มาสำรวจย่านนวัตกรรมโยธีกันดีกว่า กับงาน Walkathon ของ NIA

Event Oct 8, 2016

วันนี้วันดี วันที่ 7 ตุลาคม 2559 ท้องฟ้าอันสดใส ไม่มีแม้กระทั่งเงาฝน พวกเราพร้อมใจกันรวมกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมโยธี ซึ่งในพื้นที่นี้มีความหลากหลาย ทั้งอนุเสาวรีย์ชัย ศูนย์รวมรถเมล์ รถตู้ เชื่อมต่อด้วย BTS โรงพยาบาลรัฐบาลที่มีคุณภาพมากมาย สถานศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท (ที่เด็กวิศวะปีหนึ่งไม่อยากไปหาอาจารย์อุดมที่นี่) กระทรวงต่างๆก็มาอยู่แถบนี้ จึงเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่น่าสนใจ เข้ากับ smart city เลยทีเดียว ดังนั้นทาง NIA ได้จัดงาน Yothi Innovation District Walkathon ซึ่งเป็นครั้งแรกเลยที่ทาง NIA จัดงาน hackathon ขึ้นมา (ไม่นับงาน EDM hackathon นะ อันนั้นคนจัดงาน คือ open data Thailand ขอใช้สถานที่) งานเริ่มแปดโมงถึงห้าโมงเย็น เราจะมาเล่าบรรยากาศกัน และรูปทั้งหมดมาจากกล้อง NEX 5 ที่เตรียมไป ดังนั้นไฟล์อาจจะใหญ่หน่อยนะคะ และได้แปลงขนาดไฟล์ให้เล็กลง เนื่องจากรูปละ 3 MB ทำให้อินเตอร์เน็ทภายในบ้านช้าเป็นอย่างมาก

เรามาถึงตอนแปดโมงครึ่ง ด้วยรถเมล์ ต่อด้วยรถไฟฟ้า และต่อด้วยพี่วินอีกที มาถึงเจอพี่ป๋อเลย ลงทะเบียนเสร็จแล้วมารับเสื้อ ก่อนหน้านี้มี Mail มาถามเรื่อง size เสื้อด้วย แต่เราไม่ได้ตอบไป เพราะมีแค่ size M/L/XL เท่านั้น พอมารับเสื้อพี่ๆเขาหยิบตัวเล็กสุดให้เลย พี่ป๋อก็บอกว่าใส่โคร่งๆแล้วกันเนอะ (แอบฮาเล็กน้อย) จากนั้นเรามาเซ็คกล้อง ลบวิดีโอ คิดว่ากดอย่างน้อยๆร้อยรูป เสร็จแล้วมารับน้ำและของว่าง จากนั้นเข้าห้อง M01 ชั้น M เจอพี่ๆที่คุ้นหน้าหลายท่านเลย เช่น คุณหมอนพ คุณบวร พี่สุรชัย พี่หนุ่ม พี่เซียร์ พี่หทัยทิพย์

วันเดียวกันนี้มีจัดงาน What is innovation? ด้วย ซึ่งเราเห็นพี่นุ้ยจากชั้นบน และได้แอบถ่ายมาด้วย

พอได้เวลาเก้าโมง ก็เป็นกล่าวเปิดงาน โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (วันนี้ดูค่อนข้างใกล้ชิดท่านมากกว่าทุกครั้ง เพราะเป็นกรรมการตัดสินด้วย) ใจความที่ท่านกล่าว มีดังนี้

– งานนี้รวมคนทั้ง 4 กลุ่ม ทั้งช่างภาพ (ที่เห็นก็สมัครเล่นอย่างเราๆ ไปจนถึงอาชีพ), สถาปนิก นักออกแบบผังเมือง (รู้สึกจะไม่มีแหะ), ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ (ซึ่งเป็นคนพาเราไปดูพื้นที่จริงนั่นแหละ กระจายไปตามกลุ่ม) และ startup

– มีการประกวดการถ่ายภาพนวัตกรรมด้วยนะ

– มีการสร้างระเบียบนวัตกรรม ดึงดูดนวัตกรเข้ามา ซึ่งอยู่ในเขตเมืองชั้นใน หน่วยย่อยสุดของเมืองคือย่าน ซึ่งจะเริ่มที่โยธีก่อน (ตามที่เรากล่าวขั้นต้นนั่นแหละ) ซึ่งงานนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ gov tech เปลี่ยนจาก digital government เป็น smart government, med tech มีแหล่งโรงพยาบาลชุกชุม, และ smart mobility มีเรื่องระบบขนส่งมวลชนที่ใหญ่

