งาน LINE DEVELOPER DAY ปีนี้ เราได้เข้าไปฟัง session อะไรบ้าง
เนื่องจากปีนี้มีเรื่อง COVID-19 ทุกงานเลยจัดแบบ online หมด ของงานไลน์ด้วยความที่ส่งตรงจากญี่ปุ่น ที่เวลาใกล้เคียงกับบ้านเรา เลยได้เข้าไปฟังคร่าวๆหลายๆ session แฮ่มม ในเวลางาน
จริงๆว่าจะเฉย พอดีเจอในโพส LINE Developer Group Thailand เลยแบ่บบบบ อ่ะเข้าไปก็ได้ มีแจกสติ๊กเกอร์ไลน์งานด้วยอ่ะ
ใน "How to enjoy" ก็จะมีบอกว่ามีแจกอะไรบ้าง
รายละเอียดของแต่ละอย่าง
เสื้อต้องลุ้นเอาว่าจะได้ไหมอ่ะเนอะ พอเราทำครบจะมีเจ้า Flex Message ตัวนี้มาให้เรากด ถ้าเราเป็นผู้โชคดีทางไลน์เขาจะมาติดต่อมาหาเราด้วย account นี้จ้า
ที่ได้แน่ๆคือสติ๊กเกอร์ไลน์ของงาน ก็คือเข้าไป register ในเว็บ แล้วก็ทำการไปส่อง session ต่างๆว่ามีอะไรบ้าง เข้าไปดู datail ว่าเราชอบไหม ถ้าชอบก็ bookmark เก็บไว้ จากน้านนให้ไปดู CTO Keynote แล้วก็ session ใน Casual Track เมื่อครบแล้วก็จะได้สติ๊กเกอร์ชุดนี้ไปใช้ฟรีทันที แต่มันมีอายุแค่ 90 วันง่ะ มุแงงงงงงงง
เอาจริงๆก็กลัวเอาลงเพจแล้วจะตามมุงกันไม่ทันแหละ เพราะถ้าไม่ได้ดู CTO Keynote คืออดได้เลยนะ
ก่อนหน้านี้เราเข้าไป register มาแล้ว พร้อม bookmark บาง session ไว้ก่อน แล้วก็เพิ่มเพื่อนไลน์ของงานที่ชื่อว่า LINE DEVELOPER DAY ไปตอนไหนก็ไม่รู้ เพราะไม่คิดว่าจะมาเขียนบล็อกด้วยสิ ถ้าย้อนไปแชทแรกก็วันที่ 26 ตุลาคม ก็ก่อนงานนี้จัด 1 เดือนเต็มๆ ในไลน์จะมีให้เลือกภาษาว่าจะรับเป็นภาษาญี่ปุ่นหรืออังกฤษดี จากนั้นเขาก็เซฟข้อมูลตรงนี้ไว้ เพื่อเอาไว้ยิง info งานให้เราอ่านออกต่อไป
จริงๆในนั้นก็มีอัพเดตส่งให้เรามาเรื่อยๆ ก่อนวันงานในทุกวัน จะมีส่งว่างานจะเริ่มในวันรุ่งขึ้นหล่ะนะ สามารถดู session ต่างๆแล้วก็ bookmark ของคุณได้ที่นี่นะ
แล้ว session ที่เรา bookmark นั้น ถูกส่งให้เราเป็น Flex Message แบบ carousel จ้า
พอใกล้ถึงเวลา session ที่เราทำการ bookmark ไว้ก็จะเตือนมาจ้า แบบนี้
แล้ว session อะไรที่เรา bookmark และเข้าไปฟังบ้างหล่ะ เราทำการสรุปอย่างคร่าวมากๆว่าในนั้นมีอะไรบ้างเนอะ ไม่ได้สรุปละเอียดเพราะเราก็ฟังในเวลางาน รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างเนอะ มามุงดูกันเลยจ้า
Day 1 : 25 November 2020
CTO Keynote - LINE DEVELOPER DAY 2020
session เปิดของงาน พบกับ CTO ที่เป็นผู้หญิง ของ LINE จ้า
เอาจริงๆเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆนะ คือเขาพูดญี่ปุ่น ตอนนี้ก็ฟังเสียง translate เป็นเสียงอังกฤษเนอะ
ใน session พูดถึงบริการต่างๆ รวมถึง LINE BK ในไทยด้วยจ้า
แล้วก็มีโปรเจก AntMan ที่ลดขนาดของ album storage ไปทั้งสิ้น 21 PB จ้าาาา โอ้ววว PB หน่วยอะไร มันดูยิ่งใหญ่มากอ่ะ
Yahoo! Japan ก็มาแหะวันนี้ เกี่ยวกับโปรเจก COVID-19 เอ้ออออ ตอนต้น session พูดถึงเรื่องตามหาหน้ากากอนามัยในไต้หวันด้วย เขาใช้ open data มาเชื่อมต่ออะไรงี้ ขอบคุณ picture-to-picture ที่ให้อิชั้นดู session ไประหว่างทำงานด้วยนะฮับ
เข้าไปส่องย้อนหลังกันได้ที่
