iCreator Camp 2024 วันแรกกับ Storytelling & Creativity

Content Creator May 20, 2024

iCreator Camp 2024 วันแรก กับการเรียนพื้นฐานการสร้าง content ทุกประเภท ด้วย Storytelling & Creativity

สวัสดีค่าทุกคน ตอนนี้ร้านซีร็อกของชาว web3 ได้เปิดทำการแล้ว หลังจากเป็นตัวแทนหมู่บ้านชาวคริปโต และชาวเดฟ กับการเป็น 1 ใน 100 creator ที่อยู่ในค่าย iCreator Camp 2024 presented by SONY ซึ่งพอกวาดตาไปดูเพื่อนร่วมค่ายก็ดันรู้จักคุณฟีฟ่า เพจ stationery on the table คนเดียวด้วยสิ ว้าวุ่นเลยไปค่ายเราจะเป็นยังไง อย่างน้อยอุ่นใจพอมีเพื่อนแล้วล่ะนะ

วันนี้เป็นวันแรกของ iCreator Camp 2024 กับ Storytelling & Creativity นั่นเอง ทีมงานเลยให้เราเข้าห้องเรียน 9:20 เพราะมีพิธีเปิดแหละ

การเดินทาง ลง MRT สามย่าน ออกทางออก 2 ซึ่งไม่แนะนำ เพราะต้องข้ามสะพานลอยกลับมาฝั่งที่ถูกต้อง รอบหน้าคงออกทางสามย่านมิตรทาวน์ ตรงนั้นเขาเปิดเช้าสุด 6 โมงเช้า แสดงว่าเราเดินไปดั้ยยย และเอาจริง ๆ มันไม่ไกลจากคณะนิเทศ จุฬา สถานที่จัดค่ายนี้ด้วยนะเออ ถ้าคิดจะสั่งกาแฟอาจจะต้องหาแนวทางแบบรับหน้าร้านเพิ่มอะไรเง้

มาถึงเริ่มมีชาวค่ายครีเอเตอร์มากันล่ะ แล้วก็ลงทะเบียนรับของ เจอคุณฟีฟ่า เย้ ไม่เง๋าแล้ววว ตอนเข้าไปนั่งก็ได้ทำความรู้จักครีเอเตอร์คนอื่น ๆ อยู่บ้างนิดหน่อย

ของที่ได้ก็มีป้ายชื่อ ที่ต้องเอามาทุกครั้ง ผ้าไมโครไฟเบอร์ของ GQ อันนี้ของดี เราใช้เช็ดหน้าจอยันแว่นอ่ะ

แล้วก็สติกเกอร์แบบเต็ม ๆ

ค่ายนี้มีการเรียนทั้งหมด 4 ครั้ง มีการทำ assignment ส่ง 2 ชิ้น และนำคะแนนงานเราทั้ง 2 มาคิดหาผู้ชนะกัน โดยการเรียนทั้ง 4 ครั้ง จะมี

พิธีเปิด

คุณเอ็มเล่าย้อนไป 12 ปีที่แล้ว ที่ตอนนั้น Content Creator ในไทยมีไม่ถึง 200 คน ออกจากงานประจำสาย Software Developer มาเป็น Content Creator เต็มตัว และเปิดบริษัท The Zero ขึ้นมา ในนั้นมีหลาย ๆ สื่อ หนึ่งในนั้นคือ Rainmaker นั่นเอง ที่มี goal ในการช่วยให้วงการ creator ในไทย แข็งแรงขึ้น และมีการผลักดันกฏหมายของวงการ creator ไทยในปีที่แล้วด้วย

จากการจัดงาน iCreator Conference พบว่าวงการ creator มีการเติบโตสูง แต่ก็เจอปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เลยเกิด camp ที่เป็นการศึกษา ให้ความรู้กับคนในวงการ creator เริ่ม plan ในปี 2022 จนได้ partner ที่แข็งแกร่งอย่างคณะนิเทศ จุฬา

อีกสิ่งที่ให้ความสำคัญสำหรับ camp นี้คงหนีไม่พ้นคนสอน โดยคัดเลือก 20 creator ที่สอนได้ และสอนเป็น ในส่วนนี้ใช้เวลา 4 เดือนเลยทีเดียว

และ camp นี้มีคนสมัคร 770 คน จนมาเหลือ 100 คนที่มาเรียนกันในวันนี้ (หาเราเจอไหม อิอิ)

ส่วนของ SONY ที่เป็น sponsor หลักเขามี booth แนะนำกล้อง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกล้องกับเหล่า creator ด้วยนะ ซึ่ง creator ก็เป็น trend ที่เขา focus ด้วยเช่นกัน

สิ่งที่เราจะเรียนในวันนี้ พร้อมแล้ว ลุยยยย!!!

บรีฟกฏกติกากันคร่าว ๆ อีกหนึ่งรอบบบ สำหรับใครที่ไม่ได้มา หรือชาวค่ายที่อยากทบทวน มาอ่านบล็อกเราได้เลย

Thailand's Creator Landscape & Social Media Algorithm - @Khajochi

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง แล้วเราจะสู้ในสนามนี้ได้อย่างไร

เราอยู่ในโลกที่มี creator เยอะมาก ทำ content video ไปแล้ว 3.1 ล้านคน และมีระดับมืออาชีพเกิน 2 แสนคน ที่มีรายได้

มาดูสถิติคนใช้ social กัน พบว่าตอนนี้ TikTok มีคนใช้อันดับ 2 รองจาก Facebook และมีการเติบโตที่มากขึ้นด้วย โตจน TikTok เริ่ม ๆ งงตัวเองว่าไปทางไหนดี ไปทาง shopping หรือ long form ดี

และ YouTube ประเทศไทย จะจัดงานครบรอบ 10 ปี 3 วันที่ EmSphere ด้วย

Social Media Algorithm

บางคนอาจจะสงสัยว่ายุค Social Media จบแล้วหรือยัง

ทำ content ยังไงให้คนชอบ และ algorithm หรือ AI ชอบด้วย ถ้า AI ไม่ชอบ คนอาจจะไม่เห็น content ที่เราทำก็ได้นะ

ยุคเปลี่ยนผ่าน social media

1) Social Media: อย่าง Facebook ตอนสมัครใหม่ ๆ ในบางช่วงเราจะเห็นภาพที่มีคนเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการหาคนเข้าไปใน platform แล้วให้คนแชร์หากัน จากคนสู่คน ส่งผลให้คนเข้ามามากขึ้น โดยเราเห็น content ที่เราติดตาม 85% และ AI suggestion 15%

แต่ปัญหาคือ social แยกคนออกจากกัน เราเห็นแค่สิ่งที่เราชอบ จะไม่เห็นอย่างอื่น จนมีเรื่องที่เป็นผลกระทบใหญ่ อย่างเรื่องการเมือง การเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกาในปี 2016 ที่ตอนนั้นฮิลลารี คลินตันน่าจะชนะ แต่เจอเรื่องข่าวปลอม ทำให้โดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทำให้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กขึ้นศาลรายเดือนเลยทีเดียว (

Tips: ถ้าใครอยากค้นต่อ มันคือเคส Cambridge Analytica แหละ ไปดูสารคดี The Great Hack กันได้ มีส่วนอธิบายให้เราได้เห็นภาพการทำงานของ Social Media ด้วย

2) Recommendation Media: เน้นใช้ AI เป็นตัวหลักในการกระจายข้อมูล ในการ suggest content ให้เรา อย่าง YouTube กว่า 50% ที่เราเห็น คือมาจากช่องที่เราไม่ได้ติดตาม อย่างพวกข่าว trend กระแสต่าง ๆ

หรือบน TikTok คือ For You นั่นแหละ โดยมี AI suggestion ถึง 85% เลยทีเดียว และมาจากช่องที่เราติดตามเพียง 15% ดังนั้นเราต้องเข้าใจเรื่องนี้มาก ๆ

