เล่าเรื่อง startup เท่าที่รู้ จากซีรีส์เกาหลี Start-Up

Lifestyle Feb 7, 2025

มีเรื่องนึงที่หลาย ๆ คนอาจจะเห็นผ่าน ๆ แต่ทางเราไม่ได้เล่าเป็นทางการ เกี่ยวกับ hackathon และเรื่องราวสาย startup เท่าที่รู้ เพราะมันก็ผ่านมาหลายปีแล้ว อะไรใหม่ ๆ เราอาจจะไม่รู้ 🤣

ซีรีย์เกาหลีที่อยู่ในใจชาว developer อย่างเรา คงหนีไม่พ้นเรื่อง ดือดื่อดือ Start-Up นั่นเอง ช่วงนั้นตอนทำงานทุกคนเป็นนัมโดซานกันหมด แรงใจในการทำงานพุ่งพล่าน เพราะเพลง "Running" (달리기) มันปลุกใจ55555555555

https://www.youtube.com/watch?v=FrOLeoXrvLU

ก่อนอื่นเลยมาเล่าเรื่องย่อของซีรีส์ Start-Up กันคร่าว ๆ กัน เกี่ยวกับหนุ่มสาวที่อยากทำความฝันให้เป็นจริง ในการเป็นนักธุรกิจ startup ที่ประสบความสำเร็จ

👥 ตัวละครหลัก

  • ซอดัมมี (แสดงโดยซูจี): นางเอกของเรา ที่อยากทำเป็นผู้ประกอบการ ทำธุรกิจ startup ให้ประสบความสำเร็จ
  • นัมโดซาน (แสดงโดยนัมจูฮยอก): พระเอกหนุ่ม developer ที่ในเรื่องเก่งในการเขียนโค้ดมาก ๆ ทำบริษัท startup ที่มีชื่อว่าซัมซานเทค กับเพื่อนอีกสองคน คือ ลีซอลซาน และ คิมยงซาน
Fun fact: เนื่องจากแก๊งค์นี้ชื่อลงท้ายด้วย ซาน หมด ซัม (삼) เป็นคำบอกจำนวน 3 ในภาษาเกาหลี เลยเป็น สามซาน หรือซัมซานนั่นเอง แล้วซาน (산) แปลว่าภูเขา เลยเป็น logo บริษัทที่เป็นภูเขาสามลูกนั่นเอง
  • ฮันจีพยอง (แสดงโดยคิมซอนโฮ): พ่อหนุ่มไมโครเวฟ เป็น VC หรือนักลงทุนในบริษัท startup และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท startup ต่าง ๆ อีกด้วย
  • วอนอินแจ (แสดงโดยคังฮันนา): พี่สาวต่างแม่ของนางเอก ที่มีความทะเยอทะยาน อยากพิสูจน์ตัวเองว่าฉันก็ทำได้ไม่ง้อใคร

🎬 เข้าสู่เรื่องราวในซีรีส์

ในเรื่องก่อนที่พระนางเราจะได้ร่วมทีมร่วมงานกันได้น้านนน ก็ต้องมาร่วมงาน hackathon ของ sandbox กันก่อนเลย (ในเรื่อง sandbox เปรียบเหมือน Silicon Valley ที่อเมริกาเชียวแหละ แหล่งเกิดบริษัทเทคมากมาย) ซึ่งแต่ละทีมมีส่วนผสมของ 3 สายด้วยกัน คือ developer (แก๊งค์พระเอก), business (นางเอก) และ designer (คูมทนาย) เป็นทีมซัมซานเทค

นางเอกเป็น role CEO ตอนเจรจาให้คนมาร่วมทีมคือสนุกมาก และต้องหาลูกทีมให้ครบก่อนเริ่มงาน hackathon นะ

หลังจากจับทีมกันได้แล้ว มาระดมสมองคิดไอเดียกันว่าเราจะทำอะไรกันดี แล้วก็ลงมือทำกันข้ามวันข้ามคืน รวมถึงปั่น slide เพื่อ pitching ในวันสุดท้ายของงานแฮกกาธอน แล้วก็ประกาศผล แน่นอนทีมพระนางเราได้ไปต่อ และมีนักลงทุนสนใจหลายรายด้วยล่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=TAJFItSspmE

หลังจากจบงาน hackathon จะมีการวางแผนเกี่ยวกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหุ้นว่าใครถือเท่าไหร่ บางทีมถึงกับแยกย้ายกันไปเติบโตเลยทีเดียว แล้วก็วางแผนทำ product เพื่อนำ feedback ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป เพื่อนำเสนอในวัน demo day

