สรุป online course "การสร้างการนำเสนอที่จับใจ (Presentation Skill)"

Learning Jul 30, 2021

เติมความรู้เรื่องการนำเสนอ สรุปโดยย่อว่า ถ้าใครเริ่มด้วยการทำสไลด์ให้เลิกซะ ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เราจะเล่าดีกว่านะ

ทางเราก็เลยลองลงเรียนอีกคอร์สนึง ชื่อว่า Presentation Skill การสร้างการนำเสนอที่จับใจ ในเว็บไซต์ของทาง Creative Economy Agency online academy

https://academy.cea.or.th/course/29/

โดยสามารถกดเพื่อลงเรียนได้ที่

https://academy.cea.or.th/course/29/

และ download file template เพื่อลองทำดูได้จ้า

ทางเราจึงมาสรุปเพื่อเอามาทำ session ของเราเนอะ


จากไอเดียสู่การเล่าเรื่อง (From  Idea to Storyline)

มี 3 Steps คือ

1) me & audience

เริ่มต้นเรื่องของเรากับคนฟัง คนฟังของเราเป็นใคร

ควรเริ่มจากการที่เราพัฒนาเรื่องหรือวางแผนเรื่องของเราให้แข็งแรง เริ่มจากกระดาษหรือ post-it ก่อน

องค์ประกอบของการนำเสนอมี 3 ส่วน คือ

  1. คนนำเสนอ (speaker) เราเป็นคนนำเสนอ เล่าเรื่อง ส่งสารบางอย่างไปสู่คนฟัง เพื่อให้เขาได้อะไรบางอย่างกลับไป เช่น ให้เขาเกิดการเปลี่ยนบางอย่าง มีความรู้ความเข้าใจในเรืองนั้นมากขึ้น ลงมือทำบางอย่าง
  2. เรื่องที่เล่า (message)
  3. คนฟัง (audience)

รู้จักคนฟังของเราก่อน

  • คนฟังของเราเป็นใคร : อายุเท่าไหร่ เพศอะไร ทำงานอะไร บลาๆ
  • รู้เรื่องนี่ขนาดไหน : มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะเล่ามากน้อยเพียงใด
  • คาดหวังหรืออยากรู้อะไร : เขาอยากฟังอะไรจากเรา และเขาจะได้อะไรกลับไปหลังจากฟังเรา
  • สนใจหรือใส่ใจอะไร

อะไรคือเรื่องสำคัญที่เราอยากให้คนฟังเข้าใจหรือรู้เรื่องมากที่สุด อันนั้นจะเป็น main idea ของการนำเสนอของเรา และนำ main idea ที่ได้มา check 3 มุม

  • เราตื่นเต้นกับเรื่องที่เราจะเล่าหรือเปล่า : ถ้าเราอินกับมัน เราจะสื่อสารออกไปได้ดี
  • เรื่องนี้มีประโยชน์กับคนฟังหรือเปล่า
  • เรื่องนี้เหมาะกับเวลาที่เรามีหรือไม่

2) message map

วางแผนการสร้างเรื่องที่แข็งแรงด้วยแผนที่ไอเดีย

เวลาที่เหมาะสมของการนำเสนอคือ ประมาณ 18-20 นาที เพราะสั้นพอและยาวพอ

ถ้าเราจำเป็นต้องนำเสนอยาวกว่านี้ อาจจะแยกหรือหั่นชิ้นต่างๆให้สั้นลงไม่เกิน 18 นาที อาจจะคุ่นโดยการพักเบรก หรือเปิดวิดีโอ หรือมีการเชื่อมต่อต่างๆ

message map คือ การทำโครงเรื่องให้แข็งแรง มาจากหนังสือ Talk Like Ted ของ Carmine Gallo ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  • Main message : ไอเดียหลักของการนำเสนอของ้รา หรือแก่นเรื่องหลักที่เราจะนำเสนอ หรือสรุปใจความทั้งหมด แล้วเชื่อมประเด็นต่างๆเข้าด้วยกัน ความยาวจะอยู่ที่ 2-3 บรรทัด หรือไม่เกิน 140 ตัวอักษร
  • Key point : สนุบสนุน main message หรือขยายความให้คนฟัง เห็นภาพชัดเจนขึ้น แนะนำให้มีอย่างน้อย 3 key point
  • Supporting points : ข้อมูลที่สนับสนุนแต่ละ key point นั้นๆ มี 3 อย่าง คือ เรื่องเล่า (แนะนำให้เล่าเรื่องแทนขายสรรพคุณโดยตรง), สถิติหรือตัวเลขต่างๆ (ยอดรายได้), ยกตัวอย่าง (สาธิตให้ดู)

