มาเรียนคอร์สที่ Content Shifu แจกช่วง COVID-19 กับ SEO Keyword Research

Learning Apr 26, 2020

พอดีเราสมัคร email newsletter ของ Content Shifu ไว้ แล้วเจอว่ามีคอร์สฟรีแจกให้ช่วง COVID-19 นั้น มี 2 course เช่นกันคือ SEO Keyword Research และ Website Conversion สามารถรับ course ได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 เท่าน้านนน

SEO Keyword Research
Website Conversion

เราเลยเริ่มเรียนคอร์สที่ชื่อว่า SEO Keyword Research ก่อน เพราะสิ่งนี้

โอะ ต้องรีบเรียนแล้วใช่ไหมนะ และหลังจากนั้น 3 วันคือมีเมลล์ถาม feedback มาจริงๆจ้าา

จริงๆคอร์ส SEO Keyword Research นั้น เป็น subset ของคอร์ส Essential SEO จ้า ในบทที่ 2 นั่นเอง

Essential SEO

SEO คือ Search Engine Optimization การทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับการค้นหาหย้าแรกๆของ Google

และในคอร์หลักบอกว่า มี 7 เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในการทำ SEO

  • SEO Keyword Research ค้นหา keyword ของ website
  • SEO Site Structure การสร้างแผนผัง website ที่ถูกหลัก SEO
  • Content Strategy For SEO การวางแผนสร้าง content ที่ช่วยให้เว็บไซต์ขึ้นสู่หน้าหนึ่งของ Google
  • SEO On-Page Optimization การปรับแต่ง content ให้มีคุณภาพในสายตาของ Google
  • SEO Off-Page Optimization การสร้าง Backlinkที่ส่งผลต่ออันดับของ Google
  • ROI for SEO วิธีวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการทำ SEO และการปรับปรุงพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
  • Google Search Control การปรับปรุงผลลัพธ์การทำ SEO ด้วย Google Search Control

SEO Keyword Research

วิธีการค้นหา keyword ทำเงินของ website ของเรา

เป็น part ที่สำคัญมากๆของการทำ SEO เหมือนติดกระดุกเม็ดแรกถูก ถ้าเราหา keyword ที่ง่าย แข่งขันได้ โอกาสทำเงินก็จะสูงด้วย และทำให้โอกาสทำ SEO สำเร็จจะมีสูง ถ้าเราทำผิดแต่แรก ทำ 0n-page off-page แล้วขึ้นอันดับก็จริง แต่คนที่เข้ามาเว็บไซต์ของเราอาจจะไม่ใช่คนที่เราต้องการ ไม่ตอบโจทย์ goal ของเรา

มี 5 หัวข้อหลักๆคือ

Introduction to Keyword Research : Keyword Research คืออะไร

keyword คือ คำหรือวลีที่คนใช้หาข้อมูลใน Google เช่น จะไปพักที่เชียงใหม่ อาจจะค้นหาว่า "ที่พัก เชียงใหม่ สวยๆ"

keyword research คือ การค้นหาว่า คนเขาใช้อะไรค้นหาใน Google นั่นเอง และแต่ละคำมีปริมาณคนค้นหาเท่าไหร่ ทำอันดับยากหรือง่าย

