สรุปงาน TMRW Creators Camp 2021 รอบ Final Round และรีวิวค่ายคร่าวๆกันเถอะ

Content Creator Jun 28, 2021

ไหนๆวันนี้ก็วันสุดท้ายแล้วเนอะ ก็เลยสรุปงานรอบ final round และรีวิวงานทั้งหมดเลยดีกว่าเนอะ ตั้งแต่สมัครจนวันสุดท้ายนี้

ภาพถ่ายจบงานผู้ชนะ เพจพี่น้องป.4 HappyBeww และแม่ เมนูนี้ทำไง พร้อมกับผู้เข้ารอบสุดท้าย 7 คนที่เหลือ และที่เหลือที่บ้านผ่านหน้าจอ Zoom

การสมัครเข้ามาในค่ายนี้

เราเห็นโพสจากเพจ Rainmaker และเห็นว่างานน่าสนใจ เพราะว่า คนสอนเป็น creator ชื่อดังถึง 11 ท่านด้วยกัน อีกทั้งเรียนฟรี สมัครสิรอไร!

และแน่นอน เราสมัครตั้งแต่วันแรกเลยจ้า โดยเราสมัครผ่านเว็บนี้

https://www.icreatorconference.com/tmrwcreatorscamp/

ในใบสมัครก็กรอกข้อมูลทั่วไปแหละ ชื่อ นามสกุล ช่องทางหลักที่เราทำ content โดยมียอดคนตามมากว่า 1000 และมีอันนึงที่น่าจะเป็น criteria สำคัญคือ เรื่องราวการเป็นครีเอเตอร์ของเรา ทำไมถึงอยากเข้าร่วมค่ายนี้ และความคาดหวัง สามารถทำเป็นอะไรก็ได้ แต่เราเขียนส่งจ้า เพราะน่าจะทำง่ายและเร็วที่สุดหล่ะ จะได้ทำอย่างอื่นต่อ โดยเราจะมาเล่าเส้นทางการเป็น creators ตอนเพจครบรอบ 9 ปีดีกว่า อิอิ

เรื่องราวการเป็นครีเอเตอร์ ในนาม MikkiPastel
ขอนำหนึ่งในใบสมัครเข้าค่าย TMRW Creators Camp 2021 มาขยายความต่อเป็น content ครบรอบ 9 ปีที่ทำเพจ MikkiPastel

และ ทำไมถึงอยากเข้าร่วม TMRW Creators Camp 2021 หล่ะ?

จุดประสงค์คืออยากได้ความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนางานของเรา รวมทั้งอยากได้ feedback จริงๆว่า content ของเราควรจะปรับหรือเพิ่มตรงไหนบ้าง และอยากมีโอกาสในการทำงาน part-time ในสายงานเขียน online content เพื่อพัฒนา skill ในด้านนี้ ในแบบที่เป็นงานจริงๆ เผื่องานนี้จะเปิดทางโอกาสในการทดลองทำสิ่งนี้
และสุดท้ายขออนุญาตทำบล็อกเกี่ยวกับ workshop ในแต่ละวันได้ไหมค่ะ แหะๆ
ปล. สาเหตุที่มาเป็นตัวหนังสือ เพราะเป็นสิ่งที่ถนัดและทำง่ายที่สุด จะได้มีเวลาแก้บัคต่อค่ะ แหะๆ

ซึ่งถามว่าทั้งหมดตรงความคาดหวังไหม ในตอนนี้ ก็คือไม่นะ ก็ต้องดูอนาคตต่อไปแหละเนอะ

หลังจากสมัครก็แก้บัค เอ้ยย ทำ feature แอพเราไปเรื่อยๆ จนวันประกาศผล ได้ email มาว่า

เฮ้ยยย เราได้เป็น 1 ใน 100 คนที่ได้เข้าค่ายนี้แล้วนะ ดีใจแหละ เคลียร์คิวแปป

จากนั้นก็ยืนยันตัวตน แล้วก็ได้เลขประจำตัว แล้วก็มี email การเข้าร่วม workshop ในแต่ละสัปดาห์ และกลุ่มสำหรับทุกคนในค่ายในการทำกิจกรรม workshop และ update ข่าวสารต่างๆภายในค่าย

เข้าร่วม workshop และส่ง assignment

ในแต่ละสัปดาห์ก็จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป วันแรกที่เข้ามาคือตื่นเต้นสุดๆไปเลย ทั้งๆที่ไม่เคยติดตามผลงานเขาจริงๆจังๆเลยนะ โดยแต่ละสัปดาห์เราได้เขียนบล็อกสรุปไว้แล้ว

Week 1 (9 พ.ค. 2021) : ทักษะด้านการเล่าเรื่อง (Storytelling)โดย บูม ธริศร จากช่อง BoomTharis และ เคน นครินทร์ จาก The Standard

ปรับวิธีการเป็นนัก storytelling ที่ดีกับ บูม ธริศร และ เคน นครินทร์
บล็อกสรุปการเรียนสัปดาห์แรกของ TMRW Creators Camp 2021 ในหัวข้อ STORYTELLING โดยบูม ธริศร และ เคน นครินทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564 จ้า

Week 2 (16 พ.ค. 2021) : ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Content)โดย โค้ดดี้ จากช่อง GoodDayOfficial และ เอ็ด 7 วิ จากช่องเสือร้องไห้

มาฝึกทำ Creative Content ให้ go viral กับ พี่เอ็ด 7 วิและพี่โค้ดดี้
มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของค่าย TMRW Creators Camp 2021 กันแล้ว สัปดาห์นี้เราจะได้เรียนเรื่อง Creative Content กับพี่เอ็ด 7 วิ กับพี่โค้ดดี้ ซึ่งเราจะจำทั้งสองท่านนี้ได้จากเสือร้องไห้เนอะ ในวันนี้เราจะได้เจอพวกเขาผ่าน Zoom แอบตื่นเต้นกันเช่นเคย

Week 3 (23 พ.ค. 2021) : ทักษะด้านวิดีโอ (Video Content)โดย อู๋ spin9 และ ซอฟ จากช่อง Softpomz และ SoftpomzChannel

ทำ Video Content โปรดักชั่นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง กับ Softpomz และ อู๋ spin9
เรื่องที่หลายๆคนสนใจ และมีหลายๆคนเป็น Youtuber, Tiktoker ซึ่งทำ Video Content เป็นหลักเนอะ ในวันนี้เราจะได้เนื้อหาที่อัดแน่นและเป็นประโยชน์

Week 4 (30 พ.ค. 2021) : ทักษะด้านการไลฟ์สตรีมมิง (Live Streaming)โดย ไบร์ท จาก Asayhi Channel และ ซี ฉัตรปวีณ์ จากช่อง Ceemeagain

Live Streaming ไลฟ์สด ให้ปังแบบมือโปรกับ Asayhi Channel และซี ฉัตรปวีณ์
สัปดาห์สุดท้ายของการ workshop สุดเข้มข้น ของงาน TMRW Creators Camp 2021 กับเรื่องของ live streaming ที่ในวงการ developer ที่เราอยู่น้าน จัด event meetup ที่เป็นไลฟ์กันบ่อยๆด้วยหล่ะสิ

และทำ 2 assignments เพื่อเป็นการฝึกฝนจากที่เรียนมา และแข่งขันเพื่อเป็น 10 คนสุดท้ายในค่ายนี้

.