ในเรื่องปูมาแล้วว่าแก๊งค์พระเอกเก่งเรื่อง Machine Learning มาก โดยเกี่ยวกับรูปภาพ  มีฉากนึง demo ให้พ่อแม่พระเอกดู แล้วก็ได้รางวัลชนะเลิศกลับมาด้วย ได้คลิปรับรางวัลในตำนาน 5555555555 และ skill พระเอกตรงนี้ก็ได้ถูกใช้ตลอดทั้งเรื่องด้วย ไม่ว่าจะเป็นตอน hackathon ที่คัดแยกลายมือ ตอนทำ product หลัก ตอนที่ทำแอพช่วยคุณย่านางเอกอย่างนุนกิล หรือตอนที่แก้บัคตัวใหญ่ 555

https://www.youtube.com/watch?v=AOjvlnUKIgw

แล้วยุคนี้อะไรเอ๊ะอะก็ AI อ่ะเนอะ เรียกได้ว่ามาก่อนจะ mass ไหมนะ 🤣

ส่วนอีกหนึ่งซีนที่ชอบ คือตอนที่ซัมซานเทครวมตัวกันมาคิดไอเดียที่ออฟฟิศเดิม ที่พระเอกเช่าพ่อแม่มาทำออฟฟิศนี่ล่ะ คิดไอเดียกันอย่างสนุก แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ แฮร่

ตำแหน่ง C-Level ในเรื่อง

เท่าที่จำได้ในเรื่องนะ จริง ๆ มีอีกหลากหลายเลย

  • CEO (Chief Executive Officer): เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้เป็นตำแหน่งสูงสุดในบริษัท กำหนด mission และ vision ต่าง ๆ อันนี้จะเป็นนางเอกซอดัมมี
  • CTO (Chief Technology Officer): ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี อันนี้จะเป็นพระเอกนัมโดซาน

ชื่อตอนที่มีความหมายสอดคล้องกับโลก startup

ลูกเล่นอีกอย่างนึง คือ ชื่อตอนใน Netfilx ซึ่งก็เป็นคำศัพท์สาย startup และสายเดฟบ้างนิดหน่อยแหละ เดี๋ยวมาอธิบายกัน

  • EP 1. START UP: หมายถึงบริษัทที่เริ่มต้นแบบเล็ก ๆ และเน้นเติบโตเร็ว มักเป็นบริษัทด้านเทค การบริหารงานก็ต่างจากองค์กรแบบ cooperate ด้วย
  • EP 3. Angel: ความหมายตรงตัวคือนางฟ้าหรือเทวดานั่นแหละ แต่เป็นคนที่ให้เงินลงทุน startup กับเรา โดยให้เงินแบบให้เปล่า
  • EP 4. Sandbox: ความหมายตรงตัวคือกระบะทราย เอาไว้ทดสอบ feature อะไรต่าง ๆ ก่อนที่จะไป launch ของจริง ในเรื่องชื่อ Sandbox มาจากมาจากพ่อนางเอก ที่ปูกระบะทรายให้ลูก ซึ่งก็คือตัวนางเอกนั่นแหละ จะได้ตกมาแล้วไม่เจ็บตอนตกชิงช้า
  • EP 5. Hackathon: มาจากคำว่า hack + marathon หมายถึงการแข่งขันสร้างสิ่งใหม่ในระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น งานนี้จัด 3 วัน 2 คืน เดี๋ยวมีอธิบายต่อข้างล่าง
  • EP 6. Key Man: บุคคลสำคัญขององค์กร คือคนหลักที่มีอำนาจการตัดสินใจสูงสุด จึงต้องได้หุ้นมากสุด เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ในการบริหารไปอยู่ในมือนักลงทุน เมื่อเปิดรอบลงทุน starup
  • EP 7. Burn Rate: คืออัตราการเผาเงินทุนของ startup นั้น ๆ ซึ่งแต่ละเดือนจะต้องมีรายจ่ายต่อเดือนกันอยู่ล่ะว่ามีอะไรบ้าง เป็นเท่าไหร่ เป็นต้นทุนของเรา
  • EP 10. Demo Day: วันเสนอผลงานที่เราทำมาในช่วงเวลานั้น
  • EP 11. Exit: การที่บริษัท startup ถูกซื้อหรือควบรวมกิจการ
  • EP 12. Acqhire: เป็นการซื้อบริษัท startup นั้น ๆ โดยเน้นเรื่องบุคคลากรมากกว่า product เช่น ในเรื่องซัมซานโดนทุสโทเข้าซื้อกิจการ เนื่องจากเดฟซัมซานเก่งมาก
  • EP 14. Elevator Speech: เป็นการนำเสนอ หรือ pitch ต่อหน้านักลงทุนในระยะเวลาสั้น ๆ เท่ากับเวลาขึ้นลงลิฟต์แต่ละครั้ง ซึ่งเวลาจะไม่เกิน 5 นาที
  • EP 15. MVP (Minimum Viable Product): คือ ทำ product ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพียงพอ เพื่อส่งต่อ value อะไรบางอย่าง ปล่อยออกมาเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของเราได้ลองใช้ก่อน เพื่อนำ feedback ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • EP 16. Scale Up: ขายกิจการของตัวเอง ซึ่งจะมีเงินลงทุนในแต่ละ stage เดี๋ยวเล่าให้ฟังด้านล่าง

