มาฝึกทำ Creative Content ให้ go viral กับ พี่เอ็ด 7 วิและพี่โค้ดดี้

Learning May 17, 2021

มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของค่าย TMRW Creators Camp 2021 กันแล้ว สัปดาห์นี้เราจะได้เรียนเรื่อง Creative Content กับพี่เอ็ด 7 วิ กับพี่โค้ดดี้ ซึ่งเราจะจำทั้งสองท่านนี้ได้จากเสือร้องไห้เนอะ ในวันนี้เราจะได้เจอพวกเขาผ่าน Zoom แอบตื่นเต้นกันเช่นเคย

จริงๆค่ายนี้คนส่งใบสมัครเกือบ 1000 คน จนมาเหลือผู้เข้าร่วมในค่ายนี้ 100 คน และทางทีมงานได้ positive feedback ที่ดีมากจากผู้เข้าร่วมเอง แต่ละคนทำ content จดสรุปมา มีของเราด้วย เย้ๆ

ตอนนี้เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

ปล. รอบนี้ทำภาพน้อยหน่อย พอดีเนื้อหาไม่ได้แน่นมาก + หยิบไปทำไม่ค่อยถูก + เอาเวลาไปคิด assignment

Creative Content 101 by พี่เอ็ด 7 วิ

session ในวันนี้น้านน จะเป็นลักษณะถามตอบกันระหว่างคุณเอ็มและ speaker เนอะ

Creative สร้างมูลค่าให้กับผลงานอย่างไร?

ความ creative สามารถสร้าง value ให้กับสินค้าทุกประเภทได้หมด เช่น โฟมล้างหน้า ซึ่งมีหลากหลายเต็มไปหมด เราจะทำยังไงให้โฟมล้างหน้าของเรา น่าซื้อกว่าของคนอื่น โดยมี creative และ differentiation ทำให้เป็น creative content ที่แตกต่างจากปกติ และมีความครีเอทลงไป

ดังนั้น ทำให้คนรู้สึกว่าแตกต่างจากคนอื่น และ content ของเราน่าซื้อ น่าดู ดึงดูดให้คนเข้ามาได้

จุดเริ่มต้นในการทำ channel เราจะดึง idea จุดเด่น ความแตกต่างของเราออกมาได้อย่างไร?

เราจะต้องสำรวจตัวเองก่อน ว่าเราชอบแบบไหน มีต้นทุนอะไรบ้าง คนไม่ชอบอะไรที่ fake เพราะมันดูฝืน ไม่เป็นธรรมชาติ เข้าถึงได้

how หรือวิธีการเล่าเรื่อง สื่อมีหลายช่องทาง เช่น video podcast บทความ รูปภาพ เลือกตามที่เราถนัด

what คนเขาชอบดู ชอบฟัง ชอบอ่านอะไร เริ่มอันที่ตรงความสนใจของตัวเองก่อน ทำให้เรามีพลังในการค้นหามันไปเรื่อยๆ

ถ้าเรานังไม่รู้หรือชอบอะไร? อาจจะต้องลงมือทำดูก่อน อย่างของพี่เอ็ดเองทำเสือร้องไห้ จนการสะท้อนว่าเราชอบ content แบบไหน เราถนัดแบบไหน เราอาจจะทำคลิปแล้ว upload มาดูเองก่อน ดูแล้วไม่เสียใจ ไม่เขิน ดูแล้วถูกใจตัวเองแล้วให้คนใกล้ตัวดูก่อน ถาม feedback ที่ได้ ซึ่งเขาจะบอกแบบถนอนนํ้าใจ เมื่อเราเอาไปอัพโหลดจริงจะเป็น high risk, high return เราจะได้ feedback จริงที่อาจจะแรงแต่จริงใจ

คลิปตัวแรกที่เปิดใน session นี้ก็คือ รีวิวโรงแรมที่ฮ่องกงนั่นเอง เป็นตัวที่ viral มากๆเลยหล่ะ

ที่มาที่ไปของคลิปนี้คือ ลูกค้าให้บรีฟมา เป็นแอพเปรียบเทียบราคาโรงแรม ไปทำที่ฮ่องกงเพราะพาภรรยาไปเที่ยวด้วย และได้ถ่ายงานไปด้วย ตอนที่ทำ footage จะทำ 5 price range มี 2,000 3,000 6,000 10,000 และ 20,000 บาท ในคลิปเราจะเห็นว่าจะยืนนิ่งๆแล้วก็ชี้ เพราะไม่ได้ขออนุญาตสถานที่ถ่ายทำ เลยจะถ่ายให้รบกวนเขาให้น้อยที่สุด

