ทำ Video Content โปรดักชั่นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง กับ Softpomz และ อู๋ spin9
เรื่องที่หลายๆคนสนใจ และมีหลายๆคนเป็น Youtuber, Tiktoker ซึ่งทำ Video Content เป็นหลักเนอะ ในวันนี้เราจะได้เนื้อหาที่อัดแน่นและเป็นประโยชน์
และมีคนสรุปไวกว่าเราจ้า เรายังคิดชื่อบล็อกกับ Excerpt ไม่ออกเลย แหะๆๆๆๆๆๆ
feedback งานยังดีเหมือนเดิม และที่ยํ้าเหมือนเดิมคือตัว hashtag งานและชื่องานต้องเขียนให้ถูกต้องน้าาาา เราเข้าใจว่าทางเขาเองก็อยากได้ feedback และ content สรุปดีๆจากเราเช่นกันเนอะ
ไม่รอช้า มาเริ่มกันเลยดีกว่าจ้า
สร้าง production อย่างไรในยุค 5.0 by Softpomz
วันนี้ช่างเป็นวันที่สดใสเสียจริงๆ และฟังสนุก ได้ความรู้มากๆ แถมสไลด์ทำออกมาดีจนเราไม่ต้องวาดอะไรใหม่หล่ะ แหะๆ
ยุค 5.0 คืออะไร เราเองนึกถึง Marketing 5.0 ทันที ที่เป็นหนังสืออะเนอะ เท่าที่ search ดูเร็วๆก็เหมือนที่คุณซอฟพูดแหละ ว่าเป็นยุคของ technology และ AI มีบทบาทในการใช้ชีวิตของเรามากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนและเวลาลง ให้เราใช้ชีวิตได้ไวขึ้น และมีความกระชับมากขึ้น
ความกระชับ
มี 2 อย่างคือ กระชับคนหรือทีม และวิธีการหรือขั้นตอน
- กระชับคน : การทำงานฉบับทีมงานกระทัดรัด ในแง่ของจำนวนคน อาจจะทำคนเดียวก็ได้ หรือมี 2-3 คน ข้อดีคือความคล่องตัว ข้อดีก็คือความคล่องตัวนี่แหลั และจำนวนคนในทีมไม่ใช่ตัวชี้สัดความสำเร็จ อยู่ที่งานของเรามากกว่าว่าออกมาดีไหม ถ้ามันดีทีมก็จะเกิดการขยายตัวได้ อาจจะจ้าง freelance หรือชวนเพื่อนมาทำงานด้วย โดย 1 คนทำหน้าที่มากกว่า 1 อย่าง ต้องตกลงกันให้ชัดเจนก่อน
อันนี้คุณซอฟแนะนำว่าให้ลองทำเองทุกขั้นตอนดูก่อน เพื่อรู้จักสิ่งที่เราทำ รู้จักตัวตนของเรา และทิศทางของ content ที่เราทำ ทำให้เราไม่หลงทางและอยู่ได้อย่างยั่งยืน เช่น เปลี่ยนคนตัดต่อ แต่ละคนมี style แตกต่างกัน ทำให้ branding เราไม่เสถียร ดูเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เราก็เหมือนเชฟทำอาหาร เราต้องมีสูตรอาหารเป็น guideline เพื่อความคุมคุณภาพของอาหาร ทำให้เรากำหนดทิศทางได้ชัดเจน แก้ไขได้ตรงจุด
- กระชับวิธีการ : สร้างสรรค์ระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
วิธีการทำ content จะมีขั้นตอนหลักๆ คือ
- Pre-production : การคิด idea, เขียน script, วาด storyboard
- Production : การถ่ายทำจริง
- Post-production : งานตัดต่อ video, ตรวจทานงาน, อัพคลิป
และเราไม่สามารถตัดขั้นตอนเหล่านี้ออกไปได้ เราจะทำซํ้าจนได้เป็นค่าประสบการณ์ออกมา ทำให้เราได้ขั้นตอนที่ไวขึ้น ความจำเป็นของเราที่ต้องทำ เช่น ลดงานที่ทำแต่ละขั้นตอนลงเหลือเฉพาะที่สำคัญ ไม่ต้องทำเยอะๆแล้วเสียเวลานั่งเลือกอันที่ใช้ ทำให้ทำงานได้ไวขึ้น
ดังนั้นในแต่ละขั้นตอนจะเหลือการทำงานแบบนี้
- Pre-production : bullet point
- Production : การถ่ายทำจริงรู้ว่าต้องถ่ายอะไร ใช้มุมกล้องแบบไหน
- Post-production : รู้ว่าส่วนไหนต้องตัดต่อ
การจัดการที่ดี
ของคุณซอฟจะแบ่งเป็น plan A, plan B หรือผสมกันก็ได้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เช่น อาทิตย์นี้ออกงานเยอะ อาจจะไม่ทำคลิป