🤔 แล้วงาน hackathon คืออะไรกันนะ?

อย่างในเรื่อง Start-Up นั้นก็เป็น hackathon สาย startup เลย ที่หาทีมในงาน หรือมีทีมมาแล้ว ทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ แล้ว pitching เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ซึ่งแต่ละงานมี detail ต่างกันออกไป

ซึ่งในซีรีส์ทำให้เรานึกถึงงาน dtac Accelerate โครงการบ่มเพราะ startup ชื่อดังในไทย ที่อำลาไปในปี 2019 ที่กำเนิด startup หน้าใหม่ในไทยมา 7 รุ่นด้วยกัน

ถ้างานสาย startup หน่อย แต่ไม่ใช่ hackathon ที่เราเคยเข้าร่วม ก็จะเป็นงาน Samart Innovation Award 2015 หรือเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีนั่นเอง เข้ารอบ 25 ทีมสุดท้าย ซึ่งพอเข้ารอบนี้จะมีอาจารย์ mentor ให้เราปรึกษาด้วยนะ ปกติเราเข้าสายเดฟ

ส่วนงาน hackathon ที่เราไปนั้น ต่างไปออกไป ของเราเน้นจบในงาน

แล้วแต่ละ role ทำอะไรกันบ้างในงาน hackathon แบบคร่าว ๆ เท่าที่จำได้

  • Developer: แน่นอนเขียนโค้ด ทำส่วน MVP ออกมาเพื่อเอามา present ในวัน demo day
  • Designer: ช่วยทำ MVP ออกมาให้สวยงาม จริง ๆ เริ่มจากคิด wireframe คร่าว ๆ ก่อนว่าสิ่งที่เราจะทำมีอะไรบ้าง
  • Business: คิดกลยุทธ์ของสิ่งที่เราจะทำ แล้วก็เป็นคนทำ slide วาง story ต่าง ๆ ว่าของเราทีมอะไร ทำ product อะไรในงานนี้บ้าง

pain point ของงานสาย hackathon ที่หลาย ๆ คนบ่น คือ สิ่งที่คิดและทำในงานนั้น ไม่ได้ถูกนำมาต่อยอดให้ออกสู่ตลาดได้จริง หรือทำแล้วทิ้งและจบไป และบางครั้งทีมที่ได้รางวัลแยกย้ายกันไปเติบโตก็มี

งาน hackathon ที่เคยร่วมงาน

  • Bangkok Urban Hack Day: เป็นงาน hackathon แก้ปัญหาเมืองกรุง จัด 3 วัน โดยวันแรก มีบรรยายต่าง ๆ วันที่สองมีบรรยายเช้า แบ่งทีม และแฮกกัน และวันสุดท้าย present และประกาศผล สุดท้ายออกมาเป็น chatbot ชื่อลุงสุขุม ซึ่งเพิ่งรู้จักสิ่งนี้ครั้งแรกในงาน555555 ตัว MVP ออกแนวอับดุลนิดหน่อย
  • PWA online hackathon: อันนี้ hackathon สายเดฟล้วน ๆ เรียนรู้การทำ PWA หรือ progressive web app ไม่กี่วันก่อนงานจะเริ่ม และเป็นแบบ online ทำจากที่บ้านก็ได้สะดวก เย้ ส่งคนแรกแบบงง ๆ
  • Firebase AppFest Bangkok: ไปกับเพื่อนไม่หาทีมอะไรล่ะ ทำ chatbot สุ่มข้าวเที่ยง โดยใช้ Firebase ทำ
  • The 5th Stupid Hackathon Thailand: หมดทุก pain point ที่ทำแล้วทิ้ง มาทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ อะไรที่สนุก ๆ จะหาทีมร่วมอุดมการณ์ในงาน หรือทำเองก็ได้ ตอนนั้นช่วงโควิดพอดี งานเลยจัดที่ Discord แหละ เราส่งไป 2 idea แล้วได้เข้าหมด คือ Emoji Soundboard อยากเปิด sound board แต่จำเสียงที่ใส่ไม่ได้ว่าช่องนี้เสียงอะไร เลยใช้ emoji แก้ปัญหา กับ Lilycatbot chatbot สำหรับคนไม่มีแมว งานนี้มีทุกปี ติดตามได้ที่เพจ Creatorsgarten ได้เลยยย