ในฝั่งของ Social Media มีปัญหาในเรื่องของการ control ยาก เพราะแชร์จากคน แต่ก็มีข้อดีคือ ทำ content ไปสักพักยอดจะคงที่

ส่วนฝั่ง Recommendation Media ก็มีปัญหาเช่นกัน อย่างบน YouTube มีเรื่องของ content เด็ก ๆ ทำให้เป็นซึมเศร้า หรือคิดฆ่าตัวตาย เลยปรับกฏ AI ให้ follow ตามกฏหมาย COPPA เช่น content นี้ เป็น content สำหรับเด็ก ๆ จริง ๆ

อีกอย่างคือความขึ้นสุด ลงสุด อย่าง content นี้มีคนดูเยอะมาก อีกอันไม่มีคนดูเลย

สรุป Social Media เน้นคน มี Facebook, Instagram, LinkedIn, LINE VOOM ส่วน Recommendation Media เน้น AI มี YouTube Twitter(X) TikTok

ก่อนหน้านี้ Facebook มี AI suggestion 15% และมีการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ AI content เกิน 30% เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (นั่นน่าจะเป็นสาเหตุที่เราเจอเพจอะไรสักอย่างที่ไม่เคยสนใจ และติดตามผ่านหน้า feed นั่นเอง)

ดังนั้นทุก platform ใช้ AI ในการ suggest ของเหมือนกัน

How social media AI work

เวลาเราไถ feed บน Facebook เราลองนับดูว่ามาจากเพื่อนเราเท่าไหร่ เพจที่เราติดตามเท่าไหร่ และอันที่เราไม่ได้ตามมีเท่าไหร่ และต้องเป็นคนช่างสงสัย ว่าทำไม AI ถึง suggest อันนี้มา ถึง content จะดูเหมือน ๆ กันก็ตาม

ทำความรู้จักกับ channel ของ content

  • Channel Structure: ช่อง หรือ channel นี้เกี่ยวกับอะไร มองเป็น type of content เช่น channel นี้ลงภาพ ลงลิ้ง ลงวิดีโอ
  • Content Structure: content นี้เหมาะกับใคร กับอะไร

Channel Structure — AI Personalize Journey

AI เอาข้อมูลให้เราดู ว่าเราสนใจอะไร แล้วค้นหาลึกลงไป เช่น ชอบกีฬา → football → ชอบทีมนอก → Premier League → Man U → …

แล้ว channel ของเราเน้น mass หรือ niche ลึกมาก ๆ serve FC

  • Mass: สำนักข่าว ที่ลงข่าวกว้าง ๆ
  • Mid Level: ทำข่าวเฉพาะเรื่อง เช่น บันเทิง การเมือง เศรษฐกิจ
  • Niche: กลุ่ม fanclub

ซึ่งมันควรเป็นแบบใดแบบหนึ่ง ถ้าเราวางโครงสร้างไม่ดี จะสะเปะสะปะได้

เช่นเพจเรา Niche เราก็ลงกระจายกัน เช่น ใน 10 content ลง content เชิงลึกสัก 6 content ลงแบบกลาง ๆ สัก 3 content ลงแบบทั่วไปใครก็อ่านได้ 1 content

Content Structure — AI-suto generate sub

ถ้าเราเอาคำจาก sub ไป search จะเจอคลิปนี้ ซึ่งมันจับทุกคนพูดให้เราสามารถ search เจอ เช่นมีหลาย ๆ ช่อง podcast มาลงคลิปบน YouTube มากขึ้น

Inside Social Media Algorithm

สมมุติว่าเรา copy post เพจอื่นมา เพจเราจะได้ engagement เท่ากันหรือไม่? ไม่เนอะ

หรืออาจจะมีบางเพจคนตามเป็นล้านเลย แต่มีคน comment แค่คนเดียว เพราะอะไรกันนะ?

Algorithm ของ News Feed Visibility มี 5 ปัจจัยหลักด้วยกัน

1) Interest in the Page: ความสนใจเรากับเพจนั้น ยิ่งเราชอบมาก ยิ่งเห็นบ่อย

2) Type of Content: เป็น content ประเภทใด เช่น video ของเราความยาวเท่าไหร่, photo, photo album, link ซึ่งมียอดที่ตัว platform อยากดันไม่เท่ากัน อย่างเมื่อก่อน Facebook ดัน photo album มาก ทุกเพจทำหมด แต่เดี๋ยวนี้ดัน text template บางทีก็สงสัย เราจะมีกราฟฟิกไปทำไม ;-;

3) Recency: ความปัจจุบันของ content ที่เราเพิ่งโพสไป เช่น Twitter ที่เราเห็นแค่เหตุการณ์ล่าสุด แต่ Facebook เราจะเห็นโพสเมื่อ 7 วันที่แล้ว

4) Past Page Performance: คุณภาพของช่องเราในอดีตกาล

สมมุติ ทำเพจขายของ ลงรูปขายของแล้วแป้ก เลยมาจ้างอินฟูทำคลิป แต่ระบบไม่รู้ว่าเป็นคลิปของอินฟูชื่อดังนะ แต่มันมองเป็นไฟล์ mpeg มีขนาดเท่าไหร่ มีความยาวเท่าไหร่ แล้วดูจากของเดิม ทำให้คนมองเห็นน้อย หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปิดการมองเห็น ใส่ #เปิดการมองเห็น ก็ไม่ได้ช่วยอะไรนะ

แต่ถ้าเพจอินฟูที่ engagement ดีมาโดยตลอด จะเปิดให้คนเห็นเยอะไปก่อน ภาษาชาวบ้าน คือ เปิดการมองเห็น แล้วตัดสินจาก performance หน้างานอีกที

แล้วถ้าเพจเรา engagement ยังไม่ดี จะแก้ยังไง?

5) Post Performance: คุณภาพของโพสที่เพิ่งโพสไป

เช่น เพจหลักแสน ทำ content photo album กด post ไปปุ๊ป จากนั้นมันหาคนกลุ่มนึงมาดู post นี้ก่อน ซึ่งมี size ไม่เยอะ เรียกว่า Sample Target ให้คนกลุ่มนี้ดูแล้ววัดทุกอย่างที่เขาทำในเพจนี้ เช่น ดูนานไหม กด like หรือเปล่า คอมเม้น แชร์ อะไรงี้

จากนั้นเอาไปคำนวณ score ว่าเยอะพอไหมที่ AI จะส่งต่อ content ของเรา ให้คนเห็นมากขึ้น ถ้า score ไม่พอ มันก็จะพอแค่นี้ แต่ถ้าคนดูมากกว่าปกติ ก็ส่งต่อกลุ่มที่ 2 ที่มีปริมาณ target มากกว่าเดิม 3 เท่า! และส่งต่อไปเรื่อย ๆ

ตัวอย่างในชีวิตจริง เช่น ไถ feed เจอเพื่อนที่เราไม่ได้เจอนานเป็นปี ๆ กับเรื่องราวต่าง ๆ ของเขา เช่น ติดโควิด แต่งงาน มีลูก เราจะเห็นโพสเขามีคนสนใจเยอะมาก เพราะเราเป็น wave ท้าย ๆ ของเขา แต่ถ้าเราได้ engage กับคนแรก ๆ เราเป็น sample target กลุ่มแรกของเขา

Demographic ไม่สำคัญ

อยู่ที่ว่าเราโพสอะไร ดูความสนใจ เช่น brand จ้างคนรีวิว product ความงาม มีตัวเลือกเพจ A 20,000 like จ้าง 30,000 บาท และเพจ B 100,000 like จ้าง 35,000 บาท บางคนอาจจะเลือกเพจ B เพราะเลือกแล้วคุ้มกว่า แต่จริง ๆ แล้ว ให้ดูจำนวนที่ส่งผลไปเป็นเท่าไหร่

ซึ่งส่วนใหญ่ทำเพจแค่เรื่องนั้นเรื่องเดียวไปเลย เช่น คุณ BoomTharis ทำเรื่องเกี่ยวกับอสังหา แล้วเปิดช่องอาหารแยกออกมา

