จัดกระเป๋าเงินให้(เงิน)น่าอยู่ สรุปจากหนังสือ "ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว"
เนื่องจากกระเป๋าสตางค์มีก็พื้นที่จำกัด เราก็ต้องเคลียร์มันให้สะอาดเรียบร้อย เตรียมรับเงินเข้ามาเนอะ นอกจากเราจะจัดบ้านกันแล้ว เราก็ต้องจัดกระเป๋าสตางค์ ที่เป็นบ้านของเงินของเราด้วยนะ
เพิ่งอ่านหนังสือที่ชื่อว่า “ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว” เขียนโดย คะเมะดะ จุนอิชิโร จากสำนักพิมพ์ we learn
ก่อนหน้านี้ผู้แต่งเคยอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะมาก่อน แต่เมื่อบริษัทของพ่อล้มละลาย ทำให้เขาสูญเสียทุกอย่างไป กาลเวลาผ่านไปเขาได้สร้างเนื้องสร้างตัวใหม่ จนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
บางอย่างก็นำมาใช้ได้เลย บางอย่างก็เหมาะกับบริบทของทางญี่ปุ่นเขา ไม่ค่อยเหมาะกับบ้านเราเท่าไหร่ ดังนั้นเราเลยลองสรุปพร้อมกับทริคง่ายๆที่เอาไปประยุกต์ตามได้
Disclamer : เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ คนญี่ปุ่นเป็นคนเขียน จึงต้องเรียนรู้เรื่องธนบัตรและเหรียญที่คนญี่ปุ่นใช้เสียก่อน
ธนบัตรของประเทศญี่ปุ่นจะมีราคา 10,000 เยน 5,000 เยน 2,000 เยน และ 1,000 เยน ส่วนเหรียญจะมี 500 เยน 100 เยน 50 เยน 10 เยน 5 เยน และ 1 เยน
โดย 100 เยนจะเท่ากับ 28.50 บาทนั่นเอง (อ้างอิงจากวันที่ 8 มิถุนายน)
ทำไมต้องใช้กระเป๋าสตางค์ทรงยาวหล่ะ?
จากการที่เขาเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำให้เขาพบปะผู้บริหารบริษัทมากมาย เขาสังเกตุเห็นว่าประธานบริษัทที่บริหารงานได้ดีนั้น ใช้กระเป๋าสตางค์สวย หรู มีสไตล์ เป็นกระเป๋าสตางค์ทรงยาว และมีความจู้จี้จุกจิดเกี่ยวกับการใช้กระเป๋าสตางค์ของเขาค่อนข้างมาก มีความใส่ใจกับมันมากๆ และไม่ดูถูกเงิน
สาเหตุเพราะว่ากระเป๋าสตางค์ทรงยาวมีรูปร่างที่ดีต่อเงินและธนบัตรเป็นพิเศษ เนื่องจากข้อดีของกระเป๋าสตางค์ทรงยาวคือ มันสามารถเก็บธนบัตรใหม่ในกระเป๋าโดยไม่ยับ และไม่สามารถใส่ในกระเป๋ากางเกงด้านหลังได้ ทำให้ธนบัตรในกระเป๋าสตางค์ไม่โดนนั่งทับนั่นเอง
ในช่วงต้นของหนังสือ เขาได้กล่าวว่า ได้กระเป๋าสตางค์ Louis Vuitton หนังไทกัาจากภรรยาเป็นของขวัญ เลยพยายามหารูปให้ตรงกับในหนังสือ แต่เขาไม่ได้บอกรุ่นไว้ เลยเดาว่าเป็นอันนี้เนอะ สนนราคาที่ 24,600 บาท
หลังจากที่เขาได้มันและใช้มัน เขาได้งานใหญ่ติดต่อกันถึง 2 งานและ พบว่ารายได้ต่อปีของเขานั้น สูงขึ้นเกือบ 10 เท่าจากเดิมเลยทีเดียว ทำให้เขาเชื่อขึ้นไปอีกว่ามันมีพลังอำนาจบางอย่าง และสังเกตกระเป๋าสตางค์ของผู้บริหารมากขึ้น
คนเขียนกล่าวว่า ของผู้หญิงอาจจะไม่เท่ากับกฏนี้ เนื่องจากคนเขียนมองว่าผู้หญิงซื้อกระเป๋าสตางค์เป็นเครื่องประดับ ส่วนผู้ชายซื้อเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน (อื้มมม)
