จดประเด็นที่น่าสนใจใน "Web3.0 เว็บไร้ตัวกลางกำลังจะมา คนทำเว็บว่ายังไง"
พอดีเห็นคนแชร์ใน Facebook แล้วช่วงนี้ web3.0 กำลังเป็นที่ร้อนแรงงง เลยมาฟังสักหน่อย
บล็อกนี้จดสรุปจากงาน Web3.0 เว็บไร้ตัวกลางกำลังจะมา คนทำเว็บว่ายังไง พบคำตอบได้ในงาน webpresso จิบกาแฟคนทำเว็บ ครั้งที่ 1 ของทาง สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association) ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. (ใส่เวลาจบงานจริงแล้วกันเนอะ)
ก็เป็นครั้งแรกของเราเลยที่มาฟังสัมมนาของทางสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เนื่องจากเราไม่ใช่คนทำเว็บแอพ เราเป็นคนทำแอพ 555555555555555
รายละเอียด event
บล็อกนี้เราจะไม่ระบุว่าพี่คนไหน ตอบอันไหน เราขอมัดรวมไปเลยแล้วกัน
Web 3.0 คืออะไร?
- Web 1.0 : เป็น static content คือคนสร้างเว็บเผยแพร่ conteny
- Web 2.0 : เป็นเว็บ UGC ที่ user สามารถใส่ content ของตัวเองลงไปในระบบได้ เช่น hi5, Facebook
- Web 3.0 : มีการ semantic ลงในทุกข้อมูล เป็น decentralized website เว็บไร้ตัวกลาง เกิดจากคนถือข้อมูลมีอำนาจมากเกินไป เป็นการปลดแอดจากทุกอย่าง เช่นในเรื่องการเงิน เป็นต้น
- เนื่องจากเป็นเว็บไร้ตัวกลาง ทำให้ทุกคนมีสิทธิเป็น server ไม่ได้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และมีข้อมูลบางส่วนที่อยู่บน server ของผู้ให้บริการเอง หรือไม่ใช่ server ของผู้ให้บริการเองก็ได้
- off-chain : อันนี้เป็นแบบปกติทั่วไปเลย คือ ข้อมูลต่างๆอยู่บน server ของผู้ให้บริการ
- on-chain : เป็น decentralized จริงๆ อาจจะไม่ได้เป็นอันนี้ทุก usecase นะ อาจจะมีผสมๆกับ off-chain
Web 3.0 มีผลอย่างไรกับคนทำเว็บในปัจจุบันบ้างนะ?
- สามารถใช้ความรู้เดิมในการสร้างเว็บ ไม่น่าจะเป็น HTML, CSS, javascript จากที่เรายิง API ไปเรียก service เป็นการ connect เข้า PRC node ของ chain แทน ก็คือใช้ความรู้การทำเว็บเดิม ผสมเข้ากับของใหม่ ตามเทคโนโลยี
RPC ย่อมาจาก Remote Procedure Call ตามที่เราเข้าใจก็เหมือนเราเรียก API แต่จะเป็นฝั่งทาง blockchain แทน เช่น เราอยากดูว่าเรามีเหรียญนี้ใน wallet เท่าไหร่ เราก็เรียก balanceOf()
ไปยังตัว route path ของ chain ที่เราต้องการได้
- ในปัจจุบันเราจะยิงจากเว็บ A ไปยังเว็บ B เช่น เว็บไซต์ของเรายิง API ไปขอข้อมูลบางอย่างจาก API ของ Google
- Web 3.0 เป็น API ที่ไม่มีเจ้าของ server มีการกระจายตัว เพื่อไม่ให้ถูก coordinate data โดยใครคนใดคนหนึ่ง (คือเรายังมีความเป็นเจ้าของ data นี้อยู่สำหรับ Web 3.0 นะ ส่วน Web 2.0 data จะเป็นของผู้ให้บริการ ซึ่งอันนี้ ก็อ่านจากอันอื่นมาอีกที)
- การมาของ Web 3.0 ทำให้มี idea ใหม่ๆเกิดขึ้น มีอะไรใหม่ๆให้คนลองเล่นมากขึ้น
Web 3.0 กับ Cryptocurrency และ NFT
- NFT ในปัจจุบันจะเน้นไปทางสาย art ไม่ว่าจะ profile picture ซึ่งจริงๆแล้วจะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเงิน และมีหลากหลาย usecase ให้นำไปใช้งาน เช่น บัตรสมาชิก เมื่อเราไม่ใช้แล้วสามารถ transfer ไปยังคนอื่นๆได้, เอกสารยืนยันสิทธิบางอย่าง, บัตรคอนเสิร์ต
- ความแตกต่างระหว่าง NFT และ cryptocurrency : FT (Fungible Token) ก็คือตัว cryptocurrency นั่นแหละ สามารถแบ่งแยกได้ โดยมูลค่าสามารถทดแทนกันได้ และมีมูลค่าเท่าเดิม เช่น เหรียญ 2 บาท 2 เหรียญ เหรียญ 2 บาททุกเหรียญ มีมูลค่าเท่ากับ 2 บาท ส่วน NFT (Non-Fungible Token) เป็นของที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ มีการฝัง attribute token ให้ user ถือ แล้วนำไปใช้งานได้ เช่น บัตรแลกอาหารในงาน ETHDenver
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ FT และ NFT ได้ที่นี่
- Bored Ape Yacht Club เป็น profile picture NFT ที่คนที่ถือจะได้เข้า community สุด exclusive ด้วย
สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ NFT ได้ที่นี่
เกี่ยวกับ Bored Ape สามารถฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากของ Techsauce ได้เลยจ้า
แล้วคนทำเว็บต้องรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Web 3.0 บ้าง?