แต่ละ social media มีนิสัยที่ต่างกัน ดังนั้นการคิดจะต่างกันด้วย

  • Facebook สนใจ Post Performance กับ Past Page Performance และ Instagram สนใจเหมือนกัน เพราะเจ้าของเดียวกันอ่ะเนอะ
  • Twitter เน้น Post Performance กับ Recency เน้นความ up to date หมั่นดู trend ทุก 3 ชั่วโมง และมี performance ดีมาก ๆ ถึงไปได้ไกล
  • YouTube ดู Interest in the Page ว่าเรากด subscribe ไหม ในคลิปเราจะเจอความยํ้าให้เรากด subscribe ช่องเขา เพราะมีผลมากจริง ๆ บวกกับ SEO ทำให้คน search เจอคลิปเราช่วงนั้น ๆ อีกด้วย
  • TikTok ดู Post Performance + Recency + การดูคลิปนั้นซํ้า ๆ ด้วย

ดังนั้นให้เราลองไปศึกษาเพิ่มว่าเราถอด content ของเราออกมาอย่างไร

และสุดท้าย (มีคนแข่งกับพี่หนูเนยในด้านนี้ล่ะนะ555)

Unlock Identity to Creative Storytelling ปลดล็อกความเป็นตัวเอง สู่การเล่าเรื่องที่เข้าใจคนดู - BoomTharis

สิ่งที่คุณบูมสังเกตุได้ใน content creator industry ใน 10 ปี ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคนในห้องที่พบเจอในประเด็นเหล่านี้ อันนี้เขา disclaimer ไว้จ่ะ

ก่อนอื่นเลยมี poll และ discussion กันก่อนเริ่มเรียน คนอ่านคิดไปในใจได้นะ

  • มาจาก platform ไหน: ส่วนใหญ่ที่ยกมือตอบกันก็จะเป็น YouTube, TikTok, Facebook, Instagram, Twitter ประมาณนี้
  • คุณทำ content อะไร?: (เพจ MikkiPastel เป็นเพจที่ส่งเสริมให้ทุกคนเรียนรู้ hard skill และ soft skill เพื่อให้ทุกคนได้ to the moon ไปพร้อมกัน ซึ่ง hard skill ก็คือเรื่องการเขียนโปรแกรม หรือ software development และ soft skill ก็มาช่วยเสริมให้เราทำงานกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น)
  • คุณทำให้ใครดู?: (หลัก ๆ เป็นชาว developer ที่เขียนโปรแกรมนี่แหละ รวมไปถึง newbie หรือคนที่สนใจสายงานด้านนี้ด้วย)

ในส่วน คุณทำ content อะไร? กับ คุณทำให้ใครดู? ก็จะมีอาสาสมัครขายของฝากร้านกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จำได้มีเพจออกกำลังกาย เพจ JapanSalaryman (อันนี้ไถทวิตมาเจอบ่อยอยู่นะ) เพจ touchball เกี่ยวกับวอลเลย์บอล แล้วก็เพจช่างรังวัด ที่บางคนอาจจะคิดเวย์ธรรรมะ แต่จริง ๆ วัดจริง ๆ แบบ measurement นะ ดังนั้นสนาม online เป็นสนามเด็กเล่นให้คนดูเยอะมาก

เราทำ platform ไหน ใครดู เราถนัดหรืออยากสื่อสารอะไร → platform คนดู และตัวเอง ถ้าเราเข้าใจ 3 อย่างนี้ ทำให้เราทำ content ได้สำเร็จใจระดับหนึ่ง ส่วนลูกค้าอาจจะเข้าใจยากหน่อย เลยยังไม่พูดถึงเนอะ

Platform

เป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายสุด เพราะ human mess และเรื่อง create space ที่แต่ละ platform มีวิธีการลง content ต่างกัน เพราะ UI ออกแบบให้เราพอ get ในระดับหนึ่ง ยากแค่วิ่งตาม algorithm ในแต่ละ platform

มาดู quiz ว่าต่างกันอย่างไร

  • photo album: Facebook vs Instagram
    • Facebook ขึ้นพร้อมกัน 4 - 5 รูป เน้นให้ดู caption ก่อนดูรูป (อีกอันที่ทางนี้คิดได้ก่อนคือ ลง caption แต่ละรูปได้)
    • สำหรับ Instagram รูปแรกสำคัญ ลงได้มากสุดแค่ 10 รูป และ caption สำคัญน้อยกว่าเพราะเน้นรูป
  • short video: TikTok vs Instagram vs YouTube / แต่ไม่ได้พูดถึง facebook reel แหะ
    • TikTok เป็น OG (original gang) ในด้านนี้
    • Instagram อยู่ใน feed ให้ความสำคัญกับ creator เพราะเน้นว่าใครเป็นคนทำคลิปนี้
    • YouTube ลอก TikTok มา แต่มันสามารถแทรก link video ของเราในนั้นได้ และมีการเลือก content ที่จะอยู่ในหน้า home ด้วย
  • long-form video: YouTube vs Facebook / ส่วน TikTok มันเป็นแนวนอน
    • ต่างกันที่หน้าแรก search กับ feed เราจะได้วิธีคิดที่ต่างกัน อย่าง search เป็นการเอา content อะไรกลับมา หาแล้วได้ผลลัพธ์ตรง ๆ กับ feed ที่เน้นเม้าคุยกับเพื่อน และ content ที่คนสนใจหรือแชร์เยอะแค่ไหน สร้าง engagement ให้คนดู

คนดู

เราเดาใจเขาไม่ออกว่าเขาอยากดูอะไร เช่น สิ่งที่ work วันนี้ พรุ่งนี้ไม่ work แล้ว หรือในอดีตไม่ work แต่วันนี้ work

การกำหนดขอบเขตคนดูเป็นสิ่งสำคัญ เรียกว่า target audience เนอะ

เป้าหมายคนดู เป็นคนหมู่มาก หรือทุกคนได้ไหม? เป็นได้ เช่นเล่นกับกระแสต่าง ๆ อย่างสำนักข่าว ซึ่งมี pool ใหญ่กว่า 70 ล้านคนทั่วประเทศ แต่ตามกระแสมันก็จะเหนื่อยนิดนึง

เช่นของ The Standard มีแยกช่องย่อย เช่น The Standard Wealth เน้นเรื่องการเงิน The Standard Pop เน้นเรื่องบันเทิง แต่เรามี resource ไม่พอ ไม่เท่าเขา ดังนั้นให้เริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ พอ แล้ว target เฉพาะกลุ่ม

เริ่มจากเราเลือกกลุ่มคนดูที่เราอยากได้ก่อน

  • ใหญ่(พอ): สื่อสารให้ mass
  • ชัด: กลุ่มนี้คือกลุ่มไหน และคนดูบอกได้ว่าเขาคือกลุ่มไหน เช่น วอลเลย์บอล
  • สะดวก: เราสะดวกคุยกับคนกลุ่มไหน เกี่ยวกับตัวเอง เน้นความสนใจ

Interests: อินฟูค่อย ๆ เอาคนเหล่านี้มารวมกัน เช่น เมื่อก่อน gadget เป็นกลุ่มเล็ก เป็น niche แล้วมารวมเป็นก้อนใหญ่ และมีบางกลุ่มที่สลายไป เช่น เครื่องเสียง ตอนนี้เหลือแค่ลำโพงแบบพกพา ซึ่งก็ไปกลุ่ม tech

ดังนั้นมันจะมีความ dynamic เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เราจะต้องหากลุ่มใหม่ สร้าง community ของเราเอง เช่น

  • โคตรคูล แรก ๆ คนอาจจะดูเพราะพี่โอ๊ต แต่ในนั้นตอนนี้มีหลายรายการ มีความสนใจแต่ละอน่าง แต่มารวมกันในช่องเดียว เป็นคาแรคเตอร์ หรือ vibe ของคนดูมากกว่า
  • หมอกลาง หอสมุดแห่งชาติ อันนี้บอกไม่ได้ว่าช่องนี้เน้น content อะไร แต่ขายความเป็นคาแรคเตอร์ หรือ vibe อีกแบบนึง เช่น ดูแล้วสบายใจ เข้าใจง่าย

