มาฝึกเขียน proposal ที่งาน “Workshop: What is innovation & How to write a proposal”

Learning Jul 2, 2016

จากที่เราได้ลงเรียนหลักสูตรทางไกลการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ และมีการส่ง proposal ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ เพื่อจบหลักสูตร เราได้เห็นโพสนึงที่น่าสนใจ ในเพจสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าจะมี workshop การเขียน proposal ซึ่งการเขียน proposal แม้มี template มาให้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เขียนแล้วจะออกมาดี และนำเสนอแล้วได้รับทุนสนับสนุน  เราจึงสนใจเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ไม่สิเรากดลิ้งค์สมัครเลย เขาพิจารณาคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ จากคำถามที่ว่า "ทำไมถึงสนใจมาร่วมกิจกรรมนี้" แต่ด้วยความที่งานนนี้รับได้ 30 ท่านเท่านั้น และคนสมัครล้มหลามมาก ทางทีมงานเลยส่งอีเมลล์มาถามเพิ่มเติมสองคำถาม คือ "นวัตกรรมในความหมายของเราคืออะไร" และ "มีนวัตกรรมอันไหนที่เราจะส่ง proposal ไปเสนอ" จากนั้นรอประกาศผลวันที่ 23 มิถุนายน ด้วยความที่ช่วงนี้งานเยอะ เลยเห็นเมลล์ระหว่างทางกลับบ้าน และแล้ว ได้รับข่าวดีว่า เราได้รับเลือกเข้าร่วม workshop และให้ตอบกลับอีเมลล์มา เราไม่รอช้า รีบ confirm กลับไป พร้อมโหลดเอกสารลงมือถือ จะได้เตรียมพร้อมก่อนเข้า workshop

ขออนุญาติก็อปปี้ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานนี้นะคะ เพราะเขาบอกว่าจะจัดทุกวันที่ 1 เผื่อคราวนี้ใครไม่ทันจะได้เตรียมตัวสมัครคราวหน้า ;)

“What is innovation & How to write a innovation proposal” Workshop ที่จะทำให้คุณเข้าใจว่า และได้ทดลองว่า นวัตกรรมคืออะไร?
กิจกรรมนี้เหมาะสม สำหรับ
ผู้ประกอบการ / เจ้าของธุรกิจ ที่มีไอเดียพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและมีความประสงค์จะขอทุนสนับสนุนจาก สนช.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดกิจกรรม Workshop “What is innovation & How to write a innovation proposal”เพื่อเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาการเขียน proposal สำหรับขอทุนสนับสนุนในการทำต้นแบบนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการไทย โดยท่านจะได้ทราบถึง
- นวัตกรรม คืออะไร?
- กลไกการสนับสนุนของ สนช.
- ตัวอย่าง นวัตกรรมทั้งในและ ต่างประเทศ- แนวทางสู่ความสำเร็จในการเขียนPROPOSAL
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 8.30 - 12.30 น.ณ Ideation Space ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
โทร. 02 017 5555 ต่อ 641โทรสาร 02 017 5566 อีเมล์ [email protected]

ปล. ในเนื้อความนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ = สนช. = NIA บางทีเราอาจจะเขียนตัวย่อคนละตัวไปบ้าง ซึ่งมันมีความหมายเหมือนกันนั่นแหละ

การเดินทาง มาไม่ยากเลย ลงรถเมล์หรือ bts และต่อวินมอเตอร์ไชค์ ช่วงเช้าพี่วินทุกวินในซอยช่วยกันรับผู้โดยสารจากปากซอยโยธีที่ยาวจากหน้าวินยันสะพานลอย ในอัตราราคา 10 บาท ซึ่งเดินเองเหนื่อยและไกล นั่งวินเถอะคะ บอกพี่วินว่า มา NIA ส่วนขากลับก็เรียกวินหน้าหระทรวงวิทย์ หรือถัดขึ้นไปอีกวินนึงก็ได้คะ

ที่งานเขาให้ลงทะเบียน 8:30 น. และก็ขึ้นลิฟต์ไปที่ชั้น 3 อันเป็นห้องจัดงาน workshopเนื่องจากพวกเราเป็นคลาสแรก ดังนั้น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวเปิดงาน ภาพจากเพจ NIA