ตัวอย่าง ของคอร์สนี้

3) storyline

พัฒนาให้เป็นเส้นเรื่องการเล่าเรื่อง ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้คนฟังอยู่กับเราตลอดเวลา

วิธีการทำง่ายๆ คือใช้ post-ir แปะเขียน 1 ประเด็นที่เราอยากจะเล่า และแปะเรียงกันตามเวลาของการนำเสนอของเราได้เลย ทำให้เราเห็นภาพของการนำเสนอทั้งหมด สาเหตุที่ใช้ post-it คือ สามารถย้ายลำดับที่เราแปะได้อย่างสะดวก

ตัวอย่างการเล่าเรื่อง จริงๆมีหลายแบบ ในนี้ยกมา 4 แบบ คือ

  • เราสามารถเล่าเรื่องเป็นกล่องหรือเป็นข้อก็ได้ เช่น 7 วิธีการทำอะไรสักอย่าง
  • การเล่าเรื่องจากแนวคิดไปสู่ข้อเสนอ เช่น เราจะสร้างวิสาหกิจชุมชนได้อย่างไร
  • การเล่าแบบปัญหาทางออก เช่น ยกปัญหาขึ้นมา แล้วเสนอทางออกที่แก้ปัญหานั้นขึ้นมา
  • การเล่าแบบพระเอก-ตัวร้าย เช่น เราจะจัดการมลพิษทางอากาศได้อย่างไร

สร้างหมัดเด็ดขึ้นมา เพื่อให้คนจำเรื่องที่เราเล่าได้ เช่น Bill Gates พูดถึง malaria โดยการนำกล่องที่มียุงเข้ามาในห้อง บอกว่ายุงพวกนี้มีเชื้อมาลาเลียนะ แล้วเปิดกล่องขึ้นมา พาทุกคนตกใจ แต่ก็บอกว่ายุงพวกนี้จริงๆไม่ใช่ยุงที่มีเชื้อมาลาเลียนะ เพื่อให้ทุกคนสนใจในสิ่งที่เราเล่ามากขึ้น

https://www.ted.com/talks/bill_gates_mosquitos_malaria_and_education

ออกแบบสไลด์ช่วยเล่าเรื่อง (visual aid slide)

1) visual aid concept ออกแบบสไลด์ให้คนฟังเห็นภาพ

เราเป็นตัวเอกในการนำเสนอ ส่วนสไลด์เป็นแค่ตัวช่วย

อุปสรรคหรือหลุมพรางที่มำให้การนำเสนอของเราแย่ได้

  • ใช้เวลาเตรียมเรื่องน้อย แต่ทำสไลด์นาน : ควรใช้เวลาทำเรื่องให้แข็งแรงแล้วค่อยทำสไลด์ตอนท้าย
  • ใช้ตัวหนังสือเยอะ : ทำให้คนดูสไลด์แทนที่จะฟังเราเล่าเรื่อง วิธีแก้อาจจะให้แจกเอกสาร หรือตัดเนื้อหาสำคัญหรือ keyword ใส่ในสไลด์นั้นๆแทน
  • ใส่ทุกอย่างลงในสไลด์หน้าเดียว : เป็นภาระของคนฟัง

Nancy durate กล่าวไว้ในหนังสือ slidelogy ว่า

สไลด์ที่ดี ควรดูแค่ 3 วินาทีแล้วรู้เรื่อง

เรื่องของการออกแบบ design (เน้นเรื่องฟังก์ชันและการใช้งาน) not decurate (ตกแต่ง)

Concept 3S

  1. Single message : 1 slide พูดแค่เรื่องเดียว หรือประเด็นเดียว
  2. Simple : ออกแบบให้เรียบง่าย อะไรที่ไม่จำเป็นให้เอาออกไป
  3. Sync : ตัวสไลด์จะต้องเชื่อมโยงกับเนื้อหา และสอกคล้องกับสิ่งที่เราจะเล่า

