เรียนรู้ Content Marketing เพื่อทำเงิน ในสัปดาห์ที่ 2 ของ iCreator Camp 2024

Content Creator May 27, 2024

มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของค่าย iCreator Camp 2024 กับเนื้อหาที่เราสร้างความเป็นตัวเอง เพื่อหารายได้เข้า channel ของตัวเองกันเนอะ

วันนี้มาสายไปนิดนึง เลยได้นั่งแถวหลังสุดที่นั่งได้ ข้อดีคือมันใกล้ประตูหลัง เดินออกสะดวกไม่กวนใคร

เอ้ออวันนี้มี canvas ให้ทำ 2 อันด้วย และรับเสื้อค่าย มาใส่วันสุดท้ายของค่าย

แล้วก็มีเกมส์ทีเผลอ เล่นเอ่อออคล้าย ๆ kahoot ชิงรางวัล โหลดแอพ AnyCreator ติดเครื่องไว้

อ่ะวันนี้เรียนอะไรมาดูกัน

ส่วนอันนี้รอบที่แล้วน้า

iCreator Camp 2024 วันแรกกับ Storytelling & Creativity
iCreator Camp 2024 วันแรก กับการเรียนพื้นฐานการสร้าง content ทุกประเภท ด้วย Storytelling & Creativity

การสร้าง Personal Branding อย่างยั่งยืน อ.ผึ้ง Chula

อาจารย์ผึ้งมาจากภาควิชาวาทะวิทยา และการสื่อสารการแสดง

Session ในวันนี้เราคาดหวังเรื่องอะไรกับ personal branding บ้าง และทำยังไงให้ยั่งยืน

ใน session นี้มีคลิปเสียงจากคุณเอสมาเล่าเรื่องต่าง ๆ ฟีลเม้ามอยนิด ๆ

แบรนด์บุคคล (Personal Branding) คืออะไร

ทำไม follower ถึงตามเรา? ในมิติสื่อบุคคลเป็นหลัก และเราโดนตกได้เพราะอะไร?

brand = ตรา: เป็นรอยประทับในใจ แล้วเขาตามเราเพราะอะไร?

SMCR model:

  • Sender สื่อสารตัวตนของเรา
  • Message ส่งคุณค่า หรือคุณภาพ ที่แตกต่างจากคนอื่น
  • Chanel communication / platform เป็นช่องทางในการส่ง แล้วถ้าส่งไม่ถึงล่ะ
  • Receiver: รู้สึกเรามีตัวตน
  • และมีการสื่อสารกลับไป เกิดการตอบสนอง และมีความหมายในเชิงอารมณ์

ยั่งยืน...ยังไง และทําไมต้องยั่งยืน

ยั่งยืนคืออะไร? คือ “ติดลมบน” ติดไปแล้วยังอยู่ เป็นดาวค้างฟ้า มีชื่อเสียง ไม่มีคนลืม เป็นคนพูดเรื่องนี้แล้วคนฟัง

เป็นความรักที่ไม่มีเหตุผล พร้อมจ่าย พร้อมเปย์ เกิด engagement ที่ทะลุกว่าการให้หัวสมอง แต่ใช้หัวใจ >////< เช่น นิสัย จริต

แล้วเราจะยั่งยืนไปทำไม? ด้านกายภาพ อย่างเงิน, จิตใจ, จิตวิญญาณ

เป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน → monetization, power of change สร้างการเปลี่ยนแปลง

สามเหลี่ยมของมาสโลว์: ความภูมิใจ → หาตัวเองให้เจอ เกิดมาเพื่อสิ่งนี้

องค์ประกอบสำคัญของการสร้าง แบรนด์บุคคล

quiz1: คนเขาจำคลิป แต่ไม่จำคุณ คำตอบ D

บุคลิก + วิธีการต่างจากคนอื่น เหมือนประกวดนางงาม เพราะมันคือการแข่งขัน

ความแปลก + ความใหม่ = ทำให้คนสนใจ และต้องทำอย่างสมํ่าเสมอ

quiz2: คำตอบ D เพราะทุกคนมีของ C + A + B

เริ่มจากการสร้างคาแร็คเตอร์ แล้วหาตัวเองให้เจอยังไง ให้ถูกต้อง และคนที่ใช่สำหรับเขา เข้าไปอยู่ในใจ และเราสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ทำให้มีโอกาสได้ follower สูง และรู้ว่าคนตามเราเพราะอะไร

S เรามีอะไร + R insight พฤติกรรมของคน เหนือกว่า personal เขาอยากได้อะไร เป็นการใช้ diagram ขุดหาคำถาม