สรุปใจความสั้นๆคือ ที่ๆเรามา workshop วันนี้ ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ co-working space ให้พวกเรามานั่งทำงานได้ และ workshop นี้ เน้นคนมาจากหลากหลายที่ หลากหลายแนว มานั่งทำความรู้จักกัน และท่านมีคำถามมาฝาก 3 ข้อ คือ
(1) product/service ของเรา เป็นนวัตกรรมหรือไม่
(2) product/service ของเรา เป็นนวัตกรรมอย่างไร
(3) product/service ของเรา อยู่ใน section ไหน
ทั้งสามข้อนี้ เวลาเราส่ง proposal หรือ present ที่ NIA แม้แต่สอบปริญญาเอก ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้

จากนั้นชักภาพทุกท่านร่วมกัน

ผู้อำนวยการ สนช. ท่านวิทยากร และผู้เข้าร่วม workshop มาถ่ายภาพร่วมกัน ภาพจากพี่ๆของ สนช. ในกรุ๊ปไลน์คะ

จากนั้นจะมีวิทยากรมาบรรยายเรื่องนวัตกรรม โดยคุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์, CEO Gravity Innovation ซึ่งหลายๆท่านคงคุ้นหน้าวิทยากรท่านนี้ เราเองก็ยังคุ้นเลย แถมยังซื้อหนังสือที่เขาเขียนด้วย (ถ้าทราบล่วงหน้าจะได้เอาหนังสือมาขอลายเซ็นต์ เหมือนได้เจอปรมาจารย์อยู่ตรงหน้า) นั่นคือหนังสือ The Design of Magic นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้ทำงานบริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Apple ว่าเขามีการทำงานกันยังไง มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างไร ซึ่งก็เป็นเนื้อหาส่วนนึงในการบรรยายครั้งนี้ด้วย...

คุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์ กำลังเริ่มต้นการบรรยาย
  • ธุรกิจในไทยเรา ขาด partnership คือต่างคนต่างทำนั่นแหละ
  • ผู้ประกอบการ/ผู้บริหาร ต้อง work smart ควมคุมความเสี่ยง ดังนั้นเราต้องจัดการออก product/service ทีละ phase และตรวจว่า สิ่งที่เราจะทำออกสู่ตลาด เขาจดลิขสิทธิ์ไว้หรือยัง
  • องค์ประกอบที่จะสร้างนวัตกรรม หลักๆคือ team work, องค์กร และ industry
  • Apple ที่มีนวัตกรรมสินค้าลํ้าๆยิ่งกว่าโฮโลแกรมสามมิติ หลังฉากเขามีอะไรบ้าง เขามีการประสานงานกันทั่วโลก ภายในมี team work ที่ STRONG มาก
  • ซึ่งเขามี core value ร่วมกัน เน้นไปที่ user (น่าจะไปทาง UX ตามความเข้าใจของเรา) มี disrupture idea คลิกกับ customer ถึงแม้ว่าการสร้าง product มาชิ้นนึงต้องเก็บเป็นความลับสุดยอด แต่เขาก็เป็น open innovation นะ เพราะมีการประสานงานกับส่วนอื่น เช่น supplier ด้วย
  • มีการวาง road map คิด concept ทำ prototype ร่วมกัน
  • และมีการวาง framework ซึ่งได้แก่ road map (success หรือ failure ไปต่อยังไง), team และ management

ดังนั้น agenda ของท่านวิทยากร มี 4 ส่วนด้วยกัน

(1) ความสำคัญของนวัตกรรม

  • ไม่ใช่แค่ความแปลกใหม่ของสิ่งที่เราจะทำเท่านั้น แต่หมายถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ และการอยู่รอดของเรา
  • Performance Engine : ทำเงินได้แน่นอน เป็น operation ที่มีสเกลใหญ่ มาแบบนิ่งๆเรื่อยๆ มีการ maintain ลูกค้า และมี risk management  
  • Innovation Engine : ค่อยๆโตขึ้นมา มีความเสี่ยง challenge มาก เช่นในเรื่องของ digital economy มีการยืมตัวจากทีมอื่น(ที่มีภาระงานในส่วนอื่นๆ)มา support ทีมที่ทำ innovation ซึ่งตัวนี้เร่งให้โตขึ้น เพื่อทำให้ธุรกิจเดินไปได้ซึ่งเราจะต้องมีทั้งคู่นะ เพราะมันเกื้อหนุนกันอยู่ อาจจะเป็นตัวกลางระหว่าง outsource supplier เจ้าของผลิตภัณฑ์มารวมกัน เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งก็ได้