– กิจกรรมในงานนี้ คือลงพื้นที่ไปดูสภาพจริงว่ามีประเด็นอะไรที่เราสนใจ (นั่นคือเราได้มุมมองจาก user ในพื้นที่ และคนนอกพื้นที่อย่างเราๆเอง) ออกมาเป็น pain point และ idea

– อนาคตจะไปที่ย่านคลองสาน (ซึ่งเราสนใจย่านนี้ เพราะนอกจากจะมีโรงพยาบาลตากสิน หลังคาแดง มีของกินอร่อยๆที่ท่าดินแดง มี the jam factory ตลาดคลองสาน แถมเป็นเมืองเก่าในสมัยกรุงธนบุรีด้วย)

จากนั้นคุณกันต์ วีระกันต์ ผู้จัดการฝ่าย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มาอธิบายกิจกรรมในวันนี้ และเกณฑ์การตัดสินผลงาน
– งานวันนี้มี 3 กลุ่ม คือ

1. gov tech สำรวจพื้นที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม
2. med tech สำรวจพื้นที่โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
3. smart mobility สำรวจพื้นที่ถนนพญาไท จากอนุเสาวรีย์ฯไปถึงแยกพญาไท เส้นทางนี้ยาวไกลกว่ากลุ่มอื่นๆเลย

– ตารางเวลาการทำกิจกรรมในวันนี้

– เนื่องจากในย่านโยธีมีหลากหลายหน่วยงาน การที่โรงพยาบาลรามาทำแอปปิเคชั่น ก็เป็นการแก้ปัญหาอย่างนึง คือระบบการรอคิวนั่นเอง และโรงพยาบาลอื่นๆสามารถศึกษาดูงานเพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดอยู่ได้

– powerpoint นำเสนอ มีบอกปัญหาที่กลุ่มเราเจอ เลือกปัญหานั้นเพราะอะไร แก้ปัญหาด้วยวิธีใด ความสำคัญของปัญหา ต้องวิเคราะห์ BMC ด้วยนะ

– คนชนะในแต่ละประเภท จะได้เงินสามหมื่นบาท และได้รับการสนับสนุนจาก NIA คือ ค่าทำ prototype 1.5 ล้านบาท (อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจรายละเอียด น่าจะหมายถึงถ้าทีมที่ชนะต่อยอดโปรเจกกับทาง NIA นะ)
– ใช้เวลา present 5 นาทีต่อทีม (แต่หน้างานจริงเป็น 6 นาทีต่อทีม เนื่องจากทีมไม่ได้มีเยอะมาก)
– เกณฑ์การตัดสิน ดังรูปคะ นอกจากจะใช้งานได้จริงแล้ว ต้องสามารถเอาไปต่อยอดไปใช้ที่อื่น และสร้างงธุรกิจได้

วันนั้น เราจะต้องเลือกกลุ่มเอง ตามความสนใจ เหมือนงานแหกเมืองยุพินเลย
แต่ละกลุ่มมี staff จาก NIA มาช่วยดูแล และมีคนพื้นที่พาชมปัญหา และมาบอกปัญหาที่เกิดขึ้น

เราเลือกฝั่ง Med tech ไป เพราะน่าจะมีอะไรให้เล่นเยอะ มี pain กับเรื่องโรงพยาบาลรัฐอยู่แล้วด้วย ส่วน smart mobility กลัวว่ามันจะเหมือนๆที่เคยทำนั่นแหละ แต่ละคนสนใจกลุ่ม Med tech เยอะที่สุด ส่วน gov tech น้อยสุดเลย กลุ่ม Med tech แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 ทีม จากนั้นเขาจะแจกแผนที่ และแยกกันเดินทางเพื่อสำรวจพื้นที่กัน โดยมีอาจารย์ธวัชชัย จากโรงพยาบาลพระมงกุฎพาเดินคะ โดยลัดเลาะผ่านซอยเสนารักษ์ แถวๆคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อเข้าซอยข้างๆ พี่เปิ้ลผู้เป็นอดีตพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่แห่งนี้บอกว่า ตอนเช้าจะมีตลาดอยู่หน้าแฟลต ซึ่งราคาไม่แพง เนื่องจากคนที่อยู่มีแฟลตทหารอยู่ด้านซ้าย และฝั่งขวานี่จำไม่ได้แล้ว น่าจะเป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลมาพักอยู่ มีรายได้ไม่สูงมาก ราคาขายเลยไม่สูงด้วย

เดินมาสุดซอย เป็นโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลคะ

จากนั้นมาข้ามทางม้าลาย เพื่อไปโรงพยาบาลพระมงกุฎกันคะ
ก่อนหน้าที่ได้เห็นความทุ่มทุนการถ่ายภาพของช่างภาพ มีการวางกล้องไว้บนฟุตบาทเพื่อถ่าย แล้วข้ามถนนมาก่อนเพื่อมาถ่ายตอนพวกเราเดินข้ามถนน