แล้วเราจะหาคนที่ใช่ กับ content ที่ใช่ ได้อย่างไร

quiz3: ตอบให้ได้ว่าคนชอบเราเพราะอะไร

แล้วเราควร focus อะไรก่อน

สรรค์สร้างแบรนด์บุคคลอย่างไรให้ยั่งยืน

ยั่งยืนคือเข้าไปอยู่ในใจของทุกคน สร้างตัวตนให้คนยอมรับ ไป platform ไหนก็ได้

ตัวตนในทุก platform ที่คนยอมรับ และอย่าลืมพัฒนาตัวเองตามบริบท เติบโตไปด้วยกัน

คนตัดสินใจเพราะคน ทุกคนมีของของตัวเอง หาให้เจอ

checklist ถอดรหัส - งานวิจัยเกี่ยวกับ celab ทำให้คนทำวิจัยมีชื่อเสียงโดยปริยาย

ดังนั้นบุคคล สำคัญ → การสื่อสาร มีการ interact stay connected → ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของ target ของเรา → CRM ทำให้ follower เป็น fan ของเรา สร้างความคุ้มค่า

สิ่งที่ทำให้สำเร็จ

  • ETHOS: เป็นเรื่องสำคัญ ความน่าเชื่อถือในการสื่อสาร คนเสพ คนที่พูดเรื่องนี้แล้วใช่เลย เรารู้จริงในเรื่องที่เราพูด ส่งความหวังดี ความห่วงใย และความดีในบุคคล ทำให้เรายั่งยืนอย่างแท้จริง
  • สร้างแบรนด์ให้คนจำ + คิดตาม: ค้นหาตัวตน เป็นตัวของตัวเอง คุยกับตัวเองให้รู้เรื่องยากที่สุด อาจารย์บอกว่าสอนเรื่องนี้ 16 สัปดาห์นะเออ ซึ่งความเป็นมนุษย์ เข้าถึงง่าย จับต้องได้ มีความโบ๊ะบ๊ะ เกิด positive energy ที่ทำให้ใจฟู มีความน่าเอ็นดู ต้องค้นหา ถึงอะไรบางอย่างให้คนตาม

อันนี้ลองถามตัวเองก่อน

เอาไปถามเพื่อน ๆ

สรุป

อันที่เล่า ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยนี้

คิดจากเคส: ส่องความสำเร็จจากการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับแฟนคลับของ “เป๊กห้างแตก” เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร จากมุมมองการสร้างแบรนด์บุคคล | Journal of Public Relations and Advertising

Personal Branding Monetization ทําเงินได้จาก การสร้างแบรนด์ของตัวเอง - เก่ง CTC

Passion การทำ content อย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องหาเงินด้วย

personal (ตัวเรา), branding, monetization (รายได้) ซึ่ง mindset การทำเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่เราทำมีคุณค่า อย่าทำฟรี เพราะทุกอย่างมีต้นทุน ซึ่งเวลาก็เป็นต้นทุนหลัก

searching for your personal branding

สามวงนี้ทำงานร่วมกัน ต้องตอบให้ได้

  • สิ่งที่เป็น
  • สิ่งที่อยากเป็น: อันนี้สำคัญมาก
  • อยากให้คนอื่นมองเห็นว่าเราเป็น: ตรงนี้เป็น branding

จากนั้นมาที่ canvas มาเริ่มทำกัน ใน session นี้เราทำกันคร่าว ๆ ใส่สิ่งที่เราเป็น อย่างสถานะ สิ่งที่เราสนใจ คาแร็คเตอร์ และสิ่งที่เราถนัด พร้อมกับที่เราอยากเป็นลงไป

ส่วน branding สิ่งที่อยากให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็น เป็นการรวมของ สถานะ สิ่งที่เราสนใจ คาแร็คเตอร์ และสิ่งที่เราถนัด ออกมาเป็นประโยคเดียว

เทคนิคการสื่อสารแบบ 3U 3V

  • Understand: เล่าแล้วเข้าใจง่ายไหม
    • ลอง empathy มองในมุมของคนฟัง
    • start with why เริ่มต้นว่าทำไม เช่น ทำไมถึงอยากรู้เรื่องนี้ อย่าให้รู้สึกว่าเขาเป็นคนนอก ทำให้คนเข้าใจ หรือสำคัญยังไงกับเขา
    • มีความเกี่ยวข้องกัน พูดภาษาเดียวกัน เราต้องเข้าใจกลุ่ม target ด้วย มีตัวอย่างที่เข้าใจได้
  • Unknown: คนฟังรู้เรื่องนี้หรือยัง? อย่างสิ่งที่ in trend อย่างข่าวสาร เราต้องทำให้ปัง และได้ไปไกล
  • Useful: มีประโยชน์กับเขายังไง รู้แล้วเอาไปทำอะไรต่อได้ แบ่งเป็น 2 ขา คือ self และ social
  • Verbal: เนื้อหาที่จะเล่า มีส่วนสำคัญกับคนฟังเพียง 7% เท่านั้น
  • Vocal: การพูดและนํ้าเสียง มีผล 38% เราต้องดูว่าคนที่พูดเก่ง เขาพูดยังไงบ้าง เช่นเขาพูดชัดเจนเป็นคำ ๆ
  • Visual: สิ่งที่เห็น เช่น การแต่งกาย มีผล 55% ในธุรกิจก็ใช้เยอะเหมือนกัน เช่น โอมากาเสะ เป็ดย่าง MK หรือเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพก็ได้

ดังนั้นหน้าที่ของเราคือ ให้ทุกคนรู้ว่า เราคือของจริง!