ดราฟแรกที่ตัดคือจะเล่าผ่านเสียงเข้าไป แล้วรู้สึกว่าคลิปนี้มันสนุกได้อีก ด้วยความที่พี่เอ็ดมีพื้นฐานทางด้านดนตรี แต่งเพลงได้ หลายๆคนคงทราบว่าพี่เขาเคยเป็นมือกลองวง Jetseter เนอะ บวกกับกระแสรายการแร๊พบูมในช่วงนั้น เลยลองเล่าด้วยเพลงแร๊พดู ตัวนี้ตัดไป 50 edit จากนั้นให้น้องๆในออฟฟิศดู

จะคล้ายๆการทำ prototype ที่ทำไปเรื่อยๆจนได้ final product ออกมานั่นเอง

ถ้าไม่ใช่แบบที่เราคิด แล้วต้องใส่เพิ่มเติม เราจะต้องแจ้งลูกค้าก่อน เพราะถ้าเราทำงานกับแบรนด์ใหญ่ๆ การทำงานเขาจะ lock ไว้ แต่โชคดีที่ลูกค้าเจ้านี้เปิดกว้าง มีแค่ key message มาให้ มีแค่แก้นิดๆหน่อยๆเกี่ยวกับฝั่งเขา แต่เขาจะไม่แตะตัว content ที่เราทำเลย

สำหรับการทำงานในแบรนด์ที่ใหญ่ขึ้น การทำงานจะ lock มี board และสคริป อาจจะไม่สนุก แล้วอาจจะขอแก้ไม่ได้ ซึ่งอันนี้อยู่ที่ดวงว่าเขาเชื่อมั่นในวิธีการเล่าของเรามากแค่ไหน (บางแบรนด์ใหญ่เขาอาจจะเปิดกว้างอะไรงี้ ที่เราเคยอ่านเจอ)

วิธีการ process ตั้งแต่เริ่มต้นจบจน ก็เริ่มจากรับบรีฟ แล้วก็คิด idea ในการ tie-in ยังไงให้แนบเนียน

แล้วเราจะ tie-in ยังไงให้แนบเนียน?

พี่เอ็ดทำท่าให้ดูงี้

ด้านขวาของพี่เขาคือ key message ของสินค้า เป็นสิ่งที่เราต้องขาย แต่ละแบรนด์มี node ของมันอยู่ อาจจะเขียนเป็น mindmap หรือ bullet point ก็ได้ ของสินค้าหรือบริการ

ด้านซ้ายที่แบมือนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่เขาอยากดู

และนำสิ่งที่เขาสนใจ เชื่อมต่อกับ key message ของแบรนด์ คิด idea ของเราในหัวให้ดูก่อน

อย่างอันนี้เป็นนํ้ายาพ่นคอ นำ key message ของเบา มาบวกกับเรื่องที่คนสนใจ นั่นคือสมุนไพรนั่นเอง นำเสนอเหมือนเล่นเกมส์ Resident Evil สังเกตุได้จากเดินไถๆ เหมือนในเกมส์ชัดๆ555

ทำให้คนรู้สึกร่วมท่วมท้มด้วย Nostalgia

Nostalgia ถ้าเราไปหาใน Google ก็ประมาณว่าความคิดถึงในอดีตแหละ (ส่วนตัวเราชอบ 80's nostalgia art ทั้งๆที่เกิดไม่ทันนะ555) เป็นสิ่งที่คนมีอายุหน่อยทำได้อย่างเข้มข้น มีประสบการณ์ร่วมกับคนจำนวนนึง ทำให้คนอยากดู และดูแล้วคิดถึงอดีต เกิด reaction เป็นทางเข้าอีกทางนึง แบบคลิปนํ้ายาพ่นคอเมื่อกี้

ถ้า idea ตัน คิดไม่ออก ทำยังไงดี?