Plan A : เหมาะสำหรับ 1 content ต่ออาทิตย์ ในตารางจะแบ่งว่าแต่ละวันทำอะไร (มองครั้งแรกจะนึกถึงการทำงานแบบ Agile ทันทีเลยแหะ / Agile คือการทำงานในรูปแบบนึง เกิดจากอุตสาหกรรม software ลองอ่านบล็อกเราดูได้ แหะๆ)
Plan B : จะแบ่งการทำงานออกเป็น week เช่น อาทิตย์นี้เราจะ planing ทั้งอาทิตย์เลย ทำให้การทำงานไม่เป็นกังวล และบริหารจัดการได้มากข้ึน
ทั้งหมดไม่มีถูกผิด แล้วแต่เราอยากได้แบบไหน ถนัดและสะดวกแบบไหน
และการจัดการของ Youtuber ต่างประเทศที่คุณซอฟได้ไปพูดคุยมา
- คนนี้เป็นสาวที่ทำงานในวงการบันเทิง มีอัดเพลงด้วย เวลางานเขาจะแน่น และจะมีช่วงที่ว่าง เขาจะเอาเวลาที่ว่างของเขา 1 เดือนมาทำคลิป stock ไว้สำหรับ 3 เดือน เมื่อปล่อย content จะหมด stock ก็จะเริ่มทำเพิ่ม
- คนนี้เป็นสายท่องเที่ยว ทำงานคนเดียว และถ่ายคลิปทุกวัน และมีเวลาตัดวิดีโอต่อวัน 2 ชั่วโมง ตัดได้แค่ไหน เอาแค่นั้น แล้วอัพคลิปเลย
เป้าหมายเรา ในการทำ content ของเรา คืออะไร?
- quantity (ปริมาณ) : มี content ให้ดูในทุกๆวัน เน้นอัพบ่อย ไม่ได้เน้น production ดี
- quality (คุณภาพ) : ทำออกมาดี มี 2 ข้อใหญ่ๆ
คน : ภาพชัด เสียงใส เนื้อหาดี
algorithm : อันนี้เกี่ยวกับ AI ที่ควบคุมระบบหลังบ้าน
Algorithm ทำนายอนาคตด้วยสถิติหลังบ้าน
จากประสบการณ์การทำ Youtube ของคุณซอฟมานานกว่า 9 ปี จากเดิมที่คิดว่าสถิติหลังบ้านเป็นเรื่องยาก จนเข้าใจความชอบของผู้บริโภค และออกแบบ content ต่อไปได้ตรงจุดมากขึ้น
ก่อนอื่นเรามองร้าน Supermarket แห่งหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Youtube มีขายซุปหลายแบบ โดยซุปก็เหมือน video บน Youtube นั้นแหละ โดยร้านนี้จะ serve ซุปดีๆ อร่อยๆ ให้ผู้บริโภค โดยซุปดี ก็คือซุปที่มีวิวดีนั่นเอง และข้างในมีส่วนผลมอะไรกันนะ เราจะต้องแกะสูตรมันให้ได้เลย จะได้ซุปที่ดีและซุปอร่อยๆเหมือนเขาบ้าง
วัตถุดิบ (ไม่) ลับ 6 อย่าง
1) Keyword เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ AI จะรู้จักว่าคลิปของเราคืออะไร มีอะไรบ้าง ควรมีอยู่ให้ครบ 3 ที่นี้
- ชื่อคลิป : ที่ต้องดึงดูด และเป็นคำฮิต (เรายกตัวอย่างเอง เช่น อะไรก็ตามที่ลงท้ายด้วยทิพย์)
- description : คำบรรยายใต้คลิป
- tag : อันนี้สำคัญ เดาคำที่คนน่าจะ search แล้วเจอคลิปของเรา
2) Impression การมองเห็นคลิป ว่าเขาเห็นคลิปของเราที่ไหน ตัวอย่างอาจจะเป็นในตัว feed ของ Youtube หรือข้างๆคลิป ตัวเลขนี้จะไม่นับแบบ unique user นะ วันนึงเราอาจจะเป็นคลิปนี้สิบครั้ง มันก็จะนับสิบครั้ง
3) Impression Click-Through rate (CTR) : CTR คือเปอร์เซ็นต์ของคนที่เห็นคลิปแล้วคนกด เช่นใน 100 คน คนกดดูกี่คน
ในข้อนี้มีทริคก็คือ ทำปกคลิปให้น่าดึงดูด ทำให้คนอยากกดเข้ามา และเราก็จะได้ยอด view
4) View ยอดวิวทั้งหมดของคลิปเราที่ได้ และยังไม่ใช้ unique viewer นะ
5) Average View Duration ความยาวเฉลี่ยของคนดู เหมือนเป็น process ว่าเราทานอาหารจานนี้ไปแค่ไหน ทานหมดไหม
วิธีการคิดตรงไปตรงมา เอาจำนวนนาทีของทุกคนที่ดูคลิป หารด้วยจำนวนคนที่ดูคลิป