(2) ความหมายของนวัตกรรม

  • innovation = A new & useful solution for the problem in focusตัวอย่าง คือ ไฟจราจรแดงหยุดข้ามถนนเต้นได้
  • วงจรการสร้างนวัตกรรม creation new idea -> iteration development -> deployment & value capture และกลับมาที่ new idea ใหม่

2.1 creation new idea

Opportunity : หา idea ใหม่ แหล่งที่มา คือ customer pain point (เช่น ทดสอบ UX สำรวจตลาด), hidden need (ความต้องการแฝงที่คนต้องการก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แบบอธิบายได้ยาก) และ under-utilized capabilities (ดึงควาามเชี่ยวชาญในองค์กร ออกมาเป็นศักยภาพที่เอาไปใช้งานได้อย่างเต็มที่) และเราเอาทั้งหมดมานี้ มาทำการจัดกลุ่ม แยกประเภท ออกมาเป็น focus ต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง ตอบได้หลายๆไอเดียIdea : ยิงไปที่เป้า ซึ่งเป้าคือ Opportunity นั่นเองเราไม่ควรแก้ปัญหา 1:1 นั่นคือ ควรมี solution หลายอัน ในการแก้ปัญหา และต้องคิดให้รอบด้าน ว่าจะ launch product ออกมายังไง

2.2 iteration development

  • แบบ waterfall ที่เป็นเส้นตรง ใช้กับโปรเจกที่มีความเสี่ยงน้อย
  • ของนวัตกรรมเป็นแบบ iteration เพราะมีการทำซํ้าๆกัน มีการทำ alpha test เอย beta test เอย มีการ deploy ในกลุ่มที่จำกัดมากๆ เพื่อนำไปใช้กับของจริง
iteration development มีการสลับไปสลับมาเรื่อยๆ ซึ่งการทำนวัตกรรมใช้ตัวนี้

2.3 deployment & value capture

อยู่ในรูปแบบ revenue มีสองแบบหลักๆ คือ increase revenue ได้ของใหม่ออกมา และ no revenue ออกมาทางแก้ไข process ให้ดีขึ้น

(3) ประเภทต่างๆของนวัตกรรม

แบบแรก :
push : technology-driven innovation เริ่มต้นจากตัวเรา ซึ่งศักยภาพเราถึง ซึ่งเป็นจุดแข็ง แต่จุดอ่อนคือทำมา อาจจะขายไม่ออกก็ได้
pull : need-driven innovation เริ่มต้นจากความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็ง จุดอ่อนคือเราอาจจะมีศักยภาพไม่เพียงพอ หรือไม่ตรงศักยภาพที่เรามีอยู่

แบบที่สอง : breakthrough innovation มีการสะสมนวัตกรรมย่อยๆ มารวมกันเป็นอันใหญ่ แบบที่ Apple เป็นอยู่นั่นแหละ หรือาจจะเป็นแบบ incremental innovation เป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เช่น supplier ของ Apple เป็นต้น

แบบที่สาม : innovation อาจจะแตกย่อยเป็น product เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ต้องเติมยาง process เช่น Amazon ใช้โดรนส่งของ service เช่นแอป u drink i drive business model เช่น google map ถึงไม่เก็บเงินจากคนใช้ (เก็บได้ที่ไหนกันเล่า) แต่ได้เงินจากการขาย big data ไปให้บริษัทต่างๆ

ตัวอย่างที่ท่านวิทยากรนำมาเสนอ มีหลายอัน เช่นการติดตั้ง solar-cell บนยานอวกาศนาซ่า โดยเอาขึ้นไปด้วยวิธีนี้ ซึ่งนำศาสตร์ที่มีอยู่แล้วบนโลก มาประยุกต์

quantify in production line ในโรงงานทำขวดแก้ว การชนกันของขวดเสียงดังมากจนคุยกันไม่ได้ยิน แถมแก้วแตกทีวุ่นวายในการเก็บเศษแก้วเอามากๆ เขาเลยคิดวิธีที่สามารถ detect ขวดแก้ว เพื่อลดการชนกันได้

หรือ AirBnb และ Groupon ที่เปลี่ยนวิธีเป็นแบบออนไลน์

(4) การขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรม
ตามแผนภาพด้านล่างเนอะ คือมีไอเดีย มีการ development เพื่อสร้างคุณค่าออกมา
ซึ่งเราควรทำ proposal และ business model และมีการทำ straight test เพื่อนำไปทดลองนวัตกรรมของเรากับสภาวะต่างๆนอกห้องแลป

