สอนยังไงให้สนุก กับพี่ต้า แห่ง Skooldio กับ Effective and Creative

Learning Oct 16, 2022

สวัสดีบ่ายวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม กับวิธีการร้อยเรียงของในหัวของเรา ออกมาเป็น course หรือ workshop โดยประยุกต์กับการเป็น content creator ของเรา

และนี่คือบรรยากาศในงาน ซึ่งเน้นเม้ามากวันนั้น 555

.

ก่อนอื่นเลยพี่ต้าได้มีการเปลี่ยน slide ก่อนเริ่ม session เพราะมีการปรับเปลี่ยน slide ตาม audience

ก่อนอื่นมีการให้แต่ละคนคุยกัน แนะนำ content ที่ชอบในอาทิตย์นี้ ให้เพื่อน ๆ ได้ฟัง

warn-up

  • การทำ content เกิดขึ้นทุกเวลา
  • คนชอบ content ที่ relate กับเรา
  • มีการระดมความคิด อะไรเป็น hope และ fear ของการสอน
    ถ้ากลัวสอนผิด ให้คนอื่นช้วยดู และถ้าสอนผิด ยอมรับว่าสอนผิด
    ถ้าเราไม่รู้ ตอบไม่รู้ (คิดว่าคงไม่ตอบคำว่าไม่รู้สามครั้งเนอะ 555)

Today's Goals

  • Experience: การทำ workshop
  • Learn: เรียนรู้การสอน
  • Practice: การเตรียมการสอน

เนื้อหาในวันนี้ อ้างอิงจากหนังสือที่ชื่อว่า Training from the BACK of the Room!

https://www.amazon.com/Training-Back-Room-Sharon-Bowman/dp/0787996629
"learners talk and teach, they learn"
ทุกคนมีศักยภาพ และความรู้ในตัว ให้ดึงของออกมา

The 4Cs

  • Connections: คนเรียน focus และจำได้มากขึ้น เมื่อเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
  • Concepts: ในส่วนของเลคเชอร์ สอน concept ใน multisensory (หลายประสาทสัมผัส) ฟังแล้วลงมือทำ ทำให้เราจดจำได้มากขึ้น
  • Concrete Practice: ทำยังไงให้ทำสิ่งที่เรียน มาลงมือทำ เช่น การสอนแล้วทำ workshop ไปด้วย วางเพื่อให้รู้จุดอ่อนของคนเรียน และเราสามารถช่วยเขาปิดตรงนี้ได้
  • Conclusions: ตกผลึกจากสิ่งที่เราเรียน

Connections

เน้น learner-focused ให้คนเรียนทำกิจกรรม

  • learners to other learners: คนเรียนได้รู้จักกัน แลกเปลี่ยนความเห็นกัน
  • learners to their own learning goals: เป้าหมายในการเรียน
  • learners to the topic: เรียนจากเรื่องที่เราสนใจ
  • learners to the learning outcomes: ภาพปลายทางของคนเรียน หลังจากเรียนจบ

ข้อควรระวัง: connections, not icebreakers

ถ้าไม่ meaningful อย่าทำ เปลี่ยนเป็น connection activity ทำให้อยากเรียนต่อมากขึ้น

ตัวอย่าง

  • Pre-workshop survey: ดูความต้องการของคนเรียน
  • แนะนำตัว และพูดเรื่องที่ relate กับ topic
  • เขียน post-it ว่าอยากรู้ หรือเรียนอะไร ท่านี้พี่แบงค์ UX ทำบ่อย
  • ทำ quiz

ตัวกิจกรรมไม่ต้องยาก อยู่ที่เราอยากให้ connect กับอะไร เช่น

ถ้าใครเคยเรียนบน FutureLearn จะเห็นว่านอกจากมีบทเรียนที่ให้ดู video จะมีอย่างอื่นให้ทำด้วย อย่างถามตอบ poll มีบทความให้อ่าน มีคล้าย ๆ podcast ให้ฟัง และอื่น ๆ เจ้านี้เราชอบมาก ๆ เลย ได้ประสบการณ์การเรียนที่แตกต่างจากที่อื่น

