สรุป Clubhouse "การเรียนรู้อย่างทรงพลังด้วย Retrieval Practice"
บล็อกนี้จดจาก clubhouse ของอาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งไม่ได้ใช้ Retrieval Practice จดแต่อย่างไร แหะๆ และเป็นห้อง clubhouse แรกที่ทำสรุปแบบจริงจังด้วยหล่ะ
ตัว session นี้ จัดในวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม เวลาบ่ายสองโมงจ้า ใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง
ย้อนความกันก่อนว่ารู้จักอาจารย์เขาจากไหน?
รู้จักจากตอนเรียนที่ CHULA MOOC วิชาปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง ซึ่งทางเราเองก็เคยอ่าน Medium ของอาจารย์มาบ้างแล้ว
และถ้าเรียนคอร์สของทาง CHULA MOOC จะมี Facebook Group ของทุกวิชาทุกรุ่นอยู่แล้ว โดยวิชานี้อาจารย์ธงชัยเป็นคนที่ active มากๆ มี content ให้คนเรียนได้อ่านเสมอแม้จะจบคอร์สกันไปแล้ว และกิจกรรมที่อาจารย์เขาทำในช่วงนี้คือ เปิดห้อง clubhouse นั่นเอง ซึ่งอาจารย์เขาจัดไปหลายๆเรื่องแล้ว เช่น เรื่องวิทยากร, เรื่องเขียน Medium, innovation DNA แต่ก็ยังไม่ได้จบสรุป
พอมาถึงเรื่องนี้ก็เลยขอจบสรุปทำ content จากห้อง clubhouse หน่อยแล้วกัน เพราะก็มีหลายๆเพจ หลายๆคน ทำกันอยู่ และเราเองนั้นก็ได้กดติดตามอาจารย์ใน clubhouse ด้วย ทำให้เราเห็นว่าอาจารย์จะตั้งห้องเรื่องอะไร กี่โมง รายละเอียดคร่าวๆมีอะไรบ้าง
ทำไมเจ้าของบล็อกได้เล่น Clubhouse ทั้งๆที่เป็น Android Developer ที่ใช้ Android?
(มีใครถามไหม ก็ไม่) คือทางเราขอ invite เพื่อนมา เลยเอามาเล่นใน iPad จ้า เลยได้เจอทั้งบรรดา CEO ต่างๆ เช่นเจ้านายเราเอง หัวหน้าเรา รวมไปถึงพี่ๆน้องๆในวงการ developer จ้า
เข้ามาตอนแรกๆไม่ทัน อาจารย์กล่าวถึง
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ Retrieval Practice
- Ultra learning : คนเขียนเรียน Computer Science จบในเวลา 1 ปี!
มีบทนึงพูดถึง Retrieval Practice โดยเฉพาะ โดยกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้อย่างเข้มข้น ที่เอาไปใช้ได้จริง สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ kinokuniya, asia book และถ้าใครมี kindle ก็สามารถทดลองอ่านเล่มนี้ก่อนได้จ้า
- Powerful Teaching: Unleash the Science of Learning อันนี้จะเหมาะกับอาจารย์ วิทยากรต่างๆ สามารถทดลองอ่านได้ทาง kindle เช่นกัน
https://thailand.kinokuniya.com/bw/9781119521846
ตัวหนังสือเขาก็จะมี website ด้วยนะ
- website ของ Retrieval Practice โดยเฉพาะ ซึ่งเว็บด้านบนก็จะลิ้งมาเว็บนี้เหมือนกัน
Retrieval Practice คืออะไร?
