มางานใหญ่ประจำปีของครีเอเตอร์ iCreator Conference 2024
ครั้งแรกที่เราได้มางานใหญ่ประจำปีของวงการครีเอเตอร์ บอกเลย session แน่น ๆ ทั้งฟังจาก speaker ตัวจริง และ workshop ที่ไม่มีย้อนหลัง ได้กลับไปคิดต่อที่บ้านด้วย
งานจัดวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน ที่ไบเทค บางนา งานเริ่มเก้าโมงเช้ายันหกโมงเย็น
และแน่นอนงานนี้ เนื่องจากเป็นชาวค่าย iCreator Camp 2024 ก็ได้เลยได้บัตรฟรีมา แหะ ๆ แล้วพาน้อง ๆ มางานด้วย แน่นอนว่ามาฟัง session เดียวกันบ้าง และคนละ session บ้าง แล้วก็มาแลกเปลี่ยนกัน
ก่อนหน้าช่วยขายหนึ่งกรุบ
แน่นอนจากสถิติงานที่ไป ถ้างานเช้าขนาดนี้ ไปไม่ทันพิธีเปิดแน่นอน
The Future of the ICONIC: Thailand’s Creator Landscape in 2025 |
มาทันตอนประกาศค่าย #icreatorcamp gen 2 พอดี ใครสนใจเตรียมตัวไว้เลย ของปีหน้าช่วงเมษา - พฤษภา ไวกว่าเรารุ่นเรา 1 เดือน ใครสนใจก็สแกน QR Code กันได้เลย
Building the Future of Connection Through AI-Powered Creativity สร้างอนาคตแห่งการเชื่อมต่อผ่านความคิดสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI | คุณป๊อปปี้ - ธารินาฎ ภัทรรังรอง ( Facebook Thailand)
AI จะเข้ามาช่วยให้การใช้งาน Facebook ที่มากขึ้น มีการจัดการการแสดง post หรือ video บน feed ซึ่ง AI รู้จักว่าใครชอบอะไร และส่ง content ไปให้ match กับ user มากขึ้น และเน้นการสร้าง community ให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย
หัวใจสำคัญ คือ การใช้งาน AI ที่เป็นประโยชน์ของ user
ในส่วน AI บ้านนี้มี Llama 3.2 ออกมาแล้ว ให้ user ไม่ว่าจะเป็น content creator ผู้ประกอบการ เข้ามาใช้ และฝึกฝนให้ AI เก่งมากขึ้น ซึ่งเจ้า Llama เป็น LLM ขนาดใหญ่ และ support ภาษาไทยด้วย
แล้ว AI เป็นประโยชน์ อย่างไรบ้าง?
AI in Content Consumption
ช่วย support algorithm มี 4 อย่าง
- Inventory: เรา follow ใคร ระบบทำการเก็บข้อมูล หรือ content อะไรที่เราน่าจะชอบ
- Signal: ดูพฤติกรรมการใช้งานของเรา
- Perdiction: เอาข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณว่าเขาชอบดู content อะไร
- Score: ถ้า content ดี มีคุณภาพ จะได้ score ที่ดี
ดังนั้น content creator สร้าง content ขึ้นระบบ feed เพื่อจะเข้าตามระบบนี้
Recommendations guidelines
- Fresh Content: content สดใหม่ แปลกใหม่
- Variety of Content: มี time spend ใน platform มากขึ้น
- Quality Content: สำคัญที่สุด original content ที่มีคุณภาพ และความชัดเจนไม่คลุมเครือ
AI in Content Protection
มาตรฐานชุมชน สร้างความปลอดภัยให้ทุกคนบน platform มีนโยบายสร้างรายได้ และมี AI driven privacy คอยดู content protection ใน Meta platform อยู่
Mythbusting เป็นการละเมิด engagement base ของ platform เช่น ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ ซึ่ง platform ต้องการ quality content และอีกเคสคือการซื้อขายสินค้า แบบเลี่ยง ๆ คำ เช่น vาย AI ไม่แนะนำ เพราะมันไม่มี bias ตรงนี้ ใส่แล้วไม่มีผลอะไร
post ขายของแล้วไม่มีคนเห็นเลย เขามีนโยบายขายสินค้า ทำการเรียนรู้และเข้าใจ AI มากขึ้น และเราสามารถ check status account ได้ โดย check content quality ติดเหลืองติดแดง หรือใน Instagram ดูที่ศูนย์บัญชี ทำให้เราเข้าใจระบบว่าทำงานยังไง
AI in Content Creation
พูดถึงตัว Meta AI ที่เปิดใช้แล้วที่สหรัฐอเมริกา มีคนใช้งานต่อเดือน 500M user และเขาพูดตอนท้ายว่าในไทยยังไม่มี ใจเย็นก่อน ฟังแล้วเราก็อยากใช้เหมือนกัน 55555 ซึ่งเขาช่วยทำ content ซึ่งเขาจะถูกฝังในตัวแอพมือถือ และตัวนี้ช่วยย่นระยะเวลาในการทำ content ได้อย่างไร?