6) Watch time ยอดรวมเวลาเข้าชม อันนี้ก็ตรงไปตรงมา เอาจำนวนนาทีคนที่ดูคลิปเราทั้งหมดมารวมกันนั่นเอง
ภาพรวมของคลิปซุปวิวดี
อันนี้เราลองทำภาพสรุปเอง สวยไม่เท่าคุณซอฟอ่ะ คือสไลด์และการเล่าเรื่องเป็นลำดับต่อเนื่องได้ดีจริงๆอ่ะ
ทำอย่างไรให้ได้ watch time เยอะๆ (ได้เยอะๆแล้วจะได้ยอด view ที่ดี) ถ้าคนดูโดยเฉลี่ยยาวกว่าความยาวคลิป ให้ focus ตัวนาทีแทน % เนอะ
หน้าตาหลังบ้าน อันนี้เราแอบดูคลิปในช่องตัวเอง มันจะมีให้รายคลิปกับทั้งช่องให้เราด้วย จะประมาณนี้เนอะ จะล้อตามที่คุณซอฟกล่าวเลย หน้าตาเหมือนกัน
CTR ที่ดี ควรอยู่ประมาณไหน จากประสบการณ์ของคุณซอฟแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 6.0%-8.9% เป็นช่วงที่มนุษย์กำลังสนใจ
ถ้า CTR ตํ่ามาก เกิดจากปกคลิปของเรายังไม่น่าสนใจมากพอ ทำให้ไม่ไปต่อถึงยอด view, AVD และ watch time
ถ้า CTR สูงมาก เช่น 15% 12% ระบบจะเริ่มเพ่งเล็งว่าเป็น click bait หรือเปล่า ถ้ามีเยอะมากจนเกินไปจนสร้างความรำคาญให้แก่ user ทำให้เขาเบื่อและใช้แอพอื่น ต้องดูที่ AVD ของเราว่าดีไหม
- AVD ตํ่ามากๆ เป็น click bait แน่นๆ เป็นคลิปที่คุณภาพไม่ดี จะค่อยๆลดการมองเห็นคลิปของเราในอนาคต
- AVD สูงมากๆ ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์หน่อย เป็นคลิปที่มีคุณภาพ ระบบกล้าเอาคลิปเรานำส่งและแชร์ให้กับ user
และ AVD ที่ดีหล่ะ จากประสบการณ์จากคุณซอฟเช่นเคย
- 8 นาทีขั้นไป : สำหรับคลิปยาว 20 นาที เป็นเรื่องปกติ และเลขมักจะตํ่ากว่า 50% โดย auto
- 10 นาทีขึ้นไป : ให้รักษาคุณภาพของผลงานต่อไป
- 5 - 7:59 นาที : ไม่น้อย กำลังพอดี
- ไม่ควรน้อยกว่า 4 นาที ทำให้เราสะสม watch time ได้น้อยลง
AVD ที่ดี่ + watch time ที่ดี
= impression สูงขึ้น เป็น content ที่ algorithm ต้องการ เพิ่มโอกาสในการมองเห็นคลิป และคนคลิกเข้ามาเพิ่ม
= CTR / views ได้ยอดวิวเพิ่ม
พอได้ยอด view เพิ่มก็จะได้ impression สูงขึ้นอีก ทำให้ได้ AVD และ watch time ดีข้ึนไปอีก ทำให้คลิปของเรานั้น เป็น quality video
ส่วนประกอบที่สำคัญในแต่ละคลิป
- Content ที่ดี จะช่วยให้เรามี AVD และ watch time ที่ดี
- Thumbnail ที่ดี จะได้ CTR ที่ดี มาจากหน้าปกที่น่าสนใจ
- Keyword ทำให้ AI รู้จักคลิปของเรามากขึ้น
และถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นนะ
- ไม่มี keyword : algorithm จะหาคลิปเราไม่เจอ เช่นทำคลิปทอดไข่เจียว แต่ไม่ได้ใส่ keyword ลงไป ทำให้มันไม่รู้ว่า เราทำคลิปไข่เจียวอยู่นะ
- ไม่มี content ที่ดี จะกลายเป็น click bait
- มี thumbnail หรือหน้าปกคลิปที่ไม่น่ากด ไม่น่าสนใจ ทำให้พลาดโอกาสไป
Q & A
เราจะจดแบบกระทัดรัดที่สุด เพราะขี้เกียจจดอะไรยาวๆ
- การแบ่งเวลา คุณซอฟเริ่มทำตอนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย โดยเอาวันหยุดหรือเวลาไหนว่างก็นั่งทำด้วยความสนุก จนเติบโตไปมีทีมงาน ตารางงานค่อนข้างไฮบริค เพราะมองว่าการ planing ที่ดีทำให้ได้ workflow ที่ลื่น และ flexible กับตัว content ด้วย