Monetization

ทำเงินได้ ถ้าคาแร็คเตอร์ content การเล่าเรื่อง ชัด

สิ่งสำคัญคือ เงินอยู่ที่ไหน? เขามีเงินไหม? แล้วใครเป็นคนจ่าย? หลัก ๆ ก็คือลูกค้าแหละ

การทำเงินให้ได้ 1 ล้าน มี 2 วิธี คือ

  • เก็บเงินคน 1 ล้านคน คนละบาท → mass เน้นปริมาณ เช่นพิมรี่พาย
  • เก็บเงิน 1 คน 1 ล้านบาท → ไม่ต้องดูแลคนเยอะมาก แต่ขอหนัก ๆ

อยู่ที่ว่าเราเก็บเงิน 1 ล้านในรูปแบบใด

Total Spending

คน spend เงินกับอะไร พอดูจาก stat แล้ว สาย creator ยังไปได้ แล้วเราเข้าไปอยู่ใน industry ใด และบางอัน คนทำน้อย คู่แข่งน้อย อาจจะได้เงินดี หรือดูจาก SET ก็ได้

จ่ายเท่าไหร่? สำคัญมาก มีเงินแล้วจ่ายไหม? แล้วจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหาอะไร? แล้วเราตอบโจทย์เขาได้ไหม

เขาจ่ายให้เราเพราะอะไร?

  • assets: มีอะไรที่เขาต้องการ เช่น follower, engagement
  • performance: เราแก้ปัญหาได้หรือไม่ เช่น ช่วย PR ผลิตภัณฑ์ที่ออกใหม่ ให้คนรู้จักมากขึ้น
  • variation: เราทำได้มากแค่ไหน ทำกี่ช่องทาง การกระจายข่าว การ influence คน

ทุกธุรกิจอยู่รอด และอยู่ได้ เพราะธุรกิจมีปัญหาที่ต้องแก้ เราต้องหาปัญหานั้นให้เจอ

และลูกค้า ต้องได้มากกว่าที่จ่าย

  • การหาเงิน - เงินของลูกค้าอยู่ไหน มีเท่าไหร่ และพร้อมจ่ายไหม
  • คาแร็คเตอร์ชัด คนนั้นได้เงิน และคนดูชอบดูอะไรที่สะท้อนถึงตัวเอง
  • ความชัดเจน และ unique เป็นคำตอบของ brand
  • brand เข้าหาเราเมื่อเราดังแล้ว และมีความโดดเด่น
  • การเข้าหาลูกค้า ตัวลูกค้ามี agency และ PR ส่ง profile หรือ port ไปให้ agency ถ้าเรามีความโดดเด่นและแตกต่างเราอาจจะได้งาน

ปิดจบด้วย

อันนี้ตัว canvas ที่เราลองทำดูนะ


วันนี้ได้รู้จักเพื่อนใหม่อีก 1 คน คือคุณใยไหม ช่อง Pinkmaii จ้า story การกินข้าวเที่ยงก็ดูจะปกติดี นั่งกัน 3 คน คือคุณใยไหม คุณฟีฟ่า และนี่ แต่แล้ววววว ทีมงานค่ายมาสัมภาษณ์ ให้แนะนำตัว วันนี้เรียนเป็นยังไง ชอบอันไหน แล้วก็เอ่อออจะชนะไหมอะไรงี้ แล้วทีมงานบอกว่า ไม่ต้องห่วงค่ะ โดนทุกคน55555555 นี่โดนคนสุดท้าย เพราะกินข้าวเสร็จช้าสุด แหะ ๆ

กินข้าวเสร็จเวลาเหลือ ก็ดูบูธ SONY นี่แหละ แล้วก็ของ The Digital STM ตั้งอยู่ข้าง ๆ เห็นเครื่องทำดรายไอซ์ด้วย ก็เลยเข้าไปดูนี่แหละ

แล้วก็ได้ sticker น่ารัก ๆ มาด้วยล่ะ

แล้วก็มีเกมส์ทีเผลอ สรุปแบบไว ๆ มีคนนึงได้รางวัลไมค์ไป ที่เหลือได้บัตรงาน CTC ของปีนี้จ้า ชั้นที่รู้สึกว่าแต้มบุนจะหมด ๆ


