วิธีการทำ BUJO สำหรับมือใหม่ ต้อนรับปีใหม่

Lifestyle Dec 17, 2021

ตอนแรกว่าจะสรุปทั้งเล่ม แต่คิดว่าเราเอาประสบการณ์ที่เราได้ทำ BUJO (Bullet Journal) ที่เริ่มทำมาในปี 2021 มาสรุปว่าควรจะเริ่มยังไงดีสำหรับมือใหม่ และเราเองไม่ได้ใช้ทุกอย่างด้วยแหละ ก็น่าจะไม่ยากอะไร

แนะนำ BUJO

ในบทความนี้เราจะสรุปจากหนังสือ The Bullet Journal Method วิถีชีวิตแบบบูโจ เขียนโดย Ryder Carrol ผู้ที่คิดบูโจขึ้นมา บวกกับประสบการณ์ที่เราได้ทำ BUJO มาตั้งแต่ต้นปี 2021

BUJO (Bullet Journal) เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดจากการที่ผู้เขียน คุณ Ryder Carrol เป็น web designer ที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADD) สังเกตเพื่อนๆที่เขาประสบความสำเร็จมีสมุดจด เขาได้ลองผิดลองถูกจนได้ที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง อยู่มาวันนึง เจอเพื่อร่วมงานที่จัดการงานแต่งงานแล้วมีสมุดและโน้ตเต็มโต๊ะไปหมด เขาเลยอาสาช่วยเธอโดยการสอนวิธีการใช้สมุดจดของเขา ตอนแรกเขาเองไม่มั่นใจว่าเพื่อจะซื้อไหมนะ สุดท้ายเมื่อเพื่อนของเขาฟังเสร็จ เธอว้าวกับมันและบอกเขาว่า “โลกต้องรู้เรื่องนี้ เธอต้องบอกวิธีนี้ให้โลกรู้”

หลังจากนั้นก็มีการสอนการจดบันทึกแบบนี้ไปให้หลายๆคน ในหลายๆปี จนการจดบันทึกนี้มีชื่อเรียกว่า Bullet Journal หรือมีชื่อย่อว่า BUJO นั่นเอง และมีเว็บไซต์ official ที่ทำให้คนรู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น

Bullet Journal
Meet the analog method for the digital age that will help you track the past, order the present, and design your future.
https://bulletjournal.com/

สรุป Bullet Journal เป็นการจัดเก็บทุกอย่างลงในสมุดเล่มเดียวอย่างเป็นระบบ โดยแยกสิ่งที่บันทึกออกเป็นงาน Task เหตุการณ์ event และโน้ต note ทำให้เรามองเห็นภาพใหญ่ในชีวิต รู้จักและเข้าใจตัวเองในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวมากขึ้น อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับตัวเองและสิ่งสำคัญในชีวิตได้ด้วย

ทำความรู้จักระบบใน BUJO กันก่อน

Rapid Logging

เป็นระบบการจดที่ทำให้เราจดได้ไว สั้น กระชับ ได้ใจความ

ตัว syntax เราจะแบ่งเป็น 3 อย่างหลักๆ คือ task, event และ note

  • Task : งานที่เราต้องทำ สามารถมี subtask ได้ และสามารถขยายไป collection ต่างๆได้อีกด้วย มีอีก 5 แบบแยกย่อยลงมาอีก
    - Task incomplete : งานที่เราต้องทำ
    - Task complete : งานที่ทำเสร็จแล้ว
    - Task migrated into collection : งานที่ถูกย้ายไปที่อื่น เช่นถูกย้ายไป monthly log หรือ collection อื่นๆ
    - Task schedule into future log : งานที่มีกำหนดภาระ ที่ถูกย้ายไปยัง future log
    - Task irrelevant : งานที่ไม่สำคัญแล้ว
  • Event : บันทึกประสบการณ์ หรือบันทึกล่วงหน้า ต้องจดอย่างกระชับ และตรงตามความจริง ก็คือซื่อสัตย์ต่อตัวเองนั่นแหละ
  • Note : เป็นการเขียนกันลืม เพื่อกลับมาอ่านวันหลังแล้วรู้เรื่อง (คล้ายๆกับการเขียนโค้ดแหละ) เหมาะกับการจดประชุม หรือจดบรรยาย ให้จดเฉพาะส่วนสำคัญ และใช้คำที่น้อยและกระชับที่สุด

