สรุปสิ่งที่ได้จาก Me-Satang Education Club: Intermediate Course
ต่อจากคอร์สที่แล้วที่ทาง Me-Satang Education Club: Fundamental Course ที่สอนเรื่องพื้นฐานกันไปแล้ว คราวนี้มาดูเรื่องราคากัน ซึ่งทางเราลงเรียนในวันพฤหัสที่ 28 ตุลาคม 2564 ในเวลา 19:00-21:00
เนื่องจากทางเราเรียนไปรอบนึงแล้วก่อนหน้านี้ 6 เดือน แล้วคนเดิมที่สอนงงๆ ก็เลยเอาไปทำ content ไม่ได้เลย แงงง รอบนี้คนสอนใจเย็น และสอนให้เราเห็นภาพชัดเจน เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยหล่ะ
Introduction to Satang Pro
Satang Pro คือ กระดานเทรดที่ซื้อขายทรัพย์สินดิจิตอลได้
อันนี้ก็ซํ้ากับคราวก่อนตรงขายของ (แหะๆ) สมัครสมาชิก ทำ KYC เลยขอแปะลิ้งคราวที่แล้วที่เราเข้าไปฟังก่อน
Candlestick
กราฟแท่งเทียนนั่นเอง เกิดจากการเทรดข้าว คิดค้นโดย Steve Nison มาจากโบรกเกอร์ชาวญี่ปุ่น ให้ข้อมูลมากกว่า line chart และ pie chart
วิธีการดู
ตัวเนื้อเทียน หรือ real body จะเป็นการบอกว่าในชั่วโมงนั้นๆ ราคาขึ้นลงไปแค่ไหน ใช้บอกว่าราคาเปิดหรือปิดตรงไหน
ส่วนไส้เทียน จะบ่งบอกว่าราคาเคยไปถึงตรงไหนมาก่อน ใช้บอกราคา high หรือ low ในชั่วโมงนั้น ถ้าไส้เทียนมีความยาว คือราคาแกว่งมากๆ
ราคาขึ้น จะเป็นแท่งสีเขียว จะเริ่ม start จากด้านล่าง
ส่วนราคาขาลง จะเป็นแท่งสีแดง ต่างกันที่เนื้อเทียนกลับกันกับตอนขาขึ้น คือเริ่ม start จากด้านบน
ลักษณะของแท่งเทียน
ให้จำแค่รูปร่างพอ ไม่ต้องไปจำชื่อ แต่ทางเราใส่ชื่อมาด้วยเป็น reference นิดนึง
- Marubozu : แท่งเขียวเต็ม (มีแรงซื้อเยอะกว่าแรงขายมากๆ) แท่งแดงเต็ม (มีแรงขายเยอะกว่าแรงซื้อมากๆ)
- Spinning Tops : แท่งเขียวน้อย แท่งแดงน้อย กราฟลักษณะนี้มีการเคลื่อนตัวของราคาค่อนข้างรุนแรง และราคาแกว่งขึ้นลงมาก แต่สุดท้ายไม่เคลื่อนที่ เพราะมีแรงซื้อเท่ากับแรงขาย กำลังสู้กัน ไม่มีตัวไหนชนะ มักเกิดหลังแท่งเขียวเต็ม แท่งแดงเต็ม เนื่องจากแรงซื้อหรือแรงขายหมด เกิดราคาย่อตัวหรือ sideway ทำให้มีแนวโน้มในการเกิดจุดกลับตัว
ตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพง่ายๆ อย่างแท่งแดง เหมือนการโยนลูกบอลแล้วตกลงมา จากแท่งเขียวเป็นแท่งแดง ส่วนแท่งเขียวเหมือนโยนลูกบอลใส่แผ่นสปริง จากแท่งแดงเป็นแท่งเขียว
- Doji : เป็นกราฟแท่งเทียนที่มีไส้เทียนมาก ราคาไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก แสดงการแกว่งตัวของราคา เกิดบ่อย เมื่อมีแรงซื้อพอๆกับแรงขาย
จุดกลับตัว
ก่อนเกิด trend จะเกิดจุดกลับตัวเสมอ
- Hammer & Hanging Man : ค้อนเขียว (ราคาอาจจะมีแนวโน้มกลับตัวขึ้นไป เพราะแรงซื้อชนะ ทำให้ราคาเด้งขึ้นไป) ค้อนแดง (ราคาอาจจะมีแนวโน้มกลับตัวลงมา เพราะแรงขายชนะ ทำให้ราคาลง) เป็นหนึ่งในกราฟแบบ Doji
- Inverted Hammers & Shooting Star : ค้อนเขียวกลับหัว (ช่วงนี้มีแรงซื้อเยอะกว่า ทำให้มีคนช้อนซื้อเยอะ) ค้อนแดงกลับหัว ทิศทางของราคาเหมือนกัน ต่างกันที่ลักษณะอย่างเดียว
อาจจะมีแนวโน้มกลับตัวขึ้นไป --— เป็น stat ที่จดจำกันมา ดังนั้นเราจะต้องบริหารความเสี่ยงกันเองน้า
Resistance & Support Zone
แนวรับ และแนวต้าน
แนวรับ คือ เส้นที่อยู่ใต้แท่งเทียน มีคนรอซื้อ (ค้อนเขียว) รับไม่ให้ร่วงลงมา