สรุปสุดท้าย บริษัท Gravity Innovation ทำอะไร เขารับทำ framework วางระบบหรือแผนงานทั้งหมด execution ช่วยในเรื่องการผลิต product ออกมา และ training ในเรื่องนวัตกรรม ซึ่งลูกค้ามีหลากหลายมาก ทั้งบริษัทใหญ่ไปจนถึงระดับ SME

คุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์กำลังบรรยายเรื่องนวัตกรรม ทุกคนตั้งใจฟังมากมาก

เมื่อเราได้รับความรู้เรื่องนวัตกรรมเต็มเปี่ยมแล้ว ก็เข้าสู่การแนะนำกลไกที่ทาง สนช. จะช่วยเราได้ โดยคุณวิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สนช. มาอธิบายในจุดตรงนี้ต่อ...

คุณวิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สนช. อธิบายถึงกลไกของทาง สนช. ที่สามารถช่วยผู้ประกอบการได้ เล่าได้สนุกสนานมากทีเดียวภาพจากเพจ NIA คะ
  • การลงทุนด้านนวัตกรรมมีความเสี่ยง เสี่ยงสูง มีความล้มเหลวในการ launch product ออกมา เพราะไม่ตรงจริตของตลาด
  • การวิจัย : ใช้เงิน สร้างความรู้ ดังนั้นถ้าจะหาทุนไปทำวิจัย ไปที่อื่นเช่น สวทช เพราะทางนี้ไม่ได้ให้งานวิจัยนะจ๊ะ
  • นวัตกรรม : เปลี่ยนความรู้(มีศักยภาพในการทำ) เป็นเงินทอง(มี business plan) ทำเป็น licensing เอามาต่อยอด เข้าสู่ commercial state ซึ่งพี่เขาบอกว่าหน่วยงานในไทยแต่ละกระทรวงซํ้าซ้อนมากกกก
  • ซึ่งการขอเงินจากทาง สนช จะมี สตง ที่อยู่ชั้น 4 มาตรวจสอบ เนื่องจากใช้เงินภาษีประชาชน
  • ยุทธศาสตร์ สนช
    area innovation : แถว สนช เรียกว่า ย่านนวัตกรรมโยธี ตามข่าวคือ IoT เริ่มมีส่วนร่วม และย่าน medical city ซึ่งอยู่แถว รพ. รามา และวิทยาเขตพญาไทของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีโรงพยาบาลมีตรงนั้นด้วย
    value chain : มีการต่อยอด product
    capability : พัฒนาศักยภาพ สร้างระบบ
    ส่วนด้าน market ยังไม่มี model ที่ชัดเจน
ยุทธศาสตร์ สนช
  • โอกาสจากาทางนโยบายรัฐ ซึ่งช่วงนี้ออกมาอยู่เรื่อยๆ ต้องดูศักยภาพของเราด้วยว่าไหวไหม เช่นตอนนี้มี 5+5 ต่อยอด 5 เดิม ไป 5 ใหม่ ถ้าธุรกิจท่านอยู่ในกลุ่มนี้จะมีโอกาสได้รับทุนสูง และทาง สนช ให้ทุนตามศักยภาพ
  • ถ้าเป็นตัวแทนชุมชนมาขอให้ชุมชน จะเป็นวิสาหกรรมชุมชน
  • โครงการต่างที่ สนช สามารถสนับสนุนเราได้

1. แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน NIA 75% เงินเรา 25% บางเคสอาจจะออกกันครึ่งๆ เพราะสาเหตุคือ จากเงินภาษีประชาชน และเป็นการกระจายโอกาสไปสู่หลายๆโครงการ มีระยะเวลาในการดำเนินไม่เกิน 3 ปี

2. นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย เนื่องจากธุรกิจนวัตกรรมมีความเสี่ยงสูง ทำให้ดอกเบี้ยสูงด้วย ดังนั้นทาง สนช จะเป็นคนออกค่าดอกเบี้ยให้เรา ทำให้เราทำธุรกิจได้อย่างสบายใจ