ส่วน syntax แบบพิเศษ จะมี 2 อัน คือ

  • priority เน้นความสำคัญของ task นั้น
  • inspiration ใช้บอกไอเดียใน note ที่เราจดนั้นมันว้าวมากเลย

Note : เราสามารถสร้าง เครื่องหมายเฉพาะ สำหรับใช้งานเองได้ แต่ควรมีให้น้อยที่สุด

Collection

modular ที่ใช้รวบรวมและจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สำหรับ default collection ที่ใน BUJO ต้องมี

  • Daily log : มีการเขียนวันที่ ภายในจดแบบ rapid logging
  • Monthly log : จะเขียนปฎิทินของเดือนนั้นๆ ว่าในแต่ละวันมีงานอะไรบ้าง
  • Future log : เก็บรายการนอกเหนือจากเดือนปัจจุบัน เก็บ task schedule เป็นคิวงานในอนาคต
  • Index : เป็นสารบัญของ BUJO ของเรา

มาเริ่มทำ BUJO กันเถอะ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม สมุดบันทึก ปากกา และกระดาษ

ทำไมจึงแนะนำให้ใช้สมุดบันทึก? เพราะเพื่อความยืดหยุ่นในการจดบันทึกต่างๆของเรา และจดมือเพื่อให้เราผูกพันธ์กับข้อมูลมากขึ้น ทำให้กระบวนความคิดแข็งแรงขึ้น เกิดความเชื่อมโยงแบบใหม่ๆ และเราตะหนักรู้มากขึ้น แต่ถ้าใครสะดวกใช้ในแอพต่างๆอันนี้ก็แล้วแต่สะดวกแหละ

ส่วนใหญ่ที่เขาแนะนำมาให้ใช้สมุดที่เป็นกระดาษ dot ขนาด A5 เพราะพกพาได้ง่าย สะดวก แต่ของเราใช้สมุดเส้นกริดนะ อาจจะลองซื้อสมุดจดแบบง่ายๆดูก่อนก็ได้นะ ตาม shopping online ต่างๆ เล่มละ 30-40 บาท จำนวนหน้าน้อยหน้อยอาจจะต้องใช้หลายเล่มในหนึ่งปีเนอะ หรือจะซื้อสมุด BUJO โดยเฉพาะเลยก็ได้ ราคาแล้วแต่แบรนด์นั้นๆเลย

แบรนด์อื่นๆที่แนะนำ ก็จะมี Leuchtturm1917,  Moleskine ราคาประมาณ 1000 กว่าบาท แล้วก็ของ a piece(s) of paper แบรนด์ไทย ราคาประมาณ 300 กว่าบาท

รายการความคิด

ก่อนอื่นขจัดสิ่งที่รกสมองด้วยการทำรายการความคิดบนกระดาษก่อนนะ โดยตัวรายการความคิดจะถูกแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ

  • สิ่งที่ทำอยู่ : ทุกอย่างที่เรากำลังทำอยู่
  • สิ่งที่ต้องทำ : เป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  • สิ่งที่อยากทำ

เมื่อเราลิสท์ทุกอย่างไปแล้ว เราจะพิจารณาว่าแต่ละข้อนั้น เป็นงานที่มีความสำคัญหรือไม่ หรือมันจำเป็นต้องทำหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ทั้งสองข้อนั่นคือสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจของเรา และสิ่งที่เราเก็บนั้น จะเหลืองานที่เราต้องทำ และสิ่งที่เราอยากทำจริงๆเท่านั้น

ที่ทำให้รายการความคิดบนกระดาษก่อน เพื่อให้เรา filter สิ่งเหล่านี้ก่อนลงในเล่ม BUJO นั่นเอง

การย้ายข้อมูลจากรายการความคิดไปยัง BUJO ของเรา

  • Future log
  • Monthly log
  • นำไปจัด priority ใน monthly log
  • ย้ายไป daily log
  • ย้ายไปใน collection ในรายการพิเศษ

โพยการ set BUJO

การขึ้น BUJO ในหนังสือแนะนำให้ขึ้นเล่มใหม่เลย ทำให้เรามีความกระตือรือร้น และเปิดรับสิ่งใหม่นั่นเอง