- Algorithm ของ Facebook และ Youtube นั้นไม่เหมือนกัน โดยของ YouTube จะ stable กว่าของ Facebook และเก็บ stat หลังบ้านได้มากกว่า ให้ปรับเข้ากับความสนใจของคน และของ Youtube จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่นพวกคำฮิต และให้ระวัง sentitive word เช่น รีวิวยาฆ่าแมลง มันมองว่าคำว่า ฆ่า เป็น harmful มีความรุนแรง อาจจะใช้เป็น รีวิวยากำจัดแมลงแทน ให้ไปดูใน Community Guidelines
- ในการทำช่องใหม่ในช่วงแรกๆนั้น ถ้ามีทุนทรัพย์อาจจะยิง ads ได้ แต่ไม่ได้การันตีผลลัพธ์ อยู่ที่ความน่าสนใจของ content ของเรา อาจจะใช้วิธีการ colab กับช่องอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนฐานผู้ชม ในการขยายช่องของตัวเอง (จริงๆใน Youtube มีเยอะอยู่แหละ)
- มองทุกคลิปที่เราทำเป็นการทดลองเสมอ ลองทำ เก็บค่าประสบการณ์ไปเรื่อยๆ อันไหนที่เราชอบ เราจะอิน ส่งพลังให้คนดูรู้สึกได้ และคนดูอินตาม ยอด view ไม่ได้เยอะแต่ impact คนดูได้
- การตัดต่อคลิปลงหลายๆ platform ของคุณซอฟนั้น เจ้าตัวบอกไม่ได้ขยันตัดทุก platform จะเลือกตัดต่อให้ดูบน Facebook น่าสนใจ และสามารถดูบน Youtube ได้ด้วย (เพราะคนตั้งใจที่จะเข้ามาดูคลิปของเราอยู่แล้ว) มีการตัด highlight 5 วินาทีแรก และมี subtitle เสมอ เพื่อให้คนหยุดดู เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาตัดเยอะ
ลักษณะจะเป็นแบบในรูปนี้ เราแอบไปดูอยู่ ถ้าใน Facebook ที่เป็นรูปขวามือ ตรงกลางจะเป็นคลิป แล้วแต่ละช่องจะชอบทำคลิป 1:1 ใน Facebook ใช่ป่ะ เลยเหลือที่บนล่างใส่หนังสือที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าได้
- ถ้าเราเริ่มมีรายได้ และเริ่มขยับขยายทีม จึงค่อยหาทีมงาน เพื่อเราสามารถดูแลเขาให้ดีที่สุด
- การปรับเปลี่ยนรูปแบบ content ในช่องของเรา เราควรค่อยๆเปลี่ยน เพื่อให้คนดูปรับตัวได้ เดี๋ยวคนดูตกใจ
- วิธีการจัดการเมื่อทำงานกับคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว ในที่นี้อาจจะเป็นเพื่อน แฟน พี่น้องงี้ อยู่ที่สปิริตของคนๆนั้นว่า แยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกันได้ไหม และตกลงกันก่อน เช่น เราจะให้ feedback กันงานอย่างมีเหตุผล และจะต้องสื่อสารกันให้ชัดเจน เช่น อันนี้เราคุยเรื่องงานอยู่นะ
Basic Video Production by spin9
บรรยากาศเหมือนคิดว่าไม่ได้เรียนหล่ะ เหมือนเปิดคลิปช่อง spin9 ชัดๆ เหมือนพี่เขาออกมาจากคลิปเลยง่ะ
การเป็น content creator ก็จะมีหลายๆแบบ และแบบนึงที่ creator ทำกันเยอะก็คือ video production นั่นเอง ซึ่งมีหลากหลายมากๆ มีมือถือก็ทำได้แล้ว ไปจนถึงเริ่มใช้กล้อง DSLR มีช่างภาพ มีอุปกรณณ์ที่หลากหลาย
ใน session นี้จะกล่าวถึง video content การถ่ายทำ เบื้องหลังการทำงาน และเทคนิคดีๆ
basic video production บน video internet content
พื้นฐานของพี่อู๋คร่าวๆ คือจบวิศวะคอมมา (เหมือนเราเลย) เรียนรู้จากการทำงานต่างๆ จากใน studio และการเป็น solo artist จนมามีทีมเอง
ปล. ตอนเขียนบล็อกนึกถึง vantage. เลยง่ะ ฮืออออออออ
Production ดี คนจะนึกถึงอุปกรณ์เป็นหลัก เช่น กล้องและเลนส์ที่ดี ก่อน อยู่ในใจคนทำ production กันอยู่แล้ว ปกติส่วนอุปกรณ์จะมีกล้อง ไมค์ studio อุปกรณ์จัดแสงจัดไฟ
ถ้าเราเลือก improvement ระหว่าง ภาพชัด หรือ เสียงชัด เราจะเลือกอะไรดี?