ของที่ Skooldio คอร์ส Digital Leadership Bootcamp เขามีทำ bingo ซึ่งใช้แรงงานเดฟประมาณนึง ให้คนเรียนมาเล่นโดยการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่เรียนด้วยกัน เพื่อสื่อให้เห็นว่า ข้อมูลทุกอย่างเป็น digital และ data พวกนี้ ถ้าเรามีเอามาใช้งานได้ประโยชน์มหาศาล ขนาดทำกิจกรรมยังมีข้อมูลขนาดนี้เลย แล้วทำธุรกิจน่าจะมีมากกว่านี้

ส่วนที่เว้นว่าง ๆ คือเขาไม่ได้มาวันนั้น แหะ

มีคำถามจากเพื่อนร่วมคอร์สว่า ถ้ามีคนถูกบังคับให้มาเรียน แบบเรียนแล้วไม่ได้สนใจเรียน ไม่ engage กับคนสอน จะทำยังไงดี พี่ต้าบอกว่า ถ้าเลือกได้ จะไม่รับคนกลุ่มนี้เข้ามา บางครั้งองค์กรส่งพนักงานมาเรียน เขาก็มาเรียนไปอย่างงั้น เลยอาจจะมีแบบสอบถามให้เขาทำก่อน หรือไม่ก็โทรไปคุยกับเขา บางคนเขาก็ไม่รู้ตัวด้วยว่าถูกส่งมาเรียนคอร์สนี้ หรือถ้าเลือกไม่ได้จริง ๆ ให้ distract ในสิ่งที่เขาสนใจ เข้าหาเขาในสิ่งที่เขาสนใจ

Concepts

  • Need-to-Know: สอนเฉพาะสิ่งที่เขาต้องรู้ และกันเวลาให้ตกผลึกบ้าง อาจจะเป็น 60:40 ก็ได้ หรือถ้าเวลาเหลือครึ่งเดียว เราจะสอนอะไรเขาบ้าง ทำให้เราเลือกเนื้อหาที่จำเป็นจริง ๆ ออกมาได้
  • Learner-Focused: ให้คนเรียนต้องทำอะไรตลอดเวลา เช่น note-taking pages มีกระดาษให้เราจด
  • Interactive Lecture: เช่น การเรียน stat และ data

และเราก็ได้เรียน data จากพี่ต้า จริง ๆ นะ

แน่นอนว่าเพจ drama-addict ของจ่า กับเพจอีเจี้ยบเลียบด่วน เป็นคู่จิ้น เอ้ยย เพจคู่กัดกันในสมัยนั้น บทเรียนนี้ก็เลยนำสถิติจาก 2 เพจดังมาวิเคราะห์ จะมีถามก่อนว่าติดตามเพจไหนบ้าง

แล้วก็โพสอันนี้ คิดว่ามาจากเพจจ่า หรือเพจเจี้ยบ และเพราะอะไรถึงคิดแบบนั้น ถ้าคนไม่รู้จัก 2 เพจนี้ อาจจะให้เขาไถฟีดดูทีหลังได้

อันนี้ข้อมูลยอดแชร์โพส สังเกตว่าเพจจ่าคนแชร์เยอะกว่า เพราะข้อมูลที่เป็นประโยชน์

อันนี้เป็นจำนวนโพสในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละเพจ ดูมุมขวาด้วย ข้อมูลปี 2015 - 2017 นะ ไม่ใช่ปัจจุบันเน้ออ กลัวคนอ่านบล็อกงง 555

แล้วก็มีไฟล์ excel ตัวนี้ ที่ผ่านการ train data มาแล้ว เอาคำที่คิดว่าเป็นจ่าหรือเจี้ยบมาใส่ เช่น คำว่า อีด-อก เป็นของเพจเจี้ยบแน่ ๆ เลย แล้วใช่ไหมนะ ก็ดูจากตัวนี้ได้เลย (คำถาม คือ คำอื่นดี ๆ ก็มี ทำไมถ่ายคำนี้มานะ 5555555)