พี่เขาบอกว่าของเขาไม่ค่อยตันเท่าไหร่ เขาจะมีวิธีการนึง คือ จด บางทีนั่งคิดแล้วมันไม่ออก อาจจะไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ไปนั่งดูทีวี อาบนํ้า ถ้านึกออกให้จดไว้ เป็นการ stock ของไว้ก่อน และสามารถเอาไปใช้ได้ในอนาคต เพื่อ plug กับ key message ของแบรนด์ได้

เวลาที่ตันให้ทำ activity ที่ทำให้เรานึกไอเดียออก แล้วก็จด และ idea มักไม่ค่อยออกในห้องประชุม (อันนี้น่าจะเป็นทุกวงการ) แต่ละคนมี style ไม่เหมือนกัน

Tie-in อย่างเซียน ไม่ต้องเนียน แต่ดูจนจบ

หลังๆคนเริ่มเดาคลิปพี่เอ็ดว่าคลิปนี้ขายอะไรน้าาา เช่นอันนี้ ลองเดาดูว่าเขาขายอะไร

อันนี้เป็นการนำ key message ของลูกค้า คือ เคี่ยวหมู 9 ชั่วโมง บวกกับมุขของขลัง อย่าง เขี้ยวหมู

ตอน execute เพิ่มความสนุก ทำยังไงให้คนดูจบ? มีภาพการ์ตูนประกอบเพื่อให้มีอะไรมากขึ้น และใส่เพลงอันเป็น signature เข้าไป เพราะคนจำเนื้อเพลงต่างๆได้ แล้วก็อยู่ในพื้นที่สมองของเราประมาณนึง

how เป็นการเล่าด้วยเพลง คนดูเพราะ what เราเล่าเรื่องอะไรอยู่

พอเรามีจุดเด่น ทำแล้วซํ้าๆตันๆให้เพิ่ม element, prob, location ในการถ่ายมีความพัฒนามากขึ้น โดยที่ทุนพอๆกัน เริ่มรู้ว่าคนเริ่มชินกับอะไร เรามีตัวตั้งต้นอยู่แล้ว เอาของมาผสมเพิ่ม เช่น ร้านอาหารออกเมนู seasonal เราต้อง update เรื่อยๆให้มีอะไรใหม่ๆออกมา

มีอะไรที่ลองแล้วไม่ work ในยุคนี้แล้ว work ในก่อนหน้านี้ : แทบจะไม่มี เพราะ content เปิดกว้างมากๆ ตอนเสือร้องไห้ใหม่ๆยังไม่มี player เยอะเท่าตอนนี้ แบรนด์มาลงเยอะ ตอนนี้ไปเฉพาะทางมากขึ้น เช่น รถยนต์ ของกิน เครื่องสำอาง gadget เราเลือกไป segment ไหน และอุตสาหกรรมนั้นมีเงินหมุนเวียนเท่าไหร่ และขึ้นอยู่กับความต้องการเงินของเราด้วย ฮ่าๆ

ทำอย่างไร ถึงจะคิดงานครีเอทีฟได้?

คาแรคเตอร์ของคนที่ครีเอทีฟได้ดี คือ เป็นคนที่นอกเรื่องเก่ง แก้ปัญหาต่างๆได้ดี เช่น ขับรถไปทำงานต้องออกจากบ้านเช้าๆ เราอาจจะคิดวิธีการเดินทางที่ใช้เวลาน้อยลง และเรามีเวลานอนมากขึ้น เป็นคนคิดค่อนข้างกว้าง มองนอกกรอบ แต่ต้องรู้ว่ากรอบมันอยู่ตรงไหน เช่น จะทำ content แบบนี้แต่มีคนอื่นทำแล้ว แล้วค่อยคิดว่าทำยังไงให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ง่ายขึ้น

อันนี้เป็นเรื่องที่สอนกันยาก อยู่ที่พรสวรรค์ด้วย และพี่เอ็ดเองบอกในหลายๆครั้งว่าผมเป็นคนขี้เกียจนะ เลยชอบทำสิ่งที่มีอยู่ในเวลาน้อยลงได้

การออกนอกกรอบนั้นค่อยๆแตะเข้าไปทีละก้าว ไม่ต้องลงไปทำเต็มตัว ค่อยๆลงไปทำ เช่น ทำงานประจำแล้วก็เป็นครีเอทเตอร์ด้วย

