คนน้อยกว่านี้เยอะ คือวันนี้คนเยอะมากกกกกก มากจน หาคนรู้จักในงานไม่เจอจ้า มีแต่เจอพี่บอล พี่หนุ่ม ฟังใจ โดยบังเอิญ ที่ Lawson108 และถ้าไม่นัดจะไม่เห็นกันเลยนะเอาจริงๆ
    • แล้วไม่กล้าทักทายพี่ๆ speaker ที่รู้จัก เป็นจริงเป็นจัง555
    • หลังจบงานมีบล็อกนึงที่ยาวมากๆ ซึ่งขอยังไม่อ่าน แต่เขาเข้าไม่ตรงกับเราสัก session เดียว แล้วก็อันนี้คนแชร์มาเยอะมาก น่ารักดี ชอบๆ มีเข้า session ตรงกันด้วย แต่ตัวเราเองก็ทำแบบนั้นไม่ได้จริงๆ อยากเรียนรู้เลย ฮ่าๆ
    สรุปงาน CTC2020 แบบ Visual note-taking
    ถือเป็นการจด Visual Note แบบ 1st draft ที่ยังมี text เยอะ ยังแอบหวงดีเทล และเคสกรณีศึกษา เลย text เยอะ รูปน้องไปหน่อย แหะๆ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนจบนะคะ ^^
    • เสห่น์ของงานในปีนี้ น่าจะเป็นห้องที่เยอะ แล้วต่างคนต่างมาฟังแล้วสามารถแชร์กันได้นะ เพราะร่างเรา มีร่างเดียว แยกไม่ได้ ฮือออออออ อย่าง podcast ที่ไฟล์พังก็ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนเรา ได้หลากหลายมุมมองดี
    • แอบฝากนิดนุง สาวๆแนะนำให้ใส่กางเกงมานะ เพื่อความสบายใจในการเคลื่อนตัวเน้อ

    ช่องทางการกรอกแบบสอบถามของงานนี้

    CTC2020 - Feedback
    แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมงาน Creative Talk Conference 2020 (CTC2020)

    สุดท้ายฝากร้านกันสักนิด ฝากเพจด้วยนะจ๊ะ

    อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

    โพสต์โดย MikkiPastel เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2017

    Tags

    Minseo Chayabanjonglerd

    I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.