.

อุปกรณ์การทำกราฟฟิคต่างๆใช้ Procreate ทำจ้า

แน่นอนว่า เราไม่เข้ารอบสุดท้าย แหะๆ เพราะเนื้อหาไม่สนุกพอหล่ะมั้ง (บวกกับช่วงที่สมัครมาค่ายนี้จนวันนี้ยอดไลก์และ follow เพจเราเพิ่มขึ้นเยอะมาก อาจจะทำ content ยากหน่อยที่จะเอาใจคนทุกกลุ่มได้)


วัน Final Round

Agenda ในวันนี้จ้า

เริ่มที่พิธีเปิดกันก่อนเลย แต่งหน้าทำผมให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นมีการทักทายคนดูจากในไลฟ์ด้วย และเปิดตัว 10 คนสุดท้าย

Log in to Facebook
Log in to Facebook to start sharing and connecting with your friends, family and people you know.
https://www.facebook.com/tmrwthailand/videos/574098020222743

.

blog ในวันนี้จะใส่ in my opinion แยกไว้ด้วย ว่าเราคิดเห็น หรือสนับสนุนแนวความคิดไหนบ้าง จากประสบการณ์จริง เพราะเวลาฟัง เราก็จด แล้วก็คิดตามไปเนอะ

ครีเอเตอร์ที่ดีไม่ใช่ใครก็เป็นได้ – คุณโหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

เชื่อในพลังความคิดสร้างสรรค์ เพราะมีประโยชน์ต่อชีวิต เช่น ใช้ในการแก้ปัญหา สร้างมูลค่า และเป็น solution ใหม่ๆ ตัวอย่าง

  • คุณโหน่งเองใส่ถุงเท้ากลับด้าน เพราะมันใส่สบายกว่าแบบปกติ
  • โถปัสสาวะผู้ชาย ที่สนามบิน Schiphol Airport ที่ Amsterdam เป็นการแก้ปัญหาปัสสาวะนอกโถ ด้วยการติดสติ๊กเกอร์แมลงวัน
Aiming To Reduce Cleaning Costs
The picture of a fly in the urinals at Schiphol Airport has been touted as a simple, inexpensive way to reduce cleaning costs. Where does it come from, and how effective is it really?
  • ที่ supermarket ประเทศเกาหลี เนื่องจากคนทานกล้วยวันละผล ดังนั้นการซื้อทีละเยอะๆทำให้เราทานไม่ทัน เนื่องจากบางทีมันก็สุกเร็วมาก ทำให้เสียเร็ว ดังนั้นเขาจึงแพ็คกล้วยเรียงตามลำดับความสุกของกล้วย เพื่อให้เราทานได้ในทุกวัน เราจะได้กล้วยที่สุกพอดี
A Korean Grocery Store Solved That Whole ‘Bunch of Overripe Bananas’ Thing (and It’s Genius)
You know the scenario: You buy a bunch of green bananas, set them on your counter to ripen, blink once and—they’re all rotten and brown. Korean grocery store E-Mart has a solution.
  • โรงซีอิ๊วโชติสกุลรัตน์ เนื่องจากคนซื้อซีอิ้วน้อยลง ทำอะไรดีกับของดีที่เรามีอยู่ เลยกลายเป็น ไข่เค็มซีอิ๊วบ้านตลาดน้อย บวกกับ packaging และ design ที่สวยงามลงไปให้น่าซื้อ
  • ร้านราเมนที่ประเทศญี่ปุ่น กดซื้อที่ตู้คูปองตามปกติ และเนื่องด้วยชามใหญ่ เลยสั่งแบบพิเศษ 1 ชามเพื่อแบ่งกัน และสั่งเกี้ยวซ่าเป็นจานกลาง เวลาเสิร์ฟทางร้านนำชามเปล่ามาใบนึงมาด้วย ซึ่งชามใบนี้ใส่สาหร่ายมา 1 แผ่น และมีไข่ซึ่งเป็น topping อาจจะเป็นไข่นกกระทา ไข่ไก่ ในชามเปล่าใบนี้ ทำให้คุณโหน่งกับแฟนประทับใจเลยมาทานทุกวัน

ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์ เป็นคำที่อธิบายลำบาก สอนกันได้ยาก แล้วเกิดจากอะไร? เกิดจากความใส่ใจนั่นเอง

เราต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า เราแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่อย่างไร? ความแตกต่างเป็นสิ่งสำคะญ ไม่ควรทำสิ่งที่ซํ้ากับสิ่งที่มีอยู่แล้ว และเราต้องหาตัวตนของตัวเองให้เจอ และเราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และทำไมโลกถึงต้องมีเรา?

คุณโหน่งทำสื่อมาตั้งแต่เรียนจบ จากทำสื่อสิ่งพิมพ์จนมาสื่อออนไลน์ เราจะเห็นตั้งแต่นิตยสาร a day มีสำนักพิมพ์ a book มี a day bulletin เป็นนิตยสารแจกฟรี ไปจนสื่อออนไลน์ The Momentum และออกจาก a day มาทำสำนักข่าวออนไลน์ The Standard เพราะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิด

โดยปัจจุบัน The Standard มี 3 units คือ

  • The Standard เน้นข่าวสารในทุกประเภทที่สำคัญ
  • The Standard Wealth อันนี้มาใหม่ไม่นาน เน้นเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน (ส่วนตัวชอบอ่านอันนี้)