แล้วไป ๆ มา ๆ โต๊ะเราก็มีบทสนทนาเกี่ยวกับเลขมงคลขึ้นมาจากคุณมาร์ช โดยจำที่มาไม่ได้ น่าจะ continue จากอันนี้ เหมือนเราสามารถวิเคราะห์เลขพวกนี้เองได้ ว่าเลขไหนดี ไม่ดี เป็น stat และ pattern ซึ่งเราเองก็สงสัยว่าเลข wallpaper สายมู เขาเองเลขจากไหนว้า น่าจะเลขวันเดือนปีเวลาเกิดมั้ง

  • สิ่งที่นักเรียนต้องทำ ต้อง engage เพื่อให้ได้ความรู้ และให้เขาได้วิเคราะห์เอง
  • Active Learning: excel, codelabs อาจจะมีนั่งกด แก้โค้ดนิด ๆ หน่อย ๆ ไปจนถึง live coding, interactive book / articles, interactive playground เช่น TensorFlow หรือ challenge เขา โดยการให้โจทย์, ทำมือ เหมาะกับ in-person, case discussion อันนี้พี่ต้าเรียนคอร์สนึงของต่างประเทศ หน้าตาเป็นแบบนี้เลย ถ้าแบบ in-person ก็จะยกมือเนอะ แต่แบ่บ online ยกมือก็คงไม่เห็น ก็เลยเป็นหน้าเราที่แปะตัวเลือกของเราแบบนี้
  • Retrieval Practice: เป็นการดึงของจากในสมองออกมา ทำให้เรียนแล้วจำได้นานขึ้น
เรื่องนี้เคยฟังใน clubhouse เลยเอามาสรุป อ่านต่อในบล็อกข้างล่างนี้ได้เลย
สรุป Clubhouse ”การเรียนรู้อย่างทรงพลังด้วย Retrieval Practice”
บล็อกนี้จดจาก clubhouse ของอาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งไม่ได้ใช้ Retrieval Practice จดแต่อย่างไร แหะๆ และเป็นห้อง clubhouse แรกที่ทำสรุปแบบจริงจังด้วยหล่ะ
  • Shorter Segments: เรียนและตกผลึก เช่นทำเป็น micro learning บทเรียนสั้น ๆ หรือแบบ Google Primer ก็ได้
  • Learning Objective: เน้นความเข้าใจ ให้เขาเปลี่ยนแค่ parameter พอ แต่ถ้าเน้น syntax แบบสาย coding ก็ให้พิมพ์

จากนั้นพักทานขนม พี่ต้าบอกให้ไปลองเล่น Google Primer แล้วมาเล่าให้ฟัง สรุปทุกคนกินขนมไป เม้าไป แล้วนี่เม้าเรื่องอะไร การทำ content ในวัน demo ว่าอะไรคืออะไรยังไงบลา ๆ

อันนี้ภายนอกเหมือนดังโงะ แต่จริงๆคือซาลาเปาไส้หมูอบ และมันม่วงจ้า ตัวอันนี้มีอันนึงทำเหมือนเห็ดเลย เคยเห็นรูปอยู่

Concrete Practice

การลงมือทำอย่างจริงจัง

  • Active Participation by ALL learners: แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงมือทำเยอะ ๆ
  • Collaboration Interdependence among learner: ทำให้กลุ่มมี mission ร่วมกัน
  • รูปนี้ จะเริ่มที่ตัว Concept ถ้าเรียน online ก็จะเน้นความรู้ เริ่มที่ Direct Instruction จากนั้นเป็น Guided Instruction แล้วมาสู่ Concrete Practice เป็นการ workshop ลงมือทำ โดย Collaborative Learning ทำไปด้วยกัน และเมื่อคนเรียนแข็งแรงขึ้นแล้ว ก็เป็น Independent Work ให้เขาลองทำเอง เป็นการวัดว่าเขาเรียนรู้เรื่องไหม
  • Learning Goals: อันนี้ที่ทาง Skooldio มี บอกลูกค้าว่าเอ้อมี Online Learning, Instructor-Led Training, Peer Learning, และ Work-Based Learning เรียนแล้วเอาไปใช้ในงานของเขาได้
  • วิธีไหนที่เหมาะสมที่สุดในการสอน ก็จะประมาณนี้