Q & A

อันนี้เราขอจดแบบย่อๆเนอะ

  • จริงๆการทำ video ไม่ใช่สิ่งที่พี่เอ็ดชอบนะ มี passion ในทาง e-sport แต่เล่นเกมส์ไม่เก่ง แต่ทำ content ได้ดี เก่งดนตรี เอามาใช้หาเงิน ดังนั้นเอาความสามารถที่มี มาใช้หาเงิน แล้วเอาเวลาไปทำ hobbie หรือสิ่งที่เรามี passion กับมัน ถ้ามีเงินก็ทำตาม passion ก็ได้
  • ช่วงแรกคนตามเพราะ content ของเรา ช่วงหลังคนจะเริ่มตามเพราะตัวเรา
  • วิธีการรับมือกับ content ที่เราทำแล้ว engagement ดี แต่คนไม่ซื้อของ เรามีหน้าที่แค่ชี้หรือบอกเกี่ยวกับสินค้าหรือโปรโมช่นนั้นๆ ส่วนเรื่องของยอดขายเป็นเรื่องของทาง marketing หรือตัวแบรนด์นั้นๆ
  • "หนึ่งคลิป ทำนานมั้ยครับพี่เอ็ด เพราะดูครีเอทีฟมากๆเลยฮะ" เหมือนกับการแต่งเพลง อาจจะทำเสร็จไม่นาน หรือทำนานมากก็ได้ แล้วแต่ช่วงว่าเราคิดออกไหม บางแบรนด์ก็มีการจองเวลาไหม ทำให้เราสามารถ manage เวลาได้มากขึ้น เฉลี่ยต่อตัวใช้เวลา 3 อาทิตย์ ช้าตรงเจอ idea
  • เรื่องทำเพลง จบคนเดียว เพราะเป็น low cost ads แต่งเนื้อเพลงเองตามบรีฟของลูกค้า เพื่อให้ง่ายต่อการถ่ายภาพ ว่าถ่ายได้ไหม อยู่ใน cost หรือเปล่า ส่วนดนตรีหาทีหลัง อาจจะซื้อจากตามเว็บต่างๆ เช่น shutterstock, epidemic sound หรืออื่นๆ
  • "พี่เอ็ดจัดการยังไง กับลูกค้าที่ขอแก้งาน แก้จนเสีย สไตล์งานของเรา หรือ ต้องการให้พูดข้อมูลสินค้า จนงานเราไม่น่าสนใจ" เมื่อก่อน cancel ถ้าไม่ตรงกับ objective ของเรา แต่ตอนนี้ ถ้าเขาแก้เยอะจนไม่น่าดู อาจจะถามแบบเตือนๆหน่อย ประมาณว่า มันไม่ work นะพี่ พี่จะเอาแบบนี้ใช่ไหม ให้เราว่าเราเป็นช่างตัดเสื้อ เช่น ลูกค้าจะตัดเสื้อขนแกะไปใส่เที่ยวทะเล เราอาจจะเอ๊ะทำไมไม่เป็นเสื้อฮาวาย ก็ถามเขาประมาณว่าพี่แน่ใจแล้วนะ ถ้าปรับไม่ได้ก็ถ่ายมันให้ดีที่สุด
  • balance กับจุดที่เราและคนดูชอบ

คิดงาน CREATIVE ฉบับ KODEY GoodDayOfficial

channel GoodDayOfficial ตั้งต้นมาจากความสนุกจากช่องเสือร้องไห้ มาสนุกด้วยกัน และจริงๆแต่ละคนชอบทำงานเบื้องหลังกันมากกว่า ช่องนึงเป็นช่องวาไรตี้กลาง เป็นสนามเด็กเล่น มาจากเราอยากทำอะไร จากไอเดียที่เรามีอยู่

คิดงานครีเอทีฟให้ตัวเอง หรือให้คนอื่น ต่างกันยังไง?

  • คิดงานให้ตัวเอง ข้อดีคือ เหมือนการตัดเสื้อที่เข้าใจตัวเองดี ข้อเสีย คือ ไม่พยายาม push limit ตัวเอง และไม่ออกจาก safe zone
  • คิดงานให้คนอื่น ข้อดีคือ เราเห็นเขาในแบบไหน ได้แชร์มุมมองกัน มีความสนุกมากขึ้น

คิดงานให้ตัวเอง

step ในการมองตัวเองสู่ content : หยิบจากปัจจัยต่างๆที่มี หยิบข้อดี ช่วยกันคิด ขายงาน ของสิ่งที่ดีใกล้ตัวมาเล่าให้ฟัง

ตัวอย่าง น้องๆในออฟฟิศชอบมาประชุม และนั่งเล่นกันที่คอนโดพี่โค้ด เขาจะเลือกห้องคอนโดที่ขนาดใหญ่หน่อย เพื่อ support น้องๆ

https://www.youtube.com/watch?v=R-PxPKEqZCk

เวลาทำคลิปของตัวเอง idea ตั้งต้นมาจากชีวิตของตัวเอง ที่น้องๆชอบมาประชุมที่คอนโด เล่นเกมส์ ทำกับข้าวกินกัน