คนดูไม่ต้องกลุ่มใหญ่มากก็ได้ แต่ต้องใหญ่พอ และชัดพอที่จะบอกได้ว่ามันคือกลุ่มไหน และมันไปได้ไกลกว่าวงกลม ไม่ได้มีแค่มิติเดียว ต้องมีความใหญ่และชัดพอ เช่น

  • Sandwish Media คุยเรื่องรถแบบเชิงลึก
  • 8 minute history รายการ podcast ที่พูดเรื่องประวัติศาสตร์ พอมี talk show ออกมาบัตรขายหมดในวันเดียว
  • Buffalo Gags จากมุขควายมาเป็นรายการสัมภาษณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • The Common Thread พูดเรื่องอาชญากรรม คดีลึบลับ ซึ่งคุณฟาโรห์เรียนด้านอาชญวิทยามา
  • กอล์ฟมาเยือน เกี่ยวกับการถ่ายภาพเนอะ (เดี๋ยว week3 ชาวค่ายจะได้เรียนกับคุณกอล์ฟด้วยนะ)

ดังนั้นมันต้องชัดมากพอว่าเราอยู่กลุ่มไหน community เป็นสังคมที่เรารู้จัก และ confort ที่เราอยากเข้าไปร่วมด้วย (ทางนี้นึกไว ๆ ก็น่าจะวงการ NFT แหละ) และ build ใหญ่ ยิ่งชัด ยิ่งดี

แล้วเราจะขยายกลุ่มคนดูยังไง case study คือ 9arm จาก game caster เปลี่ยนเป็นมาเล่าเรื่อง tech ที่เข้าใจง่าย เนื่องจากเรียนต่อด้าน technology ที่อเมริกา จนขยับมาเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เป็น tech ด้วย จนมาเรื่องประวัติศาสตร์ของวิทยาการ tech ในอดีต

เกิดจากการค่อย ๆ setup ค่อย ๆ เปลี่ยนแล้วต้อนมารวมกัน ทำให้ลง content อะไรไปมีคนดู และสัดส่วนยอด view สอดคล้องกับผู้ติดตาม คือยอด view ประมาณ 30 - 40 % ของผู้ติดตาม

ตัวเอง

ถ้าอยาก success ให้ทำ content ที่ “ เป็นตัวเอง ”

แล้ว “ ตัวเอง “ เป็นยังไง ให้ “ คนอื่น “ ตอบ จะได้ไม่เสียเวลา

เรารู้ว่าทำ content ให้คนอื่นดูยังไง เน้นสนใจคนอื่น แต่อยากขายตัวเองด้วยล่ะสิ

เช่น แคกตัส เราจะคุยเรื่องนี้กับใครที่ไหน คุยกับเพื่อนที่ไม่ได้สนใจแคกตัส หรือคุยเรื่องแคกตัสที่งานแคกตัส

คิดว่าเราคุยเรื่องอะไร แล้วคนอื่นสนใจที่เราพูดไหม แล้วเราต้องสนใจตัวเองแค่ไหน ให้ดูว่าเราคุยกับคนกลุ่มนี้สะดวกหรือเปล่า เช่น

  • Cullen HateBerry เป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ จากพูดไทยไม่ได้ จนพูดไทยได้ ค่อย ๆ เริ่ม pivot ไปเรื่อย ๆ
  • HEARTROCKER สตรีมเมอร์ที่ยังไม่เปิดหน้า ที่ล่าสุดเล่น Ring Fit ที่เรามองจากจอเกมส์แหละ
  • Farose สึสดีค่าาาา และนี่คือรายการไกลบ้าน คำเปิดรายการที่คุ้นเคย แต่ละตัวละครทุกคนจำได้ และมีคนดูที่เหนียวแน่น
  • Antihero Thailand เป็นช่องฟุตบอล ที่จุดขายหลักคือสเตฟานนั่นแหละ
  • BoomTharis มีการแนะนำช่องตัวเอง ในแง่ฉันสะดวกทำ content แบบนี้ ชอบทำ content แบบงานคราฟ จะให้เลิกเปิดประตูห้องก็ทำไม่ได้จริง ๆ ฟีลมันไม่ได้ 555

เราเป็นคนเลือกก่อนว่าจะทำ content อะไร แล้วคนดูกับ platform ให้ feedback เราว่าอยากดูอะไร

Q & A

พอดีเวลาเหลือ เลยมี session Q & A ที่มีคำถามที่น่าสนใจจากเพื่อน ๆ

  • คุณบูมเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการ pre-production งานมากกก ตั้งแต่ลงสถานที่ เขียนสคริป การ transition shot อะไรใด ๆ
  • storytelling บอกว่าเราเล่าเรื่องอะไร เก็บไคลแม็กซ์ไว้สุดท้าย (คือสิ่งที่คนดูอยากรู้) มี call-to-action เช่น จบคลิปแล้วชอบอันไหนมากที่สุด เล่าทีละ part เอา step ไกลตัวเข้าใกล้ตัว อย่างของวันนี้คิดว่าคนเราอยากรู้จักตัวเองมากที่สุดเลยไว้ท้ายสุด และมีการขึ้นสไลด์ซํ้า ๆ ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบนะ ถ้าแบบ long-form เรารู้ plot เรื่องแล้ว อย่างหนัง super hero คนอยากรู้ว่าตัวเอกเอาชนะตัวร้ายยังไง ปล่อยพลังอะไรออกมาบ้าง moment ต่าง ๆ ระหว่างทาง ทำให้หนังสนุก สำหรับอันนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย แหะ ๆ
ปรับวิธีการเป็นนัก storytelling ที่ดีกับ บูม ธริศร และ เคน นครินทร์
บล็อกสรุปการเรียนสัปดาห์แรกของ TMRW Creators Camp 2021 ในหัวข้อ STORYTELLING โดยบูม ธริศร และ เคน นครินทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564 จ้า
  • เรื่องรายได้ ขึ้นกับ scale ที่เราจะทำด้วย

ต่อมามื้อกลางวันที่แสนจะราบเรียบ และไม่รู้จะแชร์อะไรกับเหล่าชาวบ้านร้านซีร็อกดี

แล้วก็ขึ้นมาไวนิดนึง เลยมาดูกล้อง ทั้ง ๆ ที่ ไม่ได้ใช้เลยยยยยยย

แต่ความฮาคือตอนกลับบ้าน ไถ feed เจอยิง ads กล้องอันนี้คืออะไร

แล้วก็เจอ creator อดีต Android Developer มาทำ TikTok ช่องของกิน ซึ่งดีแล้ว555


Shoppertainment การ F ของแบบใหม่ที่มาเปลี่ยน แปลงวงการ E-commerce - แอ๊ม การตลาดการ เตลิด

คุณแอ๊มทำ agency การตลาดที่เปิดมา 10 ปีแล้ว และเป็น creator ด้วย ทำเพจโกดังหนัง แล้วมาทำ TikTok ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ทุกคนรับงานจาก Agency ซึ่งเขาเอา profile เราไปเสนอ brand จำนวนนึง

ใน session นี้พูดถึงประสบการณ์ และความถูกต้องกัน

รายได้ของครีเอเตอร์ ในยุคนี้

รายได้มาจาก 3 ช่องทาง คือ Affiliate, Brand, Product

เช่นเพจโกดังหนัง ทำเกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้รายได้จาก brand ที่เป็นโรงภาพยนตร์

ข้อเสียคือการรอคอย ที่เราไม่สามารถประมวลผลเวลาได้ ทำให้เราไม่สามารถคำนวณรายได้รายเดือนได้

การออก product มาขาย คนตาม 10,000 คน 100,000 คน 1,000,000 คนถึงจะได้ แต่ออกมาแล้วไม่ปัง เพราะเก่งทำ content แต่คนไม่เข้าใจสินค้าของเรา และเราก็ไม่เข้าใจตลาด