Key to Success ของ The Standard

  1. Creativity : เปิดกว้างในการคิดหรือทำอะไรใหม่ๆ ใช้ Agile เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน และหยิบนำ idea ดีๆมาทำ คิดอะไรก็เอาไปทำได้เลย
  2. Design : การออกแบบ ช่วยอธิบายและนิยายความเป็นเราแล้ว ยังทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร และเพิ่มราคาหรือมูลค่าได้ด้วย
  3. Self-improving content : ทำ content เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองได้ เช่น podcast มีประโยชน์ต่อคนฟัง ให้เขานำไปปรับใช้ได้ ตัวอย่าง R U OK เกี่ยวกับสุขภาพจิต, คำนี้ดี เป็นการสอนภาษาอังกฤษ, THE SECRET SAUCE ก็จะเกี่ยวกับธุรกิจและการทำงาน
  4. Audience Centricity : สื่อ คือช่องทางการสื่อสาร กับคนจำนวนมาก ดังนั้นเราจพต้องหา balance ให้เจอ ระหว่างสิ่งที่เราอยากทำและสิ่งที่คนอยากรู้ อาจจะทำเป็น survey ก่อนก็ได หรือดู feedback
  5. Innovation : ทำให้องค์กรไวต่อการนำ technology ใหม่ๆมาใช้ในการทำงาน และเพิ่มช่องทางให้ผู้ชม อย่าลังเลในการใช้มันให้เป็นประโยชน์
  6. Maintenance : สื่อมี dynamic อยู่เสมอ ว่ามันส่งผลกระทบอะไรบ้าง และเราจะทะนุบำรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อรักษามาตรฐานของเราไว้ได้ และไม่ต้องรอให้มันเสียและซ่อม
  7. Trust : คำนี้เป็นคนสำคัญสำหรับสำนักข่าว เป็นความน่าเชื่อถือหรือความเชื่อถือได้ โดย The Standard เป็นสำนักข่าวที่ให้ข้อมูล และเน้นการสื่อสารที่ถูกต้องที่สุด ไม่เน้นทำข่าวให้เร็วที่สุด

การสร้างแบรนด์

ถ้าเราลองนึกถึง The Standard เป็นแบรนด์สักแบรนด์ เราจะนึกถึงอะไร โดยคุณโหน่งแนะนำหนังสือเล่มนี้ ที่ชื่อว่า Brand Storydoing Wins สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องเล่า ไม่เท่าลงมือทำ ของคุณ ดลชัย บุณยะรัตเวช เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการสร้างแบรนด์

โดยมีหลักการวิธีคิดที่นำไปปรับใช้กับแบรนด์ของเรา มี 4 ข้อ คือ

  • Be : เราเป็นตัวจริง เราเป็นแบบนั้นจริงไ
  • Do : เราทำได้จริง
  • Say : พูดเรื่องที่เราลงมือทำได้จริง
  • Feel : ความรู้สึกของผู้รับสาร ให้เขาเกิดความรู้สึก ชอบ like share บอกต่อ content ของเรา
ไปหาเจอเพิ่มเติม ก่อนที่เราจะพบว่าดอง ebook เล่มนี้ไว้อยู่ -_-
BRAND STORYDOING WINS สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องเล่าไม่เท่าลงมือทำ – BrandThink
เชื่อว่าทุกวันนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง นอกจากจะดูเรื่องคุณภาพแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่เรามักได้ยินเสมอคือ ’ก็แบรนด์ดูน่าเชื

ดังนั้น เราต้องลองถอดรหัสดูว่าแต่ละแบรนด์สร้างจากอะไรบ้าง

คำแนะนำ : ให้เป็นตัวของตัวเองดีที่สุด "เป็นตัวเองดีที่สุด ชีวิตมันสั้นเกินกว่าจะแสร้งเป็นคนอื่น" ซึ่งคำพูดในหนังเรื่อง Step Up 2 นั้น สอดคล้องกับสิ่งที่คุณโหน่งเขียนไว้ในหนังสือ "เป็นคนอื่น เป็นได้ไม่นาน เป็นตัวเอง เป็นได้ตลอดไป"

สุดท้าย อวยพร และก็ให้สร้าง content ที่มีประโยชน์ต่อสังคม

Q & A

แนวทางให้ตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ :

  • เคี่ยวกรำตัวเอง เอาจริงเอาจัง กับงานที่เรารัก พัฒนาและเป็นตัวเองอยู่เสมอ อย่าคิดว่าตัวเองเก่งแล้ว
  • รู้จัก curate content ที่มีประโยชน์มาใช้

Motivate อย่างไรให้ลูกน้องมีความคิดสร้างสรรค์ :

  • วัฒนธรรมองค์กร : ทำตัวเองให้ lean เป็นบริษัทเล็กๆอยู่เสมอ อย่าอุ้ยอ้าย ให้ active อยู่เสมอ มีการอบรม training workshop brainstorm กันบ่อย และจัดออฟฟิศให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ให้มัน active + Agile
  • เลือกเด็กเข้ามาทำงานเองตั้งแต่ตอน recruit เพราะให้ความสำคัญกับคน และให้เอื้อต่อการพัฒนาของทีม เนื่องจาก การรับคนง่ายกกว่าการเอาคนออก

in my opinion

  • อันนี้จะล้อกับที่คุณเคนพูดในสัปดาห์แรกเลย เรื่อง Audience Centricity
  • การสร้างความแตกต่างเป็นเรื่องสำคัญ และหลายๆคนพูดถึง เพื่อให้เราต่างจากคนอื่นๆและเป็นที่จดจำได้
  • หลายๆองค์กรที่ไม่ได้ทำ Software ก็เริ่มใช้ Agile กันมากขึ้นแล้วแหะ

การก้าวสู่การเป็น Content Creators มืออาชีพ – คุณรวิศ หาญอุตสาหะ

การทำ content creator จากงานอดิเรก กลายเป็นอาชีพ เราจะปรับตัวกับมันอย่างไรดี?

Passion

ทุกคนเริ่มจากความชอบ และอยากทำ content ไม่ได้คิดถึงว่าเราหาเงินยังไง พอมาบวกกับ professional ทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น

การทำงานที่เรารัก : ทำให้งานของเราคุณภาพดี เพราะเป็นงานที่เราชอบ สุขภาพจิตจะดีขึ้น เพราะงานที่เราไม่ชอบจะทำให้สุขภาพจิตแย่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มี และมีโอกาสเติบโต บางคนที่ทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบแต่รายได้ดีก็มี ถ้ามองเป็นตัวเงิน อาจจะไม่ตอบทุกอย่าง ข้อเสียอาจจะเป็นทำงานหนักเกินไป ทำให้เหนื่อย เครียด หมดไฟ ป่วย ซึ่งเป็นต้นทุนในการทำงานของเรา

ดังนั้นพอเป็นอาชีพ ความคาดหวังจะสูงมาก เช่น รับงาน sponsor และมีความจริงจังเยอะขึ้นในทุกมิติ

ความชอบ : มีได้หลากหลาย เช่น ชอบทำอาหาร ก็เปิดร้านอาหาร และการเป็น content creator เป็นหนึ่งในนั้น