เริ่มจากอะไรง่ายๆรอบตัว เช่น คลิปโดดยาง มีคนไปเจอในไอจีน้องที่ออฟฟิศเขาว่าออฟิศมีเล่นโดดยางกันด้วย เลยจัดแข่งขันในบริษัทซะเลย (เราชอบอันนี้ สนุก)

https://www.youtube.com/watch?v=DuAFXocsOlY

จริงๆรายการนี้เป็นรายการคั่นนะ ให้ช่องมี content ดูต่อเนื่อง

เราขอแปะเพิ่มอันที่ดูแล้วชอบและสนุกเนอะ ที่ไม่ได้กล่าวถึงใน session นี้

ประกวดแฟลชไดร์ฟ

https://www.youtube.com/watch?v=z4HloycFfXo

จำชื่อคนในออฟฟิศ

เคล็ดลับ : เริ่มจากสิ่งที่คุยกันแล้วหัวเราะเสียงดัง คุยกันสนุกๆ แล้วหยิบมาทำ

ความเรียล : ข้อดี คือ โลกออนไลน์เน้นความเรียล ไม่ต้องจัดแจง ได้ความสนุกและตื่นเต้น และข้อเสียคือ เราต้อง control มันให้อยู่ ไปสู่ปลายทางที่ดีได้

ช่องเกษียณสำราญ มาจากสิ่งใกล้ตัว และคนที่ใกล้ตัวเรา เริ่มจากแม่ ข้อดีคือเขารู้จักเขารอบๆ มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ก่อนหน้านี้เราจะคุ้นกับชื่อเพจว่า "นี่มันแม่เราชัดๆ" เป็นการเอาเรื่องจริงของแม่ลูกมาเล่า แล้วเอาเหตุการณ์นั้นมาถ่ายทำใหม่ ก่อนหน้านี้มีงาน 7 วัน การทำ content กับคุณแม่ทำให้เขามีเวลาอยู่กับคุณแม่มากขึ้น ได้เจอแม่บ่อยกว่าเดิม พอได้ยินเกี่ยวกับแม่ของเพื่อนๆ รู้สึกว่า section ความเป็นแม่ยังไปได้อีก เลยเอาแม่เพื่อนมาเล่าด่วย เป็นช่องใหม่ ก็คือช่องเกษียณสำราญ นั่นเอง

เทคนิคสำหรับรายการนี้คือ ทำให้กองถ่ายนี้มีความธรรมดาที่สุด เน้นกองเล็กที่เป็นกันเอง สนิทกันเหมือนลูกหลาน เพื่อให้เขาคุ้นมือ ไม่เกร็ง สร้างสภาพแวดล้อมให้เขา ตากล้องสามารถพูดขึ้นมาได้เลย ในแต่ละกองก็ set กองให้เหมาะสม

ดังนั้น เราสร้างเป็นตัวของตัวเอง + สนุก + เรื่องดำเนินต่อไปได้

คิดงานให้คนอื่น (ในฐานะโปรดิวเซอร์)

เริ่มจากความเชื่อใจกัน ว่าเราเห็นเขาในมุมไหน ทำ content ให้ย่อยมาก เล่นคนเดียวได้ มีคนหลังกล้องคอยคุยด้วย

ก่อนอื่นจะต้องดูคาแรทเตอร์เขาก่อนว่าเป็นอย่างไร และปูไปทางไหนได้บ้าง มีความเข้าใจคนทำงานเบื้องหน้า ต้อง sync กัน ทำให้ทุกคน happy

วิธีการบิ้วทีม เราจะต้องสนุกก่อนที่จะทำอะไรสนุกๆ เดี๋ยวมันจะสนุกเอง ในส่วนการทำงานก็ค่อยๆปรับกันไป เหมือนเด็กที่อยากไปโรงเรียน

รายการนี้มีหลายคน เราต้องวาง story อย่างไรบ้าง สร้างบรรยากาศที่ดี ทำงานกับเพื่อนพี่น้อง จับเพื่อนรวมกันน่าจะสนุก ทำให้งานสนุก รายการกึ่งๆวาไรตี้แบบนี้ โยนอะไรบางอย่างให้เขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำ มี action ก็ต้องมี reaction ไม่มีบท เป็น reality

guideline การทำรายการวาไรตี้ เรียลลิตี้ : เริ่มจากเข้าใจตัวเองใากๆก่อน เช่น ทำ vlog จะบอก do dont ไม่ได้ เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้ดูประมาณว่าคนอยากดูไหม เราอยากทำต่อหรือเปล่า

