#opendataday17 เปิดงาน International Open Data Day 2017 เข้าสู่ Thailand 4.0

Event Mar 5, 2017

สวัสดีทุกท่าน และแล้วในวันนี้ก็ได้มาถึง งาน International Open Data Day 2017 ได้ทราบจากพี่แต๊ก ผู้ร่วมจัดงาน ว่าจะมีงานนี้ช่วงมีนานะ และทีมเราจะได้จัดนิทรรศการด้วย กว่าจะถึงวันก็นานอยู่ ไปๆมาๆก่อนหน้างานนี้หนึ่งอาทิตย์ทีมก็เร่งทำโปสเตอร์ และส่งคนไป(ไม่)ประจำบูธในวันงาน นอกจากจะมีนิทรรศการผลงาน open data จากงานแฮกกาธอนต่างๆ ทั้ง Bangkok Urban Hack day (มีทีมดี ฟรี เย็น กับลุงสุขุม) EDM hackathon รวมทั้งป้ายุพิน และลุงบุญมีด้วย และยังมีเสวนาที่น่าสนใจอีกมากมาย เราได้เข้าร่วมในวันที่ 4 มีนาคม จึงแบ่งบล็อกออกเป็น 2 ตอน คือ พิธีเปิดและเสวนา Thailand 4.0 และ ความท้าทายในการใช้ big data กับภาคธุรกิจ

ในส่วนของพิธีเปิดและเสวนา Thailand 4.0 ได้รับเกียรติจากคุณหมอนพดล แห่ง ภิวัฒน์อากาศ มาช่วยเสริมเนื้อหาให้แน่นขึ้นคะ ขอบคุณคุณหมอนพ ณ ที่นี้นะคะ :)
ปล. ใส่วงเล็บเพื่อแยกความเห็นส่วนตัว ออกจากสิ่งที่แต่ละท่านได้กล่าว อ่านแล้วจะได้ไม่งงกัน

10:00 - 10:30 ลงทะเบียน

ก่อนอื่น เราเดินทางมา TK park ถึงตอนห้างเปิดพอดีเลย มาลงทะเบียนรับเอกสาร agenda sticker เข้างาน พร้อมแบบสอบถาม เพื่อนำมาแลกเสื้อของงานนี้ ซึ่งมีเงื่อนไขคือ ต้องลงทะเบียนทาง online, เข้าฟัง 2 session คือ เช้า 1 บ่าย 1 หรือ บ่าย 2 และตอบแบบสอบถาม เริ่มแจกเสื้อหลังสามโมงเป็นต้นไปถึงจบงานเลย

ก่อนเข้าพิธีเปิด มีพี่ MC คนสวยได้ให้ข้อมูลบนเวทีว่า งานนี้จัดในไทยเป็นครั้งที่ 3 แล้ว และวันนี้เป็นวัน open data day ด้วย จัดพร้อมกันทั่วโลกเลย งานนี้ใช้ hashtag ว่า #opendataday17 นะ ใครที่พลาด มี live สดทาง facebook ด้วยนะ

พิธีเปิดงาน Open dataday 2017 & Big Data Conference

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

ใครเป็นคนจัดงานนี้ ?
มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ไม่คุ้นชื่อเลยหว่า)
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA
TK Park
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
blognone
Social Technology Institute
มูลนิธิกองทุนไทย
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ UDDC
HAND Enterprise
และ Change Fusion

มีการอุ่นเครื่องก่อนเข้าสู่พิธีเปิด โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ดังนี้