กิจกรรมส่วนใหญ่ของเราในงาน ก็จะเป็นเดฟของให้ทันเวลา demo แล้วปั่นสไลด์ ประมาณนี้

แล้วการลงทุน startup ในแต่ละรอบล่ะ?

การลงทุนใน startup จะมีหลาย ๆ stage เริ่มต้นที่ seed ก่อน เป็นระยะเริ่มต้น จากนั้นไป series A, B, C, D ไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับ unicorn เป็นบริษัท startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตอนนี้ทั้งเกาหลีใต้ และไทย มี startup ระดับ unicorn เป็นเท่าไหร่? เราไปสืบค้นข้อมูลมา เจอของ website tracxn ที่มีข้อมูล unicorn ของหลาย ๆ ประเทศ ในวันที่เขียน content นี้ (5 Feb 2025) เกาหลีใต้มี 33 บริษัท เท่ากับประเทศสิงคโปร และในไทยมีเพียง 5 บริษัท

และในช่วงที่ซีรีส์ Start Up on-air ในปี 2020 นั้น มี unicorn อยู่ 12 บริษัทด้วยกัน

ทำไมจำนวน unicorn ประเทศเกาหลีใต้มากกว่าเรา เพราะนโยบายของภาครัฐ ที่ให้การสนับสนุน startup มีความพร้อมในเรื่องบุคลากร รวมไปถึงเรื่องชาตินิยมด้วย

กรณีศึกษา Startup เกาหลีใต้ ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มียูนิคอร์น 12 ราย
หากพูดถึงเกาหลีใต้ เราอาจนึกถึงประเทศที่ส่งเสริมอุตสาห...
https://techsauce.co/tech-and-biz/how-korea-build-startup-ecosystem

📍 Location ที่น่าตามรอยซีรีส์

ส่วนโลเคชั่นในส่วน sandbox นั้น หนึ่งในสถานที่ถ่ายทำ คือ เกาะโนดึล หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็น CGI จริง ๆ ไม่ใช่ เกาะนี้เป็นเกาะจริง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ตั้งอยู่ใจกลางแม่นํ้าฮันเลยทีเดียว และเคยถูกทิ้งร้างมาก่อนด้วย เนื่องจากเดินทางยาก จนมาฟื้นฟูพื้นที่ในปี 2012 และกลับมาเปิดใหม่ในเดือนกันยา 2019 เป็นพื้นที่วัฒนธรรมที่มีดนตรีเป็นสื่อกลาง มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ พบปะ hangout กับเพื่อน ๆ มี live house ไว้จัดแสดงดนตรี มี gallery จัดแสดงงานศิลปะ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย น่ามาตามรอยสุด ๆ

ส่วนอันนี้ website ทางการ สามารถไปส่องกันได้

Nodeul Island – Nodeul Island Official Website
https://english.nodeul.org/

ส่วนอันนี้รายละเอียดเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่ใหม่

Nodeul Island Park / mmkplus
Completed in 2019 in Seoul, South Korea. Images by Hyun Jun Lee, Cheong-O Yu. Abandoned and forgotten for decades, Nodeul Island is an artificial island situated on Seoul’s Han River. It was first constructed to support the Han...
https://www.archdaily.com/995359/nodeul-island-park-mmkplus

ทั้งหมดก็จะประมาณนี้ เอ้ออออยาวกว่าที่คิดไว้5555555555 ขอให้ทุกคนเก่งเหมือนกับ ซอดัมมี นัมโดซาน ฮันจีพยอง และ วอนอินแจ น้าทุกคน


ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า

ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.