Retrieval แปลว่าดึงออกมา ส่วน Practice ก็คือฝึกฝนนั่นเอง
สรุปแล้ว Retrieval Practice คือการดึงความจำหรือความรู้ต่างๆที่อยู่ในสมองออกมา โดยไม่เปิดหนังสือหรืออะไรก็ตาม ซึ่งต้องใช้ความพยายามดึงออกมาจากสมองของเราให้ได้ ในส่วนนี้จะเป็น output
ในงานวิจัยเขาแบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม คือ
- อ่านทบทวนซํ้ากี่ครั้งก็ได้
- อ่านทบทวนได้แค่ครั้งเดียว
- เขียน concept map
- ปิดหนังสือ และเขียนทุกสิ้นทุกอย่างที่จำได้
เรามาลอง predict ดูคิดว่ากลุ่มแรก อ่านทบทวนซํ้ากี่ครั้งก็ได้ จะได้คะแนนสอบมากที่สุด ผลการสอบพบว่ากลุ่มนี้ได้คะแนนน้อยที่สุด และมีความจำระยะยาวน้อยที่สุดอีกด้วย ส่วนกลุ่มที่มีคะแนนมากที่สุดและมีความจำในระยะยาวดีที่สุด คือ กลุ่มที่ปิดหนังสือ และเขียนทุกอย่างที่จำได้
วิธีการทำ Retrieval Practice
มี 3 วิธีใหญ่ๆ คือ
- พูด : พูดสิ่งที่เราจำได้ให้มากที่สุด
- เขียน : เขียนด้วยอะไรก็ได้ ให้ได้มากที่สุด และน้อยที่สุดแค่ 2 ข้อก็ได้
- ปฎิบัติ : เช่น เขียนโค้ด, ทำโจทย์เลขเยอะ, ฝึกซ้อมเยอะๆ (อาจารย์ยกตัวอย่างเป็นกีฬา แต่อาจจะเป็นดนตรี หรืออะไรก็ได้ ซ้อมพูดก็ได้ ต่อบทก็ได้อีก ลิปซิงค์ TikTok ก็ได้ อ่ะพอหล่ะเยอะไป)
ในที่นี้อาจารย์จะพูดแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น
การพูด
เรียนรู้อะไรแล้วลองพูดออกมาคนเดียว เช่น อ่านหนังสือจบ 1 บท แล้ว
- Free Recall พูดให้ได้เยอะที่สุดว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง
- พูดให้คนอื่นฟัง เช่น ไปสอนคนอื่น, เล่าให้คนอื่นฟัง อาจารย์แนะนำวิธีไปสอนคนอื่น เพราะยิ่งสอนคนอื่น ตัวเราจะยิ่งเข้าใจบทเรียนนั้นๆมากขึ้น
- ถ้าไม่สะดวก เช่น อยู่บนรถเมล์ อยู่บนรถไฟฟ้า เราอาจจะคิดในใจก็ได้
ตัวอย่างจาก speaker หลายๆท่าน
- ทำ workshop มี assignment ไปสอนลูกน้อง แล้วอีก 10 วันให้ลูกน้องกลับมาแชร์ว่าหัวหน้าพูดอะไรให้ฟัง
- จับคู่คุยกันหลังสอนไปสักพักนึง
- สรุปและเล่าเนื้อหาที่เรียนให้เพื่อนฟัง
- ทบทวนความเข้าใจกับหัวหน้าว่าเราเข้าใจตรงกันไหม
การเขียน
อาจจะเขียนออกมาเยอะๆก็ได้ หรือเขียนแค่ 2 ข้อก็ยังได้เลย
- Free Recall / Brain Dump : เขียนทุกสิ่งที่เราจำได้ออกมา เน้นดึงข้อมูลในหัวเราออกมา ไม่เน้น tool และ method เช่น จะเขียนบนกระดาษ, ใช้คอมพิวเตอร์, เขียน bullet point, mindmap, visual thinking
- Two things : ลองเขียนว่า เมื้อกี้เรียนรู้อะไรบ้าง 2 หัวข้อที่จำได้ และสามารถขยายความต่อเป็นอีกหลายๆข้อได้
- ทำ Flash Card : เหมาะกับการเรียนภาษาต่างประเทศต่างๆ มีข้อควรระวังคือ อย่าใช้เร็วเกินไป พยายามตอบให้ได้ อย่ารีบดูเฉลย
- การทำแบบฝึกหัดท้ายบท : พยายามตอบคำถามด้วยตัวเองให้ได้ และเขียนคำตอบลงไป
การนำ Retrieval Practice ไปใช้ในบทบาทต่างๆ
นักศึกษา
- พูดคนเดียว หรือเขียนออกมา ว่าเราจำเนื้อหาอะไรได้บ้าง แต่ถ้าไม่ได้ทบทวนก่อน เพราะอาจจะไม่มีข้อมูลให้เราดึง ดังนั้นเราอาจจะอ่านก่อนรอบนึง แล้วลองดึงดู