- สร้างรูปแบบ Generative AI ได้ โดยใช้คำสั่ง imagine แล้วพิมพ์รายละเอียดต่อว่าอยากได้รู้อะไร แน่นอนพิมพ์ละเอียด ๆ หน่อยก็จะดี ความว้าวคือ ปกติพิมพ์แล้วมันจะทำรูปใหม่เลย แต่ถ้าเราเพิ่มของ เช่น ตอนแรกเจนรูปน้องหมานั่งรถ แล้วอยากได้แว่นดำใส่ให้น้องเพิ่มงี้ ก็บอกว่าเพิ่มแว่นให้หน่อย มันก็เพิ่มแว่นให้บนรูปเดิม ซึ่งดี เพราะมันควรจะจำ context ได้ว่าสั่งอะไรไปเหมือน LLM
- เราสามารถนำรูปที่มีอยู่นั้น มาส่งรูปเพื่อสร้างรูป หรือเพิ่มของในรูปได้
- AI Sticker ใน Instagram สามารถพิมพ์ หรือใส่ว่าเราอยากได้แบบไหน แน่นอนใส่แบบมีรายละเอียดเพิ่มเติมหน่อย
- สามารถ generate เพื่อเปลี่ยน background ได้ เข้าใจว่าตัด background แล้วใส่ของใหม่ได้ อ่ะงี้ก็สะดวกกว่าทำเองล่ะ
- การทำ reel หรือ video content เนี่ย ต้องมี storyboard ใช่ป่ะ ซึ่งเราสามารถพิมพ์ไปที่ Meta AI ได้เลยว่าอยากได้อะไร รวมไปถึงช่วยเขียน email ให้ด้วย
- Meta AI translation ขยายฐานคนดูของเรา ตัวอย่างคือทำภาษาไม่แน่ใจว่าละตินไหม แต่มันแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วเป็นเสียงภาษาอังกฤษเลย ทำให้เข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้
- Meta movie gen สามารถ generate video ได้ด้วย เช่น หมูเด้งว่ายนํ้า
สุดท้ายเขาฝากงาน Facebook IRL ซึ่งวันศุกร์มีเดินพรม น้องเนยมาด้วย ส่วนเสาร์อาทิตย์เป็นกิจกรรมให้ทำโน้นนี่ มี personal color ด้วยนะ
Creator Meets Brand เคล็ดลับต่อยอดคอนเทนต์อย่างไรให้ได้ใจแบรนด์ | คุณเต - ไตรเตชะ ตั้งมติธรรม (SUPALAI), พี่เหว่ง - ภูศณัฏฐ์ การุณวงศ์วัฒน์" และ พี่เติ๊ด - ภูถิรพัฒน์ อ่องศรี จากเทพลีลา
คนมาฟัง session นี้เยอะมาก คนล้นสุด และน้อง ๆ ฝากฟังมา อ่ะดั้ยเลยย เป็น session ที่บอกเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของ brand และ creator
ที่มาของเทพลีลา มาจากพี่เหว่งชวนพี่เติ๊ดมาทำช่องในปี 2016 ซึ่งตอนนั้นทำ 9 ศาสตรามาด้วยกัน ในช่วงแรกยังไม่มีคนดู จุดเปลี่ยนที่เป็น top creator ได้ในทุกวันนี้ คือตั้งเป้าไว้ 3 เดือน ถ้าไม่รอดก็ไปทำงานอื่รดีกว่า ตอนแรกไม่เข้าใจมัน ลองผิดลองถูก และห่างไกลจากความเป็นเรา ดังนั้นทำสิ่งที่เราสบายใจ และเป็นตัวของเรามากขึ้น
ศุภาลัยทำ content กับอินฟลูเอนเซอร์หลายคน และหลายรูปแบบ ยังไม่มีคนมาใช้ชีวิตที่บ้าน เลยเลือกช่องที่มี fanclub เยอะ และมีคนในช่องเยอะ เลยมาเลือกช่องเทพลีลา ซึ่งเน้น function การใช้ชีวิตจริงในบ้าน เช่นเล่นตีมชุดนอน สามารถจัดวางได้หลายรูปแบบ feedback ที่ได้คือคนดีใจ และได้ลูกค้าใหม่ด้วย
แนวทางการทำงานกับ brand: หาตรงกลางให้เจอ เป็นเรา เป็นตัวเองได้ และคนดูชอบดู หาตรงกลางตรงนั้นให้เหมาะสมให้เจอ ดังนั้นให้เน้นสร้างแบรนด์ ไม่เน้นขายของ
ศุภาลัยเริ่มจาก 10 กว่าปีที่แล้ว ปรับตัวตามโลก จากยุค Facebook Page เฟื่องฟู มาคลิปยาว และตอนนี้เป็นคลิปสั้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เข้าหมดทุก platform เน้น TikTok ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ร่วมงานกับ content creator หลากหลาย และใช้ content creator นี่แหละในการสื่อสารทั้งประเทศ สื่อสารไปยังท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้ง 4 ภาคเลย และมี MV ที่ให้ลูกบ้านมีส่วนร่วมทำกิจกรรมถ่ายคลิป ก็เหมือนให้เขาเป็น content creator คนนึง
วางยังไงในการทำ content กับ brand:
- ในบางครั้ง brand ไม่เข้าใจเราเลย หลายครั้ง cancel ตอนนี้มีการพูดคุยกับลูกค้ามากขึ้น คุยกันเข้าใจมากขึ้น
- ทาง brand มีสิ่งที่ต้องทำ ดูว่าสิ่งนั้นเข้ากับเราไหม และศึกษาสิ่งที่ลูกค้าต้องการสื่อสาร และเป็นตัวเองที่สุด
- มีกลุ่ม community ดังนั้นคนดูต้อง happy ด้วย
เคสที่เจรจาแล้วมันไม่ได้ หรือเคสยาก เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ มีช่วง beauty blogger สื่อสารว่าใช้สินค้าเขาแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง ดูดีขึ้น ใช้จริงได้ แต่ผลอาจจะไม่เป็นอย่างที่พูด ดังนั้นไม่สามารถเคลมได้ ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย
เมื่อก่อน content creator มีรายได้ทางเดียว ตอนนี้มีหลายทาง เช่น จาก brand, subscription, merchandise และ affiliate ที่ค่อนข้างมาแรง พี่ ๆ มองว่า affiliate เนี่ยเปลี่ยนวงการพอสมควร บางคนเน้นทำอย่างเดียวจนรํ่ารวย สิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน YouTube ตอนนี้มีแปะตะกร้าแล้ว เป็นโอกาสที่เราต้องปรับตัวให้ทัน
ทางแบรนด์อย่างศุภาลัยเองมองว่าน่าสนใจ มี follower ประมาณนึง ก็สามารถทำ affiliate ได้ ซึ่งมีมาเกือบครึ่งปีแล้ว มี 2 step หลัก ๆ คือ มาดูโครงการ และจอง ทำให้ creator ได้ผลตอบแทน ถ้ายอด follower น้อย ให้หาสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง และทำให้คนสนใจ
ภาพตอนนี้ของเทพลีลาชัดกว่าเมื่อก่อน ทำให้ลูกค้าเข้ามาในรูปแบบที่เป็นเรา ทำให้ง่ายขึ้น
สุดท้าย ฝากถึงน้อง ๆ ที่ทำ content creator
- ปัจจุบันผลิต content ง่าย ยากแค่คู่แข่งเยอะ ไม่เหมือนตอนเริ่มเทพลีลาที่คนยังไม่เยอะ และคนงงว่าทำอะไร ต้องก้าวผ่าน สามารถแก้ไขได้ในทุกวัน
- mass ได้โดยไม่ทำร้ายสังคม
คำแนะนำที่อยากให้ brand support content creator หน้าใหม่: ของนี้เหมาะกับใคร ทำ content ที่ดี ยอด follow ไม่สำคัญเท่าการการสื่อสารกับลูกค้าได้ตรงเป้า น่าสนใจ เป็นผลดีกับแบรนด์ ทำให้คุ้มค่า ดังนั้นจะต้องสร้างตัวตนให้ชัดเจน
หลังจากจบ session นี้ move ไปห้องข้าง ๆ เพื่อฟัง session ถัดไป
From Creator to Community Builder เคล็ดลับต่อยอดคอมมูนิตี้ฉบับ 9arm | คุณอาร์ม - ธนานนท์ ปฏิญญาศักดิกุล (9arm)
เรียกว่าได้เป็น highlight ของวันเลยทีเดียว เมื่อมี interactive session ส่งตรงจากอเมริกา จากชายหนุ่มผู้เอวี่ติ้งฟอร์มโฮม ช่วง Q & A คือคิวยาวมาก
นายอาร์มทำช่องมา 12 - 13 ปีได้ ผ่านหลายช่วงเวลาที่เราสนใจในเรื่องต่างกัน เปลี่ยนไปตามเวลา จากทำเกี่ยวกับ game มาเป็น content ที่ทำได้ง่าย เป็นตัวของตัวเอง และไม่ได้ทำเป็นงานหลัก เพราะทำงานประจำด้วย
ตอนทำช่องเริ่มแรก เริ่มจากอยากทำ ทำไปเรื่อย ๆ และพัฒนา ทำยังไงให้งานเราดีขึ้นมา ตอนนี้ชิวมาก
จุดเปลี่ยนในแต่ละช่วง เริ่มต้นมาจากทำ content game review แล้วเปลี่ยนมาเป็นเล่าเรื่อง tech ย่อยได้ มี chanllenge ค่อย ๆ เปลี่ยน ต้องเปลี่ยนเพื่อให้ตัวเองทำได้ไม่ฝืน และทำในสิ่งที่เราชอบ และอยากทำ ค้นพบกับสิ่งที่เราทำ อย่างการคุยกับแชท หรือตอนไลฟ์ เป็นการ relax ส่วนนึง สะดวกตอนไลฟ์ เหนื่อยตอนเตรียม
process การทำ content หรือเริ่ม idea มีเกณฑ์ประมาณ 2 - 3 ข้อ
- เราอินไหม? ถ้าเราอินทำให้เราถ่ายทอดออกมาได้ดี
- ทำไมต้องเป็นเรา? ถ้าเป็นมุมมองของคนทั่วไป ไม่ต้องพูดดีกว่า
- ข่าว หรือเรื่องน่าสนใจที่อยากให้เล่าในตอนนั้น มีอะไรเติมไหม
หลังจากเลือกหัวข้อมาแล้ว เราจะวางโครงยังไง? อย่างเรื่อง missile defense เป็นเรื่องที่เป็นประเด็นในช่วงนั้น เราจะ present ในมุมไหน discovery มีเรื่องไหนบ้างที่เหมาะกับที่เราจะเล่า ใช้เวลาวาง 1 week มี writer ทำ เป็นคนหาข้อมูลในแต่ละประเด็น และรวมให้เป็นเรื่องราว ใส่ reference และแปะ post-it เลือกประเด็นที่เราอยากเล่า บางประเด็นยังตัดออกไม่ได้ทันที เพราะบางเรื่องมีเหตุผลของมันอยู่
เนื่องจากเป็น content เชิงลึก มีวิธีการหาข้อมูล วิเคราะห์ ร้อยเรียงยังไง? หาประเด็นหลักที่เป็นแก่นเรื่องให้เจอ เช่น จรวดยิงแล้วสกัดได้ยังไง หา technical แล้วคนทั่วไปตัดสินใจยังไงต้อ หาข้อมูลต่อ ค่อย ๆ ปู story มี conflict ต่อเนื่อง ทำไมถึงเป็นสิ่งนี้
งานลูกค้ามีวิธีวาง content ยังไง? ทำ schedule ไว้ มี slot ให้เลือกว่าวางตอนไหน และเป็น content อะไรมาขายลูกค้ามากกว่า product อะไร ขายยังไง เอาเรื่องอะไรมาผูก