  • งานนี้จัดขึ้นเพื่ออะไร เพื่อตระหนักในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคประชาชน ในการนำข้อมูลไปต่อยอด เพราะข้อมูลคือทุกสิ่ง
  • สามารถนำข้อมูลที่มีมาใช้ในการตัดสินใจได้
  • account ability (อันนี้ก็ยังงงๆอยู่)
  • EGA ทำอะไรกับข้อมูลบ้าง ตอนแรกที่เปิด open data ในไทย มีข้อมูลทั้งหมด 30 ชุด ปัจจุบันมี 900 ชุดแล้ว ประเทศที่มี open data มากที่สุด คือ ประเทศอังกฤษนั่นเอง จึงมีการจัดกิจกรรมต่อยอดการใช้ open data นี้ ซึ่งข้อมูลที่ตั้งโรงเรียน ท่านได้ไปขอกับคนรู้จักถึงจะได้มา  (เห็นว่าสนิทกันจริงๆถึงจะยอมให้ ประมาณนี้ อีกนัยนึงคือตอนนั้นขอเปิดแบบนี้ไม่ได้ไง)
  • ทำอย่างไรให้มีข้อมูลอย่างเพียงพอ คำตอบคือ ให้ภาครัฐเอาข้อมูลที่มีคุณภาพออกมาเยอะๆ ทำ API ออกมาให้ developer ต่อยอด (ความเห็นส่วนตัว แอบใส่คำว่า คุณภาพ เข้าไปขยาย เนื่องจากข้อแรก อ่านข้างล่างแล้วจะเข้าใจ ข้อสอง เคยเข้าเว็บแล้ว พบว่ามีข้อมูลแบบที่ไม่รู้จะให้เรามาทำไม คือไม่ต้องกับ need ของเรา นั่นคือไม่มีอันที่เราอยากได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ยากด้วย เพราะมีไม่ครบทุกแบบไฟล์) สิ่งที่ท่านต้องการ คือ นำเลข 13 หลักของห้างร้านมาตรวจสอบว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ (อันนี้ก็สะดวกในการกรอกภาษีด้วยเนาะ) หรือค้นหาว่าบุคคลนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมต่อไป ใน Thailand 4.0
  • เปลี่ยนวิธีคิดในการนำข้อมูลไปใช้ ฝึกคนให้นำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์

10:30 - 11:35 พิธีเปิดกิจกรรม International Open Data Day 2017 โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

จากนั้นเข้าสู่พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ สิ่งที่ท่านฝากไว้ มีดังนี้

  • Jack ma เคยกล่าวไว้ว่า ในอดีตมีนํ้ามันเป็นแรงขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ในปัจจุบัน data เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ มีการใช้ data และ analytic tool ในการวิเคราะห์การขอสินเชื่อกับ Alibaba เพื่อไม่ให้มีหนี้เสีย ขอทานที่เมืองจีนไม่ใช้กะบะใส่เงิน ใช้ QR code ของ Alipay ในการจ่ายเงิน แม้กระทั่งคนจีนที่มาเที่ยวไทย สามารถใช้ Alipay ใน 7-eleven ได้เช่นกัน
  • open data เป็นเรื่องใหญ่ ไทยเพิ่งมาเริ่มเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนเริ่มคือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนับสนุน เพราะจะได้ป้องกันและปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น

ปัญหาที่เกิดขึ้น :
1) ส่งข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาให้ และส่งมาให้ไม่ต่อเนื่อง
2) นำไปใช้ต่อยอดได้ยาก (น่าจะเป็นผลจากข้อแรก) แก้โดยทำให้เป็น common platform และเปิด API เพื่อให้ developer ทำแอป (หรือเว็บ) ทำ Data Literacy ไปจนถึง info-graphic

ประโยชน์ :
1) เกิดความเท่าเทียมกันในด้านกฎหมาย ข้าราชการระดับสูง คนรวย สามารถเข้าคุกได้ (นึกๆไป ไม่มีกรณีย้อนหลังเนอะ :P)
2) สามารถวิเคราะห์ได้
3) ติดตามได้ ตัว politic data ทำให้สามารถลงโทษทางกฏหมายได้

  • สามารถนำข้อมูลไปใช้ปฏิรูปประเทศได้ ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในการสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ต้องมีการ sharing ต่างคนต่างมีข้อมูลกัน เป็นเรื่องสำคัญ
  • Data --> Innovation --> knowledge --> wisdom
    เช่น เราเจ็บหน้าอก ไปหาหมอ หมอบอกเป็นโรคหัวใจ แล้วเราจะรักษาตัวยังไงให้มีชีวิตอยู่ต่อไป หรือพวก big data analytic เช่น ข้อมูลคณะและมหาวิทยาลัย ว่าแต่ละที่มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง
  • และอะไรที่เป็น Fact หรือ Trust เช่น โครงการบ้านจัดสรรแห่งนึงเคลมว่า ใกล้สนามบินสุวรรณภูมินะ 5 นาทีถึง อยู่หลังสนามบินเลยนะ (Fact) แต่ความเป็นจริง (Trust) ต้องอ้อมไปถึง 40 กิโลเมตรกว่าจะถึง
  • open data เป็นนโยบายที่มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล และให้รัฐเป็นผู้เปิดเผยข้อมูล

ตอนนี้เรากำลังมีเสวนา "มุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย Open Data และ Big Data" โดย 1. ดร.ศักดิ์...