Story template ตรง visual คือการออกแบบสไลด์

2) text picture structure

องค์ประกอบของสไลด์ และเทคนิคออกแบบตัวอักษร ภาพ และการจัดวาง

Text ตัวหนังสือ

  • ปริมาณตัวหนังสือ : ให้ตัดประโยคหรือ keyword สำคัญ มาอยู่บนสไลด์
  • Font : ให้ใช้ 1-2 แบบก็เพียงพอแล้ว ดูง่าย ชัดเจน ตัวอย่าง font ก็จะมีไทยสารบัญ (TH Saraban New), สุขุมวิท เซต, พร้อม(Prompt) หรืออาจะเป็น font ประมาณ Arial, Helvetica, Calibri ซึ่งเราสามารถเลือกตามความเหมาะสมได้
  • ขนาดของตัวหนังสือ : เลือกขนาด 30 ขึ้นไป เพื่อเน้นข้อความ หรือเพื่ออ่านได้เหมาะสม มีหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และ description
  • การเน้นของตัวหนังสือ : เหมือนนํ้าเสียงที่เราจะพูด เน้นหนักเบา ตามจังหวะ สามารถเน้นตัวอักษรด้วยขนาด เพิ่มความหนา หรือใช้สี เพื่อให้คนอ่านเห็นจุดเน้น หรือความแตกต่าง
  • การวาง text บนรูปภาพ : วาง text สีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน หรือทำกล่องโปร่งใสวาง text หรือวางบนพื้นหลังสีให้มัน contrast กัน

Picture เลือกภาพที่ดีและทรงพลัง

  • ภาพมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา : หน้าที่คือเปิดเผยให้คนฟังเห็นภาพ หรือช่วยอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือเสริมบรรยากาศให้สนุกขึ้น สวยงามมากขึ้น
  • วางภาพให้เต็มจอของสไลด์ เพราะให้ความน่าสนใจมากกว่า และใช้จุดตัด 9 ช่อง
  • ความละเอียดของภาพ ให้เลือกเป็น high resolution ไม่งั้นภาพแตก และหลีกเลี่ยงภาพที่มีลายน้ำ
  • การใช้กราฟ chart และอื่นๆ : 1 แผนภาพสื่อสาร 1 message มีการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้เพียง 1-2 สี และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราจะพูด ตัวอย่าง ted talk stats you’re ever seen

Structure การจัดวาง

  • การวาง layout : วางจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง
  • สี : ใช้เน้นจุดสำคัญ หรือเน้นความแตกต่าง ใช้ 2-3 สีพอ โดยมีสีพื้น เป็นสีพื้นหลัง ให้เน้นสีอ่อนเข้าไว้ สีหลัก ใช้กินพื้นที่ส่วนใหญ่ในเนื้อหาของเรามสรเน้นอาจจะคนละโทน หรือโทนเดียวกัน หรือ contrast กัน
  • ใช้ animation transition เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

3) how to show ideas

ออกแบบเสร็จแล้วไปใช้ต่ออย่างไรได้จะใช้สไลด์อย่างไร สื่อผสมอื่นๆ และการลงมือทำ

3 เทคนิคในการใช้สไลด์ระหว่างการนำเสนอ

  • สามารถชี้หรือเล่นกับสไลด์ได้ เช่น ชี้ ผายมือ ใช้ pointer laser
  • สามารถหยุดภาพสไลด์ได้ ระหว่างพูดเล่าเรื่องหรือนำเสนอ เพื่อคุมประเด็นในการเล่าเรื่องของเรา
  • สามารถปิดสไลด์ไว้ก่อนได้ เพื่อให้คนฟังกลับมาสนใจที่ตัวเรา กับเรื่องที่เราจะพูด

ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไร สื่อเหล่านี้มีจุดประสงค์ให้คนฟังนั้นเห็นภาพชัดเจนขึ้น และเข้าใจคนฟังได้มากขึ้น

ตัวอย่าง Joe Smith อธิบายเรื่องการใช้กระดาษทิชชู่แผ่นเดียวในการเช็ดมือ

https://www.ted.com/talks/joe_smith_how_to_use_a_paper_towel

สุดท้าย แนวทางในการพัฒนาฝีมือทักษะในการทำสไลด์

  1. ดูงานตัวอย่างเยอะๆ เช่น Ted talk, slideshare.com
  2. ค้นหาสไตล์ของตัวเอง
  3. ให้เวลากับการซ้อมเยอะๆ ซ้อมบ่อยๆ จะทำให้การนำเสนอของเราแข็งแรงและมีพลังมากขึ้น

download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่

MikkiPastel - Apps on Google Play
First application from “MikkiPastel” on play store beta feature- read blog from https://www.mikkipastel.com by this application- read blog content by chrome custom tab- update or refresh new content by pull to refresh- share content to social network
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mikkipastel.blog

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

และช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.