Characteristics of Great Keywords : ลักษณะของ Keyword ที่ดี

ลักษณะ keyword ที่ทำเงินและเหมาะกับเว็บไซต์ของเรา

  1. มีปริมาณค้นหาพอควร : เพราะยิ่งเราเข้าถึงคนอ่านมากเท่าไหร่ โอกาสขายสินค้า โอกาสทางธุรกิจ หรือเป็นที่รู้จักยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
  2. ต้องแข่งขันได้ : keyword ที่ดี ไม่ใช่ปริมาณเยอะ แต่เป็นเรื่องของคุณภาพ ต้องเป็นคำที่แข่งขัน เรามั่นใจว่าคำนั้นต้องขึ้นหน้า 1-2 ให้ได้ เพราะถ้าติดหน้า 3 ลงไป ปริมาณคนเข้าเว็บของเราจะน้อยมากๆ จนแทบไม่ได้รับประโยชน์จากการทำ SEO ของ keyword นั้นๆ
  3. นำกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่เว็บไซต์ : ถ้าเลือก keyword ดี ก็จะช่วยเลือกคนเข้าเว็บไซต์ที่เราให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ ข้อดี คือ กลุ่มเป้าหมาย เป็นคนที่สนใจสินค้าหรือบริการของเรา ดังนั้นง่ายให้จูงใจให้เขาเป็นลูกค้าเรา หรือทำบางอย่างที่เว็ยเราต้องการ
  4. เป็นคำที่เป็นลักษณะ high commercial intent : คือเป็น keyword ที่ถูกใช้โดยคนที่สนใจ/ต้องการสินค้าหรือบริการของเรา มี 2 ชนิดหลัก คือ
  • buy now keyword : คำที่ถูกใช้โดยคนที่ต้องการสินค้าหรือบริการอย่างเร่งด่วน เช่น ต้องการจองที่พัก
  • product keyword : คำที่ระบุยี่ห้อ รุ่น ลักษณะของสินค้า เช่น หากองทุน ที่พักราคาประหยัด เป็นคนที่บ่งบอกว่าสนใจสินค้าหรือบริการของเรา

Type of Keywords : ชนิดของ keywords

สำคัญมากๆ ต้องเข้าใจ แต่ละชนิดทีความแตกต่างกัน และใช้งานต่างกัน ถ้าเราเข้าใจ จะสามารถใช้งานได้ถูกต้องตาม ROI

  1. Seed Keyword : คำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเว็บไซต์ของเรา เป็นคำกว้างๆ เน้นภาพรวมของสินค้าหรือบริการ ดังนั้นเหมาะกับการเป็น keyword ประจำ home page เพราะ home page ของ website จะบอกภาพรวมว่าเว็บไซต์เราเกี่ยวกับอะไร (วิธีจำ : สินค้าและบริหารของเรา คำกว้างๆ ภาพรวม)
  2. Niche Keyword : เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเป้าหมายเว็บไซต์ ลักษณะเป็นกลุ่มสินค้าหรือบทความ เหมาะกับการเป็น keyword ประจำ catelog ของเว็บเพจ หรือ product categoty (วิธีจำ : ขยาย seed)
  3. Niche Longtail Keyword : คือคำเฉพาะเจาะจงสินค้าใดสินค้าหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมาะกับการอยู่ที่ post หรือ product page (วิธีจำ : ขยาย need)

ประโยชน์ของการเข้าใจชนิดของ keyword : เพื่อนำไปใช้วางแผนการสร้างแผนที่ของเว็บไซต์ (Site Structure) เนื่องจากแต่ละลำดับชั้นของเว็บไซต์ต้องใช้งาน keyword ต่างชนิดกัน จึงต้องรู้ว่า keyword อยู่ในชนิดไหน และใช้งานอย่างไร

และเราเรียนไปเพื่ออะไร? เรียนเพื่อให้ 1 webpage ของเรา มีได้หลาย keyword การค้นหาต้องใช้หลายๆคำ ต้องปรากฏในเว็บเดียวกัน เช่น ขึ้นเว็บตัวเองได้หลาย keyword นั้นๆในหลาย platform เว็บไหนคนเข้าชมเยอะ โอกาสที่จะได้ขึ้นหน้า 1 มีสูง