กฏ 200 เท่า
จากการสังเกตกระเป๋าสตางค์ของผู้บริหารบริษัทไม่ตํ่ากว่า 500 ใบนั้น เขาพบว่า
รายได้ต่อปีของพวกเขาจะประมาณเท่ากับ 200 เท่าของกระเป๋าสตางค์ที่เขาใช้อยู่นั่นเอง
(เราเข้าใจว่าน่าจะมาจาก stat ที่เขาเจอตอนตรวจสอบบัญชีนั่นแหละ)
เราเลยหาข้อมูลกระเป๋าสตางค์ทรงยาว ที่คิดว่าน่าจะใช้แบบ unisex ได้แหละเนอะ พอหาหลายๆอันก็เลยเลือกแค่ถูก กลาง (จริงๆคือเจอราคาประมาณนี้เยอะถ้าเป็น brand name) แล้วก็แพงสุด
สูตร : ราคากระเป๋าสตางค์ * 200 = รายได้รายปี
เริ่มกันที่ตัวแรกเลย JACOB NO.22296 ราคาเต็มอยู่ที่ 1,990 บาท (เพราะในเว็บกำลังลดราคาอยู่) เท่ากับว่าคนถือกระเป๋าใบนี้จะมีรายได้ต่อปีเท่ากับ 1,990 * 200 = 398,000 บาท
ตัวต่อมา ได้กล่าวไปในรูปที่แล้ว ก็คือ LOUIS VUITTON BRAZZA TAIGA สนนราคา 24,600 บาท เมื่อเข้าสูตรแล้วจะมีรายได้ต่อปีคือ 4,920,000 บาท เท่ากับเขามีเงินเดือนประมาณ 410,000 บาท
https://th.louisvuitton.com/tha-th/products/brazza-wallet-taiga-000257
อันนี้อาจจะแฟนซีหน่อย กับเจ้า HERMES BEARN WALLET สนนราคาใน shop สิงคโปร ที่ 4,300 SGD ตกเป็นเงินไทยคือ 101,417.05 บาท (อ้างอิงจากวันที่ 8 มิถุนายน) เท่ากับว่าเขามีรายได้ต่อปีคือ 20,283,410 บาท โอ้ววววว เท่ากับว่าเขามีเงินเดือนประมาณ 1,690,284 บาทต่อเดือน เขาต้องเป็นผู้บริหารใหญ่ๆในบริษัทใหญ่ๆแน่ๆเลย
ในส่วนนี้แล้วแต่วิจารญาณแล้วกันเนอะ แหะๆ อันนี้เราลองหาข้อมูลเล่นๆขำๆ ซึ่งของเราใช้กระเป๋าสตางค์ไม่แพงมาก (ตามในรูปปกของบล็อก) และเงินเดือนก็มากกว่า 200 เท่าของราคากระเป๋าสตางค์เสียด้วยสิ
เงินไม่ชอบกระเป๋าสตางค์อ้วน
เขาจะมีกิจวัตรที่ทำก่อนนอน ชื่อว่า One day cleaning ทำเพื่อให้เรารู้ว่าเรามีเงินสดในมือเท่าไหร่ เดือนนี้เหลือเงินให้ใช้ได้อีกเท่าไหร่ ขั้นตอนหลักๆคือเคลียร์ของที่ไม่จำเป็นออกจากกระเป๋าสตางค์ เอาเหรียญมาหยอดกระปุก จัดธนบัตรให้สวยงาม และใช้ผ้านุ่มๆเซ็คกระเป๋า เพื่อให้กระเป๋าใหม่และสะอาดอยู่เสมอ
อันนี้อ่านจากเขาแล้วมาประยุกต์กับของเราเนอะ
❌ บัตรสะสมแต้ม คูปองส่วนลด บัตรขูดลุ้นรางวัล
เขาแนะนำให้ทิ้งบัตรสะสมแต้ม ที่ไม่จำเป็น แล้วก็คูปองส่วนลด บัตรขูดลุ้นรางวัล เนื่องจากเราจะถูกร้านนั้นควบคุมการใช้เงิน โดยมีโปรโมชั่นต่างๆมาล่อเรา และเป็นรอยรั่วของเงิน ทำให้เราซื้อของที่ไม่จำเป็นมาเพราะสิทธิพิเศษนั้นๆนั่นเอง โดยเจ้าบัตรสะสมแต้มเราจะคุ้นชินกับร้านกาแฟ ชานมไข่มุก เป็นส่วนใหญ่ (บางร้านใช้ LINE แทนหล่ะ)
❌ ใบเสร็จและสลิปที่ไม่จำเป็น
พวกสลิปบางทีก็เป็น transaction ในแอพธนาคารไปหมดหล่ะ ส่วนใบเสร็จถ้าเอาไปใส่บัญชีรายรับรายจ่ายก็ทิ้งได้เลย
