การเผยแพร่ Library ของเราผ่าน JitPack เพื่อ Contribute to Open Source

Android May 22, 2020

การปล่อย Library ออกเป็น Open Source วิธีนึงที่คนใช้กันเยอะมากๆ นั่นคือ การเอาไปฝากที่ JitPack นั่นเองงงงง~~~

ก่อนอ่านบล็อกนี้ ให้ลองไปอ่านวิธีการทำ README.md มาก่อนนะ~~ 
ปล. เราจะเขียนตามหลังไปนะ ถ้าไม่ขี้เกียจทำอะนะ

วิธีการใช้งาน Library จาก JitPack ก็แสนจะง่าย เพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น

1) เพิ่ม JitPack ไว้ใน build.gradle ของโปรเจก

2) เพิ่ม dependency ของ library ที่เราต้องการใช้ใน build.gradle ของ module อันนี้ปกติสามัญสุดๆ

และถ้าเราจะ publish library บน JitPack ต้องทำอย่างไรบ้างนะ?

ก่อนอื่น เราจะต้อง release version ของ library เราซะก่อน แน่นอนว่าโปรเจกนี้อยู่ใน Github เจ้าค่ะ

แล้วกดที่ไหน หน้าแรกของ Github Repository ของเราไงหล่ะ

จากนั้นก็จะพามาหน้านี้ กด Create a new release สิ รอไรอยู่

กรอกข้อมูลต่างๆให้เรียบร้อย

จริงๆเราสามารถเลือกให้เป็น pre-release ได้นะถ้าไม่มั่นใจ แต่ไหนๆมาขนาดนี้แล้ว กด Publish release ไปเลยยยยยย

ผลออกมาจะเป็นดังนี้

ขั้นตอนทั้งหมดอ้างอิงมาจาก

Release Your Software

จากนั้นไปที่ JitPack เนอะ เราจะเห็นชื่อ Repository ต่างๆของเรา ที่ด้านซ้ายมือ

จากนั้นจิ้มเลือกที่เจ้า Colourythm ที่เราจะทำเป็น Android Library

จิ้มแล้วจะเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา เจ้า JitPack จะ build library ของเรา ออกมาเป็นไฟล์ jar หรือ aar นี่แหละ

กินขนมรอแปป… ได้แล้วจ้า เราทำ library อันแรกเสร็จแล้ววว เย้ๆ มันจะมี log ให้ว่ามันทำอะไรไปบ้างจนได้เป็น library ออกมา และกดปุ่ม Get it ดูสิ

เราก็จะได้เจ้าสองสิ่งนี้มา จริงๆคือตามที่กล่าวไว้ด้านบนนั่นแหละ

step 1 สั้นๆง่ายๆ คือเราอัพขึ้น JitPack ก็ต้องเรียกเจ้านี่มาด้วย

step 2 ในเว็บจะ generate จากชื่อ repo ที่เราทำ Library พร้อมด้วย version ที่เรา release ได้ด้วย ซึ่งจะมาตอนที่ build library เสร็จแล้ว

เราเอาเจ้า step 1 กับ step 2 ที่ได้ เอาไปแปะที่ README.md ได้เลย แถมมีปุ่มแชร์ไปยัง Twitter แล้วก็ตัว badge เอาไปใน README.md ได้อีก ส่วน link นั้น library ของเราจะอยู่ใน JitPack แบบนี้

JitPack | Publish JVM and Android libraries
JitPack makes it easy to release your Java or Android library. Publish straight from GitHub or Bitbucket.
https://jitpack.io/#mikkipastel/Colourythm/1.0.0-beta

จากนั้นทดลองเอา library ของเราไปใช้ต่อ ตาม step 1 และ 2 แล้วนำไปใช้งานได้สะดวกโยธินไปเลยยยยย

Reference: ซึ่งจริงๆก็มีบล็อกอธิบายจากพี่เอกมาก่อนแล้ววว

เรียกใช้งาน Dependency ผ่าน Git แบบง่ายๆด้วย JitPack
Android Developer หลายๆคนก็คงเคยผ่านตากับคำว่า JitPack กันมาบ้าง เพราะว่าเคยเรียกใช้ Library บางตัวที่ต้องกำหนด Repository URL ข...

และอันนี้อีกอัน บอกแต่ละขั้นตอนให้เราทำตามกัน

How to create your own Android Library and publish it
In this tutorial we are going to create our own Android Library and publish it. By publishing the library you can use the library in any of your future projects. Plus others can use the library in…

และมีอีกวิธีนึง คือ เอาไปฝากไว้ที่ JCenter ซึ่งพี่เนยได้เขียนบล็อกอย่างละเอียดให้แล้ว

วิธีการนำ Android Library ที่เขียนขึ้น jcenter และ Maven Central ผ่าน Android Studio ให้คนอื่นนำไปใช้งาน
ใน Android Studio หากคุณต้องการจะใช้ Library อะไร ก็เพียงใส่ dependency สั้นๆลงไปในไฟล์ build.gradle จากนั้นบู้มมมม แอพฯของคุณก็มี Library นั้นๆใช้แล้วdependencies { compile ’com.inthecheesefac

แหมมมมมม ยังไม่จบง่ายๆหรอกนะ เราเห็นหลายๆคนเอา Library ของตัวเองไปฝากไว้ที่ https://android-arsenal.com ด้วยหล่ะ งั้นเรามาลองฝากกันดีกว่า

ก่อนอื่นเข้าไปที่แท็บ Contact ก่อน เรารู้ว่าคนอ่านขี้เกียจ ก็จิ้มลิ้งไปสิค่ะ รอไร

และใส่รายละเอียดให้เรียบร้อยก่อนกดส่ง Suggest จ้า

หลังจากนั้นก็รอทาง https://android-arsenal.com approve

ซึ่งก็ไม่ขึ้นสักทีเป็นเดือนๆหล่ะ จนมาเป็นปีๆ เดาว่าไม่ได้ approve นะ ;____;

สุดท้ายก่อนจบ หวังว่าคนอ่านคงรู้จักกิจกรรม HacktoberFest กันเนอะ เป็นช่วงเทศกาล Contribute open source project เพื่อแลกเสื้อและของที่ระลึกกันเนอะ

หวังว่าจะมีคนมา Contribute ของเราบ้างเนอะ ;)


สุดท้ายฝากร้านกันสักนิด ฝากเพจด้วยนะจ๊ะ

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017


Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.