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

11:35 - 12:30 เสวนา มุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย Open Data และ Big Data ณ ห้อง Auditorium

โดย
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
คุณสมบูรณ์ มาตรคาจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโซลูชั่น ด้านดิจิทัลไลฟ์ บริษัท แอดวานซ์ อิน โฟร์เซอร์วิส

ดำเนินรายการโดย
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ออกก่อนตัวว่า เรื่องการเสวนาค่อนข้างจดยากนิดนึง ถ้าคนมาพูดแลกเปลี่ยนสักเจ็ดคนขึ้นไปคือ ไม่เขียนแม่มหล่ะ เยอะเกิน 555 (งานนึงเคยคิดจะเขียน แต่ด้วยจำนวนคน เลยขอบายแล้วกัน มึนเกิน) ดังนั้นเลยใส่คล้ายๆ dialog พวกบทสนทนา เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และจดของเราเอง

มุมมองของภาครัฐที่ขับเคลื่อน open data เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างไร

เสวนามุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย open Data และ Big Data “เราไม่อยากเป็นพระเอก เราอยากเป็นพระรอง...

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

ดร.ศักดิ์ ตอบ: คนกลัวความผิดพลาด เช่น ทำไมหน่วยงานภาครัฐจึงขอเอกสารสำเนาบัตรประชาชน เพราะถ้ามีปัญหาจะได้ฟ้องถูกคน และภาครัฐเองมีวัฒนธรรม คือ เคยชินกับเอกสารที่เป็นกระดาษ

1) ข้อมูลของภาครัฐไม่เปิดให้คนใช้ต่อยอดได้ เช่น บัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง จาก ปปช. เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ถ้ามีในปีหน้านี้ (ก็เห็นนักการเมืองรวยขึ้นทุกคนนะ เราจะตัดสินที่อะไรดีหล่ะ)

2) ภาครัฐในแต่ละประเทศ มีคติในเรื่องอำนาจและความถูกต้อง ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเปิดได้ในระดับหนึ่ง แต่ละหน่วยงานเลยนำข้อมูลที่เขาไม่ใช้หรือไม่เกี่ยวข้องกับเขา มาให้ นั่นคือข้อมูลขยะนั่นเอง

3) ตั้ง national data board ควบคุมการเข้าถึง เช่นในประเทศอังกฤษจะมีการพูดคุยกันระหว่างนักวิจัย คนที่มีส่วนเสียทั้งหลาย ว่าอันไหนเปิดได้ อันไหนเปิดไม่ได้

4) ในไทยอาจจะเป็นประชารัฐ ทำตารางสรุปว่าข้อมูลอันนี้พร้อมเปิดเมื่อไหร่ การเปลี่ยนเอกสารกระดาษเป็นฐานข้อมูล หลายหน่วยงานต้องช่วยเหลือกัยจึงจะสำเร็จ ตัว analytic ไม่สมบูรณ์ สาเหตุนอกจากเรื่องข้อมูลแล้วก็เรื่องคนด้วยdata operator มีการอบรมคน สำหรับสาย IT มาการสอบเลื่อนระดับ อันนี้ดูความเหมาะสมอีกที

5) อันนี้ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า อยากเห็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน จากเดิมที่แบ่งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล มาแบ่งเป็นพื้นที่ ในสมัยที่ท่านยังดำรงตำแหน่งอยู่

ข้อจำกัดด้านทัศนคติ ข้อมูลกระดาษ เปลี่ยนให้สามารถใช้ analytic ได้แล้วข้อมูลที่ภาครัฐเปิด ช่วยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมได้อย่างไร

เสวนามุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย open Data และ Big Data “ในหลายหน่วยงานยังต้องมีการพัฒนาเรื่อง Innovation...

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

ดร.พันธุ์อาจ ตอบ: open innovation เดิมทีทำในบริษัทที่พร้อมจะเปลี่ยน transaction ในธุรกิจที่คล้ายๆกัน เกิด corp. sharing แต่เกิดในภาคเอดชนเท่านั้น จึงยังไม่ใช่ open innovation มากนัก data เป็นสินค้าสาธารณะ คือนำ data ไปใช้ในภาคประชาชน ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง

1) ข้อมูลสาธารณะมักจะไม่ค่อยได้เห็นในประเทศที่กำลังพัฒนา คือขาด digital dependency