Affiliate เมื่อก่อนทำกันกับของ Amazon เพิ่งเริ่มมาง่ายไม่เกิน 2 ปี เพราะ TikTok Shop

ดังนั้นถ้าอยากรวยเริ่ดต้องทำ 3 อย่างนี้

อะไรคือ Shoppertainment

Shoppertainment = Shopping + Entertainment เป็นการอวยยศ Social E-commerce

ทำยังไงให้คน entertain → ทำคลิปรีวิวให้คนอยากซื้อ ป้ายยาด้วยสินค้าหรือบริการที่เราไม่เคยอยากได้มันมาก่อน มีการปักตะกร้าบนคลิปด้วย

การซื้อของในยุคก่อนและยุคนี้ต่างกัน ยุคก่อนซื้อสินค้าที่เราอยากได้ แล้วเดินไปซื้อ ส่วนยุคนี้ เขาขายให้เราอยากกดซื้อ ทั้ง ๆ ที่เราเองก็ไม่เคยคิดอยากได้มาก่อน 555

แล้วการซื้อของ online ยุคนี้มี

  • Social Commerce: เช่น บน Facebook, LINE Shop สมมุติเราเจอ ads บน Facebook แล้วอยากซื้อ ก็ทักแชท ถ้าไม่มีคนตอบก็ทำให้การขายไม่เกิด
  • E-Marketplace: เราต้องอยากได้สิ่งนั้นก่อน เช่น การซื้อบน Shopee, Lazada เป็นการ search & buy

ดังนั้น content ป้ายยาบน TikTok สามารถดูและซื้อได้เลย นอกจากจะเป็น play & buy แล้ว ยังมี search & buy อีกด้วย คือ search แล้วเจอ video รีวิว

Shoppertainment ทำได้ 3 วิธี คือ video ที่เราเห็นภาพมากสุด, live, picture อย่าง Facebook แล้วมีบางสินค้าที่กลับมา boom ใน TikTok ทำให้ชีวิตดีขึ้น

การมาถึงของ Short Video ทำให้ Shoppertainment มาแรง และ 85% ของนักการตลาด เห็นตรงกันว่า Short Video เป็น Format ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เราจะตาม trend และสร้าง branding ยังไง?

ถ้า platform เน้นอะไร ให้เราตามมันนิดนึง

สถิติที่น่าสนใจ คนอีสาน shop บน TikTok เฉลี่ย 4,000 บาทเลยทีเดียว

ตะกร้าเหลืองบน TikTok เพิ่งมาประมาณ 1 ปีครึ่งเอง และคาดว่าอีก 2 - 3 ปี ยังคงเป็น trend แบบนี้อยู่

การทำ Shoppertainment ให้ show don’t sell คือ Give Before Take ไม่เน้นที่การขายของ แต่เป็นการให้ลูกค้าก่อน ไม่ว่าจะเป็นความสนุก ความรู้ แล้วลูกค้าจะมาซื้อของเอง เป็น strategy ของ Shoppertainment

อย่างคนนี้น้องมดเก็บไข่ไก่ มี content สปาเท้านางซิน ที่ทำสปาเท้าให้ชาวบ้าน

ส่วน Live Commerce ก็มาแรงมาก ๆ เช่นกัน มีการ live สนุกสนาน เม้ามอย แสดงสินค้า live บน Facebook ยาก ส่วนบน TikTok live แล้วขายได้เลย

บน TikTok สามารถซื้อของได้ 3 ที่ และแต่ละที่คนซื้อเฉลี่ยใกล้เคียงกันด้วยนะ มีในคลิป, shop tab เป็นการ search & buy และใน live

และตอนนี้ TikTok มี feature เอา url หน้า shop ที่เราทำ Affiliate มาส่งให้ใครก็ได้ เช่น ส่ง link review keyboard

การ search บน TikTok ใช้ SEO หาเชื่อมได้ และยัง suggestion search ให้เราเพิ่มเติมด้วย

ปัญหาที่ creator ทำ Shoppertainment ไม่สำเร็จ

  1. Creative: creator งงกับการขายของ หามุมมองในการขายไม่เก่ง คนได้เยอะ ๆ คือคนที่ใช้จริงแล้วมาทำคลิปรีวิว แนวทางคือซื้อทุกอย่างที่ดูจบและอยากได้ และเอามาทำ Affiliate ตั้งโจทย์ว่าเราต้องทำได้มากกว่าราคาสินค้านั้น ๆ ที่เราซื้อ
  2. ความต่อเนื่อง: เรามักจะเลิกล้มก่อน เราต้องอดทนและพยายามในการทำไปเรื่อย ๆ ถึงตอนแรกจะไม่ได้ก็ตาม
  3. คุณภาพและความเชี่ยวชาญ: คนขายสินค้ากระแส แต่ไม่ได้เชี่ยวชาญในของสิ้งนั้น และอาจจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับเรา

Creator ทำ TikTok shop ล้าน account เลยต้องสู้ด้วยคุณภาพของ content ทำให้ creator ไม่ง้องาน brand เช่น มีคนนึง live ขายสินค้าที่มี Affiliate สูง อย่างอันนี้ขายราคา 1,970 บาท ได้ค่าคอม 300 บาท ทำได้เดือนละล้าน ทำทุกวัน วันละ 3 รอบ จนซื้อตึกได้

ตัวอย่างจากเมื่อกี้ น้อง Moreno ค่าคอมเป็น 10% ของราคาสินค้า ได้ 15.90 บาททุกการขาย

Affiliate Model: creator สร้าง content และปักตะกร้า มีคนซื้อของได้ค่าคอม ตัว brand จะ fix ค่าคอมไว้ ถ้า TikTok มีคนตามมากกว่า 100,000 จะมีอำนาจในการต่อรอง ขอค่าคอมเพิ่มจาก brand ได้ เพราะเขาสามารถ set ค่าคอมเฉพาะคนได้ ส่วน user ดู content แล้วก็ซื้อของ

วิธีการสร้างรายได้

มี 4 วิธี คือ ทำคลิปสั้น ไลฟ์สด อันนี้แบบปกติ

แล้วก็มีทำตะกร้าติด SEO ทำให้คลิปติด SEO ได้ ทุกครั้งที่มีคน search คลิปของเราจะขึ้นมา ดังนั้นถ้าคลิปแรกที่เรา search เราสามารถดูแนวทางเขาว่าเขาทำยังไง เช่นพวกวิธีการเล่าเรื่อง การติด hashtag ทำให้ขายของได้เรื่อย ๆ ให้ copy & develop นะ

อีกวิธีคือยิง ads คลิปตัวเอง

สินค้าที่น่าสนใจสำหรับ creator

  • สินค้าขายดี: ขายของที่เป็นกระแส มีคนรู้จัก product นี้
  • สินค้าที่มีความเกี่ยวโยงกับเรา: เราเกิดมาเพื่อใช้สิ่งนี้!
  • สินค้าที่ให้ค่าคอมสูง: อย่างพัดลม item หลักในช่วงนี้
อันนี้เป็นทริคเล็กน้อยกับการซื้อของให้ได้ราคาที่ถูกลง คือ เราและเพื่อน support ซึ่งกันและกัน เราอยากซื้ออันนี้ก็ให้เพื่อนทำ content ของอันนี้ แล้วเราก็ไปซื้อจากตะกร้าเพื่อน ส่วนเพื่อนก็เหมือนกันทำ content ของที่เพื่อนอยากได้ ปักตะกร้าให้เพื่อนมาซื้อของเรา

และ promotion แรงเมื่อเป็น platform ที่มาใหม่ อย่าง TikTok ให้ค่าคอมสูง ทำให้คนอยากซื้อ

เช่น สินค้าดี คนบอกต่อ มีคลิปรีวิว และดูด้วยว่าสินค้านั้นมีคะแนนและรีวิวเป็นยังไงด้วย เช่น ของคุณแอ๊มออกหนังสือ "เอะอะ! อะไรก็ ติ๊กต๊อก" มีช่องอุ้มซ่า สตูดิโอ ช่วยรีวิวให้ด้วย