เมื่อเดินมาถึงโรงพยาบาลพระมงกุฎ เรามาหยุดอยู่ตรงหน้าห้องฉุกเฉิน ปัญหาที่เกิดในโรงพยาบาล มีทั้งหมดที่จดในมือถือ ดังนี้

– ห้องฉุกเฉิน คนเยอะ เดิมเป็นที่จอดรถเก่า
– โรคทางเดินหายใจ คนเป็นวัณโรคเยอะ
– negative pleasure ความดัน -10 และ -20 เพื่อไม่ให้มีเชื้อออกมา ปัญหา ไม่มีห้องนํา สำหรับกลุ่มกักสังเกตุอาการ พื้นที่แคบประมาณ 6 * 6
– เจ้าหน้าที่ติดเชื้อเยอะ หน้ากากอนามัยป้องกันโรค ส่วนใหญ่จะซื้อที่กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
– การแก้ปัญหาเรื่องเตียงห้องฉุกเฉินไม่พอ การเพิ่มเตียง ขยายห้อง จะช่วยได้แค่ 6 เดือนแรกเท่านั้น
– ผู้ป่วยแบ่งเป็น ผู้ป่วยมีต้นสังกัด เช่น 30 บาท ทหาร และไม่มีสังกัด เช่นเหตุการณ์ที่คนต่างจังหวัด ทำงานกรุงเทพมารักษา ปัญหาคือนอนห้องฉุกเฉินนาน บางคนเป็นเดือน เพราะเป็นผู้ป่วยไม่มีสังกัดนี่แหละ อีกทั้งให้เตียงกับเคสที่หนักกว่าด้วย
– Short around ที่ไหนเร็ว บริการดี ไป อย่างรามาเขาต้องใช้ความใจแข็งในการแก้ปัญหา ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องนี้

อันนี่ผังห้อง negative room พื้นที่ใช้สอยไม่เยอะ

ห้องฉุกเฉินคนเยอะพอสมควร ทั้งคนไข้และญาติ นี่ด้านนอกนะ ด้านในคนเต็มเลย การถ่ายรูปเพื่อทำงานในโรงพยาบาลนั้น บางที่คนทั่วไปห้ามถ่าย ของเราได้รับอนุญาติ ได้แค่ถ่ายสถานที่นะคะ เราไม่ถ่ายภาพผู้ป่วยกัน มันผิดจรรยาบรรณเนอะ ดังนั้นห้องฉุกเฉินเราเลยไม่ถ่าย แล้วเขาคงงงๆปนตกใจก็ได้ ว่าอิพวกนี้เป็นใคร มาทำไมเยอะแยะก็ได้นะ

อันนี้แอบเบลอ ไม่กล้าถ่ายเขามา แต่พบว่าตามทางเดิน ช่วงบล็อกเสามีญาติคนไข้มาสู่เสื้อมานั่งกันตรงนี้ มาแบบครบ มีกระเป๋าเสื้อผ้ามาด้วย

ขึ้นมาชั้นสอง พบกับห้องกักกันผู้ป่วย เช่นเหตุการณ์สมมุติ อีเจี้ยบเพิ่งกลับมาจากประเทศตะวันออกกลาง มีอาการไอค่อกแค่ก ไม่ใช่ไอเลิฟยูนะ แบบป่วยอ่ะ พอพยาบาลมาตรวจสงสัยว่าเป็นโรคเมอร์มางี้ เลยพาอิเจี้ยบมาสังเกตุอาการที่ห้องนี้ ตามหลักอิเจี้ยบควรอยู่แค่ 6 ชั่วโมง แต่โชคร้ายอิเจี้ยบได้อยู่นานกว่านั้น เนื่องจากในห้องมีแต่เตียง และอ่างล้างมือเท่านั้น แล้วปวดอุจจาระขึ้นมา อิเจี๊ยบจะต้อวไปถ่ายบนเตียงที่ถ่ายได้ (จำชื่อไม่ได้แล้ว) ดังนั้นปัญหาของผู้ป่วยในห้องนี้ คือการขับถ่ายนั่นเอง ความยากคือห้องเป็นกระจกใสหมด คิดว่าอาจจะไม่มีปัญหากับอิเจี๊ยบ แต่มีปัญหากับคนอื่นๆแทน (นี่เป็นแค่ตัวอย่างสมมุติเนาะ หวังว่าอิเจี้ยบไม่โกรธเนอะ)
ห้องกักกันผู้ป่วยนี้ จะมีห้องกั้นจากภายนอกไปในห้อง และมีความดันต่างกัน โดยด้านซ้ายจะแสดงความดันภายนอกกับห้องกั้น พอเปิดประตูความดันจะลดลงมา ส่วนด้านขวาน่าจะเป็นในห้องกักกัน