- เข้าใจ decentralized network ว่าทำงานยังไง เช่น Ethereum, BSC สร้างแอพบน blockchain เหล่านี้อย่างไร เช่น การเขียน smart contract เป็นการเขียน function ต่างๆบน blockchain ด้วยภาษา Solidity
- ตัว Web 3 ที่เป็น library ที่หน้าเว็บจะ connect เข้าไปใน chain โดย DApp (Decentralised Application) จะรันบน blockchain เป็นหลัก โดยตัว blockchain เองก็จะเป็นอีกหนึ่ง comcept ที่ใช้ใน Web 3.0
- ซึ่งสิ่งที่มาก่อนกาลใน concept นี้ก็คือ BitTorrent และก็ Git
- ถ้าสนใจอยากลองทำอาจจะไปลองใน Ethereum เพราะคนใช้งานเป็นส่วนใหญ่ แต่ค่า gas แพง, Solana ใช้ Rust ในการเขียน smart contract เป็น WebAssembly ซึ่งไม่ได้ผูกกับ spec ของเครื่อง
- การเก็บ data บน blockchain มีราคาแพง และมีต้นทุนที่สูง เช่นการ mint, ค่าธรรมเนียมในการโอนเหรียญ ก็คือค่า gas แพงคนอาจจะไม่ค่อยอยากใช้
มีคนถามเกี่ยวกับ Brave browser
- brave browser เป็น browser ที่รักษา privacy ของ user ไว้ ว่า user ไม่ควรโดน personalized track ทำให้ user มีทางเลือกมากขึ้น ในนั้นจะมี Crypto Wallet และ Token ประจำ browser นี้ คือ BAT (เดี๋ยวเราจะเล่าออกมาเป็นอีกบล็อกนึง)
- การมาของ brave browser ทำให้การทำ marketing ยากขึ้น และ target ได้ยากขึ้นด้วย ทำให้ marketing ต้องปรับตัว แต่มีข้อดีสำหรับ user คือ เราจะเห็นอีกฝั่งของช้อมูล
อีกกี่ปีถึงจะเป็น Web 3.0 แบบเต็มรูปแบบ
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ speaker นะ
- คุณตั้ง : ยังไม่เป็น Web 3.0 อย่างเต็มตัว แต่คนเข้าใจ usecase และเอา usecase ไป adopt จึงใช้เวลาค่อยๆ shift ไป
- คุณตั้ง : ตัว wallet ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น Metamask ต้องรอเวลาเปลี่ยนผ่านไป และมีเจ้าอื่นๆลงมาเล่นด้วย
- คุณปันเจ : adoption ในมุม UX ต้องแก้ให้ได้ก่อน, performance ในการทำงาน ต้องมีการ trade off
GameFi มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมาย คนมองในแง่ร้าย
- เป็น concept ใหม่ เป็นเกมส์อีกประเภทหนึ่ง โดยมองว่าเป็นที่คนมากกว่า ต้องมองก่อนว่าไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ ถ้ามีรายใหญ่มาเล่น คนอาจจะมีความเชื่อถือมากขึ้น
- การทำ model แบบ play-to-earn หลีกเลี่ยงแชร์ลูกโซ่ได้ยาก ซึ่งเป็น economic อีกแบบนึง
เผื่อใครอยากเห็นภาพในประเด็นนี้มากขึ้นเนอะ
- ของในเกมส์สามารถเป็น NFT ได้ ทำให้ enable market เจ้าของเกมส์ไม่ได้คุมการไหลของของอีกต่อไป แต่การซื้อของในเกมส์เอาไปขาย เจ้าของเกมส์อาจจะไม่เห็น transaction ว่าหายไปไหน
- เกมส์ต่างค่ายสามารถ co กันได้ ตัวอย่างเช่น Profile Picture ใน Twitter ที่เราสามารถเอา NFT เป็น avatar ได้ และสามารถแยกกับรูป avatar ปกติได้
เผื่อใครนึกไม่ออกว่าเป็นแบบไหน ก็จะเป็น avatar แบบหกเหลี่ยมนั่นแล
Business Model หรือ idea ในการทำธุรกิจใหม่ๆจาก Web 3.0
- Finance, Digital ID เป็นการยืนยันตัวตนว่าเราเป็นเจ้าของ account นี้จริงๆ โดยอาจจะอิงจาก W3C (เป็น Web Standard)
- Ethereum เราสามารถเขียนโปรแกรมข้างในได้ สามารถดู transaction ที่เกิดขึ้นข้างในได้ หลักฐานไม่โดนทำลาย อาจจะนำไปใช้กับงานเอกสาร เช่น ให้ทุกคนเห็นได้ สามารถ transfer ได้ และดูได้ว่าถูกสร้างโดยใคร
Metaverse — Web 3.0
- อาจจะมีความเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องก็ได้ แต่สามารถเชื่อมโยงกันได้
- โดย Metaverse ก็คือโลกเสมือน และรวมกับ NFT ที่สามารถเอาไปใช้ที่อื่นได้ เป็นการเชื่อมโลกกัน อยู่ที่ว่าเขาอาจจะให้เชื่อมกันไหม (ถ้าเชื่อมเยอะไปอาจจะหวาน //ผิด ขอเราปล่อยมุขหน่อยนะ)
- เป็นการนำ usecase มา match กัน ทำให้มันเจ๋ง เช่น สามารถซื้อที่นอก platform ได้ อย่างใน Opensea (เข้าใจว่าเล่าถึง Sandbox นะ เราเคยไปส่องอยู่)
- บนโลกเสมือนก็มีปัญหาอยู่เลานกัน ดังนั้นจะต้องแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อน เช่น อยู่แล้วเรารู้สึกเป็นโลกเสมือนจริงๆ, แว่น VR ใส่นานๆแล้วตาล้า
- transfer ของไปแล้ว ไม่สามารถ recall ได้ (เราอธิบายเสริมนิดนึง คือถ้าเราโอนเงินผิด chain หรือโอนผิดกระเป๋า เงินของเราก็คือไปแล้ว ไปเลย ไปลับ ตามกลับไม่ได้น้า ;_;)
- มีเรื่อง fork ของ ETC กับ ETH
ความพร้อมของประเทศไทย ในภาครัฐ และภาคเอกชน
- speaker ทั้งสองมองตรงกันว่า ศักยภาพภาพของ developer สามารถทำได้อยู่แล้ว
- ภาคเอกชนจะค่อนข้าง active ทั้ง developer และ user มี product ที่ดังในระดับโลก เช่น Ape Board, Alpha Finance
- ส่วนภาครัฐตัว identify สามารถทำได้ แต่ไม่แน่ใจเรื่องความพร้อมของเขา และเก็บข้อมูลไว้ที่ตัวเอง
- ปัญหาเกี่ยวกับ กลต. และ blockchain อันเป็นไม้เมื่อไม้เบามาตลอด ทำให้การขยับตัวของ product ภายในประเทศไม่สะดวก
- NDID – ใช้ blockchain เข้ามาช่วย ใช้ตัว Tendermint คือ มีคนวาง node อาจจะเป็นค่ายมือถือ หรือธนาคาร
อื่นๆ
เนื่องจากมีช่วงนึงที่เราแว่บไป และมี session ตอบคำถามอยู่บ้าง บางทีอาจจะจดไม่หมดเนอะ คัดมาเฉพาะที่น่าสนใจ
- DAOs เป็นองค์กรที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง จัดตั้งเป็นคล้ายๆบริษัท ใช้ Governance Token ในการกำหนดทิศทางขององค์กร และเมื่อเรา contribute เยอะ เราก็จะได้ benefit กลับมาเยอะด้วย
- Opensea มี data บน chain ไม่เยอะ และมันไม่ควรเปลี่ยนรูปได้ และมีจุดที่ตัวมันเองไม่ใช่ DApp และ Web 3.0 อยู่เยอะ
คือมีคนถาม พร้อมแนบลิ้งนี้ด้วย
เห็นใน Facebook ผ่านๆและเพื่อนเล่าให้ฟังว่า การเก็บรูปไม่ควรเก็บไว้ใน server ของเว็บเอง เนื่องจากมันไม่ decentralized ควรจะเก็บแบบ IPFS มากกว่า / หลักฐานอยู่ด้านล่างๆของบล็อกนี้
- Web 3.0 ยังไม่มีกานกำหนดขอบเขต และมาตรฐานที่ชัดเจนจาก W3C
- ปัญหาของ Web 3.0 ก็คือ ไม่ decentralized 100%, ค่า gas ทียังแพงอยู่, validate data ไม่ได้เร็วอย่างที่คิด เพราะมีการกระจายไปหลายที่
- POW (Proof of Work) จะใช้ resource สูงมาก เพราะแข่งกันคำนวณ ส่วน POS (Proof of Stake) จะเอาเงินมาวางไว้ตรงกลาง
- Sharding Data เป็นการเพิ่ม performance ของ blockchain
ที่เราจดไว้ก็จะประมาณนี้เนอะ ส่วนใครที่พลาดไปเขาบอกว่าจะแปะวิดีโอไว้ในเพจ แล้วก็ในเว็บของเขาด้วยหล่ะ
หวังว่าคนอ่านจะได้ประโยชน์ และอ่านแล้วไม่งงกันเนอะ
สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า
กด follow Twitter เพื่อได้รับข่าวสารก่อนใคร เช่น สปอย content ใหม่ หรือสรุป content เร็วๆในนี้จ้า
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
Subscribe ช่อง YouTube ของเราได้ที่
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่