ถ้าใครซื้อเล่มนี้มาอ่าน ทำ content รีวิวปักตะกร้าได้น้า ถ้า content ของเราดีจริงเดี๋ยวคุณแอ๊มช่วยยิง ads ให้

61% ที่ขายได้ มาจาก creator มาช่วยขายให้ ดังนั้น brand ฟัง creator และดูแล creator ดุจญาติมิตร เพราะต้องพึ่งพา creator

ตัว brand เองออกสินค้ามา คำนวณค่า Affiliate ว่าให้เท่าไหร่ และ brand ใหญ่ลงมาใน TikTok มากขึ้น และ focus กับช่องทาง TikTok เป็นอย่างมาก

5 Trick ทำให้ประสบความสำเร็จ

  1. ต้องเข้าใจสินค้าอย่างถ่องแท้ ว่าสินค้านั้นเกิดมาเพื่ออะไร สําหรับใคร โดดเด่นอย่างไร: เข้าใจสินค้า ว่าราคานี้ขายใคร คนกลุ่มนี้เป็นยังไง สินค้ามีความโดดเด่นอย่างไร
  2. ต้องรู้จักรู้ใจกลุ่มของคน ที่เราจะขายสินค้าให้ ว่าเค้าขอบเสพคอนเทนท์แบบไหน ไม่เสพคอนเทนท์แบบไหน: รู้ใจคนซื้อของอันนี้ ชอบเสพ และไม่ชอบเสพอะไร
  3. ทําชิ้นงานที่ป้ายยาเข้าใจเข้าถึง PainPoint หรือ โอกาส ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ และสินค้าเราช่วยได้: pain point ที่ต้องใช้ product นี้ และตอบโจทย์ในเรื่องอะไร
  4. ถ้ามั่นใจว่าทําขึ้นงานปังแล้ว เข้าใจคนแล้ว คุณภาพจิ้งแล้ว แต่คนยังไม่ดู แนะนําว่า ให้ยิงแอด เลย 1 กรุบ: ทำดีแล้ว แต่คนไม่ดู ให้ยิง ads ถ้าขายได้จะตอบโจทย์เราได้
  5. วัดผลและทําซ้ำตามสูตรนี้ ไปเรื่อยๆ ทําแบบนี้สัก 10 ครั้ง จะเจอ Hero Ads จากนั้น
    จะขายได้ตลอดไป: ลองหาสินค้า 10 ตัว จนเจอ hero ads แล้วเราจะขายของได้ตลอดไป

สรุป Shoppertainment คือการทําให้คนซื้อสินค้า ที่เค้าไม่เคยอยากได้มาก่อน

Creative Interview for Alternative Storytelling สร้างสรรค์บทสัมภาษณ์เพื่อเรื่องเล่าที่สร้างสรรค์ - เบลล์ Capital

ปกติคุณเบลล์สัมภาษณ์ด้วยเลนส์ของความเป็นสื่อ และการสัมภาษณ์ เป็นทักษะกระดูกสันหลังของสื่อ

หนังสือรวมบทสัมภาษณ์ หนังสือเกี่ยวกับทีมเลสเตอร์ซิตี้ และหนังสือของแลกของงานเดี่ยว สิ่งที่เหมือนกันคือ มันเชื่อมโยงกับงานสัมภาษณ์

ทักษะการสัมภาษณ์สำคัญยังไงกับคนทำ content?

บาง content เกิดขึ้นได้โดยการสัมภาษณ์ ใช้ทักษะการสัมภาษณ์ในการเล่าเรื่อง

เช่น lifestyle content อย่างป๊าเต็ดทอล์ก, people you may know ไปทางรายการ talk จริงจัง, สารคดี Backham มีการนั่งคุย สลับกับ exclusive footage และบางรายการในกระบวนการผลิต มีทึกษะการสัมภาษณ์ซ่อนอยู่

แล้วการสัมภาษณ์ช่วยเราได้อย่างไร?

  • ช่วยสร้างทางเลือกในการเล่า เช่น ชวนคนมาแชร์ประสบการณ์
  • ช่วยเล่าเรื่องที่เราไม่ถนัดได้ ทำให้เราเชี่ยวชาญเรื่องนั้นได้เร็วขึ้น ถามคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นหนึ่งในวิธีการเอาข้อมูลมา
  • เป็นวิธีหาข้อมูลที่ดีที่สุด บางทีเราหาข้อมูลจากไหนก็ได้ แต่บางเรื่อง search Google ไม่เจอ ต้องถามผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จริง ๆ เราถึงจะได้ข้อมูล

ความยากของการสัมภาษณ์

เป็นงานระหว่าง มนุษย์ กับ มนุษย์ ไม่สามารถเอาบทเรียนที่ผ่านมาไปใช้ได้

เป็นงานที่เหมือนจะเรียบง่าย แต่มีความละเอียดอ่อนมาก ๆ ความซับซ้อนต่าง ๆ ทำให้คำตอบเปลี่ยน ถึงแม้จะเป็นคำถามเดียวกัน เช่น คนถามคนละคน จะได้ตอบไม่ตรงกัน

กระบวนการคร่าว ๆ ก่อนสัมภาษณ์ ระหว่างสัมภาษณ์ หลังสัมภาษณ์ ดันเรียกร้องทักษะที่ต่างกัน อาจจะแบ่งทีมตามความถนัด

ก่อนสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ต่างจากการสนทนาในชีวิตประจำวันอย่างไร? มี 4 ข้อ คือ

  1. แบ่งฝ่ายถามตอบแบบชัดเจน และเราเป็นคนถาม
  2. คุยอย่างมีวัตถุประสงค์ การมีวัตถุประสงค์เป็นหางเสือ ทำแล้วคนดูจะได้อะไร
  3. มีประเด็นในการถามชัดเจน
  4. เอาไปสื่อสารต่อ ไม่ใช่คุยแล้วจบ แล้วคนตอบมีการ censor ตัวเองด้วย

5 checklist ก่อนออกไปสัมภาษณ์

  1. คนที่เราไปคุยเป็นใคร: ทำความรู้จักว่าเขาเป็นใคร เขาเชื่อในเรื่องอะไร กำลังทำเรื่อไหนอยู่ สนใจเรื่องอะไร เพราะอะไร
  2. วัดถุประสงค์คืออะไร: เป็นหางเสือในการกำหนดคำถาม
  3. เราสนใจประเด็นไหน: เราอยากคุยกับเขาเรื่องอะไร
  4. เราจะสื่อสารกับใคร: รู้ target ของเรา เช่นคนดูสนใจเรื่องการทำธุรกิจ
  5. เล่าผ่านสื่อใด: เช่นเป็น podcast, video หรือ live

ความกลัวก่อนสัมภาษณ์: ความกังวล เช่น สัมภาษณ์รุ่นใหญ่ กลัวงานเราแย่ งานเราไม่ดี สิ่งที่จัดการกับความกลัวได้ดีที่สุด คือ “ การเตรียมตัว ” ว่าเราจะถามอะไร เขาเคยตอบอะไรไปบ้าง และรู้เกี่ยวกับคนที่เราสัมภาษณ์ยังไง

ระดับชื่อเสียงของคนที่เราสัมภาษณ์ มีผลต่อการเตรียมตัว

  • Mass: ชํ้า แทบไม่เหลืออะไรให้ถาม และเรื่องของมวล เราดูตัวเล็ก → เตรียมประเด็นที่แตกต่าง และทำการบ้านให้เยอะ ให้ content ของเราไม่ซํ้ากับที่มีแล้ว
  • Mid: ยังไม่ชํ้า เตรียมประเด็นที่เขาโดดเด่น ทำความเข้าใจในงานที่เขาทำ เช่น ทำอาชีพอะไร landscape ของงานที่ทำ ความยาก ทำให้ไปได้ไกล และต่อติด รวมถึงหาวิธีเจาะลึกลงไปในเรื่องราวของเขา
  • Niche: ทำยังไงให้คนใจ และการเลือกประเด็น รู้จักตัวตนของเขา → ต้้งประเด็นจากเหตุผลที่มาเจอเขา และสร้างคำถามที่ลงลึกไปในประเด็นที่เราสนใจในตัวเขา เช่น เพจมนุษย์กรุงเทพ สัมภาษณ์คนเดินถนนและสนทนากับเขา อย่าชวนคุยลึกมาก

ถามคนที่เราไม่รู้จัก 5 คำถาม เราจะถามว่าอะไร? อาจจะถามเขาเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ความฝันคืออะไร

แล้วถ้าเรารู้ข้อมูลเขาเพิ่มเติม แล้วตั้งคำถามใหม่ล่ะ เราจะถามเขาว่าอะไร?