การเป็น Content Creator : หลักๆมี 6 อย่างที่พบเจอ เช่น วาดรูป วาดการ์ตูน, ถ่ายรูป, พูดให้กำลังใจคน, ทำคลิป, เขียนบทความ หรืออาจจะผสมกันก็ได้ ซึ่งแต่ละสายก็จะมีงานรองรับทั้งสิ้น ในเชิงของลูกค้า ว่า creator กลุ่มนี้นำเสนอ content อะไรได้บ้าง

และมีใครบ้างทำเป็นอาชีพหล่ะ? ตัวอย่าง นิ้วกลม จากนักเขียนที่เขียนหนังสือ ก็ทำหลายๆอย่าง เช่น ทำสำนักพิมพ์เอง เป็นพิธีกร ทำไลฟ์ รับงานพรีเซนเตอร์ อย่าง Mission To The Moon ก็จะมีบทความในเพจ ไลฟ์ และอีกหลายๆอย่าง

อันนี้ในเชิงสถิติ ซึ่งไม่ได้นับเรื่อง sponsorship ไว้ในนี้

เด็กไทยฝันอยากเป็น Youtuber ซึ่งการเป็น Content Creator สามารถต่อยอดไปทำ product ต่างๆได้ด้วยนะ

ยุคทองของครีเอเตอร์

ยุคนี้เป็น ยุคทองของครีเอเตอร์ เพราะมี platform ต่างๆเยอะมาก เราไม่ได้แข่งกับ Content Creator ด้วยกันเอง แต่แข่งกับ platform อื่นๆด้วย เช่น Netflix, Disney+

ดังนั้นเราจะต้องทำ content ที่ลึกขึ้น เช่น BLACK BOX STORY เล่าเรื่องอุบัติเหตุทางการบิน เล่าแล้วคนฟังเข้าใจแม้จะไม่มีพื้นฐานเลยก็ตาม หรืออย่างการทดสอบรถยนต์ของแต่ละช่อง มีไม่กี่คนที่พูดได้สนุก เนื้อหากำลังพอดี

การทำ content ในแต่ละ platform ต่างๆ

  • บน Facebook เราต้องหาทางเรียนรู้และอยู่กับมันให้ได้
  • Spotify จะเริ่มเน้น podcast มากขึ้น
  • ให้มองว่าแต่ละ platform เป็นเหมือนประเทศ ที่แต่ละประเทศ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำ content ในแต่ละ platform จะไม่เหมือนกัน ทำ content ให้เฉพาะเจาะจงกับช่องทางนั้นๆ มากกว่าทำตัวเดียวและลงทุก platform อาจจะเลือกทำบาง platform
  • การวัดผล ข้อมูลที่ละเอียดที่เราได้มาเอาไปทำอะไรต่อ บางอันทำไมมี engagement ดี บางอันที่เราตั้งใจทำอย่างดีทำไมถึงแป้ก
  • ตรวจสอบ feedback และวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้านอย่างจริงจัง มีข้อมูล support ในสิ่งที่เราทำ (เพื่อไปคุยกับ sponsor ได้อีกด้วย) และรู้จักเรียนรู้และปรับตัว

อยากเป็น Content Creator ทำยังไงดี?

ให้ลงมือทำ เราอาจจะไม่ดังตั้งแต่แรก ต้องใช้เวลา แล้วปรับตาม feedback ที่ได้รับ และให้คนดูเป็นคนตัดสิน

ทุกอย่างก็มีข้อดีและข้อเสีย สำหรับการเป็น Content Creator ให้เราลองจากการทำเป็นอาชีพที่ 2 ก่อน เพราะมีความไม่แน่นอนในเรื่องของรายได้ และมีความอดทนที่ใช้เวลานานกว่าเราจะเริ่มเป็นที่รู้จัก

5 คำถามเซ็กตัวเอง ก่อนเป็น Content Creator

  • เรามี Passion กับอะไร? อันนี้สำคัญ เรามี passion กับมันจริงๆใช่ไหม ให้ลองดูว่าเวลาว่างเราชอบทำอะไร อะไรทำแล้วคนสังเกต และเราทำอะไรได้ดี เช่น ถ่ายรูปอาหารก่อนกิน, เขียนสรุป, หรืออาจจะเป็นคนที่ให้คำปรึกษาได้ (ถ้าเรานึกไวๆ ประมาณพี่อ้อยพี่ฉอดงี้)
  • ช่องทางไหนที่เราจะใช้? ยังไม่ต้องตอบทันที ให้ลงมือทำและวัดผลก่อน ถ้าเราใช้เสียงอาจจะเป็นในรูปแบบ podcast, รูปภาพอาจจะเป็น Instagram, และอย่าลืม blog หรือ web ของตัวเอง สนับสนุนให้ทำ เพราะเป็นบ้านของเราเอง ไม่ต้องพึ่ง platform ไหนๆ
  • กลุ่มเป้าหมายของสิ่งที่เราอยากทำคือใคร? เก็บ data ให้เยอะ คนดูของเราหน้าตาเป็นยังไง เวลาไหน อยากดู content อะไร ทำให้เราค่อยๆเห็นภาพชัดขึ้น
  • คาแรกเตอร์และเอกลักษณ์ของเราคืออะไร? เราเก่งอะไร เอกลักษณ์ของเราคืออะไร และความแตกต่างของเราคืออะไร
  • จะสร้างคอนเทนต์ที่โดนใจได้อย่างไร? เรามีท่าไม้ตายหรือหมัดเด็ดอะไรในการสร้าง content โดยส่วนผสมก็จะมี เป้าหมาย + กลุ่มเป้าหมาย + คุณภาพ (ของ content/story line/ ความสั้นยาว/ ภาษาที่ใช้ / subtitle / สมัยนี้คนใช้หน้าจอเยอะ เช่น ดูทีวีอยู่แต่ยังไถ feed ได้ - multitasking)

Mission To The Moon

ที่มาที่ไปมาจากงานอดิเรกที่มีความเชื่อมโยงกับศรีจันทร์ ที่อยากให้คนรู้จักศรีจันทร์มากขึ้น และให้คนสนใจอยากเข้ามาสมัครงาน เลยเริ่มจากเขียนบล็อก ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่าย จนมีช่วงนึงจะเลิกทำ แต่ก็ได้โอกาสออกหนังสือเล่มแรก ชื่อว่า Marketing Everything

โดยตัว Mission To The Moon เป็นพื้นที่ที่ให้คนทำงานแบ่งปันความฝันกัน เป็นกำลังใจและให้ความรู้ จึงมีรายการข่าวที่เน้นข่าวต่างประเทศเยอะหน่อย