มาถึงเรื่องหน้ากากอนามัยที่พยาบาลใช้กันในห้องกักกันผู้ป่วย เราลองใส่ดู พบว่ามันก็เหมือนจะมิดชิดดี ปัญหาที่บ่นๆกัน คือ อึดอัด เพราะอากาศในนั้นไม่ถ่ายเท ดูดคาร์บอนไดออกไซค์กลับ คุยกับคนไข้ไม่สะดวก ยิ่งคนไข้อายุมากแล้ว อาจจะตะโกนคุยหนักกว่าเดิม

จากนั้นอาจารย์อธิบายถึงแนวคิดหน้ากากอนามัยแบบมีระบบหมุนเวียนอากาศ ว่ามีที่ครอบจมูกนะ แล้วมีท่อใส่หน้ากาก เพื่อหมุนเวียนอากาศ ระหว่างนั้นมีพี่พยาบาลทหารนั้น มาช่วยในการอธิบายในส่วนนี้ด้วย
เคสนึง มีพยาบาลสองคน คนนึงอายุ 40 อีกคนอายุ 35 อยู่ดีๆก็ปวดหลัง ปรากฏว่าเป็นวัณโรคกระดูก น่ากลัวมากๆเลย ปกติพยาบาลเหมือนจะมีการ checkup สุขภาพกันทุกปีนะ เพราะทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยมากๆ

อุปกรณ์คือที่ครอบจมูกอันนี้

และสายยางอันนี้

ออกมาเป็นประมาณนี้ นางแบบ คือ พี่เล็ก แห่ง skin lab คะ
เมื่อดูงานที่ตึกแรกเสร็จแล้ว เขาจะพบไปตึกที่สอง จะเป็นตึกไหนกันน๊ออออ

หน้าตึกใหม่ แต่ที่นี่ไม่ใช่จุดหมาย

จุดหมายคือที่นี่คะ ไซค์ก่อสร้างตึกใหม่คะ ซึ่งไม่ได้ถ่ายป้ายมา แต่เหมือนทำเสร็จเลยกำหนดนะ

จากนั้นมาพบกับอาจารย์หมอ ในเรื่องตึกใหม่ตรงนี้ เราอัดเทปมา เนื่องจากไม่มีมือจด เลยเอามาเล่าแค่บางส่วนแล้วกัน บางทีศัพท์ของคนวงการนี้เราจะงงๆอยู่บ้าง
– ตึกนี้สร้างตึกในช่วงชุมนุมนั่นแหละ เพราะว่าต้องการไว้รองรับผู้ป่วยหมู่มาก เช่นภัยพิบัติ เราไม่มีโรงพยาบาลศูนย์ใหญ่ๆที่รองรับ เลยออกแบบทุกอย่างไปเน้นทางเคสอุบัติเหตุฉุกเฉิน เคสภัยพิบัติ
– เรื่องนํ้าท่วมตอนนั้น ระบบไฟอยู่ที่ชั้น 4 ดังนั้นปลอดภัย มีเดินท่อออกซิเจน
– มีถังนํ้าใต้ดิน และถังนํ้ามันสำรองเพื่อใช้งาน
– มีที่จอดรถปนเปื้อนสารเคมี ถ้ามีงบเพิ่มจะเพิ่มเป็นห้องล้างรถปนเปื้อนโดยเฉพาะ มีบ่อนํ้าต่างหาก
– เรื่องราคาของเครื่องมือแพทย์ยอมรับว่าค่อนข้างสูง แต่เขายอมขาดทุนเพื่อผู้ป่วยนี่แหละ (ถ้าโรงพยาบาลเอกชนนี่เขาไม่ยอมขาดทุน จะเอาแต่กำไรอย่างเดียว)

เมื่อจบภารกิจการดูงาน เราเคลื่อนพลไปยังโรงพยาบาลราชวิถี โดยออกมาด้านหลัง

ตรงข้ามคณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เดินเข้าโรงพยาบาลเด็ก มีขายของเยอะแยะมากมาย โดยเฉพาะ ของกิน

อาคารจอดรถมีบอกจำนวนที่จอดที่ว่างด้วย ดังนั้นเรื่องที่จอดรถ อาจจะไม่เป็นปัญหาก็ได้

เดินเลาะมาถึงที่โรงพยาบาลราชวิถี แอบแคปเจอร์เหล่าอาจุมม่ามา เพราะบรรยากาศแปลกกว่าที่เคยเห็น ซึ่งมุมที่อาจุมม่านั่งกัน เป็นตึกใหม่ของโรงพยาบาล และตอนเดินออกมา มีคาราโอเกะน้อยๆด้วยนะ