2) product/service innovation ในส่วนนี้คือ open scientist นักวิทยาศาสตร์ชุมชน เช่น คนนี้ชอบดูนก เลยศึกษานกแต่ละสายพันธุ์ เก็บข้อมูล หาความรู้ และนำไปเผยแพร่ในชุมชน หรือนักประวัติศาสตร์ชุมชน คนจำนวนนี้มีเยอะ แต่ไม่ถูก press ขึ้นมา ข้อมูลตรงนี้ไม่ต้องรอการเปิด ทำยังไงให้ใช้ข้อมูลได้ (นึกถึงตอนที่โรงเรียนในสมัยมัธยมพานักเรียนไปศึกษาเรื่องเขตธนบุรีกับเจ้าของพื้นที่ เพื่อนำไปทำรายงานส่งแต่ละรายวิชา ซึ่งเหมือนทาง NIA จะมีแพลนทำ walkathon ย่านคลองสาน แต่ต้องรอดูต่อไป)

3) Data Driven Innovation (DDI) หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นนวัตกรรมสร้างจาก big data แปลงให้เป็นคุณค่าทางนวัตกรรม ซึ่งเป็น 1 ในยุทธศาสตร์ คือการทำ Innovation Informatic Base (สารสนเทศนวัตกรรม) ซึ่งต้องตกลงเรื่อง data set กันก่อนว่าจะใช้อะไร

  • open innovation ทำให้เกิดความต้องการใช้ data (need) ประชาสังคมเป็นเจ้าของ open data
  • ทำอย่างไรให้นำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อาจจะทำเป็น User Generate Data (Content)
  • เปลี่ยน mind set ในการทำ innovation ใช้ big data มาตีโจทย์ทำนวัตกรรม รวบรวม data innovation มากพอ เสริมแต่งให้เป็นคุณค่าของนวัตกรรม
    เกร็ดน่ารู้ : smart city 1/4 เป็นของภาครัฐ 3/4 เป็นของเอกชน
    ในจีนมีการใช้ data ในมือถือเพื่อเปิดปิดไฟจราจร เป็นการทดลอง

ในภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเก็บ data ในการทำหรือต่อยอดธุรกิจใหม่ๆได้อย่างไร

เสวนามุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย open Data และ Big Data “เรายังขาดรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ...

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

คุณสมบูรณ์ ตอบ: ทำเป็น digital portal อาศัยความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่ง AIS ได้เปิดตัวแอปที่ใช้ open data ไปสามตัว คือ การเกษตร สุขภาพ และการศึกษา

ด้านการเกษตรมีการลงพื้นที่จริง ที่เชียงดาว ว่าเขาอยากได้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ปลูกพืชอะไรดี ปลูกแล้วขายได้ไหม ปลูกอย่างไรดี มีปัจจัยต่างๆเยอะมาก เช่น สภาพดิน อากาศ ชลประทาน ตลาด อย่างราคารับซื้อ เปรียบเทียบว่าที่ไหนให้ราคาดีที่สุด และใกล้ตัวเขามากที่สุด

IoT ต้องบรูณาการ data ในหลายๆมิติ จาก sensor และภาครัฐ เช่น พยากรณ์อากาศ AIS เป็นตัวกลางในการ provide process ประมวลผล ให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้

ข้อมูลมี 3 แกนหลัก คือ
1. อดีต วิเคราะห์อนาคต
2. transaction เป็น reference เช่น ข้อมูลเลขบัตรประชาชน 1ส หลัก
3. data 2-ways ใส่ข้อมูลเข้าไปแล้วมีคำตอบออกมา มีการวิเคราะห์ data เพื่อใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

การเปิด data จะมีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ
ก่อน ดร.สมเกียรติ ตอบ มีการขายของกันเล็กน้อยค่ะ

Eventpop | ฟื้นเศรษฐกิจ-ปฏิรูปรัฐ ด้วยปฏิวัติข้อมูล (Boosting the Thai Economy and Reforming Government Services by Data Revolution)
View more details on Eventpop

จองบัตรผ่าน eventpop ซึ่งแอบวางลิ้งได้ด้านบนแล้ว ท่านแอบกระซิกว่า มีการใช้ big data ในการพิจารณาคนเข้าร่วมงานด้วยนะ (555)

เสวนามุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย open Data และ Big Data “ถ้าประเทศไทยจะเป็น 4.0 Data ก็ต้องเป็น 4.0 ” ดร.สมเกียรติ...