ตัวอย่าง เช่น ชุด bootcamp ก็จะมีให้เรียนแบบ online สลับกับ offline workshop กลุ่ม มี coaching และจบด้วย pitching

Conclusions

ได้สรุป ตกผลึกกับตัวเอง

  • learner-focused: สรุป, eveluate ได้ในสิ่งที่คนเรียนตั้งใจไว้ไหม, เรียนแล้วอยากทำอะไรต่อ, celebrate คนจำตอนแรกกับตอนจบ leave with positive feeling ♥️
  • make connection: ทำไมเราต้องรู้เรื่องนี้ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Tips and Tricks

case study ต่าง ๆ

TED Talk: แต่ละ session ยาวประมาณ 15 นาที มี hard cut 18 นาที พี่ต้าใช้เวลาซ้อม 3 เดือน มี curator คุมให้ ในช่วง 3 นาทีแรกแนะนำตัวยังไงให้คนฟังรู้สึกว่าคนนี้เก่งจริง มีของ โดยไม่โอ้อวดอ่ะ

Facebook post viral

  • เล่นกับกระแส เช่น พูดเรื่อง UX เกี่ยวกับ ตู้เต่าบิน และ PDPA

.

.

  • ท่านชัชชาติ + ทีมขายอะไร ก็เลยเอาเรื่อง Agile มาพูด และทำอะไรให้ reuse เช่น cost ในการทำรูปท่านชัชชาติราคา 3000 บาท ใช้สองรอบก็เฉลี่ยครั้งละ 1500 บาทงี้ คือยิ่งใช้เยอะยิ่งถูกลง คุ้มค่ามากขึ้น

.

ขี้เกียจเลื่อนหาในเพจหล่ะ https://www.blockdit.com/posts/62ab22c9d6e3fcb41673ed78
  • ใน Facebook Post มี CI เล็ก ๆ ของแต่ละคอร์สด้วย
  • เล่นกับ data ยังไงให้ตอบ value

เช่น ตอนนั้น My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน ดังมาก แล้วมีน้องดู แล้วเขาก็ทำมาใช่ป่ะ แล้วเก็บข้อมูลแบบ manual มาก ๆ เช่น ฉากวาปไปมา ใครวาปไปมาหาใครกี่ครั้ง

.

อันนี้ก็เล่นกับข้อมูลเหมือนกับ เกี่ยวกับรายการ 5 Minute Podcast

.

  • The Secret Sauce มี video content, ทำ content ให้คนอยากแชร์กับเรา

เริ่มจากที่พี่ต้าทำบน Google Sheet

[1/3] ดึงและวิเคราะห์ข้อมูล The Secret Sauce ด้วย Google Sheets
เรียนรู้เทคนิค Google Sheets ผ่านตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล The Secret Sauce Podcast (Part 1/3) ในตอนนี้จะเล่าถึงสิ่งที่เราอยากจะวิเคราะห์และสาธิตการดึงข้อมูล RSS Feed จาก Podbean ด้วยฟังก์ชัน IMPORTXML() **หมายเหตุ:** เนื่องจากไฟล์ XML ของ The Secret Sauce Podcast มี Episode ใหม่ของ Podcast เพิ่มเ…

แล้วคนนี้ทำจาก Excel

ดึงและวิเคราะห์ข้อมูล The Secret Sauce ด้วย Power Query (Excel / Power BI)
เรียนรู้เทคนิค Power Query ที่ใช้ได้ทั้งใน MS Excel และ Power BI ผ่านตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล The Secret Sauce Podcast ตั้งแต่การดึงข้อมูล RSS Feed จาก Podbean การจัดรูปแบบข้อมูลประเภทวันที่ การสร้างคอลัมน์ใหม่จากตัวอย่าง รวมไปถึงการใช้งาน Pivot Table เพื่อสรุปผลจากข้อมูล - [ดึงและวิเคราะห์ข้อมูล…

แล้วมา colab กัน อันนี้หาไม่เจอ

จากนั้นมาเป็น content นี้

.