เทคนิคการใส่ Keyword แบบนัก SEO

การใช้ keyword บนเว็บเพจให้ถูกหลัก SEO ต้องเข้าใจ 3 เรื่อง คือ

1) ลักษณะการใส่ keyword

  • ตรงคำ : ตรงคำแบบเป๊ะๆ
  • ผสมคำ : มีคำที่ค้นหาอยู่ แต่เรียงกันแบบสลับกัน

2) primary & secondary keyword

  • primary keyword : ต้องการทำอันดับอย่างเจาะจง คือ คำที่อยากให้ขึ้นหน้าหนึ่งหรือใกล้อันดับ 1 มากที่สุด อาจจะเป็นคำที่ตรงกับสินค้าเรามากที่สุด หรือคนค้นหาเยอะ ดังนั้นให้เขียนแบบตรงคำสำหรับคำที่เรามุ่งหวัง เพราะคำเกี่ยวข้องกันมากกว่า คล้ายๆ Google Adsword
  • secondary keyword : keyword รอง เป็น keyword ที่ต้องการทำอันดับแบบคำเสริม (คำเสริม คือ คำที่เกี่ยวข้องกับคำหลัด และต้องการให้มากดบน webpage เดียวกันกับ keyword หลัก) เรียงแบบผสมคำหรือตรงคำก็ได้ และ 1 webpage มีได้หลายคำ

ตัวอย่าง : เช่นขายชุดคลุมเบาะรถยนต์ลายแมนยู เราต้องการเขียนแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้นเราจะเขียนแบบตรงคำ คือ "ชุดคลุมเบาะรถยนต์ แมนยู"ซึ่งคนซื้อของจาก keyword นี้มากที่สุด ส่วน keyword รอง เขียนแบบผสมคำ คือ "ของแต่งรถ แมนยู"

เราสามารถใส่ได้หลายๆ keyword ใน 1 web page แบบผสมคำ ทำให้ web page นึงมีหลาย keyword

keyword รองสามารถขึ้นอันดับหน้า 1 หรือ 2 ก็มี แต่โอกาสจะตํ่ากว่า เน้นใช้เสริมพลังเว็บของเรา

title tag ที่ดี คือ บอกว่าเราขายอะไร ทำไมคนถึงซื้อ ใส่เพื่อจูงใจ ให้คนมาคลิกซื้อของเรา (on-page : CPR เว็บที่ถูกคลิกเยอะ มูลค่าการคลิกจะสูง)

3) related keyword คำที่เกี่ยวข้อกับคำหลัก ดูได้จากด้านล่าง จะมีการอธิบายเพิ่มเติมใน on-page

keyword tools คือ เครื่องมือที่บอกรายละเอียดของ keyword บอกว่า keyword นี้มีปริมาณการค้นหาเท่าไหร่ และมีความยากง่ายในการทำอันดับแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

  1. Google Keyword Planner เป็น tool ยิดฮิตที่สุด ข้อดีคือเป็นข้อมูลตรงจาก Google มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
  2. Keysearch ค้นหา keyword ว่าคำนี้มีคนค้นหาเท่าไหร่ ใกล้เคียง search value มากเกือบจะเท่าตัว Google Keyword Planner แต่ราคาถูกกว่าครึ่งนึง เหมาะกับ keyword ภาษาไทย
  3. Ubersuggest ข้อดีคือ ฟรี รองรับภาษาไทย เริ่มใช้งานได้ง่าย ไม่ต้อง login

Keyword Research Process : Process ในการหา Keyword ของคุณ

มาหา keyword ทำเงินของเว็บโซต์เรากันเถอะ มี 4 ขั้นตอน คือ

1) หาไอเดีย Seed Keyword : เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด

  • คิดคำที่เข้าข่าย Seed Keyword ออกมาให้มากที่สุด ยิ่งคิดได้เยอะ จะได้ Seed Keyword ที่เหมาะกับเว็บไซต์ของเรามากขึ้นเท่านั้น โดยใช้วิธีแตกหน่อ ประมาณนี้
  • ดังนั้น อย่าพยายามคิดเอง ให้เอาจากเครื่องมือ คำแรกที่คิดได้ ให้เอาไปใส่ใน tool ที่หา keyword แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมา แล้วเอาผลลัพธ์แต่ละตัวไปใส่ต่อไปเรื่อยๆ
  • มีทริคคือ เวลาที่ทำการ list ออกมา จะได้ปุ่ม seed keyword ออกมาได้คำชุดนึง จากนั้นเราต้องหารากคำ คือคำที่อยู่ใน seed keyword ทุกคำที่คิดออกมาได้ ในที่นี้ก็น่าจะเป็นคำว่า "เบาะรถยนต์" มั้งนะ