Hosting a Large-Scale Event Online, Preparing for DEV DAY
เข้าไปฟังฟัง session นี้ ด้วยความเผือกนั่นแหละ ว่าเอ้อออเข้าต้องเตรียมอะไรบางนะ หลักๆก็หน้าเว็บงานนี่แหละ ที่เขาอยากให้มีความ interactive ในหน้า how to enjoy (ซึ่งทางนี้รู้สึกว่าในมือถือมี view บังๆ แต่ในคอม scroll ทีอย่างอืด) และมีคนมาชมและถามเยอะมากกกก ถือว่าเป็นกำลังใจให้เขา
และทางเขาก็น้อมรับทุก feedback เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปเนอะ
ปล. มีน้อง developer ขอไม่เอ่ยนาม เปิดหน้าเว็บที่มีไลฟ์บนมือถือแล้วเว็บกระตุกเป็น disco เฉยเลย งองงงงง
Making chat inquiries answerable by bots using an AI engine
อันนี้ bookmark ไว้ ชนกับ session ข้างบนพอดี
จบวันแรกไป เนื่องจาก session มันไม่ใช่ทางเราสักเท่าไหร่อ่ะ
Day 2 : 26 November 2020
session ฝั่งหน้าบ้านเยอะมากกกก ดูที่เรา bookmark ดิ ชนกันไปหมดเลยจ้า
Best Practices and What’s New with LINE SDK
พูดถึง LINE SDK และ feature ต่างๆ
Get to Know the LINE App Team(Tech/ Environment/ Culture, etc.)
พูดถึงชีวิตการทำงานของชาว Liner อะนะ มีเรื่อง Work From Home, การที่ให้พนักงานเรียนภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น
LIFF SDK: Past and Future (LIFF SDK v3)
session ที่ให้เราลุ้นต่อว่าจะมีอะไรใหม่ไหม สรุปคือจะมี support plug-in แล้วก็ web-orient มาเพิ่มใน spring 2021 ว่าแต่มันเดือนไหนอ่ะ ประเทศไทยมีแต่หน้าร้อน ร้อนมาก ร้อนแล้วฝนตกด้วย อ่ะ
LIFF SDK: Actions for DX Improvements
อันนี้ไม่ได้ bookmark แต่ก็ต่อจากอันบนนั่นแหละ
LIFF SDK: The Road to Web Orientation
คร่าวๆคือจะให้ priority ของ web เทียบเท่ากับ Android และ iOS หล่ะน้า
LIFF SDK: UI Framework for LIFF Apps
อันนี้เกี่ยวกับ UI ของ LIFF เนอะ
Sharing experience of adopting machine learning to LINE app
อันนี้ชนกับ session ชุดบน คร่าวๆที่เข้าไปฟังมีเรื่องพวก OCR แล้วก็พวกคลิป highlight story ใช้ ML ช่วยตัดคลิปให้ หลักๆใช้ OpenCV และ FFmpeg เข้ามาช่วยด้วย
Feature Flag Best Practices - A case study of LINE Android
อันนี้เดี๋ยวกลับไปฟัง เกี่ยวกับการ release feature ออกสู่สายตา user
Android View-to-image Conversion for Message Capturing
อันนี้เดี๋ยวกลับไปฟัง เกี่ยวกับ feature message capture ว่าเขาทำยังไงอ่ะเนอะ
Best practices for a modularized app with dynamic features
พูดถึง modular app เนอะ ก็ถือว่าหลายๆที่ก็เริ่มใช้ concept นี้กันหล่ะ ทาง LINE ก็เช่นกัน
JSON for flexible layout control of the recommendation area
อันนี้คล้ายๆ session ของ LINE MAN อ่ะ ที่เอา json จากหลังบ้านมา render UI อย่าง dynamic เพื่อให้ส่ง feature ไปให้ user อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอหน้าบ้าน release app version ใหม่เพื่อเปลี่ยนนั่นเอง
Flutter Fast Development Practice in LINE Shopping App