มีพี่เจ้าหน้าที่ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่มาต้อนรับพวกเรา พร้อมพาไปสำรวจพื้นที่ โดยทางผู้ใหญ่ได้ฝากปัญหาที่เกิดขึ้นให้เรานำไปขบคิดกัน ดังนี้

– เตียงผู้ป่วยตึกเดิม 1200 เตียง และตึกใหม่ 1600 เตียง
– transfer ผู้ป่วยเด็กไปยังโรงบาลเด็ก โดย skywalk หรือวิธีการทาง logistic
– คนไข้ล้น ICU ต้องขนเครื่องมือแพทย์ไปใช้นอกห้องผู้ป่วย เช่น เครื่องช่วยหายใจ สารละลายหลอดเลือดดำ sensor เครื่องมือแพทย์ ซึ่งอะไหล่มีราคาแพง
– การเฝ้าระวังการติดเชื้อ การล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย จะรู้ได้ไงว่าสะอาด อาจจะมีเครื่องล้างมืออัตโนมัติ
– ทำ mou กับลาดกระบัง พระนครเหนือ เอาโปรเจกกับไอเดียมาสร้าง มีการทดสอบ
– tracking การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย : gps พื้นที่ใต้หลังคาทำงานไม่ค่อยดี, cellcular, wireless
– biosignal ส่งได้อยู่แล้ว ไม่ยอมเปิด api อาจจะทำ connector universal เพราะแต่ละยี่ห้อหน้าตาไม่เคยเหมือนกัน
– monitor ลิฟต์ แบบให้จอดชั้นที่ต้องการได้ (เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นลิฟต์กดแบบเดิม คิดว่าถ้าจะเอาแบบนั้นจริงๆ คงต้องใช้ลิฟต์ประหยัดพลังงานแบบที่ software park ซึ่งอาจจะควบคุมในระดับนั้นได้ ใช้ IoT บังคับลิฟต์ แอบน่ากลัวอยู่นะนั่น)
– บ่อบำบัดนําเสีย 5 โรงพยาบาล มารวมทุกอย่างมารวมกันที่ราชวิถี ซึ่งไม่เหมาะเท่าไหร่

มาดูพื้นที่จริงในการขนย้ายผู้ป่วยเด็กกัน ข้ามทางม้าลาย ซึ่งเป็นทางรถวิ่ง ด่านแรกขึ้นเนินก่อนแล้ว จากนั้นทางมันแคบ มีหักอีกสองตลบ ไหนทางจะไม่เรียบอีก
นี่คือสิ่งที่เขาบอกว่า นี่คือ skywalk

พวกเราขึ้นลิฟต์ไปชั้น 6 ไปห้องรวมชาย ห้องละ 6 เตียง ใช้เครื่องช่วยหายใจ 36 คน monitor เฉพาะเตียง ในเขตห้องรวมห้ามถ่ายภาพ และไม่ใช่เวลาเยี่ยม พวกเราเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากทางงานประสานงานกับทางโรงพยาบาลไว้ก่อนแล้ว พี่พยาบาลให้เข้าได้ครั้งละสิบคน น่าจะไม่ถึง 10 นาทีนะ

ปัญหาที่เกิด คือการล้างมือ อ่างล้างมือนํ้ารั่ว เอาผ้าขนหนูมาซับนํ้า ซึ่งระยะยาวไม่ดีแน่ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา บางทีพยาบาลมีเคสด่วน หรือเคสต่อๆกัน อาจจะลืมล้างมือได้ มี monitor อยู่ตรงศูนย์กลางห้อง เราไปถ่ายรูปบางส่วนมาบ้าง แต่ขอไม่เอาลงแล้วกันเนอะ
จากนั้นอาจารย์หมอ ผู้ซึ่งเป็นกรรมการ มาแนะนำตัวและมาบอกปัญหาที่เจอ เช่นเรื่อง transfer ผู้ป่วยเด็กนั่้นแหละ เคยประสบกับลูกชายคนเล็กของอาจารย์หมอ

สุดท้าย พี่เขาบอกว่าอยากได้อุปกรณ์ช่วยวัดว่าออกซิเจนในถังมีเท่าไหร่ แต่อุปกรณ์อิเล๊กโทรนิกส์ไม่สามารถเอาเข้าไปภายในถึงได้ อาจจะวัดจาดมาตรด้านนอกแล้วส่งเข้า server งี้ มีพี่คนนึงบอกว่า ผมทำวันเดียวได้นะ

 จากนั้นเดินทางกลับ NIA กัน เรารอรถตู้กันนานมาก เดินกลับก็ไม่ไหว มันไกลง่ะ

จากนั้นตอนเที่ยงทานข้าวกลางวันพร้อมปรึกษาหารือกัน ก่อนที่จะไปทำ presentation ภายในสองชั่วโมง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ อันนี้เวลาน้อยไป คือทำไป รนไป แปะรูปไปไม่ครบเลย