สุดท้ายเจ้าของรายการแชร์โพสนี้ด้วย

  • หนังสือเรียน ให้เขามาเรียนแล้วรู้สึกสนุก แล้วก็นึกถึงบล็อกนี้เลย
ปั๊มกราฟิกไม่ทัน? เขียนโปรแกรมเอาสิ
เมื่อการทำกราฟิกด้วยมือมันไม่ทันใจ Skooldio
  • บาง online course คนจะสงสัยว่า เอ๊ะเพิ่งเปิดขาย ทำไมมี feedback แล้วหล่ะ เพราะว่ามีให้กลุ่มเป้าหมายลองเรียนก่อน แล้วให้ feedback เกี่ยวกับคอร์สกลับไปนั่นเอง
  • TikTok อันนี้พี่ต้าบอกเองว่าเป็นเรื่องนึงที่คิดผิด คิดผิดตรงคิดว่าเอ้ยมันจะเป็นไปได้หรอ แต่ไม่ได้ห้ามน้อง ๆ ทำนะ ปรากฏว่าปังมาก ๆ แล้วช่วงปีใหม่เอาคลิปใน TikTok ลงเพจช่วงสิ้นปี จากเพจประมาณ 60,000 ขึ้นไปเป็นหลักแสนเพราะคลิปนี้คลิปเดียว

Final Final Tips

  • Over Prepare: เตรียมตัวสอนให้เยอะที่สุด
  • Over Communicate: ถ้าเรา run workshop ที่มี activity เยอะ ๆ ให้เข่ทำอะไรบ้าง บอกเขาให้ชัดเจนที่สุด
  • Get Personal: สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง

จะว่าไป เราก็เหมือนแอบ ๆ เรียนมารอบนึง ตอนช่วงโควิด ตอนนั้นร่วมสนุกทำคลิปลง Skooldio Tutorial แล้วได้เรียนฟรีอ่ะ แต่ไม่ได้ใช้ไรเลย 555555555555 ตอนนั้นเพิ่งลองทำรูปประกอบลงบล็อกด้วยหล่ะ

เนื้อหาเก่ียวกับการสอนแหละ เข้าไปอ่านกันได้จ้า

อยากสอนออนไลน์แต่ไม่รู้ทำไงดี มาเรียนรู้จากคอร์สของ Skooldio กันเถอะ
คอร์สชื่อว่า Designing Your Virtual Workshop Experience ออกแบบเวิร์กชอปออนไลน์ ให้ได้ใจคนเรียน

อันนี้ที่เราทำ summary ระหว่างเรียน มีอันที่จดไว้ในสมุดบูโจด้วย ซึ่งก็คือเนื้อหาที่อ่านกันไปด้านบนนั่นแหละ

อันนี้เนื้อหาที่เรียนในสองวันเนอะ

สำหรับวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม เป็น Creator Playground สามารถหาอ่านได้ที่นี่จ้า

ทดลองเป็น Creator ฝึกหัด กับเหล่า Skooldio Creator Square ที่ Creators Playground กันจ้า
หนึ่งในกิจกรรมของเหล่า Skooldio Creator Square ที่จะได้ลองฝึกทำ content ตามฐาน ไม่ว่าจะเป็น Video, TikTok, Podcast, Blog SEO และ Live Streaming

สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า

Buy Me a Coffee at ko-fi.com

ช่องทาง Twitter ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ ๆ ได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

ช่องทางใหม่ ติดตามทุก ๆ สตรีมของเราได้ที่

Twitch
Twitch is the world’s leading video platform and community for gamers.
https://www.twitch.tv/mikkipastel

Subscribe ช่อง YouTube ของเราได้ที่

mikkicoding
Android Developer & Content Creator
https://www.youtube.com/c/mikkicoding

download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่

MikkiPastel - Apps on Google Play
First application from “MikkiPastel” on play store beta feature- read blog from https://www.mikkipastel.com by this application- read blog content by chrome custom tab- update or refresh new content by pull to refresh- share content to social network
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mikkipastel.blog

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.