✅ เก็บใบเสร็จสำคัญ
เช่น ซื้อกล้อง ซื้อ iPad เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเอาไปเคลมเวลามีปัญหาได้ หรือพวกใบกำกับภาษีร้านค้า เพื่อใช้เบิกจ่ายในบริษัท หรือใช้ลดหย่อนภาษีได้จ้า ไว้ในอีกแฟ้มนึง
✅ รักษาสภาพกระเป๋าสตางค์ให้แบนที่สุด
เพราะทุกอย่างมีพื้นที่จำกัด กระเป๋าสตางค์ก็เช่นกัน เราไม่สามารถยัดทุกอย่างเข้าไปได้เนอะ
ซึ่งเราเองลองเคลียร์บางส่วนออกบ้างแล้ว พบว่านอกจากบัตรซุปเปอร์ต่างๆที่ไม่ต้องพกก็ได้ บอกเบอร์โทรกับเปิดในแอพให้เขาสแกนได้แล้ว ยังมีบัตรโรงพยาบาลต่างๆด้วยแหละ แล้วเราต้องใส่บัตรประชาชน และบัตรประกันกลุ่มของบริษัท กับบัตรโรงพยาบาลที่คิดว่าใช้ประจำก็น่าจะพอแล้ว
บัตรเครดิต บางคนใช้หลายใบ เช่น ใบนี้เป็นบัตรสะสมไมล์ ใบนี้เป็นบัตรเครดิตสายเติมนํ้ามัน อันโน้นเป็นบัตรเครดิตสะสมคะแนน อันนั้นก็เป็นบัครเตรดิต cashback เราแนะนำว่าควรเลือกอันที่ดีที่สุดเพียงใบเดียวเท่านั้น และใช้มันให้คุ้มที่สุด เพราะว่ามีการมีหลายใบ ทำให้เราเสียค่าหลายปีหลายใบ คุมรายจ่ายยาก แล้วก็สิทธิประโยชน์บางอย่าง เราอาจจะไม่ได้ใช้มันแล้วในช่วงนี้
ทางเราเลยแนะนำบัตรเครดิต TMRW ที่เราสามารถเลือก cashback 2% ได้ 3 หมวด จาก 8 หมวด คือ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ท่องเที่ยว การเดินทาง ซูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านแฟชั่น บันเทิง ร้านสะดวกซื้อ ส่วนหมวดที่เหลือจะได้ cashback 1% และเราสามารถเปลี่ยนใหม่ได้ทุกเดือน ถ้าเราไม่เลือกมันจะ auto มาให้เราเลยว่าอันไหน 2%
ถ้าอยากได้ cashback เพิ่มจาก 2% เป็น 3% นั้น จะมี condition ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว คือ
- จ่ายบิล 2 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นค่านํ้า ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- โอนเงิน 2 ครั้งต่อเดือน ง่ายๆอาจจะโอนเงินให้พ่อแม่ อาจจะโอนเข้าอีกบัญชีของตัวเองก็ได้
✅ ธนบัตร จัดเรียงลำดับให้สวยงาม
จัดเรียงธนบัตรใหม่ ให้หันหัวธนาบัตรไปทางเดียวกัน ให้ใบใหญ่ไว้ข้างหลังสุด ใบเล็กไว้หน้าสุด ในหนังสือบอกว่าหน้าสุดคือธนบัตร 10,000 เยน และให้ใส่ธนบัตร 5,000 เยนให้เยอะที่สุด ทำให้ธนบัตรที่ใหญ่ที่สุดอยู่ติดกระเป๋าได้ยาวนานนั่นเอง สาเหตุ เนื่องจากธนบัตร 5,000 เยนบ้านเขาผลิตออกมาน้อยกว่า 1,000 เยน และ 10,000 เยน จึงเป็นเรื่องยากในการหามันมาติดกระเป๋า อาจจะใช้ในบริบทบ้านเราได้ยากหน่อยแหละ
เอาเป็นว่าเรียงธนบัตรตามลำดับก็น่าจะเพียงพอแล้วแหละ โดยเอาธนบัตร 1,000 บาทไว้หลังสุด แล้วก็เรียงตามลำดับไปเนอะ
❌ ยัดเหรียญใส่ในกระเป๋าสตางค์