ส่วนใหญ่จะเลือกภาพกัน ส่วนเราเลือกเสียงเพราะเห็นบางคนเขาอัดวิดีโอและเอาไปทำ podcast ต่อได้เลยไง จะได้ไม่ต้องทำเยอะ แหะๆ
คำตอบก็คือ เสียงชัด เพราะคนจะอยู่กับ video ที่มีเสียงชัดได้มากกว่า ดังนั้นจะให้ priority กับเรื่องเสียงก่อน ถึง content เราดีแต่เสียงไม่ชัด คนจะอยู่กับเราได้ไม่นาน เหมือนอ่านหนังสือที่ดี แต่ตัวหนังสืออ่านยากจัง
การเลือก microphone อาจจะใช้แบบธรรมดาก่อน เลือกในสเกลพอที่เราใช้ได้ก่อน
ส่วนเรื่องภาพ มีราคาและต้นทุนค่อนข้างสูง สินค้ามี update บ่อยในระดับครึ่งปี หนึ่งปี เมื่อเราเปลี่ยนอุปกรณ์เราจะได้ภาพที่ดีขึ้น แต่ตัว content video อาจจะไม่ดีขึ้นก็ได้
อย่างรีวิวสายการบิน เป็นการทำงานคนเดียว ถ่ายจากกล้องมือถือและ gopro ไม่ได้เน้นภาพดีที่สุด แต่ serve objective ในการทำงาน เป็นการรีวิวประสบการณ์การขึ้นไป และติดไมค์อยู่เสมอ เสียงในการบรรยายสำคัญ และต้องคล่องตัวมากๆ เพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่น และสุดท้ายงานตรงไปตาม objective ที่เราตั้งไว้
สรุป ขั้นกับสถานการณ์ว่าเอาภาพชัด หรือเสียงชัด
มีทีมงานหรือทำคนเดียว อันไหนดีกว่า?
อาจจะมองว่า ทำมีทีมงานก็คือคนที่ทำ full-time ทำคนเดียวก็อาจจะมองเป็น part-time หรือมีคนเข้ามาช่วย
มันอยู่ที่ว่า ถ้าเราทำคนเดียว เราเอาอยู่ไหม กับการแบก workload ของ role อื่นๆเข้าไปในทุกหน้าที่ด้วย ซึ่งก็เยอะอยู่นะ เช่น ถ่ายภาพ จัดแสง ทำบท ต่างๆ หรือมีทีมงาน เราก็สามารถ focus ในการทำและนำเสนอ content และต้อง match กับสถานการณ์ที่ดี
ถ้าเราเป็น talent หน้ากล้อง ช่างภาพ 1 คนรับผิดชอบกล้อง 2 ตัว อันนึงอาจจะเป็นกล้องที่ fix มุมไว้ อีกอันเป็นกล้องตาม อันนี้ตามที่เราเข้าใจเนอะจะประมาณนี้
ถ้าทำงานในสถานการณ์ที่จำกัดจำนวนคนเข้าไป และมีทีมงานเยอะ เราจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานในสถานการณ์ว่าควรเป็นใคร
บางครั้งก็ถูกบังคับให้ไม่มีทีมงานตามไปด้วย เช่น event driving คนที่นั่งข้างๆเป็น instructor เรายังทำงานได้อยู่ไหม เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อน แต่ basic เราต้องทำได้
อย่างงานเปิดตัว product ใหม่ที่ต่างประเทศ เชิญ 1 คน/สื่อ เราจึงจะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดให้ได้ เราจะต้องทำงานด้วยตัวเอง เพื่อจะ save ได้ด้วยตัวเราเอง set ทุกอย่างและจบมันด้วยตัวเองให้ได้ ต้องซ้อมมาจากที่บ้านแล้ว ว่าเรายังขาดเหลืออะไรบ้าง และเตรียม backup plan ที่มีความยืดหยุ่นมากพอ (เคยฟังช่อง LDA ที่เฟื่องลดาเล่าเรื่องส่งน้อยออยไปผจญภัยคนเดียว ในงานเปิดตัวมือถือรุ่นนึงที่ USA ก็จะประมาณนี้แหละ)
เราต้อง planing เรื่องการทำงาน ว่าข้อจำกัดของเราคืออะไร ถ้าเราเอากล้องไปถ่าย แล้วเจอแสงไม่ดี อาจจะเอามือถือมาถ่าย เพื่อ serve ในการทำ content นี้ ในเวลาเท่านี้ อาจจะต้องไม่ต้องมีคุณภาพของภาพที่ดีที่สุดก็ได้ เน้นถ่ายครบ
สรุป มีทีมงาน หรือ ฉายเดี่ยว ก็ได้ ถ้าสุดท้ายได้งานในแบบที่เราต้องการ
มีสคริปต์ หรือ สดๆไม่สนสคริปต์
บางอาจจะมองว่าการมีสคริปต์มันออกจะแข็งๆไปหน่อย ถ้าไม่มีสคริปต์ก็พูดไปเรื่อย จบไม่ลง และย้วยมาก แล้วเราควรจะมีหรือไม่มีแบบไหนดีนะ คนก็ไม่ชอบทำสคริปต์เพราะมันดูยาก ไม่น่าทำ
ทำสคริปต์เอง เราจะ list ออกมาก่อนว่าจะพูดอะไร อะไรที่ไม่น่าพูดก็ตัดทิ้ง จากนั้นนำมาเรียงลำดับ และเพิ่มเติมด้วยเทคนิคการนำเสนอ
สคริปต์ที่ดีคือ สคริปต์ที่เราและทีมงานรู้เรื่อง ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เป็นการสะท้อนว่าเราได้หาข้อมูล เพื่อส่งเสริมในการนำเสนอ และความมั่นใจของเรา ถ้าเราไม่ทำการบ้านในการนำเสนอ เป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ ถ้าเรารู้เท่ากัน เราจะดูเขาไปทำไมนะ!