3. โครงการคูปองนวัตกรรม เป็นความร่วมมือระหว่าง SME ผู้ประกอบการ + ISP ผู้เชี่ยวชาญ มีให้เลือกกว่า 1000 รายชื่อ หลักๆมีด้าน production และ marketing อันนี้ของ่ายที่สุด ค่าที่เบิกได้ 100% คือ ค่าตัว ISP ที่แล้วแต่ตกลง rate อยู่ที่ 2,000 บาท/คน/วัน ส่วนค่าของเบิกได้ครึ่งเดียว เพราะถ้าเบิกได้ทั้งหมด ทางราชการจะให้ของพวกนั้นเป็นของ สนช และเราต้องส่งคืนทาง สนช และทาง สนช ก็จะมีข้าวของเต็มไปหมด* ทาง สนช เนื่องจากได้เงินจากภาษีประชาชน ซึ่งได้รับการจัดสรรกับรัฐบาลอีกที ดังนั้นจะเป็นแบบเราจ่ายก่อน แล้วเอาบิลมาเบิกทีหลัง ทาง NIA ไม่ได้เป็นคนช้า แต่ช้าที่กระบวนการ เพราะต้องผ่านการตรวจสอบโดย สตง

เนื้อหาในส่วนนี้ มีให้ดาวน์โหลดด้วยนะ พี่เขาบอกว่าพี่ต้องถ่ายรูป เขาจะมีให้ดาวน์โหลดทีหลัง

จากนั้นพักเบรกก่อนคะ (แอบอัพเดตเพิ่ม) เข้าใจว่าทุกท่านไฟในตัวเริ่มมาแล้ว แต่กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ซึ่งเขามีเครปฝอยทอง กับคลับแซนด์วิช เครื่องดื่มมีนํ้าเปล่า กาแฟเย็น และชาดำเย็นให้เลือกด้วยคะ ด้วยถึงแบบสอบถามก็จะแจกช่วงนี้พร้อมกระเป๋าผ้าด้วยหล่ะ

ถึงของว่างจะไม่อลังการ แต่มาเรื่อยๆจากใจพี่ๆ สนช นะคะ ฮิ๊ววว

เมื่อเรารู้ว่า ทาง NIA มีช่องทางไหนที่สนับสนุนเราได้บ้าง จึงได้เวลาพิจารณาว่าไอเดียของเรา แผนธุรกิจของเรา โอเคไหม จะเขียน proposal ยังไงดี ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่าย สนช. แนะนำการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งต่อยอดมาจาก business model canvas มาเป็นตาราง 12 ช่อง...

ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่าย สนช. กำลังอธิบายตาราง 12 ช่องแต่ละข้อภาพจากเพจ NIA
ตาราง 12 ช่อง ที่ต่อยอดจาก business model canvas นำมาจากสไลด์

ช่องที่ 1 product ของเราคืออะไร- ช่องที่ 1,2 เป็นการประเมนตัว product ว่ามี value สูงไหม
ช่องที่ 2 product เรา มี value อะไรบ้าง
- ช่องที่ 3-6, 8 เป็นในส่วน marketing ความเป็นไปได้ด้านการตลาด
ช่องที่ 3 คู่แข่งและส่วนแบ่งการตลาด
ช่องที่ 4 process ทั้งหมดมีอะไรบ้าง มองภาพกว้างทั้งหมด
ช่องที่ 5 อยู่ใน cluster ไหน มี connectivity อะไร เช่น อาหารต้องมี อย. เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องมี มอก.
ช่องที่ 7 ช่องทางการจัดจำหน่าย ของเราเป็นแบบ B2B หรือ B2C และขายในประเทศหรือส่งออกต่างประเทศ
ช่องที่ 8 วิเคราะห์ segmentation, target, positioning
- ช่องที่ 6 cost/finance ดูว่าคุ้มทุนไหม คืนทุนกี่ปี
- ช่องที่ 9 ประเมินความเป็นไปได้ ในด้านกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ เทคนิค การเงิน การตลาด
- ช่องที่ 12 อันนี้สำคัญ ประเมินความเป็นไปได้ของตัวเองและองค์กร ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน มีความพร้อมแค่ไหน หลักๆดู staff และ skill ของ staff และ strategy วางแล้ว ไปทางไหน

เมื่อเราได้ชำระความแผนการของเราแล้ว ได้เวลามาลงรายละเอียดของ proposal โดย คุณกันต์ วีระกันต์ ผู้จัดการฝ่าย สนช. ซึ่งมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประกอบเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น ระหว่างนี้เปิดไฟล์ proposal template ไปด้วยเพื่อความเข้าใจ...