และเนื่องจากการที่คุณแท็บได้ไปประชุมในที่ต่างๆ ทำให้รู้สึกว่าเริ่มตามเรื่องใหม่ๆในการทำงานไม่ทัน เลยทำ content ที่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ 1 เรื่องในทุกวัน การเขียนบทความก็จะใช้เวลาและเหนื่อยเกินไป เลยทำเป็น podcast ทำให้เล่าแล้วเราเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ตอนแรกๆไม่ค่อยมีคนฟัง ก็เลยจะเลิก แต่มีคน inbox มาถามเรื่องตอนใหม่ เพราะเขาอยากฟัง เลยทำต่อ

ในตอนแรกทำคนเดียว จนตอนนี้มีพนักงาน 30 คนและจัดตั้งเป็นบริษัท มีการทำ planner ขายช่วงปลายปี

มีรายการ podcast และสื่อ video

และมีคาแรทเตอร์ใหม่ ชื่อว่าสมมูน โดยมูนมาจากพระจันทร์ และนำหน้าด้วยสม อันเป็นชื่อคนไทย และมาพร้อมหมาที่ชื่อไลก้า และแมวที่ชื่อลูน่า (จะว่าไป ทำไมนึกถึงกระดานเทรดคริปโตเจ้านึงเฉยเลย สีแบบนี้ง่ะ)

สำหรับศรีจันทร์ตอนนี้เริ่มทำ digital transformation นำมาต่อยอดในการทำ tool ในส่วนของ business ได้

Q & A

คนยกมือถามเยอะเลย

  • ทำอย่างไรให้ engagement post ให้ดี : ลักษณะ content ของเรามีจุดเด่นอย่างไร มี feedback เป็นอย่างไร มาวิเคราะห์และมองให้ออกว่าตรงไหนที่ดี ตรงไหนที่ไม่ดี นำมาปรับปรุง มาลองทำ และทดสอบใหม่
  • เกณฑ์อะไรที่บอกได้ว่าควรไปต่อ หรือไม่ควรไปต่อ : Facebook Group จะมี poll ถามว่าคุณคิดว่าอย่างไรดี เราจะได้ข้อมูลเชิงสถิติในการตัดสินใจได้ ให้คนดูเลือก และมีการโทนถามคนดู เพื่อคุยเชิงลึก ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร และเก็บ feedback ให้บ่อยเช่น ข้อมูลหลังบ้าน ถามคนดู
  • กลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริงๆ : ใช้ความถี่ ก็คือใช้ปริมาณ ให้คนเห็นเยอะๆ เพราะ content สำหรับอันนี้ผลิตง่าย และมีความสมํ่าเสมอของเรา สรุปคือใช้ความถี่พอสมควร และความสมํ่าเสมอของเรา และอย่าลืมไป explore platform ใหม่ๆด้วย
  • เคล็ดลับในการจูงใจตัวเองในการสร้าง content : การมี sponsor ก็เป็นส่วนหนึ่ง (ฮ่าๆ) เมื่อพอมันเป็นงาน เราไม่อยากทำเราก็ต้องทำ ทำยังไงเราถึงจะทำได้ทุกวัน? เราจะทำทำไม? หาพลังในช่วงแรกๆ
  • แบ่งเวลาอย่างไรสำหรับบทบาทผู้ประกอบการ และ การเป็น Content Creator : งานจะหนักขึ้น เพราะทำงาน 2 ที่ และให้ทำใจ คุยกับคนรอบข้างให้เยอะ เกี่ยวกับลักษณะงาน และการเข้ามานั่งที่ออฟฟิศ อธิบายให้ทั้งสองที่เข้าใจ ถ้าทำไม่ทันจะทำชดเชยให้ overcommulicate ไว้ก่อน และบางทีอาจจะทำ overwork ทำให้ยังไม่ได้นอน เพราะมันเป็นส่วนนึงของชีวิต ทำให้เห็นคุณค่าของเวลามากขึ้น เราจะอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ตั้งใจทำมากขึ้น เช่น เล่นกับลูกก็ต้องจดจ่อกับลูก อย่าคิดเรื่องงาน
  • build community อย่างไร? : สิ่งที่คุณแท็บคิดว่าจะทำ ลักษณะของ content ไม่ซํ้ากับช่องทางหลัก และมีความพิเศษขึ้นมานิดนึง ให้ทำตัวสบายๆ เข้าไป engagement ในนั้นเยอะๆ และคนมองเห็นโพสเราจากในกลุ่มได้ดีกว่า เราสามารถ lead content ในกลุ่มอันที่ดีๆไป content หลักได้ แต่งานเราจะเพิ่มและใช้ความขยัน

in my opinion

  • เห็นด้วยในการทำงานที่เรารัก และเป็นอาชีพ เช่น การเป็น Android Developer ของเรานั่นเอง แหะๆ เป็นงานประจำที่ทำอยู่ปัจจุบัน ส่วนการเป็น Content Creator ของเราก็จะเป็นอาชีพที่ 2 ที่ก็ไม่ค่อยได้งานสปอนเซอร์เท่าไหร่ อาจจะขายของแบบ digital product แทน ส่วนการเป็นชาวไร่ฟาร์มก็ไม่เชิงเป็นอาชีพเสริมเท่าไหร่ เพราะเน้นลงทุนแล้วได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคาร ฮ่าๆ
  • เราเองยังวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้านไม่ค่อยถูก แต่คิดว่าคนคงอยากจะอ่านอะไรที่เป็นประโยชน์ เข้าใจง่าย และเน้นข้อมูลเชิงลึกแบบที่เราทำแหละเนอะ ก็หวังว่าถ้าเป็น content coding ก็ช่วยอ่านกันหน่อยน้าา
  • จริงๆเพจ MikkiPastel ก็ตั้งมาจะครบ 9 ปีหล่ะ แต่แค่ปีนี้ยอด like/follow และ engagement พุ่งสูงจาก content แบบใหม่ๆที่เราทำ มาจากการลงมือทำ บวกกับนำเรื่องที่ตัวเองและคนอื่นสนใจร่วมกันมาทำ content ซึ่งถามว่าเหนื่อยไหม หลังๆเริ่มเหนื่อยหล่ะวาดรูปไม่ทัน 555
  • จริงๆคนในสายงาน programmer เรามีภาพจำที่สรุปบล็อกต่างๆได้อย่างละเอียด หลังๆงานจัดไม่ได้ก็สรุปอย่างอื่นแทน เช่น คอร์สเรียน ทำให้เราและคนอ่านได้ทบทวนกันด้วย และพยายามหาเรื่องที่เราลองทำแล้ว search Google ไม่เจอด้วย
  • เห็นด้วยกับการสนับสนุนให้ Content Creator มีเว็บเป็นของตัวเอง กว่าเราจะเริ่มได้และทำจนเสร็จก็ต้นปีที่แล้ว ตอนนี้ก็มาเขียนในเว็บของเราประมาณปีกว่าๆ และพยายามดูข้อมูลหลังบ้านอย่างสมํ่าเสมอ ค่าใช้จ่ายก็มีค่า server ที่ตั้งใน Digital Ocean ในทุกเดือน และค่า domain name เนอะ เพราะเขาบอกว่า เราควรมี asset เป็นของตัวเอง
  • บางอย่างลงไปปังมาก บางอย่างลงไปแป้กก็มี บางอย่างลงไปคนอาจจะเฉยๆ แต่คน search เข้าเว็บเราประมาณนึง ดังนั้นให้ทำ SEO ควบคู่กันไปด้วยเนอะ
  • เคล็ดลับในการจูงใจตัวเองในการสร้าง content ของเราคือ อยากเรียนรู้เรื่องอะไร ก็เอามาทำ content ต่อได้ อาจจะเป็นเรื่องงาน หรือความสนใจ หรือความสงสัยส่วนตัว ทำให้เราได้เรียนรู้และเก่งขึ้นด้วย :D