โดยใน BUJO ของเรานั้น จะต้องเขียนเลขหน้าไว้เสมอ มี 4 collection ไว้ต้นเล่มไว้คือ

  • Index : สารบัญของเรา อยู่ที่หน้า 1-4 ในนั้นจะใส่ว่าอะไรอยู่หน้าไหน โดยเริ่มจาก collection ที่อยู่หลัง index และอย่าใส่ collection เปล่าลงไป
  • Future log : คิวงานในอนาคต อยู่หน้า 5-8 แบ่งแต่ละหน้าเป็น 3 ช่อง ช่องละเดือน เอาไว้ใส่งานและเหตุการณ์ในอนาคต
  • Monthly log : ในเดือนมกราคมก็จะเป็นหน้า 9-10 หน้า 9 เอาไว้เขียนปฎิทินเป็นแถวยาวๆ ส่วนหน้า 10 เขียนงานที่จะเกิดขึ้นในเดือนนั้น
  • Daily log : ในเดือนมกราคมก็จะเป็นหน้า 11 เป็นต้นไป ใส่วันที่เป็นหัวข้อ เขียนงาน เหตุการณ์ โน้ตในวันนั้น

สำหรับเล่มเปล่าของปี 2022 ก็จะเป็นประมาณนี้แหละ

https://www.youtube.com/watch?v=xKj5IxOkRVQ

การ migrate ข้อมูล

การย้ายข้อมูลในแต่ละเดือนเป็นการโอนย้ายข้อมูลโดยการคัดลอก ในแต่ละเดือนให้ดูว่างานไหนที่ยังไม่เสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้ถามตัวเองว่าทำไมถึงไม่เสร็จ ถ้าเป็นงานที่ไม่สำคัญให้ฆ่าทิ้งเลย ถ้าเป็นงานที่สำคัญและเพิ่มคุณค่าในชีวิตของเราแล้วนั้น จะมีอยู่ 3 กรณี ดังนี้

  • ใส่ > ไป monthly log เดือนใหม่
  • ใส่ > ไป collection พิเศษ
  • ใส่ < ไป future log เมื่อมีกำหนดการนอกเหนือเดือนปัจจุบัน

หนังสือแนะนำ

ในตอนนี้หวังว่าทุกคนคงจะได้ guideline และวิธีการทำ BUJO ไปอย่างคร่าวๆไปแล้ว สุดท้ายเราจะแนะนำหนังสือเกี่ยวกับ BUJO

ซึ่งเล่มแรกเราได้กล่าวถึงไปแล้ว คือ "The Bullet Journal Method : วิถีบันทึกแบบบูโจ" เล่มนี้เป็นต้นกำเนิด มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

The Bullet Journal Method: วิถีบันทึกแบบบูโจ - BOOKSCAPE
[โปรยปก] “จงอย่าผัดวันประกันพรุ่ง จงดุลบัญชีแห่งชีวิตทุ […]
https://bookscape.co/books/intelligent-lifestyle/the-bullet-journal-method

ส่วนอีกเล่มนึงคือ "จัดระบบความคิด จัดระเบียบชีวิตด้วย “บุลเล็ตเจอร์นัล” (「箇条書き手帳」でうまくいく はじめてのバレットジャーナル)" อันนี้จะเน้น usecase การทำ BUJO กับเรื่องต่างๆ

จัดระบบความคิด จัดระเบียบชีวิตด้วย “บุลเล็ตเจอร์นัล” (「箇条書き手帳」でうまくいく はじめてのバレットジャーナル) - Welearnbook
Blog Page
https://www.welearnbook.com/product/39383-33496/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A5-%E7%AE%87%E6%9D%A1%E6%9B%B8%E3%81%8D%E6%89%8B%E5%B8%B3%E3%81%A7%E3%81%86%E3%81%BE%E3%81%8F%E3%81%84%E3%81%8F%E3%81%AF%E3%81%98%E3%82%81%E3%81%A6%E3%81%AE%E3%83%90%E3%83%AC%E3%83%83%E3%83%88%E3%82%B8%E3%83%A3%E3%83%BC%E3%83%8A%E3%83%AB

สำหรับกลุ่ม เราแนะนำกลุ่ม Bullet Journal Thailand นะ ในนั้นก็มีคนแชร์การทำ BUJO แล้วก็พวกสมุดเครื่องเขียนต่างๆที่น่าสนใจ


กด follow Twitter เพื่อได้รับข่าวสารก่อนใคร เช่น สปอย content ใหม่ หรือสรุป content เร็วๆในนี้จ้า

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

โหลดแอพต่างๆของเราได้ที่นี่

Android Apps by MikkiPastel Studio on Google Play
Innovation application by Android developer girl

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.