คุณกันต์ วีระกันต์ ผู้จัดการฝ่าย สนช. อธิบายการเขียน proposal โดยมีตัวอย่างประกอบ

ข้อ 1

  • ชื่อแบรนด์ เราใส่ชื่อและจดชื่อแบรนด์เราไว้ด้วย
  • วิธีเขียนที่ดี เขียนจากด้านในก่อน ค่อยมาเขียนสรุปด้านนอก
  • ทำไมถึงใส่ abstract เป็นภาษาอังกฤษ เพราะถ้าต่างประเทศสนใจลงทุนในบ้านเรา เขาจะได้รู้ว่ามีโครงการอะไรบ้าง แต่ละโครงการทำอะไร

ข้อ 2

  • ผู้เสนอโครงการ = เป็นผู้ตัดสินใจ หรือ เจ้าของแบรนด์ สามารถใส่ชื่อผู้ติดต่อประสานงานเพิ่มได้

ข้อ 3

  • ความเป็นมา เราใส่ไปว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนบ้าง และเขาเอาส่วนนี้มาช่วยเราในการ consult ได้ เพื่อนํ้าหนักของข้อเสนอโครงการ ว่าเราสามารถทำโครงการนี้ที่เสนอได้
  • ผังองค์กร ใส่ไปให้ครบๆ
  • ทำไมต้องใส่แผนที่ เผื่อทาง สนช มาเยี่ยมชมและสามารถมาช่วยโปรโมตบริษัทของเราได้

ข้อ 4

  • วัตถุประสงค์ ระบุไปว่าเราต้องการทำอะไร ทำ prototype, test

ข้อ 5

  • ตัวชี้วัดโครงการ เขียนสิ่งที่เราต้องการวัดได้ เหมือนเป็น KPI นั่นแหละ ว่าเราได้อะไรออกมา ทำตาม requirement ครบไหม มีการทดสอบก่อนขายหรือไม่ แบ่งเป็นระยะเวลา เป็น milestone 6 เดือน 12 เดือน

ข้อ 6

  • สนช จะให้นวัตกรรมในระดับโลก (อันนี้น้อย) กับในระดับประเทศ (ของเราไม่ซํ้ากับใครในประเทศ) ซึ่งต้องเคลมได้

ข้อ 7

  • ใส่ตารางว่าเรามีอะไรแตกต่างกับ product อื่นๆบ้าง และดู know-how ว่าเป็นนวัตกรรมไหม ก็อปยากไหม
  • ** จดลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย ขอให้ยื่นจดก่อน และอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาด้วย

ข้อ 8

  • ระบุตลาดเป้ามหาย มี potential มากพอ ไม่จำเป็นต้องเป็นตลาด mass
  • เงื่อนไขอุตสาหกรรม ขึ้นกับโครงการ เช่น ของอาหาร ต้องไม่มีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ถ้าเป็นสาย IT อาจจะเน้นเรื่อง security เช่น ISO27001 ที่จดเรื่องความปลอดภัยทางไอที (อันนี้เรายกตัวอย่างเองนะ บริษัทที่เราทำงานอยู่ได้ตัวนี้)

ข้อ 9

  • วิเคราะห์ SWOT 4P ถ้า 4P ไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ธุรกิจของท่าน สามารถใช้โมเดลอื่นก็อธิบายมาได้
  • แหล่งวัตถุดิบ ถ้าเป็นสายไอที ซึ่งพัฒนา software ต้องมีการพัฒนา skill ของบุคลากร หรือการเชื่อมต่อ hardware

ข้อ 10

  • cash budget ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า วิเคราะห์ต้นทุน

ข้อ 11

  • งบโครงการ บันทึกค่าใช้จ่ายที่ทำให้เกิด prototype/product ให้ชัดกเจน ลงให้ละเอียด สอบราคาให้เรียบร้อย ใส่ค่าคนผลิต ค่าที่ปรึกษา ค่าทดสอบ
  • * ถ้าโครงการเราเสนอบอร์ดแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขวงเงินที่ขอได้นะจ๊ะ ดังนั้นเราต้องทำ BOQ สอบราคา และเผื่อราคาบวกลบ 15% ไว้

ข้อ 12

  • milestone โปรเจกไม่เกิน 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันเซ็นสัญญา