การสร้าง community มี fanclub ที่เหนียวแน่น มีจัด fan meet ได้นั้น เริ่มต้นจากทำระบบหลังชัด คนยิ่งสนิทกันยิ่งดี ตอบคำถามแล้วมีคนตอบ จากที่นายอาร์มตอบ หลัง ๆ ชาวคอมมูมาตอบคำถามให้ เป็น community ที่มีคนแซวกันได้ เป็นเพื่อนกัน เดิมหน้าไปด้วยกัย ทำให้คุยและเล่าเนื้อหาไปด้วยกัน ส่วน fan meet ไม่รู้ว่าจัดยังไง แต่อยากเจอคนดู หลังจากที่เจอกันในโลกออนไลน์มานาน รู้สึกดีใจที่ได้ทำ และคนในคอมมูน่ารักมาก เป็นระเบียบมาก มีคนทำ giveaway มาแจกด้วย
คำแนะนำในการสร้างคอมมู คือ give and take ให้คอมมู และคอมมูช่วยกลับคืนมา สร้างบรรยากาศที่ทำให้คนสนิทกัน
การแบ่งเวลาระหว่างงานประจำ และการเป็น content creator สำหรับนายอาร์มมองว่าก็หนักอยู่ วันว่างมี 1 วันต่อสัปดาห์ หรือไม่มีเลย ไม่รู้สึกฝีนที่จะทำ ถ้าเราไม่มีเวลาเราก็อาจจะไม่ได้แบ่งเวลา 🤣 ก็ค่อย ๆ แบ่งเวลาไปทำ
คำแนะนำสำหรับน้อง ๆ content creator หน้าใหม่ คือ
- เป็นตัวของตัวเอง อย่าพยายามเป็นคนอื่น เพราะฝึนและทำได้ไม่นาน
- ความสมํ่าเสมอ เป็นสิ่งสำคัญ เขาจะได้อะไรจากเรา ทำให้เรายืนระยะได้นาน และมีโอกาสเติบโตแน่นอน
อนาคตสำหรับนายอาร์มมองว่าทำไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง เพราะเป็นสิ่งที่ชอบ และ maintanance และทำให้ online และ offline เหมือนกัน
Q & A
อาจจะไม่ได้จดหมดทุกคน บางอันมีให้นายอาร์มให้กำลังใจน้อง ๆ ที่จะสอบด้วย แล้วบรรยากาศฟีลเหมือนตอนนั้นใน discord ที่เปิด stage แล้วขึ้นไมค์ถาม 9arm เลยแหะ แน่นอนเหล่าชาวแชทไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน
- วิธีการบริหารทีมงาน ส่งทัน deadline ก็พอ ไม่เอาเปรียบพนักงาน
- ปัญหาในการสร้าง community ในการบริหาร relationship เมื่อเกิด conflict เมื่อ community โตแล้วควบคุมไม่ได้ ผู้นำมีบทบาทที่สูงมาก เตือนเหมือนเพื่อนกัน อย่ามองว่าเป็น fanclub
- วิธีคิดรับ brand และ sponsor คือมี story ที่จะขายให้ และมีวิธีคิดหรือวิธีการทำงานที่ตรงกัน เช่นกางเกงใน GQ ขายแบบกวนตีนเลย ถ้าไม่ตรงกันไม่เป็นไรผ่านไป
- ถ้าทำเรื่องที่ไม่ถนัด เช่นให้ผู้หญิงทำเกี่ยวกับพระ เราต้องเอ๊ะว่าทำไม assign งานนี้มาให้เรา ถ้าต้องทำก็ต้องทำ ลองทำดูว่าเป็นยังไง
- ไอเดียของนักขายตั้งต้น คือมีภาพขายไหม มีเรื่องเล่าก็จะ work มัน random
- เป็นตัวเองทำได้นานกว่า อย่าตาม trend เพราะ trend เปลี่ยนตลอดเวลา ทำให้ยั่งยืน ค่อย ๆ สร้างฐานไปจะดีกว่า ถ้าโตเร็วแล้วภาพไม่ดีคนจะจำ และไม่ดู content ที่ผ่านมาดี ๆ ของเรา
- reach เรื่องยังไงให้ mass? อินแล้วคนอยากฟังว่าเราจะพูดอะไร ถ่ายทอดความตื่นเต้น คนพร้อมจะฟังเสมอ พูดให้ง่ายที่สุด ให้คนไม่รู้เรื่องเข้าใจได้ง่ายที่สุด
- ทำยังไงให้ตัวเองไม่ถูกกลืน? ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อันดับหนึ่ง ทำความเข้าใจกับ brand ตีโจทย์ให้แตก
- โอกาส content สายเทค มีหลายแง่มุมให้ทำ เรื่องน่าสนใจต่าง ๆ พวก side project update trend โดยการอ่านข่าว IT ทุกวัน แล้วเลือกเรื่องที่น่าสนใจมากทำ
ใน session มีการ mention เกี่ยวกับเนื้อหาใน fanmeet นิดนุง เลยแปะคลิปไว้ก็แล้วกัน
ตอนเที่ยงเจอขวัญ กินข้าวกันที่ food court และรอชัปบี้ซึ่งเจอตอนถ่ายรูปรวมชาวค่าย
Unlocking Financial Perspectives for Creators เปิดโลกกว้างทางการเงินสำหรับครีเอเตอร์ | คุณเฟิร์น - ศิรัถยา อิศรภักดี (Wealth Me Up), พี่หนอม - ถนอม เกตุเอม (TaxBugnoms)
เป็น creator ก็ต้องบริหารการเงินให้ดีถูกม่ะ
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทย คือ คนรวยหรือคนที่มีความสามารถรวยขึ้น ส่วนคนจนจนลง เมื่อคนรวยเจอปัญหา คนสะใจมากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นยังไง เราก็ทำมาหากินกันต่อไป
คิดว่าอีก 2 - 3 ปี เศรษฐกิจดีขึ้นไหม สายท่องเที่ยว สายเทคดี ส่วนคนที่มีหนี้มีปัญหาหนักพอสมควร เป็น low grow high debt เศรษฐกิจเติบโตช้า หนี้เพิ่ม เพราะค่าครองชีพสูง ในเรื่องสภาพคล่อง ธนาคารไม่ค่อยปล่อยกู้ อนาคตจะมีเรื่อง tech, AI, สังคมสูงวัย, สงครามโลก
คำว่า "ยั่งยืนทางการเงิน" สำหรับครีเอเตอร์คืออะไร?