การนำเสนอผลงานจาก 10 Finalists

อันนี้ขออนุญาติ wrap-up ภาพสั้นๆของทั้ง 10 คนที่เข้ารอบน้าาา แต่ละคนทำได้สนุกและน่าสนใจมากๆเลย

แต่ละคนจะมีเวลานำเสนอผลงาน 5 oาที และมี commentator 5 ท่านเป็นคนตัดสิน ก็จะมี speaker วันนี้ 3 ท่าน คุณหญิงจากทาง TMRW และคุณเอ็มจากทาง RainMaker จ้า แต่เวลาเรามีไม่เยอะ จะให้ commentator ทำการ comment ผลงาน 2 ท่านต่อ 1 คนจ้า

  • chindkw อันนี้เป็นคลิปเพลงแร๊พประกอบการเล่าเรื่องการจัดการการเงิน ลงผ่าน Instagram และได้นำเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์มาเป็นแนวคิดในการทำ Assignment
  • ท้อแท้ The Salary Peach เป็นเพจมนุษย์เงินเดือน ที่เอาชื่อวัคซีนโควิดมาเล่น และรูปสุดท้ายขายของ ตัว cash plus ที่ยืมเงินได้ โดยหาจุดร่วมกันของ product, target group และ situation มารวมกัน
  • Single Mom Shark แม่ลูกฉลาม ด้วยความที่แม่ฉลามครีบสั้น ทำอะไรลำบาก เลยนำมาผนวกกับแอพ TMRW ที่จัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย และมีความ international ที่ไม่มีกำแพงภาษา ทำให้ทุกคนสามารถเก็ทตามกันได้จ้า
  • HappyBeww เป็นคลิปพาคุณพ่อไปกินชานมไข่มุก ตามโปรโมชั่น wow 1 baht ซึ่งคุณพ่อเป็นตัวละครหลักของช่องนี้เลย โดยนำจุดร่วมของตัว TMRW บวกกับจุดแข็งของช่องตัวเอง จึงได้คลิปที่น่ารักๆแบบนี้ออกมา
@happybeww

ป๊าถูกใจสิ่งนี้ TMRW รายละเอียดส่วนลดคลิกลิ้งค์บนโปรไฟล์ด้านบนเลยค่ะ ##TMRW ##tmrwcreatorscamp2021 ##ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ

♬ เสียงต้นฉบับ - Biu Beww
  • ลงทุนศาสตร์ - Investerest เป็น content บทความเกี่ยวกับการลงทุน โดยใช้หัวข้อในการ hook คนให้เข้ามาอ่าน ในนั้นจะอธิบายข้อดีของ product เนื้อหาที่แน่น และด้วยความที่เป็นเพจการเงินอยู่แล้ว จึงนำจุดแข็งของเพจ ความสนใจของคนที่ตามเพจ และตัว product เข้าด้วยกัน เพื่อทำ content ที่ตอบโจทย์แบรนด์และคนติดตาม (จริงๆเราแอบไม่อิน เพราะเราว่า DeFi ได้เยอะกว่าง่ะ)
  • พี่น้องป.4 หยิบความพี่น้องมาเล่น โดยแนวคิดในการทำ content เปรียบเหมือนส่วนประกอบของบ้าน โดยตัว product จะเป็นหลังคา พื้นเป็นตัวเพจ และคนดูเป็นตัวบ้าน โดยหยิบการเป็นน้องเล็กของบ้านมาทำเป็น content ยืมเงิน 50,000 จากพี่ๆทำร้านครัวซอง เสนอเป็นละครในแบบต่างๆ และไต่ระดับความฮาไปเรื่อยๆจนจบ เพื่อให้คนดูจนจบและเห็นช่วงขายของนั่นเอง
  • ม่อนม่อน อันนี้ชอบ ทำเกมส์จีบสาวมาเลยจ้า น้องมอร์โร่น่าร้ากกกก โดยหยิบเอาคำว่าคู่ชีวิตมาเล่น ว่าดูแลการเงินดีเหมือนแม่ หรือภรรยา นั่นเอง
  • แม่ เมนูนี้ทำไง เป็นบทสนทนาที่คุยกันกับยาย เรื่องยืมเงิน ว่าถ้ายืมเงินเพื่อนและจะเสียเพื่อน แล้วยืมเงินยายจะเสียยายไหม ซึ่งคุณยายน่ารักมาก
  • ShawChannel หยิบความเป็นพ่อบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องรอบตัว มานำเสนอด้วยความสนุก ว่า TMRW เป็นแอพที่จัดการการเงินให้เรา ให้ตอบคนที่บ้านได้ง่ายขึ้นนั่นเอง โดยหลักการของเขาก็คือ ONM ซึ่งย่อมาจาก One Night Miracle นั่นเองงง
  • I Am Sneakers อันนี้ production ดีมากๆ เหมือนเป็น ads เลย มีการทิ้งปมให้คนอยากดูต่อ และทำคนเดียวทั้งหมด ทั้งคิด storyboard ถ่ายทำ ตัดต่อ โดยใช้หลักการ C2O ก็คือ Contribute, Commulity และ Opinion นั่นเอง

ปล. ที่เราสังเกต commentator ทุกท่านมีการทำการบ้านโดยการไปดูผลงานของแต่ละคนมาก่อนแล้ว เลยมี feedback ให้แต่ละคนได้ไปคิดต่อ

การปรับตัวของครีเอเตอร์ในยุคแห่งความไม่แน่นอน – คุณสุทธิชัย หยุ่น

CONTENT CREATOR IN THE COVID ERA:

Digital Transformation มีการเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อ แต่คนยังอยากเสพ content เหมือนเดิม และโลกกำลังเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม

ในช่วงโควิด กลายเป็นโอกาสของคนตัวเล็ก ทุกคนเจ๊งเหมือนกันหมด เช่น ธุรกิจการบิน ทำให้ทุกคน start ใหม่เหมือนกันทั้งหมด สร้างศักยภาพและเริ่มต้นใหม่ได้

การสร้าง content ด้วย technology ใหม่ ทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่า และเนื้อหามีความน่าสนใจกว่า อนาคตของสื่อจะเป็นของคนสร้าง content

และ content อะไรที่ทุกคนแสวงหา เหมือนเราเดินเข้าไปในป่า ถางพงหญ้าเข้าไป

Don't waste a Good Crisis!