- ติวกับเพื่อน เช่น นัดกันผ่าน zoom หรือใน clubhouse ก็ได้
อาจารย์
- เรียนสักพัก ให้คนเรียนจับคู่คุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ ควรทำสดๆร้อนๆจะได้ผล
- Two things : พิมพ์ 2 คำที่เรียนมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในช่องแชท zoom ในการเรียนออนไลน์ หรือเลือกจาก 1 คำในนั้น มาเขียน two things ต่อ
- Kahoots : ทำ quiz แบบไม่เก็บคะแนน ให้นิสิตนักศึกษาตอบ ให้ตัวคนเรียนรู้ตัวเองว่าจะจำเนื้อหาได้มากน้อยแค่ไหน เอาไว้ใช้เป็นกลยุทธ์ในการเรียนรู้ ไม่ให้เครียดกับการเรียนจนเกินไป
- อันนี้อาจารย์เขาไม่แน่ใจว่าใช่ไหม ตอนที่อาจารย์เขาไปเรียนปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เขาจะบอกว่าจะสอนอะไร ให้ไปอ่านมาก่อน เข้าคาบก็ quiz เลย ทำให้เวลาใกล้สอบคนเรียนไม่ต้องอ่านเยอะ เพราะได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมในตอนเรียน
คนทำงาน
- อ่านหนังสือ 3-4 หน้า แล้วทำการ Free Recall ว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง จะเป็นการพูดหรือเขียนก็ได้
- เขียนเพจสรุปต่างๆ เช่น clubhouse ห้องนี้มีประเด็นอะไรบ้าง (ทางเราจะเน้นเขียนบล็อกมากกว่า กับเริ่มทำแนว one-page summary บ้างแล้ว)
- สอนหรือเล่าให้คนอื่นฟัง
ตัวอย่างจาก speaker หลายท่านๆ
- ให้นิสิตทำ journey ว่าเรียนอะไรบ้าง ฝึกให้คนเรียนตกผลึกออกมา ฝึกใช้สิ่งที่เรียนมา assign งานเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อนิสิตนักศึกษามากเกินไป
- สร้าง good habit เช่น เขียน diary
- ให้นิสิตจับคู่ช่วยกันเขียน mindmap สรุปสิ่งที่เรียนในคาบนั้น ทำให้ผู้เรียนได้ชีสวิชานั้น โดยอาจารย์ไม่ต้องแจกชีทวิชานั้นให้
- จดสรุปข้ามคืน
- สามารถอัดเสียงเพื่อทบทวนได้
บทความอื่นๆที่ไปเจอตอนเขียนบล็อกนี้
ทางเราเองนั้นใช้การจดสรุปแบบให้ได้มากที่สุด ทำให้เนื้อหาบางทีละเอียดมากๆ ก็ทำให้เครียดบ้าง ดังนั้นเราอาจจะใช้หลักการนี้ในการทำ content สรุปต่างๆ รวมทั้งการทำงานเขียนโปรแกรมด้วยเนอะ :D
ปล. อาจารย์จะมีบล็อกเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้อ่านกันอีกทีนึงจ้า
ฝาก clubhouse เจ้าของบล็อก คือยังไม่ได้เปิดห้อง ชอบเข้าไปนั่งฟังตามห้องต่างๆ และชอบแอบส่องว่าเจ้านาย หัวหน้า ฟังห้องอะไรกันบ้าง อิอิ
จริงๆมีประเด็นอยากเปิดห้องมากมาย เช่น
- ตามหา developer สาวๆ ว่าทำงานที่ไหนกันบ้าง มี lifestyle อย่างไร ทำไมถึงไม่เจอตามงาน meetup หรือ conference สักเท่าไหร่
- Tech Community ในไทยมีอะไรบ้าง และช่วงนี้ผลักดัน community กันยังไง
- เรื่องทางเท้า สะพานลอย รถเมล์ และผู้สูงวัย
- open data นี่ open จริงไหม? มี pain point อะไรบ้าง?
- อื่นๆยังนึกไม่ออก .. Q&A กับลูกเพจหรอ
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
และช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า