ดังนั้น เราจะต้องมีสคริปต์เสมอ มีแบบคร่าวๆ มีกรอบว่ามีกี่เรื่อง อะไรบ้าง คุมไม่ให้เราลืมเรื่องที่เราจะนำเสนอ จะเป็นแบบไหนก็ได้ เพื่อนำเสนอได้อย่างครบถ้วน
เค้กสวย VS เค้กอร่อย
มุมมองและรูปแบบในการนำเสนอไม่เหมือนกัน
เค้กอร่อย : เป็นเค้กที่ใส่ใจในรายละเอียดและส่วนผสมที่คนชื่นชอบ คนจะรับรู้ได้เมื่อทานเค้กชิ้นนั้น คนจะเน้นดูที่ตัว content ถึงแม้มี production ที่ไม่ได้สวยมาก จะได้ comment ชอบการรีวิว มีข้อมูลครบถ้วน ทำให้คนจดจำได้ ทำให้คนกลับมาซื้อซํ้า (คือกลับมาดูช่องเราซํ้านั่นแหละ) ทำให้ยั่งยืนและอยู่ได้นาน
เค้กสวย : ทำให้สวย ขายได้ราคาแพง เพราะดูแล้วมีมูลค่า เนื้อหาอาจจะอ่อนไปบ้าง
แล้วเราจะเลือก improve อะไรดีหล่ะ? แต่ละคนมี priority ต่างกัน ดังนั้นจะไม่มีถูกผิด เพราะเค้กทั้งสอบขายได้ในตลาด
พี่อู๋เลยเลือกทำเค้กให้อร่อยและสวยด้วย
อันนี้เป็นคลิปประกอบ แกะจากสไลด์กับที่เราจำได้เลยนะ
อันนี้เราชอบที่สุดเลย น้อง iMac
และเราจะได้ comment ที่แตกต่างจากเค้กอร่อย
ดังนั้น เราจะ focus เรื่องไหนก็ได้ ถ้าคนยังอยากกินเค้ก และจุดขายของ content แต่ละประเภทแตกต่างกัน ต้องรู้จัก audience ของเราก่อนว่าต้องการอะไร
สิ่งที่ควรเด่นที่สุดใน video : ออกแบบทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง อยู่ที่เราทำ content สายไหน ถ้าเป็นสายนำเสนอ product หรือป้ายยา ดูจบเขาต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งนี้เหมาะสมกับเขาหรือไม่ ถ้าเป็นการท่องเที่ยว ประสบการณ์ท่องเที่ยวก็ต้องเด่นที่สุด การเรียงลำดับและ production ของ video อยู่ตรงไหน เราต้องหามันให้เจอ เพื่อไม่ให้ทำให้เราหลงทาง
เป้าหมาย จะวนกันใน 5 เรื่องนี้ ตัวหนังสือในสไลด์จะไม่เท่ากัน อยู่ที่เรา focus เราจะต้อง weight ให้ได้ ช่องเราอยู่ตรงไหง แล้วจะขยับอย่างไร
know your audience : รู้จัก audience ของเรา ไม่ใช้แค่กดดูข้อมูล demographic หลังบ้าน แต่ต้อง relate กับ content ของเราด้วย
Q & A
- คนที่เริ่มต้นทำควรเขียนสคริปยังไง : หน้าที่ของสคริปต์คือ คุมประเด็นในการนำเสนอ มีแค่ bullet ก็พอแล้ว เพื่อให้เราให้ข้อมูลไม่ผิด ถ้าเราเขียนแบบเป๊ะๆเราจะเผลออ่าน จะทำให้เราเกร็ง แก้ไขด้วยการ record ตัวเองแล้วก็ฟัง ก็คือซ้อมให้บ่อยนั่นเอง ทำเหมือนอัดหน้ากล้องจริง และอาจจะส่งให้เพื่อนที่สนิทฟังว่ารู้เรื่องไหม และรับ feedback จากเขา
- เราจะรู้จัก audience อย่างถูกต้องได้อย่างไร ให้ดูจาก comment ถ้ารู้สึกว่าลึกไม่พอคุยกกับคน comment ได้ เพื่อให้เข้าใจเขามากขึ้น เช่น เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เราอยู่ในวงการนั้นๆ หรือเราคิดว่าเขารู้ แต่จริงๆคนยังไม่รู้ หรือยัง wow กับมันอยู่ เราจะต้องเดาความเข้าใจของ audience ของเรา อาจจะ wrap-up ให้เขาฟังก่อน (เราขอยกตัวอย่างเองเนอะ เช่น ข่าว pancakebunny โดน hack เราจะต้องอธิบายก่อนว่ามันคืออะไร อาจจะเริ่มที่ blockchain ก่อนแล้วตามมาด้วย DeFi งี้) สคริปต์จะ complete ได้ก็ต่อเมื่อเราได้ experience จริง