กระเป๋าสตางค์ของเราหนักเพราะอะไรกันนะ? เมื่อเราเคลียร์ออกมาดูพบว่า ที่หนักเป็นเพราะเหรียญที่มีอยู่จำนวนมากนั่นเอง
ดังนั้น
✅ ใช้กระเป๋าใส่เหรียญ
ให้ซื้อกระเป๋าใส่เหรียญ มาใส่เหรียญ ทำให้เราพกพาได้สะดวกขึ้นในการจ่ายค่ารถเมล์ หรือหยอดตู้ซักผ้าใต้คอนโด ทำให้เราไม่ต้องหยิบกระเป๋าใหญ่ออกมา และไม่ทำให้กระเป๋าสตางค์ไม่บวมอีกต่อไป
✅ นำเหรียญมาหยอดกระปุก
ในหนังสือเขาบอกว่า เมื่อเขาได้เหรียญ 500 เยนมา ซึ่งเป็นเหรียญใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เขาจะไม่ใช้ แต่เก็บมาหยอดใส่กระปุกแทน
ส่วนในไทยนั้นเหรียญใหญ่ที่สุดคือเหรียญ 10 บาท ที่เอาไปหยอดตู้ซักผ้าได้ ซึ่งของญี่ปุ่นใช้เหรียญ 100 เยน
ในบริบทที่เราทำได้ ก็น่าจะเป็นการเก็บธนบัตร 50 บาท ที่หายาก มาใส่กระปุก
เมื่อหยอดเงินได้ในระดับนึง เราสามารถเอาไปทำอะไรก็ได้ เช่น ซื้อของที่เราอยากได้ หรือถ้าไม่รีบใช้เงินก็เอาไปฝากธนาคารไว้
❌ ใส่นามบัตรในกระเป๋าสตางค์
คนเขียนบอกประมาณว่า การยืนนามบัตรที่ปนคราบของธนบัตรให้ฝ่ายตรงข้าม ถือเป็นเรื่องเสียมารยาท
✅ นามบัตรให้ใส่กระเป๋านามบัตรแยกไว้
หรือบางคนอาจจะมาเป็นกล่องเลยก็มีเนอะ แบบปริ้นจากโรงงานมายังไงก็แบบนั้นเลย
ปล. ทางเราเองเอาภาพกระเป๋า Louis Vuitton มาประกอบ เนื่องจาก อยากให้มันโทนเดียวกันกับกระเป๋าสตางค์หนังไทก้านั่นเอง
กระเป๋าใส่เหรียญ : https://th.louisvuitton.com/tha-th/products/key-pouch-damier-graphite-nvprod1420111v
กระเป๋าใส่นามบัตร : https://th.louisvuitton.com/tha-th/products/card-holder-monogram-empreinte-nvprod2160046v
และอาจจะเข้ากับเนื้อหาในรูปถัดไป
เลิกพฤติกรรม “ซื้อเพราะถูก” แล้วหันมา “ซื้อเพราะอยากได้” และ ถ้าอยากประหยัด จงซื้อของแพง
อย่าให้ราคาที่ถูกเป็นตัวบงการพฤติกรรมการซื้อของของเรา เช่น การลดครึ่งราคา หรือลดแบบ end season ทำให้เราเผลอซื้อของที่ไม่จำเป็น เพราะถูกเร่งเร้าด้วยราคาและบรรยากาศที่คนแย่งซื้อของ ยกเว้นซื้อของอุปโภคบริโภคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
และเรามักจะซื้อของถูกกัน เมื่อพังแล้วก็ทิ้ง แล้วซื้อใหม่ สู้ซื้อของที่มีราคาแพง แต่มีคุณภาพ และใช้ได้นานดีกว่า แล้วเราก็จะทะนุถนอมของที่เราซื้อ เนื่องจากซื้อมาแพงนั่นแหละ ตัวอย่างในหนังสือ เช่น ร่มใสราคา 100 เยน ใช้แล้วพังก็ซื้อใหม่เรื่อยๆ คนเขียนเจอคนนึงใช้ร่มราคา 5 หมี่นเยน และเขาใช้มันจนคุ้ม แล้วดูแลรักษามันอย่างดีด้วยนะ
ตัวอย่างซื้อเพราะอยากได้ เช่น อยากซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คดีๆมาทำงานต่างๆเนอะ อาจจะเลือกเป็น macbook หรือบางทีเราคิดว่าไม่ได้ใช้งานอะไรหนักๆ อาจจะเป็นแค่ iPad ก็พอ อะไรงี้ ตัว product ของ Apple เป็นตัวที่ใช้แล้วคุ้มเนอะ ตอนนั้นพี่พนักงานร้านยังเล่าให้ฟังเลยว่า