อย่าไปกลัววิกฤต ทุกครั้งที่มีวิกฤตจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นมา เราจะเป็นคนที่สร้างประโยชน์ได้ และถ้าเราไม่เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เราจะไม่ชนะ

PEOPLE WANT POST-COVID SCENARIOS

ช่วงนี้ใคร search อะไรมากที่สุด? people stay home ดังนั้น people want post-COVID scenarios แนวคิดในการสร้าง content คือ มองหาโอกาสหลัง COVID ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และกลับมาสร้างโอกาสหลังโควิด

content อะไรเปลี่ยนสังคมที่เราเป็นอยู่? สร้าง content มองไปข้างหน้า ทำให้เราได้ engagement ที่ดี และบทสนทนาจะเปลี่ยนไป

DIY Project : คนต้องการทำอะไรเองเป็น เพราะติดอยู่กับบ้าน ทำให้เราได้ฝึกทักษะและได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

เรื่องการศึกษามีมากมายในทุกๆด้าน เช่น คนตกงานจากกรุงเทพ มาทำเกษตรที่บ้านเกิดโดยการปลูกผัก และสามารถช่วยเหลือชุมชนได้อย่างไร มีเรื่อง logistic กับ delivery ในการส่งต่อสินค้าเกษตรไร้สารกับลูกค้า และสร้าง content ในการแปรรูปสินค้าเกษตรให้ทันสมัย โดยการใส่ branding และ marketing ลงไป

ดังนั้น เอาสิ่งที่ตัวเองหรือคนอื่นอยากรู้ ทำให้เกิดขึ้นมา

HOW TO-

ตัวอย่างคือ คนสนใจในการลงทุนใน cryptocurrency เยอะ หรือเรื่องการลงทุนส่วนตัว

อันนี้ก็คือ How To ต่างๆในบ้าน เช่น การสร้างความสัมพันธ์ในบ้าน, การ work from home, หรืออะไรก็ตาม ที่เป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ

สิ่งที่เป็นกระแสหลักในการทำ content และแต่ละคนมีประสบการณ์ในแต่ละบ้านที่แตกต่างกัน ทำให้มี content ถาวรที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง

HEALTH, WELL-NESS IS BIG

สุขภาพ ในชีวิตวิถีใหม่ ทำให้คนเปลี่ยนวิธีคิดด้านสุขภาพอย่างถาวร เช่น การสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด ทำให้มีคนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ลดลง

ดังนั้นเราสามารถเล่าในแบบของตัวเองได้ ไม่เน้นแบบวิชาการ เน้นประสบการณ์ของเรา

COOKING IS BIG TOO

ใครๆก็สร้าง content ทำอาหารได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเซฟ สามารถเล่าและแลกเปลี่ยนกับคนอื่นได้

VIDEO STREAMING HAS INCREASED: TIME TO RAM UP CREATING VIDEO CONTENT

content ที่เป็น video streaming ก้าวกระโดดอย่างมหาศาล และชีวิตคนทั้งโลกพึ่งพาอาศัย live streaming content คนโหยหาความสดและความธรรมชาติ ซึ่ง content แบบนี้อยู่กับเราอีกยาวนาน และ content creator เป็นอาชีพที่ถาวรได้

PEOPLE WANT TO CONNECT

สังเกต engagement ของการ live สูงอย่างมีนัยสำคัญ คนต้องการความสดและสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ สิ่งนึงที่อันตราย คือความเหงา ความรันทด เช่น ผู้ป่วยโควิดที่ถูกกันออกมาจากสังคมภายนอก มีการสร้าง connection กันด้วยการเชื่อมต่อ connect กันโดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน

ดังนั้นเราต้องการ connect หรือเล่าเรื่องอะไร ความรู้สึกของคนจะมีความกลัว ความกล้า ความไม่แน่นอน เช่น กลัวเหงา กลัวตาย กลัวไม่ได้ฉีดวัคซีน กลัวติดโควิด และต่างๆ ถ้าเราทำเป็นเนื้อหาที่จับต้องได้จะวิเศษมาก

การมีโควิดเป็นการตอบยํ้าความกลัว และเผชิญความไม่แน่นอนของมนุษย์ เราสามารถทำเป็น story แชร์ออกไปเป็นรูปธรรมได้

PEOPLE WANT HOPE

ทุกคนสลับความกลัวและความหวังตลอดเวลา เราสามารถใส่ความกลัวและความหวัง ให้สามารถจับต้องได้มากขึ้น เอาคนมาสวมความรู้สึกนั้นให้ได้

PEOPLE WANT TO LEARN

คนเรามีความกลัวและมีความหวัง ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน เราไม่สามารถอยู่กับความกลัวได้ตลอดไป และเรียนรู้ เพื่อให้เราวิเคราะห์เป็น ทำให้เกิดกระบวนการสร้าง content

NEW SKILLS, UPGRADE SKILLS

  • มีการ upskill และ re-skill ในด้านต่างๆ เช่นการทำงาน การทำ cintent
  • แนะนำให้ทำ podcast เพราะเสียงไปได้ไกลกว่า video
  • 4C -> Content Creator Crisis Create
  • ทำ content ในยามวิกฤต เน้นไปทาง innovation ความตระหนักถึงว่าจะวิกฤต