Monetize Yourself เปิดโลกของการสร้างรายได้ของ ครีเอเตอร์ - อุ้ย AnyMind

ก่อนเข้า session มีแบบทดสอบ mindset

เราต้องรู้สถานการณ์ในตลาด ถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะปรับเปลี่ยนไม่ได้ และ 3 อย่างนี้ creator, ads, audience ต้อง balance กัน

เช่นหลัง COVID คนว่าง ทำให้ audience และ creator เพิ่มขึ้น ทำให้ TikTok บูม หลัง COVID audience ลดลง เพราะคนต้องกลับไปทำงาน แต่จำนวน creator เท่าเดิม ส่วน ads ยังทรง ๆ ไม่ได้ฟิ้นกลับมา บางครั้งทำให้ creator ไม่อยากทำ เพราะเงินในระบบน้อยลง

เงิน 3 ก้อน

  • media: เน้นสร้าง awareness เช่น คนที่มียอดฟอลหลักล้าน
  • influencer: engage คน คุยกับ brand และ agency ด้วย
  • ecommerce: conversion พูดแล้วเกิดยอดขาย SME ลงมาเล่นแล้ว work

brand safe concept: หลักเลี่ยง content สุ่มเสี่ยง เช่น แนว sexy, การเมือง, ศาสนา, ความเชื่อ อยู่ที่ objective ของแต่ละคนด้วย ถ้าไม่มีสิ่งนี้ จะมีผลลัพธ์ตามมา

หัวใจในการหาเงิน 5 ด้านหลัก ๆ

  1. platform monetization: การหาเงินโดยตรงกับ platform โดยตัว platform เองหาเงินจาก brand และแบ่งให้เรา
  2. branded content: sponsor หรือ brand อยากทำ content กับเรา
  3. fan funding: fan จ่ายเงินให้เรา
  4. merchandising & own brand: ทำ product ตัวเอง สามารถต่อยอดไปได้อีกทาง
  5. affiliate & live commerce: ทำ content ติด affiliate

อันนี้แบบทดสอบมาล่ะ ใช้เป็นแค่ guideline ว่าเราตกที่ช่องไหน

ส่วนใหญ่ที่ส่องคือ ไม่มีใครตกที่ fan funding และมีแค่ 2 ช่องที่ตก merchandising สามอันที่เหลือเฉลี่ย ๆ กัน

ของเพจเราไปตกที่ affiliate พอมาดูที่เหลือตัว branded content ไม่ได้ห่างกันมากนะ ก็สปอนเข้าได้จ้างได้นะคะ หน้าเพจยังว่าง

มาดูรายละเอียดทีละอันกัน

platform monetization

platform ช่วยเราหาเงินจาก brand อย่างตัว YouTube แบ่ง 45% จาก ads มาให้ creator ส่วน TikTok ตัวเพลงได้บางส่วน และมีเรื่อง affiliate

branded content

มองหา micro influencer และ macro influencer ที่มียอด follower น้อยกว่า 1 ล้าน ก่อนอื่นเข้าใจการทำงานกับ agency ก่อน

  • explore: แล้ว brand จะเจอเราที่ไหน
  • execute: เรามี port ที่ดีไหม ส่งงานตรงเวลาไหม ยืดหยุ่นไหม ทำตามบรีฟหรือเปล่า
  • report: บางที่มีเป็นระบบของเขาเลย หรือบางที่ขอ screenshot stat ต่าง ๆ จากเรา
  • payment: รับเงิน credit-term

KOL brief

  • objective: เข้าใจ objective ของ campaign ว่าต้องการอะไร หลัก ๆ ไม่พ้น awareness, engagement, conversion ดู analytics จะเห็นกราฟการเข้ามาของคน
  • product detail: รายละเอียดต่าง ๆ recheck ชื่อ brand ให้ถูกต้อง และเข้าใจลูกค้า
  • requirement: key message กับ slogan ไม่เหมือนกัน ส่วน scope of work คุยกันให้ชัดเจน อย่าง key message คนดูจบแล้ว เขาได้อะไร และจำอะไรได้บ้าง ส่วนพวก material เช่นคลิปที่เราทำ brand เอาไปใช้อะไรได้ไหม เช่นเอาไปเปิดตาม booth ถ้าเราไม่ได้ทำเป็น presenter หรือให้คนจำได้ ปัญหาคือ block ไม่ให้ brand อื่นเข้ามา ดังนั้นคิดราย term ว่าเท่าไหร่ บวกกับค่าเสียโอกาศ และกำหนดงบประมาณ อีกทั้งเวลาที่ชัดเจน เช่นใช้ได้เมื่อไหร่ ถีงเมื่อไหร่
  • do/dont:
    • do: ประสบการณ์การใช้จริง, บางครั้งเราต้องสู้กับ brand เช่นสถาบันการเงินมี 8 อย่างที่เป็นประโยชน์ เพจการเงินอาจจะพูดได้ แต่ถ้าไม่ใช่สายการเงินล่ะ อะไรที่ influence follower, มีความยืนหยุ่น, เป็นตัวของตัวเอง อย่าอิงกับ brand ให้ไม่ใช่ตัวเรา
    • dont: ยืดหยุ่นเกินไป, มี brand content มากเกินไป เราตัองมี original content มากกว่าครึ่งหนึ่ง เพราะ maintain follower, ส่งงานไม่ตรงเวลา