2) ค้นหาคำเข้าข่าย Seed Keyword & Related Keyword

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คำไหนเข้าข่ายเป็น Seed Keyword กันหล่ะ? เป็นคำที่มี keyword ขยาย (niche หรือ niche longtail) จำนวนมาก เพื่อทำให้แข่งขันง่าย ในที่นี้จะได้ 3 keyword คือ "ชุดหุ้มเบาะรถยนต์" "ชุดคลุมเบาะรถยนต์" และ "ผ้าคลุมเบาะรถยนต์"

และ seed keyword แต่ละคำ มี niche หรือ niche longtail มาขยายมันบ้าง ซึ่งข้อมูลเราจะได้จากเครื่องมือค้นหา keyword หรือ keyword planner นั่นเอง

ในไฟล์ Excel นี้ แยก keyword ตาม sheet ว่ามี keyword result อะไรที่เราหาต่อใน keyword planner จากนั้นก้อปใส่ Excel พร้อม search volume จ้า

3) วิเคราะห์ความยากง่าย

เมื่อเราได้คำที่เข้าข่ายเป็น seed keyword แล้ว ให้นำมาวิเคราะห์ความยากง่ายด้วย Competitive Metrics แล้วมันคืออะไรอ่ะ

Competitive Metrics ใช้วิเคราะห์ว่า seed keyword นี้ แข่งขันยากหรือง่าย มี 3 ประเด็นที่ใช้ คือ

  • ปริมาณคำค้นหาทั้งหมดของกลุ่ม seed keyword : ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าทำ keyword ทุกประเภทได้สำเร็จ ปริมาณคนค้นหาแล้วเจอเว็บไซต์เราก็มากตามด้วย โอกาสทางธุรกิจเราก็จะมากตาม
  • จำนวน keyword ทั้งหมด (seed + niche + niche longtail) : ถ้ามีจำนวนที่เยอะจะแข่งขันได้ง่ายกว่า การทำ SEO ให้สำเร็จก็จะง่ายกว่านั่นเอง
  • ความยากของ niche หรือ niche longtail คือ การเปรียบเทียบความยากของ niche หรือ niche longtail ของ seeb keyword นั้นๆที่เลือกมา

ขั้นตอนการเปรียบเทียบ มี 3 ขั้นตอน คือ

  • นำ keyword ทั้งหมดของแต่ละ seed keyword มาอยู่ใน Excel เดียวกัน : เปิดไฟล์ Excel เอา keyword ในแต่ละ sheet มาใส่ sheet เดียวกันให้หมด
  • กรองเฉพาะคำที่เป็น niche หรือ niche longtail : filter ข้อมูล แล้ว filter เฉพาะ keyword ที่เป็น niche หรือ niche longtail เช่นในที่นี้เลือกคำขยายว่า "ลาย" และดูว่า keyword ไหนมี search volume มากที่สุด
  • หาข้อมูลของความยากในการแข่งขันจากเครื่องมือ ดังนี้

-- นำคำที่ต้องการวิเคราะห์าเรียงกันใน Excel : มีแล้ว อันด้านบน ก้อปอันที่ filter ไปเมื่อกี้ไปไว้ใน sheet ใหม่

--ใช้เครื่องมือ "Import Keyword List" : copy keyword ที่ก้อปไป sheet ใหม่ใน Excel แล้วไปที่หน้าเว็บของ KeySearch และคลิกเลือก "Import Keyword List"

จากนั้นก้อป keyword มะกี้ไปใส่ ดังนี้ แล้วกด Import

ผลลัพธ์จะได้แบบนี้

--เรียงลำดับและพิจารณาความยากง่าย : จากตัวเลขของเครื่องมือที่แสดง

ค่า score ก็คือ ความยากง่ายในการทำ SEO ของ keyword นั้นๆนั่นเอง ได้มาจากความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ จำนวนลิ้ง และ keyword อื่นๆของเว็บไซต์ที่ขึ้นหน้าหนึ่งของ keyword นั้นๆ ค่า score ที่สูงนั้น บ่งบอกถึงความยากในการทำ SEO ของ keyword นั้นๆ ค่าหน้าเชื่อถือเว็บที่ขึ้นอันดับแรกๆมากกว่าเรา ถ้าค่าน้อยหมายถึง keyword นั้นการทำ SEO ที่ง่ายกว่านั่นเอง