ช่องไม่ค่อยเจอดราม่า (มีบ้างแต่น้อย) เพราะว่าทำงานกันอย่างเข้มข้น ไม่ให้คนดูไม่สบายใจ เข้าใจบริบทของสังคมและคนดู เราควรสื่อสารออกไปอย่างไร ปรับไปเรื่อยๆ การทำงานของพี่โค้ดคือจะไม่ค่อยดุน้อง แต่จริงจังในการทำงาน

เป็นรายการใหม่ของช่อง และเป็นรายการแรกที่ไม่ได้คิดเอง ทีมทำงานเริ่มเข้ามือกัน จึงให้น้องๆขายรายการใหม่ ทำไหน work ก็เอามาทำ มาจากไอเดียจากน้องทีมงานที่ว่า ถ้าเราไม่มี Google Maps แล้วจะไปยังไง คนไม่จำทาง คิดว่าน่าจะสนุก แบบสมัยก่อนที่ขับรถแล้วจอดถามทางคน คนสองคน คือรถขับ และคนนั่งข้าง เถียงกันระหว่างทางน่าจะสนุก และเอาไอเดียนี้มาต่อยอดให้เป็นรายการจริง

ถ้าอยากทำหลายอย่าง คิดหลัก 90:10 หรือ 80:20 คือ

  • 80 หรือ 90 : เน้นคนดู ความสนุกของมัน
  • 20 หรือ 10 : ทำเพราะอยากทำจริงๆ อยากทำเพราะสนุก ถ้าไม่ได้ทำแล้วจะเสียดาย โดยไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ และไม่ได้นึกถึงคนดู ส่วนผลลัพธ์เราสามารถปรับได้ เลือกได้

วิธีทำงานกับลูกค้า : มีความรู้องค์รวมในงานทั้งชิ้นให้กลม ทำให้งานของเรามีมิติมากขึ้น

องค์ประกอบ : เรา + ลูกค้า + คนดู ถ้า happy หมดจบเลย ลูกค้าเข้าใจ

รายการแข่งทำอาหารด้วยวัถตุดิบเดียวกัน ทีมงานไปถ่ายบ้านแต่ละคนในช่วงโควิด กองต้องเล็ก ได้ไอเดียขากเกมส์ overcook หลายบ้านคุยกันสนุกดี ทีมงานแต่ละบ้านจะส่งข่าวกันว่า บ้านนี้พูดอะไรกับบ้านนี้บ้าง เพื่อให้เขาสามารถโต้ตอบกันได้แม้จะอยู่คนละที่กัน

resource มาจากการดูทุกอย่างที่เป็นกระแส น่าสนใจ ได้รางวัล เป็นข่าว ชอบดูทุกอย่าง เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ชอบทำงาน original ไม่อยากติดภาพจากสิ่งที่เราดูในงานของเรา ถ้ามีคนทำไปแล้วจะขอคิดใหม่

คิด idea อย่างไรให้ไม่ตัน?

style พี่โค้ดคือ ต้องการมีคนมานั่งคุยด้วย มีประสิทธิภาพ มีการโต้ตอบกัน brainstorm กัน ขายงานให้น้องๆฟัง ได้ไอเดียจากน้องๆที่คุยด้วย

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำงาน

การเลือกคนเข้าทีม จะไม่ได้ดูวุฒิ เพราะเป็นองค์กรเล็กๆ เลือกคนให้เหมาะกับงาน สนุกกับงานที่ทำ กล้าคิดกล้าทำ ส่วนใหญ่จะสัมภาษณ์เอง ทัศนคติสำคัญกว่าความสามารถ เพราะคนเราสามารถพัฒนา skill ได้

ในส่วนทักษะที่ควรมี ต้องเข้าใจในสิ่งที่เราจะทำ แล้วไปด้วยกันได้

โปรดิวเซอร์ เป็นคนสร้างงาน และมี creative ในส่วน skill set จะแล้วแต่ว่างานนั้นต้องมีอะไร เราขาดอะไร มาเติมเต็มเข้าไป เพราะไม่มีใครเก่งครบทุกอย่าง และพยายามสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ ถ้าไม่ได้ก็เอาใหม่