Agency list

AnyTag Marketplace มีระบบบอร์ดงานภายใน ไปตาม spectific ตามที่ลูกค้าต้องการ

fan funding

มีสายทำ content และ live stream ให้ใช้ tool บน platform ก่อน เช่น youtube membership เขาแชร์ให้เรา 70%

มี fan แล้วทำอะไรกับ fan บ้าง? อาจจะจัด fanmeet ง่ายขึ้น

และอาจจะใช้ 3rd-party อย่าง patreon และ kickstarter check ว่าคนสนใจไหม

merchandising & own brand

ทำแบรนด์ของตัวเอง เช่น Bearhouse

affiliate

brand มองแบบไม่ค่อยดีว่าเป็นการทำการตลาดที่ประหยัดกว่าจ้างทำ content เลยยังจ่าย commission ตํ่าอยู่

ลองดูว่าเราทำได้มากแค่ไหน สายท่องเที่ยวจะเหมาะกับทางนี้ มีพวก klook ที่เป็น affiliate

live commerce

บางช่องอาจจะไลฟ์ที่ studio และมีทีมงานหลังบ้านคอยบอกคิวด้วย

พอจบ session ทุกคนก็ได้ sticker ของทาง AnyMind ที่ทำแจกงาน YouTube Thailand ด้วยนะ

Creators & "We Power" for Change สร้างพลังการมีส่วนร่วม เพื่อ Social Values ของ Creators - อ.ไอซ์ Chula

อาจารย์ไอซ์อยู่ภาควิชาวารสารสนเทศน์และสื่อใหม่ มองสังคมเป็น base สื่อมีพลังอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใหญ่เท่ายุคนี้ สะท้อนจุดยืน คุณค่าเชิงสังคม

We Power สร้างพลังของการมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง?

สังคมมีเรื่องราวเยอะมาก เช่น ปัญหาสังคม เรื่องดี ๆ มีพื้นที่ในการบอกต่อมากขึ้น

เช่น นุ่งผ้าไทย ก่อนหน้านี้ใส่แล้วคนมองว่าเอ๊ะมีงานอะไรหรือเปล่า จนมีคนบอกเล่าเรื่องผ้า จากนั้นมีไลฟ์ขายผ้า เป็นการบอกต่อเรื่องดี ๆ บอกวิธีการใส่ผ้าไทย เป็นการเชื่อมผู้คนเข้าหากัน connect กัน เชื่อมคนที่อยากบอกเรื่องราวเหล่านั้น ให้คนมีปฏิสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า meaningful engagement และเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เพิ่มความมั่นใจในการสวมใส่ผ้าไทย ทำให้ social value ไม่ต้องใหญ่พอ แค่มี empower ทำให้ชีวิตแก้ pain point ได้ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง

หรือสงครามยูเครน ที่น้อยสื่อพูดเรื่องผลกระทบต่อประชากรในประเทศนั้น บางคนสายท่องเที่ยว เจอผู้คน เล่ามุมมองนั้น จนเกิด platform “Brave for Voices Ukraine” ที่จากเดิม creator ต้องหา funding ในการเดินทางเป็นการเชื่อม creator กับคนให้ funding ทำให้เกิดการ collabration share value ด้วยกัน

fan:

creator อยู่ภายใต้ ecosystem ของ fandom

เช่น กิจกรรมขับเคลื่อนสังคมจากแฟน Harry Potter อย่าง Fandom Forward มี tool ในการทำ social movement ทำให้เกิดการ connect experience และเป้าหมายบางอย่าง

หรืออีกอัน Climate Creators to Watch พูดเรื่องสิ่งแวดล้อม network ทำให้โตขึ้นได้โดยย่อยให้เข้าใจ เล่าให้ crative ทำให้คนเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น กระตุ้นให้คนมีส่วนร่วม และคนที่ทำให้สำเร็จ คือ creator ไม่ใช่ brand เกิด Facebook community มีคนจุดประกาย เห็น how-to ทำให้เรื่องที่ไม่ปกติ ให้ปกติมากขึ้น เพราะมีคนช่วยกันพูด