พี่เล็กได้เลกเชอร์เรื่องพิจารณาในการทำโครงการนวัตกรรม ว่าอันนี้ควรทำไหม จะมี tool มาเป็นตารางใส่สูตร excel เลย

จากนั้นเรามา list ปัญหาที่พบจากการสำรวจพื้นที่ เราเองมา list ไว้ใน post-it และแบ่งประเภทปัญหา
– มีเรื่อง mask ของพยาบาล ในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ พี่เปิ้ลบอกว่า พยาบาลเขาไม่อยากใส่ตลอดเวลาเพราะอึดอัด แถมสื่อสารกับคนไข้ลำบาก อาจจะเป็นเครื่องฟอกอากาศ ระบายอาหาร ฆ่าเชื้อโรคในห้องน่าจะโอเคกับทุกฝ่ายที่สุด
– ระบบการรอคิว จริงๆคือเรื่องการ flow คน ให้คนแออัดน้อยลง
– การขนส่งผู้ป่วย พอดีกลุ่มคุณหมอเขาคิดเรื่อง iBeacon ไปแล้ว ข้ามแล้วกัน น่าจะซํ้า
– เครื่องล้างมือ ช่วย confirm ว่าพยาบาลล้างมือแล้ว ทำให้สะดวก รวดเร็ว และไม่มีปัญหาเรื่องนํ้ารั่วจากอ่างล้างมือด้วย

ดังนั้นเลยเลือกเครื่องล้างมืออัตโนมัติเป็นโปรเจกในการนำเสนอ

จากนั้นมาปั่นงานกัน ทั้งเรื่องหน้าตาอุปกรณ์ คุณสมบัติ เขียน BMC และทำพรีเซนต์กันอย่างเมามันส์ มือสั่นหงิกๆ

และแล้วถึงเวลาพรีเซนต์แล้วคะ
เริ่มที่กลุ่ม gov tech มีสองทีมคะ

ทีมแรก จำชื่อผลงานไม่ได้ เป็นแอปที่ช่วย startup ติดต่อราชการ แต่มีพี่เซียร์และพี่หทัยทิพย์เป็นสมาชิกในทีม

ตอนแรกพี่เซียร์บอกว่าเดินสำรวจพื้นที่เจออะไรบ้าง ปัญหาคือ เวลา startup ไปติดต่อราชการ อย่างการจดทะเบียนบริษัท จะต้องทำยังไง ราชการในองค์กรรู้เรื่องแต่หน้าที่ในองค์กรตัวเอง

จากนั้นพี่โทนี่มาอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ประโยคที่จำได้ คือ startup คือคนไม่รู้อะไรเลย (หมายถึงการติดต่อราชการในเรื่องต่างๆนั่นแหละ) ไม่งั้นจะชื่อ startup หรอ (เออจริง)

ชอบแนวคิดทีมนี้ ตรงที่เราเองสมมุติว่าทำ startup เอง ด่านแรกคือไปจดทะเบียนบริษัท พบว่า ที่มันยากเพราะเรื่องข้อมูลที่คนเข้าใจได้ยาก เรื่อง process ต่างๆเราต้องวิ่งไปถามคำถามเดิมกับทุกที่ และทุกที่ก็ตอบแบบไม่ได้ช่วยอะไรเราได้ ไหนจะเรื่องภาษีอีก คือมันเยอะมากๆเลยนะ ถ้าแนวคิดนี้ได้ทำออกมาให้เราใช้ มันจะสะดวกต่อพวกเราอย่างมาก
ทีมที่สอง แอปสุดสาคร
ตอนแรกพี่ผู้หญิงบอกว่าปัญหาของเอกสารราชการคือเก็บเป็นกระดาษ เหมือนจะพูดนำว่าจะทำโปรแกรมเก็บเอกสารแบบอิเล็กโทรนิกส์

ไปๆมาๆมาเรื่องแอปชื่อสุดสาคร ในเรื่องการจัดการนํ้า คนฟังเริ่มงงเลย

แต่เขาก็มีรูปประกอบการอธิบายว่าหน้าตามันจะเป็นประมาณนี้นะ สามารถดูได้แบบ real-time เลยโดนกรรมการซัดเลย จุดแรกที่โดน คือเอารูปโปรโมตกิจกรรม EDM Hackathon มาแปะ แล้วกรรมการก็คิดว่าเขารู้ว่าคืองานอะไร แต่เขาไม่รู้แหะ จุดที่สอง คือ ถ้าเข้าไปดู event ใน facebook แล้วไปแกะ open data ที่เขาให้มา พบว่า มัน real-time ซะที่ไหนหล่ะ แบบวันนึงอัพที บางอันอัพเดตสี่ครั้ง ดังนั้นไม่ใช่ real-time แน่นอน การดึงข้อมูลมาทำเองเรามองว่ามันไม่ค่อยเอื้อให้เรา hack หรือดึงขึ้นมาแสดงได้โดยทันที ดังนั้นงาน EDM Hackathon เราเลยไม่ได้สมัคร เพราะงานหนักแน่นอน