“ของพวกนี้ไม่ต้องซื้อบ่อยนะ เหมือนมันเป็นสูตรเลย iPhone 3 ปี iPad 5 ปี Mac Book 8 ปี วิธีคิด เอาราคา device นั้น เช่น iPad หารด้วยจำนวนปี ในที่นี้คือ 5 ปี และหารด้วย 365 วัน ก็จะได้ราคาต่อบาทเลย ถ้าเราใช้เกินสูตรจำนวนปีถือว่าคุ้ม แล้วมีมันอีกทริคนึงแบบเปลี่ยนตามให้ทัน คือเอาอันเดิมก่อนจะครบปีตามสูตรไปเทิร์นและซื้อของใหม่ ประมาณนี้”
อ่านต่อได้ที่นี่ ตอนไปงาน Women Who Code Bangkok ที่ Apple Iconsiam
(ก็ใกล้เคียงกับในหนังสือ กฏเหล็กการซื้อของไม่ให้ขาดทุน ไว้ว่า เวลาเดือดร้อนเราสามารถนำไปขายต่อได้ในราคา 70% ของราคาที่ซื้อมา แต่สินค้า electronic และ gadget ก็มีค่าเสื่อมราคาแหละเนอะ แต่ก็มีคนเอามาขายต่อไง)
และแน่นอนว่าบัตรเครดิต TMRW มีโปรผ่อน 0% นาน 10 เดือน เหมาะสำหรับคนที่จะซื้อสินค้า Apple Store มาใช้ เพราะยอดขั้นตํ่าเขาเริ่มที่ 5,000 บาทนั่นเอง ราคา macbook ก็เกินไป 10 เท่าแล้วแหละ ฮ่าๆ โปรหมดสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อ่ะ
สำหรับ developer ยังไม่แนะนำ macbook pro M1 นะ เนื่องจากยังไม่ได้ support tool develop ครบทุกตัว รอตัวใหม่ที่ดีกว่าค่อยซื้อก็ได้เนอะ
ตัวอย่างซื้อของแพง อ่ะการใช้อุปกรณ์อย่าง macbook นั้น ก็ต้องมีอุปกรณ์เสริม เพราะมันตัด port ออกเกือบหมดเลย แนะนำให้ซื้อ usb adapter ดีๆสักตัวใช้ ทำให้เราใช้มันได้เต็มประสิทธิภาพได้นานๆ ไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆเมื่อพังจ้า ราคาหลักพันแต่คุ้มกว่าหลักร้อยแน่นอน
ปล. จริงๆซื้อของห้างอื่นๆก็มีนะ ผ่อน 0% เหมือนกัน ลองไปอ่านดู
เราขายเก่งไหมเธอ อิอิ
ในหนังสือมีอันนึงเจ็บมากเลย คือเขาบอกว่า “บ่อยครั้งที่บ้านของคนไม่มีตังค์มีข้าวของอยู่เต็มห้องมากกว่าบ้านคนมีตังค์เสียอีก” เพราะรอบตัวเต็มไปด้วยข้าวของที่มีคุณภาพครึ่งๆกลางๆเต็มไปหมด
ก็ยุคที่คนเขียนเขียนเล่มนี้การ shopping online ยังไม่บูมเท่าสมัยนี้อ่า
จงระวัง “ทางออก” ของเงินมากกว่า “ทางเข้า”
เนื่องจากทางเข้าทางเงิน ก็มีได้ไม่กี่ทาง ทางหลักๆ ก็จะมีเงินเดือนอะเนอะ
ยังมีทางออกของเงินที่ออกจากกระเป๋า 3 ประเภท คือ
- การบริโภค เป็นการแลกเปลี่ยนของที่มีมูลค่าเท่ากัน เช่น ซื้อของในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้
- การลงทุน เป็นการใช้เงินเพื่อให้มีหลักประกันบางอย่างในอนาคต มันจะงอกเงยในวันข้างหน้า ได้มูลค่ามากกว่าเงินที่เราจ่ายไป เช่น การซื้อหนังสือ การซื้อคอร์สเรียน และเขารวมการออมเป็นการลงทุน
- การผลาญ เป็นการใช้เงินที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย และไม่เกิดมูลค่าในอนาคต ตอบสนองความพอใจของตัวเองล้วนๆ เช่น เติมเกมส์