เขาใช้ Flutter สำหรับ LINE Shopping ว่าเจออะไรมาบ้าง แล้วก็เขาใช้ Clean Architecture ด้วยแหะ
Develop LINE's messaging app in Kotlin
เป็น session ที่มีคนจาก JetBrains มาพูดด้วยจ้า พูดถึงทำไมต้อง Kotlin และอนาคตของภาษานี้ จากนั้นมีการถามตอบโดยการรวบรวมคำถามจากในทีมเดฟเนี่ยแหละมาถามเขาให้เราได้ฟังกันด้วยจ้า
Day 3 : 27 November 2020
Start a Tech Podcast Today
อันนี้เขาจะเล่าให้ฟังว่าเขาจัดรายการ podcast กันยังไง อุปกรณ์หลักๆเขาบอกเรื่อง mic อย่างเดียวงี้ ซึ่ง speaker ทั้ง 4 คนนั้นมาจากรายการที่ชื่อว่า UIT Inside นั่นเอง
Project inception workshop in the new normal
พูดถึงการ set online workshop หลักๆจะใช้ Zoom แล้วก็ Miro เนอะ จะคล้ายๆที่เรียนเรื่อง Visual Workshop ของ Skooldio อ่ะ มีการ set goal ด้วย OKR ด้วยแหละ แล้วเขาแบ่ง session online ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมง แล้วก็ให้ทุกคนเปิดกล้อง ปิดไมค์ มีการใส่ feedback ใน Miro เพื่อทีมสามารถประเมินความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนกันได้จ้า
Fix engineering team structure debt with Team Topology
ต้องย้อนกลับไปฟัง เพราะเพิ่งเห็นทีหลังว่าเป็น session ของ LINE Thailand มาทันตอนจบพอดี จะเข้ามาฟัง session ข้างบนนี่แหละ แหะๆ
Closing Talk: Looking Back on LINE DEVELOPER DAY 2020
เปิดแล้วก็ต้องปิดอ่ะเนอะ เขาบอกถึงการวางแผนงานต่างๆ เป็นการ challege คนทำงานเลยทีเดียวในการทำ online conference อ่ะเนอะ
จำนวนผู้เข้าร่วมจ้า 9,857 คน มีคนไทยอยู่ 10% ด้วยกัน แต่เขาพูดถึงอินโดนีเซียเยอะเลยนะ เพราะเอาจริงๆจำนวนเกินคาด มาเป็นอันดับที่ 2 เลยทีเดียว
จำนวน sticker ที่กดกัน ทั้งสิ้น 191,502 ครั้ง เอ็นดูความชี้ตำแหน่ง sticker ของเหล่า speaker มาก
และ mission ทั้งหมดก็เรียบร้อยเนอะ
จุดที่ชอบ
- มี session ที่หลากหลายสุดๆ มีทั้ง development จ๋าๆ จนไปยัง session ที่ไม่ได้เกี่ยวกับ development โดยตรง เช่น การทำ podcast งี้
- ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถร่วมงานได้โดยไม่ต้องบินไปถึงที่ (เพราะมีเรื่องโควิด) แล้วเราเองไม่แน่ใจว่าถ้าเป็นงาน offline เราจะคุ้มไหมนะ
- สติ๊กเกอร์ คือสงสัยว่าทำไมเลือก 4 อัน และต้อง 4 อันนี้ด้วยเนอะ เข้าใจว่าแบบมีอ่ะปรบมือออ ขำเบาๆ อื้อหื้อ ส่วน crazy นี่ยังมีความงงๆบริบทอยู่ อาจจะแบ่บบ โอ้วว บ้าไปแล้ว ใช่ไหมนะ
- ความญี่ปุ่น ของเขาใช้ฉากสีดำ แล้วถ้า session ไหนที่ speaker เยอะๆ แล้วมันฉายเต็มได้แค่ 4 จอ ก็เลยให้ speaker จอนั้นมี 2 คน แล้วมีความใช้เทปใสหรืออะไรสักอย่าง เพื่อให้เห็นเป็นคนๆงี้
ส่วนสไลด์ย้อนหลังเขาจะอัพไว้ที่นี่นะ
https://speakerdeck.com/line_devday2020
และวิดีโอย้อนหลังที่เป็นภาษาอังกฤษจะอยู่ในนี้จ้า
ถ้าอยากให้สรุป session ไหนเพิ่มบอกได้จ้า ถ้าว่างจะทำให้เน้อ
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
และช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า