พอจบการ present กลุ่มแรก เดาเอาว่าทีมพี่เซียร์น่าจะชนะ ด้วยการแก้ไขปัญหาโดยการทำให้ง่ายขึ้น และอีกทีมเรื่อง open data เขายังตอบไม่ค่อยดีนัก

จากนั้นกลุ่ม Med tech มีสามทีมคะ

ทีมแรก handy smart wash เครื่องล้างมืออัจฉริยะ
ทีมเราเอง พี่ต๊อก present เพลินมาก ทางกรรมการติงมาดังนี้
– เครื่องสามารถทำความสะอาดถึงซอกเล็บได้ไหม
– ควรจะสามารถพกพาได้ บุคลากรโรงพยาบาลอาจจะขี้เกียจเดิน
– prototype เครื่องรุ่นแรก ถ้าใส่นํายาลงไปตัวเครื่องอาจจะใหญ่กว่าที่เราคิด
– กลุ่มคนใช้อาจจะไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ อาจจะเป็นผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ที่เดินทางมา อาจจะมีเชื้อโรคมากมาย อนาคตอาจจะตั้งที่อนุเสาวรีย์ก็เป็นได้

ขอบคุณรูปจากพี่ป๋อคะ ตัวเองไม่สามารถถ่ายตัวเองได้จริงๆคะ
ทีมที่สอง ทีมคุณหมอนพ และคุณพี่บวร ทีมนี้มีสมาชิก 6 คนคะ

ปัญหาที่ทางคุณหมอแกเล็งไว้ คือ การขนย้ายผู้ป่วยเด็กจากโรงพยาบาลราชวิถีไปโรงพยาบาลเด็กนี่แหละ ซึ่งสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหนักได้

ดังนั้นอุปกรณ์ที่มาช่วย solve คือใช้ iBeacon ซึ่งใช้สัญญาณ Bluetooth และสามารถใช้ได้ภายในโรงพยาบาล ว่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยถึงตรงจุดไหนแล้ว กรรมการมีถามเรื่องเทคนิคบ้าง

ทีมนี้เขาทำ BMC ทันด้วย แถมครบทุกช่องอีกต่างหาก เนื่องจากเขามุ่งไปในการ solve ปัญหานี้อยู่แล้วด้วยมั้ง

กลุ่มที่สาม เป็นเรื่องของการจัดการคิว โดยใช้ smart deviceพร้อมด้วยแอปปิเคชั่น เมื่อเราอยากรู้ว่าเราอยู่คิวไหน เราก็เอาข้อมือเราไปสแกนได้

และสุดท้าย smart mobility มีสองทีม

ทีมแรก take me where

แนวคิดเป็นแอปบอกตำแหน่งโดยเน้นตำแหน่งรถพี่วิน และรถแท็กซี่มากกว่าของรถเมล์ เนื่องจากมีปัญหาในการหาพี่วินมอไซค์ คนพื้นที่เท่านั้นที่รู้ (จริงๆแอปรถเมล์เอาจริงๆมีเยอะแยะ เราเองก็ทำ แต่จะทำอย่างไรให้ต่างจากเขา)

สิ่งที่กรรมการให้คำแนะนำมา น่าสนใจทีเดียว

– Bts มีเวลามาชัดเจน timing ของพี่วิน อาจจะใช้หลักการเดียวกับ pokestop
– ประเด็นคนชั้นบน กับชั้นล่าง ชั้นบนใช้ bts เดิน skywalk ใช้ node transportation พี่วิน จักรยาน แท็กซี่ เป็นประชากรชั้นล่าง ต้องมองวิวัฒนาการ มีบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน เอาไปหลอมรวมกันอย่างไร ชั้นล่าง deal กับบริเวณเปิด
– ชั้นล่างต้องแก้มากกว่า สโคปปัญหาเล็กลง เช่นเรื่องพี่วิน สามารถเอาข้อมูลช่วงพีคไปทำอะไรต่อ
– ได้เงินยังไง?