ความลึกของข้อมูลที่มีส่งผลต่อความลึกของคำถามที่ตั้ง ดังนั้นการทำการบ้าน สร้างความเป็นไปได้ในการคุยได้ และเราจะผ่อนคลายขึ้นเมื่อเรารู้จักคนตรงหน้าดีพอ

และที่สำคัญ ให้มองความเป็นมนุษย์คนนึงด้วย ทำยังไงให้บทสัมภาษณ์ไม่แห้ง และมีความเป็นมนุษย์ด้วย

เช่น สารคดีบังอาซัน ความเป็นมนุษย์ สิ่งที่ทำสำคัญยังไง ทำให้เห็นชีวิตของคน

เราสัมภาษณ์เรื่องเดียวกันยังไง ไม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน - งานต่างตรงคนทำ 2 อันนี้เก่ง ๆ

  • Concept: ภาพใหญ่ มีจุดเชื่อมโยง ดังนั้นจะต้องกำหนด visual และการถ่ายทำในรายการ
  • Issue: รายชิ้นต้องมีประเด็น

เช่น รายการ autocomplete รายการสัมภาษณ์ที่ search Google แล้วเอาคำยอดฮิต

หรืออย่าง content เลือกตั้งผู้ว่า ที่เลือกไม่ถูกว่าดูรายการไหนดี รายการพวกนี้ต่างกันที่ concept

ยํ้าอีกหนึ่งรอบ

คำถามในการสัมภาษณ์ มักอยู่ในร่ม 3 อันนี้: ถามข้อมูล ถามความรู้จัก ถามความคิด

แล้วคำถามไหนคือคำถามที่ดี? ทุกคำถามดีหมด ต้องบรรลุวัตถุประสงค์

ต้องเตรียมแค่ไหนถึงจะมากพอ: เตรียมเกินดีกว่าเตรียมขาด ถ้าทำคลิปสั้นเตรียมไป 10 ข้อแบบนี้ได้ แต่ถ้าถามแบบไปเรื่อย ๆ เราถามคำถามแรก อาจจะตอบคำถามข้ออื่นไปด้วย

เริ่มเตรียมจับประเด็น ทำให้เราไม่หลงทาง เอาประเด็นที่มีมาแตกเป็นคำถาม ทำให้คุยง่ายขึ้น เพราะคุยทีละประเด็น คิดคำถามอื่นเพิ่มจากประเด็น เวลาเรียบเรียงในการตัดต่อ จะเรียงเป็นก้อน ๆ

ระหว่างสัมภาษณ์

ทำยังไงให้คู่สนทนาไว้ใจ เราบอกอะไรเขาได้มากน้อยแค่ไหน เริ่มตั้งแต่ติดต่อครั้งแรก ไม่ไปสาย อะไรพวกนี้ ช่วยทำลายกำแพงได้

กระดาษไม่ได้สำคัญอะไร มีไว้ให้อุ่นใจพอ และคำถามคือเส้นเลือด คำตอบคือหัวใจ

หลังสัมภาษณ์

ทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ

วิธีการจัดการฟุตเทจเบื้องต้น: การแยกประเด็น การเรียงประเด็น ดูความเป็นได้ไปใน footaage ทำให้การเล่าเรื่องแข็งแรงขึ้น และหาสิ่งดีงามใน footage ให้เจอ

คุณภาพของวัตถุดิบ

โครงสร้างของ content: มีช่วงปิด ดำเนินเรื่อง และช่วงจบ

จุดหล่อเลี้ยงอารมณ์สำหรับ video ยาว ๆ คนอยากแชร์ต่อไหม อยู่ที่ตอนจบ

สิ่งสำคัญ คือ ตัดต่อให้ได้เหมือนความรู้สึกตอนเราสัมภาษณ์ ถ้ามันไม่เหมือนกันต้องไปดูว่ามันติดที่ตรงไหน

และงานสัมภาษณ์ ส่งผลกระทบให้กับคน 3 คน คือ คนถูกสัมภาษณ์ คนดู และตัวเราเองที่เป็นคนสัมภาษณ์

Al Technology สําหรับ Creator - ปิงปอง Product Specialist (SONY)

AI ช่วยทำ content ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ก่อนอื่น AI ในที่นี้ คือ Artificial Intelligence เนอะ

ตัวอย่าง AI ใกล้ตัวในปัจจุบัน มี assistant อย่าง Siri Gemini ส่วน chatbot เช่น ChatGPT Alisa และ generative อย่าง Adobe firefly ที่เพิ่ม AI บน video ได้ และ Midjourney ที่เจนรูป

  • OpenAI ออก GPT-4o มาใหม่ มีความใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากขึ้น เช่นพูดให้เบาขึ้น จนกระซิบได้ ทำให้ beyond ขึ้นไปอีกขั้น และมี real-time translation ด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=G8sm27sGUu4
  • Adobe Firefly สามารถ generate ของบางอย่างบน video สามารถเพิ่ม ลด เปลี่ยนของได้ รวมถึง generate frame ที่ขาดไป ให้ smooth ขึ้นได้
https://www.youtube.com/watch?v=6de4akFiNYM

แล้ว AI ในกล้อง SONY ล่ะ?

เริ่มจาก Face Auto Focus จับใบหน้าคนได้ → Eyes Auto Focus จับดวงตาคนได้ → Real-time Tracking ติดตามวัตถุที่เราต้องการ → Subject Selection เลือกพวกสัตว์เลี้ยง ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ → Subject Recognition แยกแยะวัตถุ เช่น แยกตาซ้ายตาขวาของคนได้ แยกสัตว์เลี้ยง แมลง รถแข่งได้ → Auto Framing อันนี้มาล่าสุดเลย เหมาะกับการถ่าย video คนเดียว

มีการใส่ chip ประมวลผล AI เข้ามา เป็น AI Processing Unit กับกล้อง SONY Alpha 7R V

  • Real-time tracking / Eye AF: สามารถ track ได้แม่นยำในระยะไกล และ focus ได้แม่นยำมากขึ้น อีกทั้งตรวจจับใบหน้าในพื้นที่กว้างขึ้น ทำได้ง่ายขึ้น มี real-time tracking eye auto focus ด้วย
  • Subject Recognition: เลือกเป้าหมายในการ focus
  • AI-based Auto Framing: กล้อง track ว่าเราเคลื่อนที่ setup กรอบได้ มีการจิ้มจอเพื่อย้ายเฟรมไปที่อีกคนได้ และกำหนดความเร็วได้ด้วย แล้วถ่ายแนวตั้งได้ ตัวกล้องเปลี่ยนเฟรมเอง ถามว่าตัวกล้องมันขยับไหม เขาตั้งกล้องนิ่ง ๆ เลย แล้ว software ในนั้นมันขยับให้เอง
https://www.youtube.com/watch?v=CxF8Vtrbhaw

อาทิตย์หน้ามี demo ในส่วน Auto Framing ให้ดูกันสด ๆ ด้วย รอดูเลยค้าบบ


พักเบรกกินหนมฟังคนอื่นเม้ามอย

และไปรับรางวัลบัตร Starbuck 200 บาท คือหลังพักเที่ยงทีมงานให้ทุกคนจับคนละอัน แล้วก็ประกาศรางวัลคนที่มาเช้าที่สุด และรางวัลสุ่ม แล้วได้เฉย งงมาก55555 มีตังค์กินกาแฟล่ะนะ