- มีคนถามเรื่อง jump cut ประมาณว่าเป็นคนพูดไม่ค่อยลื่นเท่าพี่อู๋งี้ จริงๆแล้วเราสามารถใช้ production โดยใช้ magic ของมุม มาช่วยทำให้เนียนได้นะ สำหรับคนที่ยังพูดไม่ค่อยคล่อง ในจังหวะที่พูดผิดหรือข้อมูลผิด ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมาก
- "บางคลิปของคุณ ก็เป็นเรื่องที่ผมไม่สนใจ แต่ทำออกมาให้ดึงผมให้กดเข้าไปดูได้เลย อยากรู้ว่าตอนคิดงาน มีแนวทางคิดยังไงบ้าง ครับในการดึงให้คนมาสนใจ" บางเรื่องน่าสนใจในภาพรวม บางทีเราไม่ได้สนใจแต่คนดูสนใจ หาวิธีบีบ หรือใช้ production หรือใช้ scenario ที่คนคาดไม่ถึงเอามาช่วย เป็นการช่วยเหลือทุกฝ่าย ลูกค้าก็ขายของได้ คนฟังก็ได้ข้อมูล
- "สอบถามวิธีการสื่อสารกับตากล้องทีครับ มี เทคนิคยังไงบ้าง ถ่ายเสร็จมานั่ง เช็คfootage บางทีมันไม่ได้ดั่งใจครับ" เราทำงาน sync กันไปกับช่างภาพในระยะเวลาหนึ่ง ต้องคุยกันเยอะมาก มีบรีฟที่ดี รู้กับเขาตั้งแต่แรกตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่าย บางทีอาจจะมีการจิ้มบอกว่าอย่าลืม focus ตรงนี้ด้วย และเรากำลังสื่อสารเรื่องอะไร ไม่ต้องเป๊ะเพราะมีเวลาน้อย ขอให้ได้ครบพอ
พักเบรกนั่งกินซูชิที่สั่งมาแล้วไม่ค่อยอร่อย เป็นเวลา 10 นาที
ตามด้วย Workshop "เมื่อเปิดแอปแล้วเจอคนโอนเงินมาให้ 1 ล้านบาทแล้ว ..."
เราเลยลองทำสไตล์แบบ Tiktok ดู ห้อง break-out room เหมือนอาทิตย์ก่อนจ้า คุณพี่อู๋เข้ามารอแล้วจ้า ระหว่างนั้นเราก็คิดว่าจะถ่ายอะไรแล้วเริ่มถ่ายเลย
สำหรับแอพที่พี่อู๋แนะนำก็คือ Clips เป็นแอพทำ short video ของทาง Apple นั่นเอง ซึ่งหมายความว่า ใช้ได้เฉพาะใน iOS นะคะ แหะๆ แต่มันก็ใช้ง่ายจริงๆตามที่เขาพูดแหละ เราเคยลองใช้ครั้งนึงแบบขำๆ
และรอบนี้ตรวจนานหน่อยเพราะเป็นวิดีโอที่มีความยาว 30-60 วินาที ถ่ายมากกว่า 3 shots แต่ละอันที่หยิบมาจะเน้นความ creative เป็นหลัก อย่างอันแรก ได้เงินหนึ่งล้านบาทซื้อ bitcoin จากนั้นก็ได้ไปเที่ยวดอยเลยจ้า เจ็บกับหมดเลยทั้งคนทำและคนดูอย่างพวกเรา 55555 ของเราก็มีบ้านบนดอยเยอะ ไปดอย bitcoin แล้วไป Binance Coin ต่อจ้า อ่ะดอยมันทุกเหรียญยกเว้น stable coin ตลาดช่วงนี้น่ากลัวจริงๆ
ต่อมาจะมี อะไรนะ ได้ล้านบาทและดีใจยังไง อันนี้ production ดีมาก, ความคิดและความจริง เมื่อมีเงินโอนเข้าล้านนึง, โอนเงินผิดแต่ซื้อรถไปแล้ว, มีโอนทิพย์, เลียนแบบยูทูปเบอร์ว่าได้ล้านนึงเอาไปทำอะไร, สามีโอนเงินให้ล้านนึงเอาไปทำอะไรต่อ
Q & A
- พี่อู๋ปรับหน้าเค้กได้ผลไหม คนดูจะรู้ว่าเรากำลัง improvement อะไรอยู่ และตัวเนื้อหายังต่องดีเหมือนเดิม คือเป็นเค้กอร่อย
- ถ้าเราต้องทำงานให้จบเร็ว ในเวลาอันจำกัด หรืองานไฟไหม้ เช่น คลิปที่เป็นกระแส หรือสินค้าออกใหม่ ให้คนเห็นและสนใจในช่วงเวลานั้น ช่างภาพจะรู้ว่าจะไม่ imsert ในสิ่งที่ไม่จำเป็น
- ถ้าเรารู้ว่าอนาคตเราจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง เช่น เราโตขึ้น อยากทำ content อื่นๆที่เปลี่ยยนไปจากเดิม ควรจะค่อยๆหย่อน และใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆเบลนเพื่อคนดูปรับตัวได้ทัน และใส่ identity ความเป็นเราลงไป ยิ่งเรารู้ไวเราจะยิ่ง plan ล่วงหน้าได้