ทีมที่สอง เป็นเรื่องการแก้ปัญหาทางเท้า มีพี่หนุ่มกับพี่สุรชัยเป็นสมาชิกในทีม

โดยทำแอปการแก้ปัญหาการขายของบนทางเท้า โดยหาที่ขายใหม่ให้เขา
พี่เขาบอกว่าเขาทำแอปหาบ้านมั้ง ซึ่งหน้าตาแอปที่ว่า และการทำงาน จะคล้ายๆกัน

มีเรื่องการปรับทางเท้าให้เรียบ อาจจะใช้วัสดุสักตัวมาช่วย

เมื่อ present ครบทุกกลุ่มแล้ว กรรมการก็มาถกเถียงสรุปกัน ส่วนเราๆพักผ่อนกันตามสบายคะ

ประกาศผลทีมชนะเลิศดังนี้

กลุ่ม gov tech ผลงานการทำแอปเพื่อช่วย startup ไปในการติดต่อราชการ

กลุ่ม Med tech ระบบช่วยให้ผู้ช่วยรู้คิวตัวเอง

และกลุ่ม smart mobility take me where

สุดท้าย ชักภาพรวมเป็นที่ระลึก

สรุปงาน ข้อที่ชอบ
– ช่างภาพทุ่มทุนสร้างในการถ่ายภาพมา มีหมดทุกมุมที่ทำได้ (ถ้าพี่ๆเหาะไปเก็บภาพได้ คงทำแล้ว) เก็บรายละเอียดในงานทุกซอกทุกมุม ละเอียดกว่าบล็อกนี้แน่นอน

– ขออวยอาหารหน่อยคะ ปกติมาที่นี่บ่อย แต่ยังไม่เคยอวยเลย คืออร่อยจริงๆแหละ

เบรกเช้าร้าน Cake-a-Cup by Cheng อันที่ชอบและอาจจะนำเสนอหนักมาก คือแซนด์วิชแฮมชีส อร่อยมากๆ มาทั้งชีส มาทั้งซอส แฮมชิ้นหนาเต็มคำ วันดีคืนดีจะได้มาการอง เครปฝอยทองในตำนาน

เบรกบ่ายร้าน taste made by Punnada มีแซนด์วิชแสนอร่อย และนํ้าพันซ์ขวดส้มน่ารัก รสชาติดีเมื่อทานเย็นๆ แต่ตอนเอากลับมาบ้านนี่ แม่เห็นแล้วดีใจมาก เพราะแม่เคยทานนํ้าส้มของร้านนี้ตอนงานศพน้องสาวอาม่า และแม่ชอบมากกกกกก ในภาพผ่านการรับประทานมาบ้างแล้วเลยไม่ค่อยสวย

– อาหารมีแยกเจกับไม่เจด้วย

– ได้ความรู้จากเจ้าของพื้นที่ และได้รู้จักพี่ๆในทีมที่มีประสบการณ์ต่างกัน
พี่เปิ้ลอดีตพยาบาลที่ประสบการณ์เต็มเปี่ยม
พี่เล็กคนสวย ที่ทำ skin lab ธุรกิจเครื่องสำอาง มีความรู้ในด้านธุรกิจและนวัตกรรมด้วย เมื่อเที่ยงคืนพี่เขาบินไปทำงานที่ปารีส และได้เดินทางถึงโดยสวัสดิภาพแล้วคะ
พี่ต๊อก ช่างภาพและบุคลากรสายนิเทศศาสตร์ในโรงพยาบาลเอกชน พี่เขามีโปรเจกที่น่าสนใจด้วย และพี่เขาพรีเซนต์เก่งมาก เพราะไม่มีเวลาให้เตรียมตัวพูดกันเท่าไหร่เลย

– ได้คุยกับพี่ๆในหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ ได้รู้จักพูดคุยกันมากขึ้น
ถ้าไม่ selfie ไม่ใช่พี่ป๋อคนงามแน่นอนนนนน

ข้อที่ฝากไปปรับปรุงสำหรับงานคราวต่อไป
– เวลาที่ให้ทำ presentation น้อยไปอะคะ ถ้าเพิ่มอีกชั่วโมงน่าจะแหล่มเลย จริงๆทุกทีมประสบปัญหาเหมือนกันคะ ดังนั้นทุกทีมเลยใช้วิธีพูดอธิบายเอา จริงมันไม่ใช่แค่ทำ presentation อย่างเดียวแหละ คือเอาทุกอย่างมาประกอบการ present นั่นแหละ
(แอบเสียดายที่ไม่ได่เงินรางวัล ถ้ามีเงินรางวัลปลอบใจก็คงดีไม่น้อย ;_;)

สุดท้าย งานนี้เรานึกถึงป้าท่านนึง คือ ป้ายุพิน คิดว่าถ้าจัดงานแนวนี้น่าสนใจไม่น้อยเลย เลยฝากรูปไปทางป้ายุพินสักรูปนึงเนอะ เดี๋ยวว่างๆจะพินให้นะคะ

ขอบคุณที่อ่านจบจนนะคะ 🙂
ปล เป็นงานเขียนแบบเผา เพราะเนื่องจาก รีบเขียน แล้วจะไปรีบไปทำงานแอปต่อคะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.