ถ้าได้ score ครบแล้ว ทำการ export เป็นไฟล์ Excel ออกมา แล้วเอาค่า score ไปแปะเพื่อเปรียบเทียบ keyword

คำสั่ง allintitle:keyword หรือ บริการ : เป็นคำสั่งที่ใช้ค้นหาว่า web page ไหนมี keyword ใน title tag (หัวข้อที่ปรากฏบนผลการค้นหาใน Google นั่นเอง)

title tag ก็คือตรงกรอบแดงๆ หัวข้อของบทความนั้นๆก็ได้นะ

ตัวอย่าง พิมพ์ allintitle (ออลอินไตเติ้ล) แล้วตามด้วย keyword ที่เราต้องการ เราก็จะได้ search query เว็บที่มี title เป็น keyword ที่เราค้นหา โดยเรา focus ที่จำนวนผลการค้นหา ถ้าผลการค้นหาน้อยก็สามารถทำ SEO ได้ง่ายกว่า ในทางทฤษฎีนั้น ถ้าผลการค้นหามากกว่า 5,000 คือเป็น keyword ที่มีการแข่งขันสูง และถ้าผลการค้นหาน้อยกว่า 100 เป็นการแข่งขันที่ตํ่า

วิธีการเปรียบเทียบ keyword ต่างๆ เอา keyword ชุดนี้ ไปใส่เพื่อ search query allintitle เพื่อดูผลการค้นหาของ keyword นั้นๆ มา compare กัน เพื่อประกอบการตัดสินใจ

4) เลือก Seed Keyword

  • พิจารณา seed keyword และ related keyword (โดยดูอันดับจากตาราง)
  • ควรทำอันดับ keyword จากง่ายไปยาก

สรุป เลือก seed keyword จากที่มีปริมาณคนค้นหาพอสมควรแต่แข่งขันได้ง่ายกว่า ก่อนอันที่มีคนค้นหามากและแข่งขันยาก

FAQ

1) keyword ที่ดีควรมีปริมาณค้นหาเยอะ ปริมาณที่ว่าควรเป็นเท่าไหร่?

เนื่องด้วยแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มีปริมาณคันหา แตกต่างกัน จึงไม่สามารถระบุเป็นปมาณชัดเจนได้ ดังนั้น คำว่า "เยอะ" นัยยะคือ มากกว่าเมื่อเทียบกับคำที่มีดวามหมายใกล้เคียงหรือเที่ยวข้องกัน

2) ถ้าปริมาณเยอะ แต่แข่งขันยาก ควรทำอันดับไหม?

  • สามารถทำอันดับได้ แต่ให้ทำอันดับคำที่ง่ายก่อน เมื่อคำง่ายติดอันดับที่นพอใจ ค่อยทำคำยาก
  • วิธีการคือ เลือก Seed Keyword มากกว่า 1 คำ มีทั้งคำง่ายและคำยาก แล้วทำอันดับในคำง่ายก่อน

ตัวอย่าง เรามีคำที่อยากจะทำ SEO อยู่ที่ Product Page A แต่เราจะเลือกทำอันที่ง่ายก่อน คือ keyword ที่อยู่ใน Product Page B เมื่อทำจนได้ผลลัพธ์จนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ค่อยทำอันที่ยากกว่า คือ Product Page A นั่นเอง


ก็จบกันไปแล้วกับคอร์สฟรีหนึ่งคอร์ส ที่ใช้เวลาเขียนบล็อกนานกว่าเวลาเรียนจริงๆเสียอีก มีการ repeat เพื่อฟังแล้วจดให้ชัดเจน อาจจะดูยากไปสักนิดนึง อาจจะดูไม่ค่อยกระชับไปเสียหน่อยเนอะ หวังว่าคนหลงมาอ่านจะเอาไปใช้ได้น้าาา

ติดตามกันสักนิด กดไลค์เพจด้วยนะจ๊ะ

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.