Inspiration Talk Sustainable Content Creator สุข สงบ ไม่รบกวนตัวเอง - เอม TODAY

แชร์ pain point และ feeling เหมือนกันหลายจุด

ชีวิตคุณเอมเริ่มจากการเป็นนักข่าว ต่อมาเป็น producer host บ.ก. จนมาเป็น podcaster

creator เป็นอาชีพที่ใช้พลังงานเยอะ เริ่มต้นจากว่าเราอยากทำแบบนี้ จากการเห็นงานคนอื่น

partner = คนที่จ่ายเงินเรา เพราะการทำงานต้องมีงบต่าง ๆ เช่น กล้อง ไฟ ค่าเดินทาง เป็นงานที่พบกันครึ่งทาง

ความพอดี คือความอยากนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ บนโลก แล้วมาเล่าให้ฟัง และ partner ได้ content ปลาแซลมอนไปด้วย ได้ความ happy ทำให้นึกถึง Ikigai ทำอะไรที่เรามีความสุข และมีรายได้ที่ยั่งยืน และคลิปนี้เป็นคลิปท้าย ๆ ที่ทำ เพราะรู้สึกถึงสังขารของตัวเองที่เริ่มไม่ไหว เช่นสายท่องเที่ยว ไปกินข้าวประเทศยุโรปคือเขาเสิร์ฟอาหารช้ามาก แล้วเราหิวแล้วงี้

https://www.youtube.com/watch?v=lsdJ62smv6o

การทำเป็นอาชีพ ต้องทำสมํ่าเสมอ คลิปแรกเราทำแล้วสนุก แต่หลัง ๆ มี pain เพราะไม่ตรงความคาดหวังของคนดู ดังนั้นวันหลัง ๆ ไม่ได้มีไฟเหมือนวันแรก เราจึงต้องออกแบบการทำงานให้เราลงแรงได้อย่างสมํ่าเสมอ และแน่นอน และการสร้างรายได้ต้องใช้เวลา กว่าจะทำให้คนชอบ กว่าจะได้งาน ได้เงิน และเราทำได้นานแค่ไหน ระยะเวลาที่ว่าคือ 2 ปี สิ่งที่เราทำยั่งยืนในช่วงเวลา 2 ปีไหม เลือกทำอะไรที่เป็น long term จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้

และตอนนี้เรา happy กับ content ของเราแค่ไหน และเรา happy กับชีวิตของเราแค่ไหน

วงการ creator เป็นวงการที่วัด KPI โหด และถี่ กว่าวงการอื่น ๆ เช่น ยอด view

ศัพท์ฝั่ง Workpoint มีคำนึง คือ “กล้องรัก” เช่น รายการ The mask single ทำไมทุกคนพูดถึงอยู่คนเดียว ทั้ง ๆ ที่นั่งกัน 7 - 8 คน ดังนั้นเราพยายามค้นหาอาวุธที่เรามี เอามันมาใช้ ให้คนสนใจเรา เช่น ทวิตข่าว สัมภาษณ์คน และอะไรที่วงการนี้มีคนทำแล้ว เราอย่าไปทำ และเตือนสติ รู้ตัวเองว่าเราชอบอะไร และสนุกไปกับมัน และทำอะไร ให้นึกถึงอนาคตข้างหน้าด้วย

online เป็นสนามเปิด ข้อดี ถ้าเราทำคลิปของเราแล้วดัง สามารถแซงพี่ ๆ ในวงการได้ และมีความท้าทายของมัน คู่แข่งเยอะมาก พยายามคิดว่าเราทำเนื่องนี้ได้คนเดียว เราจะสบายใจได้ที่สุด

ความทะเยอทะยานของคุณเอมในคอนนี้ คือ การทำช่อง AIM HOUR ส่งคนไทยไปเวทีโลก เนื่องจากสื่อ online ไม่มีพรมแดน ลง content แล้วคนดูได้ทั่วโลก แม้กว่าจะสำเร็จจะใช้เวลานาน เป็น content ให้ความรู้ โดยการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ เป็น blue ocean ที่เราไม่ต้อง paranoia

ซึ่งสวนทางกับวิธีคิดของสำนักข่าว ที่ไม่มีใครจำได้ว่า ข่าวนี้ เราเห็นที่ไหนเป็น breaking news ที่แรก อันนี้เป็น red ocean ที่มียอด view, engagement วัดผล content ของเรา กับความเร็วในการโพสระดับ nano-sec ดังนั้นอย่าให้ content ทำร้ายเรา

จุดแข็งอะไรของเรา ที่คนอื่นไม่มี? เช่นการสัมภาษณ์ Dr. Niamh Shaw เป็นนักเขียน และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวไอริส ได้ถามคำถามจากคนไทยกับเขา ทำให้ relate กับความรู้สึกของคน มีคุณค่าให้เกิดประโยชน์ และไม่ทำร้ายเราจนเกินไป

https://www.youtube.com/shorts/gjJAULcMX6M

อีกอันที่สัมภาษณ์คุณต้นสน เราจะแตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่สัมภาษณ์เขาแล้วยังไง

https://www.youtube.com/watch?v=1XG00Kh9yb8

บางครั้งเราเปลี่ยนแปลง content ไปตามอายุ และไปตามสังขารของตัวเองด้วย เช่น การดูแลจิตใจตัวเอง

บางครั้งคุณเอมเป็น self-center อยากทำอะไร ทำยังไงถึงจะ work และบางครั้งรู้ว่า work ใช่ว่าเราจะทำได้ อย่างการปั้นช่อง ปั้นคนดู เช่นการเอาคนดังมาสัมภาษณ์ เป็นการขุดบ่อล่อปลา เคลือบยาด้วยขนม เพราะเป็น content ความรู้ อย่างน้อย search แล้วจะเจอคลิปที่เราทำอยู่ในนั้น

https://www.youtube.com/shorts/KAuLaclWAkg

แล้วเอาเงินมาจากไหนมา fund-in สิ่งต่าง ๆ — สัมภาษณ์นักธุรกิจ

การทำ content ประกอบด้วย ศาสตร์ (กลยุทธ์การ landing คืออะไร) + ศิลป์ (เราทำ content อะไร แบบ organic)

ข้อคิดที่ฝากไว้

  1. Your content is your life. ทำในสิ่งที่เราชอบ และถนัด
  2. Avoid engagement trap. คนเราอยากเกิดมาทำแล้วมันสำเร็จ แต่บางครั้งเราไม่ต้องสนใจมันตลอดเวลาก็ได้
  3. Content creator is a long-term game. ถ้าเรามีลูกน้อง 2 คน เราให้คนนึงทำโพสที่มี engagement ให้ได้ทุกวัน กับอีกคนที่ทำ content เชิงลึกในเรื่องที่ตัวเองสนใจ อาทิตย์ละ 1 content ใน 1 ปีเรายังไม่เห็นความต่าง 3 ปีเราจะเห็นความแตกต่างมากขึ้น
  4. Think of that one audience. ถ้าเขาชอบ ก็คิดว่ามีคนแบบนี้ชอบ content เราเ่วย
  5. Set the target, and hit it. ตั้งเป้าหมาย ทำงานให้มีประโยชน์ อยู่ในใจเขา เราจะจำได้

สุดท้าย

  • อย่าลืมร่างแรกของตัวเอง หมั่นไปเป็นคนนั้นอยู่เสมอ
  • บางครั้งการเป็น perfectionist อาจจะทำใจยาก เพราะบางครั้งไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้
  • lifestyle นำการเป็น creator

จากนั้นมีการแจกการบ้านอันแรกที่ต้องส่ง ยากเลย

‌จบด้วยคลิปสั้นบรรยากาศรวมคร่าว ๆ ของวันเน้


ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า

ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.