Posted by Open Data Thailand on Friday, 3 March 2017

1) open data ช่วยเกษตรกร เช่น บริษัทนํ้าตาลมิตรผล เป็บบริษัทนํ้าตาลอันดับ 5 ของโลก ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลแผนที่ ใช้ UAV มีการ location จาก GPS และภาพถ่ายดาวเทียม คำนวณว่าพื้นที่สวนอ้อยนี้มีปริมาณอ้อยเท่าไหร่ คาดว่าจะมีเท่าไหร่ เพื่อนำไปทำสัญญาซื้อขายได้

2) ตัวอย่างการใช้ open data เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ให้คนสามารถรู้ GPS ของรถไถ โดยออกแบบแปลงปลูกอ้อยให้เป็นระเบียบ เพื่อใช้ GPS ระบุรถไถอ้อย ให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร เพราะถ้าตัดไปโดนตาอ้อย ทำให้อ้อยไม่สามารถเจิรญเติบโตได้อีก

3) Thailand 4.0 --> Data 4.0
Data 1.0 ภาครัฐเก็บข้อมูลประชาชน เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ส่งต่อไปตามลำดับเรื่อยๆจนถึงระดับบนสุด
Data 2.0 ภาครัฐอยากเข้าใจประชาชนมากขึ้น มีการ servey data ลงพื้นที่ สำรวจประชากรจริงๆ เช่น สำรวจคนว่างงาน ภาวะครัวเรือน มีหลักหมื่นครัวเรือน เป็น micro data ปิดเรื่อง privacy ไว้
Data 3.0 visual big data ใช้ Big Data จาก Social Digital Media เช่น Google, Facebook เอาข้อมูลไปวิเคราะห์
Data 4.0 real world big data เชื่อมโยงกับโลกจริง เช่น IoT ช่วยเรื่อง productivity ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น

ซึ่งท่านก็ขายของทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้าอยากทราบข้อมูลเรื่องนี้อย่างละเอียด ให้มาร่วมงานวันที่ 13 นี้นะ

ฝากช่วงท้าย ความคาดหวังของแต่ละหน่วยงาน กับข้อมูล data

คุณสมบูรณ์:
- เรื่อง digital portal มีแผนต่อไป คือ มีข้อมูลอะไรบ้างที่ส่งต่อเกษตรกร ใช้ technology เพื่อยกระดับให้ไปได้พร้อมๆกัน ในแอป Farm สุข
- ข้อมูลที่ขาด คือ
1) การตลาดที่แม่นยำ ในเรื่องตลาดรับซื้อที่ราคาดีที่สุด ในแหล่งที่ใกล้ตัวเกษตรกร คุยกับผู้บริหารเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมา
2) Source of Innovation เพื่อสร้างกลไลการมีข้อมูล เช่น การพยากรณ์อากาศ การบูรณาการ forecast
3) แอป อสม. ออนไลน์ เป็น tool ปฏิบัติงานของ อสม ถ้าประสบเหตุคนเจ็บป่วยบ่อย ปักลงแผนที่ แล้วหาชื่อสถานที่ที่ตัวเองอยู่ไม่เจอ เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่มีคนไป tag ข้อมูล open data ระดับตำบลระดับหมู่บ้าน บน google map
ทาง ดร.พณชิต เสริมว่า ใช้ข้อมูลของเสามิเตอร์ไฟฟ้า ในการพยากรณ์อากาศ (เข้าใจว่าเรื่องตำแหน่งว่าเสาเลขนี้ อยู่ตรงไหน)

ดร.ศักดิ์: เสริมว่า ข้อมูล open data มีลึกสุดที่ระดับในตำบลเท่านั้น ยังไม่มีในระดับหมู่บ้าน
- focus มากขึ้น ว่าภาครัฐต้องการอะไรบ้าง และคนใช้อยากได้อะไร อยากได้ข้อมูลชุดไหน และต่อยอดให้เกิด application ทางภาครัฐมีข้อห้ามว่าห้ามพนักงานภาครัฐทำแอปเอง (อ้าว) จึงเปิดข้อมูล API ให้ developer ทำ มีทั้งหมดตอนนี้ 900 แอปปิเคชั่น (หืมมม) เลยได้คนมาพัฒนาแอปเพื่อภาครัฐฟรีๆเลย (เดี๋ยวๆ แล้ว developer ไม่ต้องกินหรอคะ ถ้าทำงานฟรีเรื่อยๆ ดีที่มีการจัดประกวดให้พอได้อะไรบ้าง)
- ต้องดูว่า ทำแอปนี้แล้วจะมีคนใช้ไหม อาจจะทำแอปเดียวแล้วครอบคลุมทุกอย่างเลย เช่น ข้อมูลรถบัส ตารางการออกรถ (เราเคยทำแอประบบขนส่งมวลชน สิ้งที่ขาดคือ open data เลยหล่ะ เพราะเรากะทำทีเดียวครอบคลุมทุกอย่าง เลยพับโปรเจกนั้นลง โชคดีที่ได้ทำลุงสุขุมต่อ อิอิ)
- ขสมก. บอกว่า เขาขอเปิดข้อมูลตำแหน่งบนรถเมล์ (ว๊าววว) ของพวกนี้อาจจะต้องมี พรบ. เปิด data set ในกรอบเวลาที่กำหนด นำข้อมูลไปทำแอปแล้วประชาชนได้ประโยชน์
ทาง ดร.พณชิต เสริมว่า ขอให้ developer ติดต่อขอใช้ข้อมูล