ความยั่งยืนทางการเงิน มีอยู่จริงไหม? แล้วเราเชื่อว่าอาชีพ creator ยั่งยืนไหม เรามีรายได้สมํ่าเสมอไหม แล้วเรามองอาชีพนี้เป็นยังไง และตัวเราเป็นยังไง ถ้าสร้างรายได้ที่แน่นอนไม่ได้ล่ะ ให้เน้นยืดหยุ่นมากกว่ายั่งยืน เรา focus รายจ่ายให้ได้ก่อน เป็นพวกรายจ่ายที่แน่นอน อย่างการใช้ชีวิตประจำวัน
และการเป็น creator ดู cashflow ถ้าขยายแล้วมันไม่เข้า ทำยังไงต่อ ค่อยต่อยอดในการทำรายได้
อยู่ที่เราวัดคำนี้จากอะไร อย่างไร? เช่น ข้าราชการ ยั่งยืน มั่งคง ไม่ผิดร้ายแรงมาก ๆ ก็จะไม่โดนออก มีบำนาญ แล้วเราวัดความยั่งยืนจากอะไร เช่น ตัวเงิน เพียงพอต่อการทำบางอย่าง, ตัวเรา เรามีกำลังในการ creative อีกนานแค่ไหน ยังสนุกกับมันอยู่ ยังมีคนอื่นอยากจ้างเรา, สุขภาพ เป็นสิ่งที่ creator burn กับมันมาก ตั้งแต่ต้นจนจบ และคนข้างหลัง และเรายั่งยืนยังไงให้ยั่งยืน
อาชีพนี้เกษียณได้เมื่อไหร่?
ต้องมองจุดจบตลอดเวลา มองถึงวันที่จะหยุด และหยุดให้ช้าที่สุด ซึ่งเราเกษียณได้ แต่มีรายได้แบบอื่นเข้ามาด้วย ไม่ลำบาก
การเป็น creator เป็นนายตัวเอง แต่ต้องมีวันหยุดบ้าง อาจจะไม่จำเป็นต้องหยุด อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการทำก็ได้ และคิดถึงเรื่องเกษียณให้บ่อย จะได้วางแผนจัดการได้ ไม่งั้นเจอแล้วไม่ได้วางแผน
ทำอาชีพ Content Creator Influencer ควรวางแผนการเงินยังไง?
focus ต้นทุน เราใช้เท่าไหร่ในการทำงาน รายได้เข้ามาตลอดจริงหรือไม่ เราจะเลี้ยงต้นทุนสำรองยังไง ส่วนที่เหลือรายได้และใช้จ่ายส่วนตัว ให้มองเป็นธุรกิจ แยกเงินส่วนตัวและธุรกิจออกจากกัน
จะรู้ได้ยังไงว่าควรออกจากงานประจำ?
สำหรับคุณเฟิร์น มองว่าเมื่อเราไม่มีหนี้ เช่นผ่อนบ้านหมดแล้ว, มีเงินล้านแรก, อยากทำได้มากกว่านี้แบบไม่ติดสังกัด แบ่งเวลาไม่ไหวเลยออกมา ออกมาแล้วไม่มีงานเลย ซึ่งคนสมัยนี้ทำงานประจำ และทำ content creator ควบคู่ไปด้วย
ดังนั้นถามตัวเองว่าจำเป็นต้องลาออกมาทำไหม บางคนสามารถทำควบคู่ได้ดี ไม่มี conflict ใด ๆ และมีอะไรบางอย่างรองรับทั้งระยะสั้น ระยะยาว ระดับไหน
พี่หนอมเสริมว่าให้คิดดี ๆ ก่อนจะลาออก เช่น ทำเพจ office ประสบการณ์ในงานประจำ ออกแล้วจบเลย ดูว่า content เรามาจากไหน ถ้าเอา hobby มาเป็นรายได้ อาจจะพิจารณาได้ มองที่มาจาก idea
ถ้าลาออกมาทำ content creator เต็มตัวต้องสำรองเงิน ให้ติดสินใจบนเหตุผลมากกว่าอารมณ์
ต้นทุนในการเปิดบริษัท
- credit term: เราต้องมีเงินจ่ายพนักงาน แต่ยังไม่ได้เงินที่เขาจ่ายเรา มี process การทำเอกสารต่าง ๆ
- สภาพคล่อง เช่นเรามีเงินสดเพียงพอแค่ไหน, เวลา ดังนั้นต้องหาสมดุลให้เจอ
- fixed cost: credit สำคัญมาก ไม่จ่ายเงินเลท ส่งงานตรงเวลา
- ในมุมบัญชี มองว่ามีรายได้เข้ามาแล้ว และมีค่าใช้จ่าย และเราต้องมีเงินจ่ายภาษี ถึงเราจะยังไม่ได้เงินก่อนก็ตาม จด vat 7% ให้สรรพากร แล้วถ้าเงินไม่เข้า มีรายจ่ายอะไรบ้าง
- อุปกรณ์ ทางภาษีมองว่าเป็นสินทรัพย์ มีค่าเสื่อมราคา ไม่ใช่รายจ่าย
จ้าง freelance หรือจ้างประจำดี
ถ้าจ้างประจำก็จะต้องมีสัญญาจ้าง ประกันสังคม จ่ายชดเชย
- ส่วนใหญ่ชอบเปิดบริษัท จ้าง freelance แบกต้นทุนที่เราคนเดียว และอยู่ที่น้อง ๆ อยากเติบโตแบบไหน แล้วค่อยจ้างเป็นประจำ
- เปิดบริษัทไม่ยากเท่าปิดบริษัท
- ทำงานนี้ได้นาน รายได้แน่นอนไหม อยากดูแลคนแบบไหน
ดังนั้นทั้งหมดไม่มีคำตอบตายตัว อย่างของคุณเฟิร์นจ้างประจำ เพราะเป็น project ยาว 2 ปี
คนอยากทำงานหลาย ๆ ที่ ขึ้นกับความ matching ว่า happy แบบไหน
เป็น Creator มือใหม่ พอมีคนมาจ้างไม่รู้ว่าคิดเงินยังไง?