Q & A

  • เทคนิคในการเตรียมสัมภาษณ์ : ทำการอ่านเกี่ยวกับหัวข้อหรือบุคคลที่เราจะทำการสัมภาษณ์ และคิดต่อว่าถ้าเขาไม่เคยเจอคำถามนี้มาก่อน เขาจะทำยังไง และดึงตัวตนของเขาให้มากที่สุด และอย่าลืม follow-up คำตอบของคำถามที่เราถาม อย่ายิงคำถามไปให้หมดเพราะกลัวจะไม่ได้ถาม ดังนั้นให้ฟังคำตอบ ทำให้เราเกิดคำถามใหม่ ที่เราไม่ได้เตรียมมา
  • ยุคสมัยการสัมภาษณ์เปลี่ยนไปมากไหม? : TV มี format ที่ชัดเจน เป็นทางการ และซีเรียสจริงจัง เพราะออก TV คนดูทั้งประเทศ ส่วนแบบ online จะสบายๆ และเปิดเผยมากกว่าหน้าจอ TV ทำให้การสนทนาราบรื่น สนุก และ relax
  • เคล็ดลับในการปรับตัวเข้ากับ Social Network Platform ใหม่ๆ : ให้คิดว่ากลัวตกรถไฟ กลัวตกเทรนมากกว่ากลัวไม่มีใครติดตาม ให้มองว่าเป็น 4 แยกใหญ่กลางเมือง ที่ทุกคนเจอกันทุกวัน ใครสนใจอะไรก็คุยกันได้ และปรับตัวเข้า Social Network Platform นั้นๆ ดังนั้นถ้าเรามีอะไรที่น่าสนใจ ให้ทำต่อเนื่อง อย่าทิ้ง ไม่ซํ้าใคร ถ้ามีความซํ้าเราต้องทำให้ดีกว่าเขา และสร้างเป้าหมาย ทำให้เกิด commulity และ social movement ได้

in my opinion

  • จากเหตุการณ์ที่จู่ๆเขา lock down ตอนตีหนึ่งน้านนนนน เฮ้ออออออ
  • เอาจริงๆเราเห็นคุณสุทธิชัยใน social platform ต่างๆ และเป็นคนที่ปรับตัวได้ไว และเห็นเขาเป็นคนลงมาเล่นเป็นคนแรกๆในวงการสื่อนะ ที่เราสังเกต
  • จริงๆทางเราเตรียม content สำหรับ Work from home เพิ่มอยู่แหละ แหะๆ รวมทั้งทำ content จากการเรียนออนไลน์ที่ดองๆไว้ และงาน online event เพราะเราคิดว่าเราจะทำ content ที่ให้คนอ่านได้ upskill ไปพร้อมๆกับเรา
  • ทุกสายงานมีการ upskill และ re-skill อยู่ตลอด ถือเป็นเรื่องสำคัญ
  • ส่วนตัว podcast ยากเรื่องทำ SEO ก็เป็นการบ้านให้ Content Creator คนอื่นๆที่ทำรายการ podcast เนอะ แหะๆ

ประกาศผลรางวัลโครงการ TMRW Creators Camp 2021

.

มีการประกาศ Top Engagement ก่อน ก็จะมี gifutou แม่ เมนูนี้ทำไง และ HappyBeww

จากนั้นประกาศที่ 3 แม่ เมนูนี้ทำไง คุณแม่คุณยายดีใจแน่ๆเลย

ที่ 2 HappyBeww เพจนี้คุณพ่อน่ารัก

และที่ 1 พี่น้องป.4 นั่นเอง เพจของพี่น้อง 4 คน ที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ป ทั้งหมดเลย

ขอแสดงความยินดีกับทุกคนด้วยจ้า

จบด้วยการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันทั้ง 5 acts ไม่มีใครเตี้ยมท่าเลยในช่วงแรก แหะๆ นึกท่าไม่ทัน ไม่ได้เจอคนจริงๆนานหลายเดือน 555

รูปทั้งหมดจะอยู่ในนิตยสาร a day ฉบับเดือนกรกฏาคมด้วยน้าา และทาง TMRW ใจดี ให้เล่มนี้กับทุกคนเลยจ้า

.

และด้วยความที่เราส่งครบทั้ง 2 assignments ทาง Rainmaker ก็มีเกียรติบัตรให้เราด้วย เป็นไฟล์ดิจิตอนนะ ส่งเข้าให้ทาง email

ทิ้งท้าย~

ในช่วงเวลารับสมัคร จนมาถึงวันนี้ เราถือว่าเป็นการเดินทางมาไกลของเพจเล็กๆเพจนึง ในวันแรกที่สมัครมาค่ายนี้นั้น เรามียอดติดตามในเพจ 3,000 กว่าคน จนมาถึงวันนี้ที่มียอดคนติดตาม 11,000 กว่าคน ก็ไม่สามารถบอกได้เต็มปากแหละว่าค่ายนี้มีส่วน เพราะตอนที่ทำ content รีวิวคริปโตก็ก่อนค่าย ทำให้เรามียอดติดตามเพจเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 เท่าในตอนแรก แต่เราก็ได้ความรู้จากทุกๆท่านในการพัฒนางานของเราต่อไป แหะๆ และเป็นช่วงเวลาที่พิเศษช่วงนึงของชีวิตของการทำเพจมานั่นแหละ

สุดท้าย ขอบคุณทาง Rainmaker ที่จัดงานนี้ขึ้นมา และดูแลพวกเราทุกคนเป็นอย่างดีเลย และขาดไม่ได้เลยคือ TMRW สปอนเซอร์ที่ทำให้ค่ายนี้เกิดขึ้นมา ที่สำคัญ speaker ทั้ง 11 ท่านที่เป็น creator ระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ให้ความรู้กับเรา เพื่อพัฒนา content ต่อไป

ผู้เข้าร่วมทุกคน ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ไม่เจอเคยหน้าและพูดคุยกันจริงๆจังๆเลย แหะๆ (คือตั้งแต่เริ่มจนจบก็ไม่ได้รู้จักใครเป็นจริงเป็นจัง ฮ่าๆ ซึ่งงานมัน online แหละเนอะ) จริงๆคือทุกคนเก่งในแบบที่ตัวเองเป็นแหละเนอะ เท่าที่ดูการแนะนำตัวแล้ว 100 คนก็ 100 แนวทางกันไปเลย ไม่ค่อยซํ้ากันเนอะ หลายๆคนในค่ายก็อยากแบ่บนัดเจอคุยกันงี้ แต่สถานการณ์ดีๆแบบนี้ (หึหึ) เราจึงต้อง online กันก่อน ก็รอติดตามกันต่อไปเนอะ

ท้ายสุดขอบคุณหลายๆคนที่อ่าน content สรุปค่าย TMRW Creators Camp 2021 โดยเฉพาะวีคแรกที่ engagement ดีมาก และมียอดคนติดตามเพจเพิ่มขึ้นด้วย

และขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบ และติดตามทุกช่องทางของ MikkiPastel ด้วยน้าา


 download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่

MikkiPastel - Apps on Google Play
First application from “MikkiPastel” on play store beta feature- read blog from https://www.mikkipastel.com by this application- read blog content by chrome custom tab- update or refresh new content by pull to refresh- share content to social network
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mikkipastel.blog

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

ช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า

และ YouTube ช่องใหม่จ้า

mikkicoding
Android Developer & Content Creator
https://www.youtube.com/channel/UCtGbMSe4i7NJiKQ271Fezcg

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.