ซึ่งเขาบอกว่าถ้าเราถอนเงินอย่างน้อย 2 ครั้งต่ออาทิตย์ให้ระวังเป็นพิเศษเลย แก้โดยให้กำหนดวันเงินเดือนออกเดือนละ 2 ครั้ง ให้กำหนดเวลาและจำนวนเงินที่กดล่วงหน้าได้เลย โดยจะไม่เป็นเลขกลมๆ เป็นการตั้งใจถอนเงินแบบมีเศษ และเราจำง่าย เพื่อให้เราไม่ลืมว่าเรากดมาใช้เท่าไหร่แล้ว และทำให้เราวางแผนการใช้เงินได้ด้วยนะ ถึงแม้ว่าเราจะเอาบัตรเดบิตของ TMRW ไปกดเงินที่ตู้ ATM แล้วไม่มีค่าธรรมเนียมในการกดก็เถอะ
ยังมีทางออกที่หนังสือไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ในปี 2010 นั่นคือ moblie banking นั่นเอง ที่ตัวทางออกหลักนอกจากตู้ ATM
โดยตัวแอพ TMRW นั้นจะมีการแจ้งเตือนไม่ให้เราช้อปเพลิน โดยจะเริ่มเตือนที่ 50% ก่อน จากนั้นเตือนที่ 75% และเกินที่กำหนด เพื่อให้เรามีสติในการใช้จ่าย ให้เราพิจารณาว่าเป็นการบริโภค การลงทุน หรือการผลาญ ถ้าเป็นการผลาญให้ตัดใจเลิกทำมันซะ หรือให้ทำได้แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว
เปลี่ยนการบริโภคให้เป็นการลงทุน
เช่น การกินอาหาร แทนที่จะกินให้ท้องอิ่มเพียงอย่างเดียว ให้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและร่างกายแทน ต้องทำอย่างสมํ่าเสมอ ร่างกายถึงจะเห็นผลเนอะ
ถ้าอาหารเพื่อสุขภาพก็นึกถึงเบเกิ้ลนุ่มๆของ Au Bon Pain เนอะ ราคาสูงหน่อยแต่เขาใส่ใจเรื่องโภชนาการมากๆเลย เราสามารถดูได้ว่าแต่ละเมนู มีคุณค่าทางโภชนาการเท่าไหร่
ถ้าชอบเขียน ก็อาจจะจะซื้อปากกาหมึกซึมเพื่อฝึกเขียนมัน แล้วก็สามารถไปทาง Calligraphy ได้ด้วย สามารถสร้างงานสร้างรายได้ในอนาคต หรือจะใช้ปากกาแบบเปลี่ยนไส้ก็ได้ เราก็จะได้ปากกาที่ปลอกแข็งแรง สวยงาม แถมลดโลกร้อนอีกด้วยหล่ะ
อย่างเราเองก็ซื้อแอพ Procreate เพื่อฝึกวาดรูปแบบดิจิตอล ทำให้เราได้ฝึกวาดหลายๆแบบ และสามารถเอาไปทำ content ได้ อย่างรูปที่คุณได้เห็นในเพจก็มาจาก Procreate ทั้งสิ้น แต่ของเรายังไม่ได้ไปทางทำเงินขนาดนั้น เช่น ทำสติ๊กเกอร์ไลน์
ปล. ร้านอุบลพรรณ เอ้ยย Au Bon Pain มีโปรร่วมกันกับบัตรเครดิต TMRW ด้วยนะ กับ 15 on 15 ซึ่งอันนี้เป็นโปรโมชั่นที่มีชั่วคราวนะ
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์กับ content นี้กัน สิ่งที่เขียนในหนังสืออาจจะต้องใช้วิจารญาณนิดนึง เพราะสังคมคนละบริบทกัน และตอนนั้น internet banking และ shopping online ยังไม่บูมขนาดนี้ด้วย แต่ก็สอนเราให้ตรวจสอบการใช้จ่ายของตัวเองได้เป็นอย่างดีแหละเนอะ แล้วก็อย่าพกอะไรที่ไม่จำเป็นในกระเป๋าสตางค์ของเราเนอะ 😀
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
ช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า
และ YouTube ช่องใหม่จ้า