พี่หนอมบอกว่าให้ดู rate card คนที่คล้าย ๆ เรา 🤣 (แล้วเราจะไปดูจากใครล่ะ อินฟูเดฟก็ไม่ค่อยรับงานกันด้วย แต่ที่ลั่นเพราะมีเหตุการณ์จริงอีกวงการอยู่5555555)
กลับมาทางสาระ คำนวณ back-out เรามีต้นทุนการทำงานยังไง กับราคากลาง ดู technical term หรือไปที่ฐานธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ส่องบริษัท ดูงบการเงิน คิดต้นทุน เราอาจจะพอเห็นกำไร mark กำไรไว้ที่ 10 - 20 % ทำใกล้กับ tier ของเรา
อยากฝากข้อคิดอะไร?
- ทำการบ้านเกี่ยวกับตัวเองเพิ่มเติมว่าอันไหนเหมาะกับเรา คิดตัวเลขกันมาก่อน คิดเรื่องเงินก่อน
- ให้รักตัวเองมาก ๆ มีการ burn-out และไม่มีจุดหยุด สนุกก็ทำ เหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยก็ทำต่อ กลับมาดูแลตัวเอง และเติมไฟ
และจบวันด้วย 2 workshop ที่ไม่มีย้อนหลังเนอะ
Love Your Personal Branding สร้างแบรนด์ให้คนรัก จากการรักตัวเอง | คุณบุ๋ม - บุณย์ญานุช บุญบํารุงทรัพย์ (ปีติพีอาร์ จำกัด Peeti PR)
ทำไมถึงลง workshop นี้: จริง ๆ เราก็ได้ยิน personal branding มาประมาณนึง พอเห็นคำว่า "สร้างแบรนด์ให้คนรัก จากการรักตัวเอง" และเป็นคุณบุ๋ม เลยอยากเข้ามาฟังว่าจะเป็นยังไงนะ ต้องน่าสนใจแน่ ๆ
เป็นการย่อ 1 วัน มาเหลือประมาณชั่วโมงนิด ๆ
งานเป็นพื้นที่ฉายแสงตัวเอง เรามีความสุขในสิ่งที่ทำ และคนอยากคุยกับเรา ไม่ใช่เรื่องงาน แต่เป็นแก่นของเรา เราเป็นตัวของตัวเองได้โดยที่ไม่เดือดร้อนใคร
objective ของ workshop นี้คือ รักตัวเองยังไง ให้คนอื่นรักด้วย
PART 1: Define the meaning of "Personal Branding"
- Personal Branding = Personal + Branding
- เราเกิดมาทำไม ทำให้เรารู้สิ่งนี้แล้วโลกจะเปลี่ยนเลย รู้จัก cheer-up ตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง
- ใครคือผู้ฟัง หรือ target ของเรา สร้างการรับรู้ การสื่อสาร สร้าง content ดังนั้นแก่นของเราจะยังอยู่เสมอ
PART 2: Know Yourself
- personal test เช่น 16 personalities (MBTI), DISC ทำให้เรารู้ว่าเป็นคนแบบไหน ลดความขัดแย้งลง การที่เรารู้จักตัวเอง ทำให้เรารู้จักและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น อีกทั้งทำให้เราไม่เป็นคน self-center
workshop 1: ทำความรู้จักตัวเอง
มีให้กรอกประมาณนี้
- สิ่งที่ทำได้ดี/ถนัด
- สิ่งที่รัก/ชอบ
- สิ่งที่ทำแล้วเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
- จุดแข็ง
- จุดอ่อน
ในส่วน จุดอ่อน สามารถ improve เป็น จุดแข็ง ในอนาคตได้
เมื่อเราทำเสร็จ 1 ปีผ่านไป เอามาดู แล้วเราเคลื่อนจุดอ่อนเป็นจุดแข็งได้ไหม
PART 3: Finding Your Purpose in Life
เราเกิดมาทำไม? ตายแล้วไม่เสียชาติเกิด! ตายไปแล้วทิ้งอะไรให้กับโลกนี้บ้าง
ให้ "ตั้งต้นจากสิ่งที่ตัวเองรักและอยากทำ หาสิ่งเหล่านั้นให้เจอ"
- หาสิ่งที่เราทำได้ดี หรือถนัด
- รวมตัวกันมีประโยชน์ และมีหน้าที่เสมอ ดังนั้นรู้จักตัวเอง และหน้าที่ของตัวเอง เป็นบทบาทอะไร และเป็น value ให้กับผู้คนได้อย่างไร
- ออกไปหาทำสิ่งใหม่ ๆ อย่างการแต่งตัวและทำผม อยากทำสิ่งใหม่ ทำสิ่งเดิม ผลลัพธ์ได้แบบเดิม ดังนั้นต้องทำสิ่งใหม่
- ล้มเหลวได้แต่อย่าล้มเลิก
- หาคำตอบในคำถามที่สำคัญ
- หา passion หรือต่อมบิ้วของเราให้เจอ ในการทำสิ่งนั้น
- จุด trigger คืออะไร คนเราเปลี่ยนได้เพราะความเชื่อ
workshop 2: ออกแบบแผนที่ชีวิต
อันนี้มาจากตอนที่คุณบุ๋มไปฟังขายตรงเจ้านึง แล้วเขามีอันนี้มาให้ทำ ให้ตั้งเป้าหมาย 3 ระยะ
- ระยะสั้น 6 เดือน - 1 ปี
- ระยะกลาง อีก 10 ปีข้างหน้า
- ระยะยาว บั้นปลายชีวิต ตอนเราอายุประมาณ 50 - 60 ปี
แล้วก็มีให้ทำด้วยนิดหน่อย
PART 4: How to communicate
เราจะสื่อสารออกมายังไง
- Personal + Branding