แนวต้าน คือ แนวราคาที่เป็นโซนอยู่เหนือแท่งเทียน บ่งบอกว่าราคามีคนรอขายตรงนั้นเยอะ ทำให้ราคามีแนวโน้มตกลงมา
การหาแนวรับแนวต้านทำให้เราได้โซนที่คนรอขายหรือรอซื้อเยอะ ที่ให้ดูเป็นโซนหรือกรอบ เพราะว่ามีความแกว่งของราคาในช่องนั้นๆ สามารถใช้ได้ทั้งแท่งเทียนและไส้เทียนเลย
แนะนำให้ดู time frame 4 hr หรือ 1 วัน ว่าราคามัน swing อยู่ตรงไหนบ่อยๆ
และหนึ่งเส้น สามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้านได้
Fibonacci
เป็น indecator ที่ช่วยในการตีแนวรับและแนวต้าน เป็นชุดตัวเลขที่หลายๆคนคุ้นเคยกันดี (1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, ...) จึงกลายเป็นอัตราส่วนทองคำ
วิธีการตี คือ หา trend ว่าขึ้นหรือลง ถ้าลงจะได้เส้นแนวต้านจากการคำนวณของ Fibonacci ซึ่งดูใน trading view ก็ได้ ตีเส้นโดยเลือก Fibonacci Retracement จากซ้ายไปขวา
Indicator 101
อันนี้เราจะรู้จักแบบพื้นฐานเลย
MA (Moving Average)
เส้นค่าเฉลี่ย เป็นการบ่งบอกค่าเฉลี่ยของแท่งเทียน ราคาตอนนี้อยู่ที่ค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ เอาราคาแท่งที่ผ่านมา บวกกันแล้วหารด้วยจำนวนแท่งเทียน มี 2 ชนิด คือ
- SMA (Simple Moving Average) จับราคามาหารค่าเฉลี่ยแบบตรงๆ ข้อดีคือ ไม่มีสัญญาณหลอก ข้อเสียคือ เคลื่อนไหวช้า ทำให้คนตกรถ ทำให้เราเข้า order ได้ช้า
- EMA (Exponential Moving Average) ค่อนข้างให้ราคาปัจจุบันมากกว่า SMA เพราะเส้นเคลื่อนไหวตามราคามากกว่า ข้อดีคือเคลื่อนที่ได้เร็ว ข้อเสียคือมีสัญญาณหลอก อาจจะเกิดความผิดพลาดได้
RSI (Relative Strength Index)
บอก momentum ในตลาดว่ามีการซื้อและการขายเป็นยังไงบ้าง
- overbought (จุดขาย) แตะ 70 ราคาจะย่อตัวลง เนื่องจากปริมาณการซื้อขายเยอะเกินไป มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
- oversold (จุดเข้าซื้อ) แตะ 30 ทำให้ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
MACD (Moving Average Convergence Divergence)
ถ้ามีการตัดกัน เช่น เส้นสีฟ้าในรูปคือเส้นของ MACD ตัดเส้นสีส้มที่เป็นเส้นของ Signal ลงมา ราคาจะมีแนวโน้มลงมา
Divergence
กราฟขัดแย้งกับ indicator อย่างเช่น RSI กราฟมีแนวโน้มปรับตัวตาม indicator
ตัวอย่าง ราคาแตะกัน แต่กราฟร่วงลงมา จึงมีการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มปรับตัวตาม indicator
แต่ถ้ากราฟราคาร่วงลงมา indicator มีทิศทางขึ้นไป มีแนวโน้มราคาปรับตัวขึ้นไป
ปล. เนื่องจากเราหาตัวอย่างไม่ได้ เลยไปสืบค้นผ่าน Google ก็เลยเจอภาพนี้ ที่เห็นภาพเกี่ยวกับ Divergence ได้ชัดเจนดี
Q & A
- การตีแนวรับแนวต้าน ใช้ time frame 4 hr หรือ 1 วัน แล้วขยายดูเพื่อตีเส้น จะเทรดสั้นหรือเทรดยาว จะใช้ time frame day หรือ week ก็ได้
- Fibonacci เลือก trends ตีจากซ้ายไปขวา ช่วยเราทำแนวรับแนวต้านได้เช่นกัน แนะนำให้ใช้ไส้เทียน
- 1D 5D 1M ตรงด้านล่างเป็นการแสดงช่วงเวลาที่เราเห็นแท่งเทียนในเวลาที่ต้องการได้
- มีโอกาสเกิด divergence ได้หลายรอบ
- ควรใช้ indicator ทุกตัว เพราะว่าทุก technical ไม่มีอะไร 100% มีแนวโน้มผิดพลาดเสมอ เพื่อให้การเทรดของเรารัดกุมยิ่งขึ้น ทำให้เราเทรดแม่นยำมากขึ้น
ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า
ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