วิธีการประณีประนอมกับทีม ใช้หลักประชาธิปไตย จะให้น้องๆโหวตกันเองก่อน ไม่ให้เอาตัวพี่โค้ดมาเป็นที่ตั้ง แล้วเอาอันที่ vote เยอะมาปรับต่อ

รูปแบบการทำ content ให้เติบโต : ความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ ให้เห็นว่าคนดูชอบอะไร ปรับอะไรต่อ ค่อยๆทำงานของเราให้ดี เงินจะมาเอง

Q & A

แนวคำตอบของพี่โค้ดไม่เน้นแบบฟังธงหรือ judge ไปเลย จะเน้นให้เราเอาไปคิดต่อเอง เหมือนการ coaching อ่ะ

  • มี passion และต่อเนื่องกัยมัน เราจะแบกและทำมันไปเรื่อยๆ และค่อยๆปรับได้ อยากทำก็ทำ เพื่อไม่ให้รู้สึกหมดไฟ
  • "ในการที่เราจะมาวิเคราะห์คลิปย้อนหลัง เราควรดู ระยะเวลายันหลังกี่เดือนดีค่ะ เพราะกลัวว่าเราติดอยู่ กับความสําเร็จเดิมๆเกินไป คนดูอาจจะเปลี่ยน พฤติกรรมแล้ว" เราต้องวิเคราะห์เพราะอะไร ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราต้องเข้าใจข้อมูลจริงๆ และเราเอาไปทำอะไร ต้องดูลึกกว่าพวกเพศ อายุ บลาๆ
  • ในการ lead คนให้แสดงไอเดียหรือความเห็น เราจะต้องทำการสื่อสารกับเขา ให้โจทย์เขา สร้าง inspire ให้เขาออกไอเดียกับเรา
  • "อะไรเป็นสิ่งที่พี่โค้ดตัดสินใจว่า new idea ของรายการใหม่อันนี้ดีและจะมีคนดูแน่นอน" เราอยากทำ หาข้อมูลเพิ่มเติม มาวิเคราะห์ คิดวนๆซํ้าๆในหัวจนตกตะกอน ให้เราแม่นขึ้น เก็บรายละเอียด และหยอดอื่นได้มากขึ้น

จากนั้นพักเบรกกินหนม 10 นาที ไปดูพี่แทนสร้างโปรเจกใน Firebase ใน Sunday Coding


Workshop

อันนี้จะมีให้พี่ๆให้คำแนะนำก่อน workshop พี่เอ็ดบอกว่าถ้าเป็นเรื่องพวก time many of value พูดหรือเล่าเรื่องการเงินให้เข้าใจง่าย เช่น เงินเฟ้อ การออม อะไรงี้

โจทย์ในวันนี้คือ "หยิบสิ่งของรอบตัว มาทำคอนเทนต์ ให้เห็นมุมมองใหม่ที่น่าสนใจ"

มีเวลาเกือบชั่วโมง คิดไม่ทันเลย พอเข้า break-out room เท่านั้นแหละ!

พี่โค้ดดี้เข้ามาอยู่ในห้อง break-out แล้วจ้า โอ่ยยย ล่กกกกกก ไม่รู้จะถามอะไรพี่เขา แบบแก้บัค เอ้ย แก้โจทย์ไม่ทันล้าว คร่าวๆเขาก็จะถามทีมงาน

ตัว content เราจะคิดแบบไวๆ กับสิ่งที่อยากทำ คือเรื่องราวการนำ Discord มาใช้ทำงานในทีมนั่นเอง แต่ของคนอื่นที่หยิบมาคือครีเอตและขำมาก เช่น หยิบ pretz มาจุดธูปสาธุ, เอาหน้ากากอนามัยมาทำอย่างอื่นได้ด้วยนะ, รีวิวของใกล้ตัวเหมือนที่เขาทำกันใน IG story มีความคล้องจอง, มาม่าไม่ได้ทำให้ผมร่วง แต่ทำให้ผมบลอน ของแม่ฉลาม, และขายตรงบัตรเครดิต TMRW มีแร๊พด้วย พี่ค่ะพี่จะรีบทำ assignment ไปหน้ายยยยย จะส่งงานเลยใช่หม้ายย