- แก่น → strategy ต้องมีเป้าหมาย → execute มันออกมา
- เราอยากทำสิ่งนั้น มีประโยชน์กับเรา และคนอื่น ๆ ยังไง ทำให้ได้ personal branding ที่ strong มากขึ้น
- how to create content เช่น focus กลุ่มเป้าหมาย
- มี purpose เปลี่ยนโลกได้ แต่แนะนำให้เปลี่ยนตัวเองก่อนเปลี่ยนโลก
- level change: เริ่มจาก feeling → attitude → believe → behavior → habit ใช้ในการทำงาน หรือทำ brand ได้
ก่อนหน้านี้ทุกคนรู้จักคุณบุ๋มจากการที่เขาเคยไปทำงานที่บาบิคิว พลาซ่า จนกลายเป็นนามสกุล ตอนหลังลาออกมาเป็นบุ๋มบุณณ์คนว่างงาน ทำให้การว่างงานไม่ได้ดูแย่ แต่พอว่างงานได้ 4 เดือนพบว่ามีแต่รายจ่ายไม่มีรายรับเลยกลับมาทำงานต่อ
แล้วก็คุณบุ๋มทำเป็นน้องตุ๊กตุ๋น 3 ตัว มีมานะ ปิติ ดีใจ
ตัวมานะเป็นหมึกมานะ เป็นอาหารทะเลไม่มีสารเคมี จากประมงพื้นบ้าน
ปัจจุบันคุณบุ๋มทำในส่วน Peeti PR โดย PR ในที่นี้ย่อมาจาก pupose relations
สุดท้ายล่ะแข่งกับเวลาสุด
ปล. ทางเราเคยฟัง session คุณบุ๋มช่วงปลายปี 2021 ที่เป็น Today at Apple ก็จะมีเล่าเรื่องก่อน แล้วมี workshop ตอนท้ายที่ตัดคลิปก้อนด้วย iMovie มี footage กับ effect ให้ เราได้ส่งงานทัน (มีบาง session ส่งไม่ทัน5555) แล้วได้ไปเปิดตอนท้ายด้วย ดีใจ ฮืออออออ / ไม่แนะนำเปิดดูตอนกลางคืนเพราะหิว
Visual Identity for Creator Marketing เทคนิคสร้างวิชวลให้ต่างในตลาดคอนเทนต์ | คุณเก่ง - สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม (CREATIVE TALK)
ทำไมถึงลง workshop นี้: อยาก recheck ในเรื่อง visual ว่าเราขาดตกตรงไหนอีกบ้าง จะได้เติมให้เต็ม และของพวกนี้มีวิธีคิดยังไง
สิ่งที่ได้จากงาน design ไม่ใช่ความสวย เช่นตอนนั้นพี่เก่งทำกับ Martha Stewart มีโจทย์ว่าให้ทำ design ของ website ขายดอกไม้ มี target เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นแม่บ้านเป็นส่วนมาก เราจะเลือกสีอะไรดี ตอนนั้นพี่เก่งเลือกสีชมพูกับขาว เขาก็ถามว่าทำไมต้องชมพูนี้ ตอนแรกก็ไม่เข้าใจ จนไปดูหลาย ๆ ทีมทำงานจนสุดท้ายเลือกสีชมพูอันนี้ กลับไปเสนอใหม่ เขาก็ไม่ได้ถามอะไรกลับไปล่ะ แล้วเพราะอะไรกันล่ะ?
เพราะการทำ design ไม่ใช้แค่สวย ลองหาเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไมเลือกสีนี้ ถ้าตอบได้ คือทำงานมาเยอะ คิดมาเยอะ
first impression เห็นแล้วชอบเลน แต่ function อาจจะไม่ work ก็ได้
Visual Communication
Visual รูปภาพ สี font + Communication การสื่อสาร
คือ การสื่อสารด้วยภาพ เช่น การแต่งตัว ทำให้เป็น icon สื่อสาร identity ของตัวเองได้
Design Psychology
จิตวิทยาของการออกแบบ
Color
เช่น ร้านขายอาหารเผ็ด ใช้สีแดง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ใช้สีเขียว บางเคสใช้เป็น marketing เช่น ผู้หญิง ใช้สีชมพู
- color wheel มีหลักการใช้ในการเลือกสี เช่น เล่นโทนสีเดียวกัน หรือสีตรงข้าม ทำให้มีความแตกต่าง และโดดเด่น อยากใช้มากกว่า 2 สีก็ได้นะ
- จิตวิทยาในการเลือกสี บอกตัวตนของเรา และมีผลต่อความคิดของคน เช่น สีแดงแสดงถึงพลัง อย่างไทนินอล ส่วนสีนํ้าเงินใช้เยอะที่สุด บอกความน่าเชื่อถือ อย่าง Facebook ถ้าสีดำในแง่ emotional บอกถึงความพรีเมี่ยม และ simple
- งาน CTC เลือกสีให้ดูงานสนุก vibe applied กับตัว font ด้วย ช่วย set tone ของงาน
Font
- จะมี serif กับ sans serif แล้วเหมือนหรือต่างกันยังไง? serif เป็นแบบทางการ เรียกว่าเป็นแบบมีตีน ส่วน sans serif เป็นแบบไม่ทางการ สมัยใหม่ เป็นแบบไม่มีตีน ซึ่งอยู่ที่การใช้งาน ให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน บางคนมองว่า font มีหัวอ่านได้ไวและไหลลื่นกว่า
- Rolls-royce มีการปรับ branding ให้ดูไม่แก่