- อันนี้คำถามปัญหาโลกแตก คือคนนี้เขาซื้อไฟ พอจัดแสงไม่สวยก็ซื้อใหม่ ตอนนี้มี 3 อันแล้ว รู้สึกว่าไฟยังมีไม่พอ ในงานนี้นั้น ไฟที่ใช้มี 6-7 ดวง แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี555 วิธีแก้คือ ให้คนที่เขาจัดไฟเก่งมาช่วยจัด จากนั้นเราก็ถ่ายรูปเก็บไว้ และจดจำ ทำบ่อยๆ ถ้าไม่มี expert มาช่วยอาจจะให้คนที่บ้านนั่งเป็นนางเอก แล้วเราจัดแสงเอง ซึ่งเรื่องอุปกรณ์เขาบอกว่าไม่มีที่สิ้นสุด (ถ้าเราจำไม่ผิด online workshop ของ Skooldio ใช้ไฟ 3 ตัว เพื่อให้หน้าคนสอนชัดที่สุด)
- "คิดว่า VDO content สไตล์ไหนที่กำลังมาแรง พอจะแนะนำให้กับคนที่มือใหม่ที่เริ่มอยากทำบ้างครับ ถ้าเป็นคนที่ยังหาสไตล์ของตัวเองยังไม่เจอครับ" style ไหนที่กำลังมาแรง คำว่ามาแรงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อยู่ที่ objective และตัวตั้งต้นของเรา ทำในสิ่งที่เราถนัดและชอบ จะทำให้เราทำมันไปได้นาน และสามารถพัฒนา content ในระยะยาวได้ อันที่ไม่ใช่ก็ตัดออก และแนะนำให้ทำสไตล์ที่เราทำแล้วไม่พยายามเป็นคนอื่น ตัวตนของเราจะดึงดูดและสร้างความเชื่อใจให้คนดูได้
- "ทั้ง spin9 และ Softpomz เคยลองผิดลองถูกกันมาเยอะแล้ว มีอะไรที่อยากแนะนำไหมครับว่า อันนี้ Don't แน่ๆจากประสบการณ์ส่วนตัว" ถ้าเราทำไปจนมีคนติดตามเยอะขึ้นและมี brand ต่างๆเข้ามา จะเริ่มมีการ balance ระหว่าง content กับธุรกิจให้ได้ และมันจะเริ่มไม่ไปด้วยกัน ถ้าตั้งใจจะเป็น content creator แล้ว content ต้องไม่เบี้ยว มันอาจจะไม่ได้โตแบบหวือหวา แต่มันจะอยู่ได้นาน และอย่าขาดสภาพคล่องใรการลงคลิป ต้อง balance ตั้งแต่เริ่มต้นทางไปปลายทาง มีตัวตนอย่างสมํ่าเสมอ อย่ามาๆหายๆ ลง content อย่างสมํ่าเสมอและมีวินัยในตนเอง
Workshop Summary
- ของคุณซอฟ : algorithm, รูปแบบการลง content, และให้ลองลงทุนทำด้วยตัวเอง
- ของพี่อู๋ : การทำ video content, เข้าใจทีมงาน, และการทำ production
จากนั้นเข้าสู่ช่วง Product Session และเปิดเผย assignment 2 ที่ต้องส่งภายในวันจันทร์หน้า เฮืออออก...
ปล. เรื่องงานที่แบรนด์ชอบและไม่ชอบ คิดว่าบางอย่าง บางคำพูด มันอาจจะทำให้หลายๆคนที่เขาไม่ค่อยเก่ง creative เขาหมดกำลังใจได้นะ เพราะบางเพจก็ทำแบบให่ความรู้หนักๆไปเลย ถ้าอยู่ดีๆทำตัวแปลกจากเดิม ไม่ว่าจะเป็น social ไหน (ในวันนี้พูดถึงช่อง YouTube เนอะ หลายๆคนก็มี Facebook Page, TikTok และอื่นๆ) คนก็จะตกใจอยู่ดีแหละ เราสังเกตประมาณนึงว่าทุกคนตั้งใจทำ assignment นี้ออกให้ดีที่สุดนะ ถึงจะทันหรือไม่ทันก็ตาม ก็ทำกันเต็มที่แหละ ถ้าทุกคนเก่งแล้วทำงานออกมาแล้วสปอนเซอร์ชอบได้คงไม่มานั่งในค่ายนี้ไหมเอ่ย ก็ฝากไว้แล้วกันนะคะ
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
ช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า
และ YouTube ช่องใหม่จ้า