Participatory

วัฒนธรรมของการมีส่วนร่วม

prosumer = producer + customer → มีส่วนร่วม → สร้างตัวตน → อยาก connect กับเรา

เราสามารถเป็นได้ทั้ง content creator ที่สร้าง creative content ในสิ่งที่เราสนใจ มาเป็น community เดียวกัน และ influencer ที่มี follower ประมาณนึง ที่โน้มน้าว และให้ทำพฤติกรรมเดียวกับเราได้ และทำงานกับ brand ด้วย และทั้งสองมีความสามารถตรงกลางทับซ้อนกัน คือ ความสามารถในการมีอิทธิพลกับคนอื่น

ความสามารถในการมีอิทธิพล ประกอบด้วย

  • อัตลักษณ์: คนจำเราด้วยอะไร
  • การส่งมอบประสบการณ์: ให้เขารู้สึกว่าเรื่องที่เราพูด เป็นเรื่องเดียวกับเขา ทำให้เขาอยากฟังเรานานขึ้น ทำให้เป็นขาประจำ ดังนั้นเาควรจะมาคุยและอ่าน comment ของเขา
  • สร้างการมีส่วนร่วม: การพูดคุย platform มีช่องทางใดที่ทำให้คน engage กับเราได้ย้าง
  • ความสามารถกระตุ้นให้คนลงมือทำ: เช่น คนลงไปซื้อของ ไปกินร้านนี้ตาม ดังนั้นจะต้องมี content ประกบ และมี challenge ทำให้ call-to-action บางอย่าง

แล้วก็มาที่ canvas เนอะ มีให้เราลองทำลองคิดเรื่อย ๆ

Social Value

creator สามารถทำอะไรได้บ้าง?

  • สร้างการรับรู้: ว่าเราพูดเรื่องนี้
  • จุดประกายการสนทนา: มีคนพูดคุยในประเด็นเดียวกัน การที่คนด่า เพราะมีคนสนใจ เอา feedback มาปรับปรุง ส่วนอันที่ toxic ก็ไม่ต้องสนใจมัน
  • ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก: เอาคนมารวมตัว แล้วชวนกันคุย และทำอะไรบางอย่างด้วยกัน
  • เสริมพลังชุมชน
  • ทลาย stereotype เห็นความหลากหลายมากขึ้น

และได้ประโยชน์อะไรบ้าง

  • ทำให้ branding แข็งแรงขึ้น เกิด royalty
  • brand put social issue เราดูว่าเราสามารถ connect กับ brand ไหนได้บ้าง

เรื่องสิ่งแวดล้อม การศึกษา เป็นเรื่องยาก เล่าเป็นเรื่องง่าย และสามารถบูมขึ้นมา

research ว่าสนใจประเด็นไหนในสังคม ทำให้เขาเชื่อว่ามีพลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ มี how-to ที่สามารถเริ่มจากตัวเอง คนลังเลเพราะทำตามกระแส เราจะต้องเปลี่ยนจากดราม่าเป็นสาระ

Trend 2024

ต้องการให้ brand แสดงจุดยืนทางสังคม อย่างน้อย 1 เรื่อง ดังนั้นต้องการ creator มา collab

purpose-driven branding มี message ว่ามี social value อยู่ในมือ engage กับ content ที่มีความหมายต่อชีวิต และมีการสร้าง community หรือสร้างการมีส่วนร่วมหรือไม่

การมีส่วนร่วม ให้คนร่วมทำอะไรกับเรา เช่น ทำ challenge

level of engagement

attention เขาสำรวจเรา เราต้องดึงดูดความสนใจเขา → evaluation ดูแล้วอยากติดตาม → affection เริ่มมีปฏิสัมพันธ์ เกิด fan ที่ชัดเจน → advocate บอกให้ทำอะไรก็ทำ → collaboration ทำอะไรบางอย่างร่วมกัน

  • passive ดูแล้วก็ไป
  • active ดูแล้วกดแชร์ comment
  • prosumer มีคน generate content ต่อจากเราได้ เช่น fanart

เล่าเรื่อง ขยายประเด็น แบ่งปันประสบการณ์ เป็น Viral

brand มี project ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องให้ creator ช่วย

#hashtagmovement สรุปที่เราเรียนกันทั้งหมด

และใน session มีแจกหนังสือกับคนที่ยกมือตอบ ซึ่งยกมือกันมาล้นหลามมาก ซึ่งตัวหนังสือมีเป็น ebook ด้วยนะ

กรอกข้อมูลเพื่อ Download e-book: Digital Media and Audience Participation with Social Issues
กรอกข้อมูล กด submit แล้วจะมี Link ให้ Download หนังสือ
กรอกข้อมูลเพื่อ Download e-book: Producer’s Guide to Digital Participation
กรอกข้อมูล กด submit แล้วจะมี Link ให้ Download หนังสือ
CHULA MOOC
THAI Media Lab
THAI Media Lab. 1,209 likes · 6 talking about this. Thai Media Lab is where knowledge of media development is provided to encourage discussion