- ไม่ควรเลือก font จากในเครื่อง เป็นการ limit ตัวเอง ให้ลองไปเลือกที่ Google Fonts ดู font ดี ๆ มีเยอะ และซื้อใช้แบบมีลิขสิทธิ์ในราคาไม่สูงมากจนเกินไป
Design
เรามีสีประจำ และ font หรือยัง เป็น identify ของเรา เลือกครั้งเดียวใช้ได้ยาว ๆ
- พี่เก่งเล่าว่า brand book ของ LINE MAN Wongnai ใช้เวลา 11 เดือน! มีคนถามช่วง Q & A สั้น ๆ ว่าทำไมระยะเวลาทำนานจัง มีเรื่องของการ communicate กันไปกันมาด้วย
- เอา design มา repeat เพื่อให้คนจำได้
- การสื่อสารแบบคนไทย ต้องมีหน้าตามนุษย์ เพราะหน้าคนเป็น identity ให้คนจำ
- format ทำให้คนจำได้ว่าอันนี้ของใคร เพจไหน
Style
ภาพจำ เช่น รูปภาพ สายเส้น ดูว่าเหมาะกับเราไหม อย่างกระเป๋าเดินทาง บางคนอาจจะสไตล์ถ่ายกับคน หรือบางคนถ่ายแค่กระเป๋ากับวิว
จริง ๆ ตัวอย่างเยอะ ประมาณแบบนี้แหละ แต่ละคนมีสไตล์ของตัวเอง อย่างอันนี้สไตล์เสียตังค์ เอ้ยยย POP MART
Shape
แสดงถึงความหมายในแต่ละอย่าง อย่างแบบ abstract อะไรก็ได้ ขอบมนดู soft และเข้าถึงได้ง่าย
ดังนั้นไม่ได้แค่สวย อยู่ที่เราอยากสื่อสารอะไรออกไป
Visual
รูปภาพ เรานำเสนอเป็นแบบไหน
Mood Board
เป็นการทำ reference อย่างนึง เราสามารถทำได้ด้วยการเข้า Pinterest แล้วไป pin อันที่ชอบ ทำให้เราเริ่มเห็นภาพ identity ของเรามากขึ้น
ข้อดี คือ ทำงานกับตัวเองเพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองอยากได้จริง ๆ เอา mood ที่ชอบไปออกแบบต่อได้ และเข้าใจ tone มากขึ้น
Canvas
มี 6 ช่องด้านขวาที่เล่าไปก่อนหน้านี้ ใส่สิ่งที่อยากได้ หรือสิ่งที่เราชอบ
ส่วนที่ focus ตัวเราเอง
- wanted perception: มุมมองที่เราอยากให้เขาเห็น balance สิ่งที่คนเห็น และเราอยากจะเป็น
- who we are: เราเป็นใคร ลองจากตั้ง post ถามใน social ก่อนก็ได้
- unwanted perception: อะไรที่ไม่อยากให้คนนึกถึง เราไม่อยากสื่อสารแบบนั้น
ช่องอื่น ๆ
- audience: คนที่อยากสื่อสารไปถึง เป็นกลุ่มแบบไหน สนใจเรื่องอะไร เน้นกำหนเความสนใจ เป็นตัวกำหนด direction
- media: generation เกี่ยวกับ platform
- competitors: คู่แข่งเราเขาทำอะไร อย่าทำซํ้าเขา หาความเป็นตัวเองที่ไม่เหมือนกับคู่แข่ง
และจบด้วย mood board บางทีกลับไปดูอาจจะไม่ชอบอันที่ผ่านมาที่เราทำก็ได้
มี Q & A เล็ก ๆ มีคนถามว่า rebrand เมื่อไหร่ดี? เมื่อ character เปลี่ยนแล้ว
สำหรับ session ก่อนหน้านี้ของพี่เก่งที่เราเคยฟัง ก็น่าจะในค่าย iCreator Camp 2024 นี่แหละ
บรรยากาศงานหลังจากจบ workshop ส่วนน้อง ๆ อยู่ food court เลยเดินวนแบบไว ๆ แแปปนึง
อันนี้บรรยากาศงานทั้งหมด จบงานโดยการเจอน้องฮูฟ ที่กำลังกลับพอดี แล้วมีเหล่าโอตะมาส่งน้อง นี่เลยเนียนส่งน้องด้วยนิดหน่อย น้องน่าร้ากกก
@mikkipastel บรรยากาศงาน iCreator Conference 2024 แบบคร่าว ๆ เมื่อวานนี้ . session ที่เข้าฟัง ⚫ The Future of The Iconic Thailand’s Creator Landscape in 2025 ในงานมีประกาศค่าย #icreatorcamp gen 2 ด้วยนะ ⚫ Building the Future of Connection Through AI-Powered Creativity ⚫ Creator Meets Brand ⚫ From Creator to Community Builder ⚫ Unlocking Financial Perspectives for Creator . workshop ที่เข้า ⚫ Love Your Personal Branding ⚫ Visual Identity for Creator Marketing . สุดท้ายขอบคุณทาง rainmaker ที่มีบัตรให้ชาวค่าย #iCreatorCamp2024 ได้มางานนี้ด้วย เลยพาน้อง ๆ มาด้วยซะเลย #iCreator2024 #THEICONIC #iCreatorConference
♬ original sound - มินซอ อินฟูที่เดฟได้นิดหน่อย
ทั้งหมดก็จะประมาณนี้แหละเนอะ
ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย
ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