ปล. ผลงานใน workshop นี้ ถูกนำไปต่อยอดเป็น content นี้

รีวิวการใช้ใช้ Discord ทำงานกับทีม มันจะเป็นอย่างไรบ้างนะ?
หลังจากที่ทีมเราใช้ Discord เป็นตัวหลังในการสื่อสารในทีม ก็เลยครึ่งปีไปแล้ว เลยลองสรุปดูเนอะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
https://www.mikkipastel.com/review-working-with-team-by-discord/

Q & A รอบก่อนจบ

  • เอา content ขึ้นมานำก่อน ให้คนอื่นจำ content ที่เราทำได้ แล้วให้ตัวเรานำ content ได้
  • เราจะใช้ข้อมูลอะไร มาวิเคราะห์อะไร
  • การทำ content ให้จับกับแกนที่เรามีอยู่
  • content เดียวสามารถต่อยอดได้หลายอัน เช่นทำ video สั้นๆแล้ว link ไป blog เพื่อไม่ให้เราเหนื่อยเกินไป
  • ช่อง YouTube มีความแน่นอนในการลงคลิป ให้คนพอคาดหวังได้
  • กระแสเดี๋ยวนี้มาไวไปไวมาก ถ้าเราทำ content ตาม trend เราต้องดูความเร็วของตัวเองด้วย เพราะทำเสร็จแล้วอาจจะไม่ทันกระแสนั้นๆ
  • การทำคลิป ถ้าพูดไม่เก่ง ขึ้น copy ไปก็ได้ อย่างคลิปทำอาหาร อาจจะมีแค่มือและอาหารที่เราทำ ถ้าอยู่คนเดียวอาจจะคุยกับตากล้องได้
  • “การทําคลิปในช่องที่คอนเทนท์แตกต่างกัน ควร แบ่งลงแบบไหนดีคะ ไม่ให้คนดูงงหรือคนดูเก่า หายไป (ถ้าช่องทำเองคนเดียว) ขอบคุณค่ะ" ถ้าทำคนเดียวคนไม่ค่อยงง อาจจะแบ่ง slot ลง เพื่อให้คนชิน หรือทำเป็น series ก็ได้
  • คลิปเดียวกัน ควรลงทุก social ไหม : ทำได้ แต่ในแต่ละ platform ไม่เหมือนกัน, content เดียวกัน อาจจะ work หรือไม่ work ในทุก platform ได้

พี่ๆฝากอะไรมาบ้าง

พี่เอ็ด : เรียนแล้วต้องลงมือทำ, ฝึก tie-in บ่อยๆ, คิดอะไรได้แล้วให้จดไว้ก่อน

พี่โค้ด : ให้สนุกกับงานที่ทำ

workshop summary

session พี่เอ็ด

  • สิ่งที่แบรนด์มี + แกนที่คนชอบ = content ที่คนและแบรนด์ชอบ
  • เก็บบันทึกมุขและไอเดีย เพื่อนำมาใช้งานในอนาคต

session พี่โค้ด

  • รูปแบบการทำงานที่สนุกสนาน มีพลังงาน ที่สำคัญต้อง sync กันระหว่างทีมและทีมงาน
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน งานจะออกมาดีด้วย
  • ศึกษาข้อมูลของเขาให้พอดี เหมาะสมกับอะไร พูดคุยกัน
  • เล่า idea ต่างๆให้ทีมฟัง ให้เห็นภาพเดียวกัน จะทำให้ทำงานประสบความสำเร็จ ได้ content ที่ดี

จากนั้นก็จะเป็น product session และเปิดเผย assignment 1 ที่จะต้องทำส่งกัน เราจะได้ทำงานเหมือนเรารับงานจากแบรนด์นั้นมาทำจริงๆ ก่อนที่สัปดาห์ต่อไปจะเรียนเกี่ยวกับ video production กันจ้า

ปล. พี่โค้ดชอบบอกตลอดเลยว่าแต่ละคนที่มาค่ายนี้เก่งกันมากๆเลย ฮือออออ สร้างกำลังใจได้เป็นอย่างดีเลย


download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่

MikkiPastel - Apps on Google Play
First application from “MikkiPastel” on play store beta feature- read blog from https://www.mikkipastel.com by this application- read blog content by chrome custom tab- update or refresh new content by pull to refresh- share content to social network
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mikkipastel.blog

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

ช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า

และ YouTube ช่องใหม่จ้า

mikkicoding
Android Developer & Content Creator
https://www.youtube.com/channel/UCtGbMSe4i7NJiKQ271Fezcg

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.