ส่วนอันนี้ที่เราเขียนบน canvas เนอะ

Alpha 7C II: Creator's Favorite Set - ปิงปอง Product Specialist (SONY)

อันนี้เล่าแบบสั้น ๆ ก็แล้วกัน เพราะมีเนื้อหาส่วน exclusive นิด ๆ ด้วยแหละ

ส่วนอันนี้เป็น set ถ่ายหนัง เอามาใส่ได้ 1 ฮา

ใน session นี้นำเสนอ 3 Creator's Favorite Set ด้วยกัน แต่ดันถ่ายทันมา 2 อัน แงงง ทุก set มา grip นะ

Pro Creator ยกระดับการทำงานจากมือถือ ไป professional กล้องรุ่นนี้เป็น chip AI แยก และมี soft skill ทำผิวเนียนเฉพาะจุด คิ้วยังอยู่นะ มากับเลนส์ใหม่ 1625 เหมาะกับสาย Vlog กว้างกำลังดี บวกกับไมค์ shotgun ที่ปรับองศาได้ด้วย ซึ่ง set นี้มีนํ้าหนักมากสุดถึง 1.2 kg

Beginner Creator ประกอบด้วยกล้อง full frame อย่าง ZV-E10 มิติภาพสวย หน้าชัดหลังเบลอ เปลี่ยนเลนส์ได้ ตัว focus ฉลาด อันนี้เป็น AI ยุคกลางที่ยังไม่ได้เป็น chip แยกนะ มี product showcase จับของที่อยู่หน้าสุดได้ และนํ้าหนัก แน่นอนเพิ่มลดตามเลนส์ที่ใส่ บวกกับ wireless เสียบหัวกล้อง รับเสียงได้ 2 คนด้วยนะ

Vlog Creator เหมาะสำหรับคนอยากพกอะไรเบา ๆ กล้องไมค์มีอยู่แล้ว ก็ใช้ไมค์เพิ่มเพื่อปรับทิศทางเฉพาะเสียงเราได้ อันนี้นํ้าหนักเบาสุด ประมาณ 500g

แล้วก็มี demo ของ feature Auto Framing ซึ่งก็ไม่ต่างจากเดฟแบบเราเลย เวลาซ้อมราบรื่น แต่ตอน demo จริงเกิดอะไรสักอย่างที่ไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ไม่เหมือนที่ซ้อมน่ะสิ แต่ทีมงานก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันได้ดี เข้า Microsoft Team แล้วแชร์หน้าจอจากตรงนั้นเลย ข้อดีคือเห็นตอนคุณปิงปองกดอะไรต่าง ๆ ที่กล้องด้วย เห็น action การใช้งานจริง

ทางนี้ถ่ายมาเป็นคลิป ซึ่งตัดคลิปรวมไว้หมดล่ะ ดูได้ที่นี่เลย


Inspiration Talk: How to Success ด้วยคอนเทนต์ที่จริงใจ - อิสระ RUBSARB

ตอนที่พี่อิสเดินมาบนเวที คือเสียงปรบมือดังสุด ๆ เข้าใจว่าทุกคนเป็นแฟนคลับ RUBSARB แหละเนอะ ขนาด session สุดท้ายทุกคนแรงยังเหลืออ่ะ ทางเราก็ได้ดูพวกพี่ ๆ มานานตั้งแต่แรก ๆ เลยแหะ