ดร.สมเกียรติ : โตดี อยู่ได้ ตายยาก
เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ภาครัฐเปิดข้อมูล ให้ประชาชนเข้าใจ ต้องเปิดในระดับใหญ่โดยให้ EGA ช่วย
ถ้าภาครัฐเปิดแล้ว เอกชนต้องเปิดได้ด้วย หากติการ่วมกันที่เกมาะสม และสังคมต้องได้ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่ตกอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง เช่น โครงการ Open Data Initiative ของสหรัฐอเมริกา

เลขบัตรประชาชน 13 หลักของเรา คัด ID ออกมา สามารถตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพได้ (เข้าใจว่าดูว่าเราได้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคม น่าทำอยู่เหมือนกัน)

ดร.พันธุ์อาจ :
1) ระบบนวัตกรรมไม่มี portfolio เพราะไม่มีข้อมูล จึงทำในระบบโครงการ มีการเจริญเติบโตที่ดีมาก จาก 100 เป็น 400 จนเป็น 1000 โครงการ ถ้าทำสำเร็จจะขยายไปหน่วยงานอื่นที่เป็นสายงานด้านนวัตกรรม ส่วนข้อมูลภาคเอกชนจะทำเป็น Community Innovation Survey (CIS) ข้อมูลบริษัทที่ทำ innovation smart ซึ่งเป็น platform ในการทำ Innovation Dashboard
2) พัฒนา Innovation Informatic ตามแผนพัฒนา 5 ปี(2020) ให้มี IT ด้านนวัตกรรม เก็บข้อมูลและใช้ประโยชน์ได้
3) การคาดการณ์อนาคต ใช้ Cloud Foresight Institute เพื่อสร้างแบบจำลองอนาคต โดยให้ user เข้าระบบ online มาทำ scenario
4) ร่วมกับ EGA ทำ Hackathon Generate Innovation ที่ศรีราชา ทำ Walkathon 4 เดือน ที่ EEC
5) เพิ่มหมวด Government Tech Sector ในมุมมองของ data

ท่านแอบมาบอกว่า เดือนนี้ทาง NIA จะมีการเปิดตัวหลายๆกิจกรรมเลย ต้องติดตามเนอะ

หลังจากจบ session ก็แยกย้ายไปดูนิทรรศการ และทานอาหารกลางวัน จริงๆตอนเปิดงานผู้ใหญ่ก็มาเดินชมก่อนเข้า session นี้นะ เราพลาดไปไม่ได้พรีเซนต์ท่านๆเลย งื้อออออ เลยเก็บภาพนี้มาฝากแทน มีหลายบูธเลย


พื้นที่โฆษณา ลุงสุขุมก็ได้เข้าร่วมงานนี้ด้วยนะ จากแอปแชทบอทใน facebook เล็กๆ สู่โมบายแอป และกำลังก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ที่เราตั้งไว้

ลุงสุขุม ระบบ chatbot ถามสายรถเมล์ จุดเริ่มต้นเล็กๆ จาก Bangkok Urban Hackday วันนี้กำลังทำให้เป็นจริง ลองเล่นได้ที่ https://loongsukhum-7a4a9.firebaseapp.com

Posted by Social Technology Institute on Saturday, 4 March 2017

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ขอบคุณทุกท่านที่จัดงาน และให้โอกาสพวกเราได้ร่วมงานนี้คะและยังมีอีก session คือ ความท้าทายของ big data และภาคธุรกิจ อย่าลืมติดตามกันนะคะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.