จากนั้นได้เวลา workshop โดยทางทีมงานได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ตามโครงการที่เราจะเสนอ มีกลุ่มอาหาร กลุ่มออกแบบ และกลุ่ม startup ตามที่ตอบคำถามในเมลล์นั่นแหละ และมีพี่ๆผู้ตรวจ proposal มาแนะนำและซักถามอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ทำความรู้จักพี่ใหม่ เอ้ยย เพื่อนใหม่ที่มาจากหลายๆที่ ว่าเขามีไอเดียอะไรกันบ้าง เจอประสบการณ์อะไรมาบ้าง เรายังเป็นเด็กน้อย นั่งฟังอย่างเดียว เพราะยังไม่ได้เจอประสบการณ์โชกโชนอย่างพี่ๆเขา ซึ่งเราได้นำคำแนะนำจากพี่ๆทีมงาน รวมถึงเพื่อนร่วม workshop มาปรับปรุง product ของเราด้วย

workshop ของกลุ่มอาหาร โดยมีพี่ๆเจ้าหน้าที่มาแนะนำแนวทางอย่างใกล้ชิดภาพจากเพจ NIA

ระหว่างนั้นเราแอบงง มีทีมงานมาขอสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานนี้ด้วย ว่าเราเป็นใคร ทำธุรกิจอะไร รู้ข่าวงานนี้จากไหน มาทำไม มาทำอะไร ได้ความรู้อะไรกลับไปบ้าง ใส่ไมค์เป็นเรื่องเป็นราวเลย ไปไม่ถูกเลย (ก่อนหน้านี้เคยออกกล้อง แต่นั่นไฟเต็มมาก และมีไมค์แยกข้างนอก)

จากแบบประเมินที่มีให้ เราสรุปดังนี้

  • งานโอเคนะ มีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมากๆ พร้อมทีมงานจากทาง สนช. มาแนะนำเองด้วย อันนี้ดีคะ เราได้อะไรมากขึ้นเยอะ
  • แต่งานเอาจริงๆเวลาน้อยไปหรือเปล่าหว่า ดูค่อนข้างกระชันในแต่ละช่วงไปไหม ตอน workshop ติดเวลาอาหารกลางวัน บางคนคุยแปปๆก็ออกมาก่อน น่าจะมีธุระบ่ายก็ได้ ถึงห้องจะเปิด แต่เอาจริงๆตอนบ่ายจะมีคนขึ้นมาต่อไหมก็ไม่รู้แหะ ถ้าเวลา workshop เป็นบ่าย น่าจะได้คุยกันเพิ่มขึ้น มั้ง
  • ยังดีที่มีอาหารพักเบรก พี่แม่บ้านบริการดี
  • สถานที่โอเคเลย แอร์ไม่หนาวมาก
  • การสร้าง connection ด้วยกรุ๊ปไลน์ พร้อมการตามหาพี่อุ๋ม เอ้ยผิดๆ การทวงสไลด์ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในวันศุกร์ และทาง NIA ได้อัพโหลดทั้ง proposal, presentation template, และ silde ทั้งหมด ยกเว้นของวิทยากรท่านแรก ในเช้าวันเสาร์ ให้ไปทบทวนอ่านกัน
  • พี่ๆที่นี่อารมณ์ดีทุกคน ตั้งแต่ตอนไป workshop ของงาน softwaredee หล่ะ
  • จบเถอะ

สิ่งที่ได้กลับมา นอกจากจะได้นำไอเดียแอปเราที่จะแก้ใหม่หลังจาก fail ตอนประกวดไปรอบนึง ได้คำแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข ได้เข้าใจการเขียน proposal และโครงการที่เราจะเข้าไปเสนอ รวมถึงได้ความรู้จากวิทยากรที่มากประสบการณ์ และ connection ที่อาจจะได้ทำความรู้จักมากขึ้นในอนาคต งานนี้เป็นงานที่ให้ความรู้ดีมากๆ และตรงจุดด้วย สำหรับใครที่สนใจ เราแอบกระชิกนิดนึงว่า สำหรับท่านผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจด้านธุรกิจอาหาร เดือนหน้าจะมีคลาสแบบนี้อีก ทาง สนช. จะมีให้สมัครตอนกลางๆเดือนนี้แหละ และแต่ละเดือนก็เปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ ติดตามได้ที่หน้า facebook NIA นะคะ

ปล กรอก proposal ออนไลน์ได้ด้วยนะเออ ที่นี่เลย

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.