  • กระบวนการละคร ทำให้สำรวจตัวเอง เข้าใจตัวเอง
  • นอกจากละคร แล้วมีสื่ออื่นอีกไหม ก็เลยเจอ YouTube เลยทำคลิปเสียดสีสังคม
  • ตอนนั้นที่ทำตัดต่อเพราะว่าคอมแรง ไม่ได้รู้พื้นฐานการตัดต่อ และในยุคนั้นสื่อยังมีสคริปอยู่ เลยเลือก moment ความธรรมชาติของกลุ่มเพื่อน เลือกสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้ามานำเสนอ
  • สูตร: ความจริงใจ + ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เช่น พี่จอง คัลเลน หรือหนังจักรวาลไทบ้าน
  • วัยรุ่น vs โครงสร้างบริษัท: บริษัทโตขึ้น ก็เริ่มมีงานที่ต้องบริหาร ทีมขยาย มีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่ดันกอดงานตัวเองมากเกินไป ทำให้ burn out
  • ช่วงที่ burn out พี่อิสไปอเมริกา เริ่มสังคมใหม่ เป็น no-one และเริ่มทบทวนตัวเอง
  • การทำ road trip ซามุไรพเนจร ได้ตกผลึกบางอย่าง เข้าใจสาเหตุว่าทำไมพระจึงธุดง
  • เทคนิคการแก้ burn-out ขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละคน อาจจะลองเปลี่ยนสังคม หรือสิ่งแวดล้อมดู
  • การทำ RUBSARB ตั้งปณิธานว่าจะไม่ผิดพลาดแบบเดิม มองเป็นงานทีม แชร์กันมากขึ้น และเกิดการพัฒนางานร่วมกัน ตรวจงานจริงจังแค่บางชิ้น
  • มองเป็นพื้นที่ปล่อยของ เป็นที่ทุกคนรวมตัวกัน ถ้าเราทำคนเดียวอาจจะงอกตัวละครเพิ่มเพื่อลด load งานของเรา ดูว่าเพื่อนสนใจอะไร แล้วเอามาทำด้วยกันได้
  • สำหรับคลิป sponsor คนดูจะบ่น ตอนหลังคนขอบคุณ sponsor เพราะเริ่มเจ้าใจมากขึ้น ดังนั้นการเลือกงาน เราอาจจะต้องเลือกให้เหมาะกับเราด้วย ถ้าเราไม่เลือกเลย รับหมด บางครั้ง value เราอาจจะสูงกว่าค่าจ้างนะ
  • การยืนระยะได้ยาว เพราะธรรมชาติ คนดูโตไปกับเรา ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และคนดูได้รับความจริงใจกับเรา และที่สำคัญ เราสนุกกับการทำ content อยู่ไหม? เพราะการเปลี่ยน hobbie เป็นงาน อาจจะไม่สนุกเหมือนตอนแรกที่ทำแล้ว
  • content ของเรา มาจากตัวเองหรือเปล่า? เราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ หรือพึ่งพาคนอื่น อย่างมีแขกรับเชิญในรายการ
  • อีกสาเหตุที่ burn-out เพราะ algorithm ยอดหาย เรารับตรงนั้นได้มากแค่ไหน เช่นตอนไปไลฟ์ที่ Twitch บางคนอาจจะมองว่าไม่รัก platform ที่แจ้งเกิด ทำให้ยอดมีหายไปบ้าง

Q & A

  • หลักการการประเมิน value ของช่อง RUBSARB พี่จอร์จเป็นคนคำนวณตรงนี้ ในมุมมองพี่อิส จะเป็นยอด engage กับเอาราคา floor ของคนอื่นมาดูประกอบด้วย
  • ให้หาแก่น และ objective ของเรา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และ connect the dot
  • financial crisis: ต้องระวังเรื่อง fix cost ตอนขยายทีม จ้างแล้วเอาไปทำอะไร คือต้องจ้างคนเพิ่มคิดมากขึ้นกว่าเดิมนั่นแหละ ถ้าของฝั่ง RUBSARB ตอนที่แก้ มีเรื่อง art + royalty ออกมาเป็น merchandise แล้วก็เรื่องที่ไปไลฟ์บน Twitch
  • การทำงานกับเพื่อน: ต้อง setup กันให้ดี เช่น เรื่องเงิน การบริหารงาน ส่วนแบ่ง พูดคุนกันตรง ๆ และอาศัยโชคช่วยด้วย จากสถิติคือล้มเลิกไป 60% เลยนะ ถ้าในเคสนี้พี่อิสกับพี่จอร์จดูแลคนละส่วนแบบแยกกันเลย แบ่ง part การทำงานกันเลย ในเรื่อง ego เงิน การสื่อสาร หาทางออกไปด้วยกันให้ได้
  • ถ้าเราเริ่มจ้างคน เริ่มจากตรงไหนดี? หาผู้ช่วยเราให้ได้ และสร้างแก่นทีมให้แข็งแรงก่อน การทำ content ลงทุกวันอย่าง Subdar7 ทำกัน 3 คน คือพี่อิส พี่จอร์จ และคนตัดคลิป เงินที่ได้จาก platform มันจะพอดีกับ 3 คน

สำหรับวันที่ 2 ก็จะประมาณนี้เนอะ หลังจบ session ไปหาน้อง ๆ แต่ไม่เจอตัว และงานเขาจบแล้ว เลยมาเก็บบรรยากาศแทน

ทั้งหมดก็จะประมาณนี้ ทำ assignment ต่อล่ะ บัยยยยยย

อีก 2 สัปดาห์ที่เหลือเรียนอะไร ไปดูกัน

เรียนรู้ Design & Visual ในการสร้าง content ให้จับใจคน กับ iCreator Camp 2024 สัปดาห์ที่ 3
เมื่อ content ของเราแข็งแรงด้วย storytelling แล้ว สิ่งสำคัญคือภาพ ที่ทำให้สื่อสารไปถึงคนดูมากขึ้น
สัปดาห์การเรียนสุดท้าย ค่าย iCreator Camp 2024 กับเรื่อง Production & Platform
ทาง TikTok บอกว่า ใส่ hashtag อย่าปิดกั้นการมองเห็น เปิดการมองเห็น FYP เหล่านี้เพิ่มการมองเห็น ไม่ช่วยอะไรนะจ๊ะ

ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า

ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.