สอนยังไงให้สนุก กับพี่ต้า แห่ง Skooldio กับ Effective and Creative
สวัสดีบ่ายวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม กับวิธีการร้อยเรียงของในหัวของเรา ออกมาเป็น course หรือ workshop โดยประยุกต์กับการเป็น content creator ของเรา
และนี่คือบรรยากาศในงาน ซึ่งเน้นเม้ามากวันนั้น 555
.
ก่อนอื่นเลยพี่ต้าได้มีการเปลี่ยน slide ก่อนเริ่ม session เพราะมีการปรับเปลี่ยน slide ตาม audience
ก่อนอื่นมีการให้แต่ละคนคุยกัน แนะนำ content ที่ชอบในอาทิตย์นี้ ให้เพื่อน ๆ ได้ฟัง
warn-up
- การทำ content เกิดขึ้นทุกเวลา
- คนชอบ content ที่ relate กับเรา
- มีการระดมความคิด อะไรเป็น hope และ fear ของการสอน
ถ้ากลัวสอนผิด ให้คนอื่นช้วยดู และถ้าสอนผิด ยอมรับว่าสอนผิด
ถ้าเราไม่รู้ ตอบไม่รู้ (คิดว่าคงไม่ตอบคำว่าไม่รู้สามครั้งเนอะ 555)
Today's Goals
- Experience: การทำ workshop
- Learn: เรียนรู้การสอน
- Practice: การเตรียมการสอน
เนื้อหาในวันนี้ อ้างอิงจากหนังสือที่ชื่อว่า Training from the BACK of the Room!
"learners talk and teach, they learn"
ทุกคนมีศักยภาพ และความรู้ในตัว ให้ดึงของออกมา
The 4Cs
- Connections: คนเรียน focus และจำได้มากขึ้น เมื่อเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
- Concepts: ในส่วนของเลคเชอร์ สอน concept ใน multisensory (หลายประสาทสัมผัส) ฟังแล้วลงมือทำ ทำให้เราจดจำได้มากขึ้น
- Concrete Practice: ทำยังไงให้ทำสิ่งที่เรียน มาลงมือทำ เช่น การสอนแล้วทำ workshop ไปด้วย วางเพื่อให้รู้จุดอ่อนของคนเรียน และเราสามารถช่วยเขาปิดตรงนี้ได้
- Conclusions: ตกผลึกจากสิ่งที่เราเรียน
Connections
เน้น learner-focused ให้คนเรียนทำกิจกรรม
- learners to other learners: คนเรียนได้รู้จักกัน แลกเปลี่ยนความเห็นกัน
- learners to their own learning goals: เป้าหมายในการเรียน
- learners to the topic: เรียนจากเรื่องที่เราสนใจ
- learners to the learning outcomes: ภาพปลายทางของคนเรียน หลังจากเรียนจบ
ข้อควรระวัง: connections, not icebreakers
ถ้าไม่ meaningful อย่าทำ เปลี่ยนเป็น connection activity ทำให้อยากเรียนต่อมากขึ้น
ตัวอย่าง
- Pre-workshop survey: ดูความต้องการของคนเรียน
- แนะนำตัว และพูดเรื่องที่ relate กับ topic
- เขียน post-it ว่าอยากรู้ หรือเรียนอะไร ท่านี้พี่แบงค์ UX ทำบ่อย
- ทำ quiz
ตัวกิจกรรมไม่ต้องยาก อยู่ที่เราอยากให้ connect กับอะไร เช่น
ถ้าใครเคยเรียนบน FutureLearn จะเห็นว่านอกจากมีบทเรียนที่ให้ดู video จะมีอย่างอื่นให้ทำด้วย อย่างถามตอบ poll มีบทความให้อ่าน มีคล้าย ๆ podcast ให้ฟัง และอื่น ๆ เจ้านี้เราชอบมาก ๆ เลย ได้ประสบการณ์การเรียนที่แตกต่างจากที่อื่น
ของที่ Skooldio คอร์ส Digital Leadership Bootcamp เขามีทำ bingo ซึ่งใช้แรงงานเดฟประมาณนึง ให้คนเรียนมาเล่นโดยการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่เรียนด้วยกัน เพื่อสื่อให้เห็นว่า ข้อมูลทุกอย่างเป็น digital และ data พวกนี้ ถ้าเรามีเอามาใช้งานได้ประโยชน์มหาศาล ขนาดทำกิจกรรมยังมีข้อมูลขนาดนี้เลย แล้วทำธุรกิจน่าจะมีมากกว่านี้
ส่วนที่เว้นว่าง ๆ คือเขาไม่ได้มาวันนั้น แหะ
มีคำถามจากเพื่อนร่วมคอร์สว่า ถ้ามีคนถูกบังคับให้มาเรียน แบบเรียนแล้วไม่ได้สนใจเรียน ไม่ engage กับคนสอน จะทำยังไงดี พี่ต้าบอกว่า ถ้าเลือกได้ จะไม่รับคนกลุ่มนี้เข้ามา บางครั้งองค์กรส่งพนักงานมาเรียน เขาก็มาเรียนไปอย่างงั้น เลยอาจจะมีแบบสอบถามให้เขาทำก่อน หรือไม่ก็โทรไปคุยกับเขา บางคนเขาก็ไม่รู้ตัวด้วยว่าถูกส่งมาเรียนคอร์สนี้ หรือถ้าเลือกไม่ได้จริง ๆ ให้ distract ในสิ่งที่เขาสนใจ เข้าหาเขาในสิ่งที่เขาสนใจ
Concepts
- Need-to-Know: สอนเฉพาะสิ่งที่เขาต้องรู้ และกันเวลาให้ตกผลึกบ้าง อาจจะเป็น 60:40 ก็ได้ หรือถ้าเวลาเหลือครึ่งเดียว เราจะสอนอะไรเขาบ้าง ทำให้เราเลือกเนื้อหาที่จำเป็นจริง ๆ ออกมาได้
- Learner-Focused: ให้คนเรียนต้องทำอะไรตลอดเวลา เช่น note-taking pages มีกระดาษให้เราจด
- Interactive Lecture: เช่น การเรียน stat และ data
และเราก็ได้เรียน data จากพี่ต้า จริง ๆ นะ
แน่นอนว่าเพจ drama-addict ของจ่า กับเพจอีเจี้ยบเลียบด่วน เป็นคู่จิ้น เอ้ยย เพจคู่กัดกันในสมัยนั้น บทเรียนนี้ก็เลยนำสถิติจาก 2 เพจดังมาวิเคราะห์ จะมีถามก่อนว่าติดตามเพจไหนบ้าง
แล้วก็โพสอันนี้ คิดว่ามาจากเพจจ่า หรือเพจเจี้ยบ และเพราะอะไรถึงคิดแบบนั้น ถ้าคนไม่รู้จัก 2 เพจนี้ อาจจะให้เขาไถฟีดดูทีหลังได้
อันนี้ข้อมูลยอดแชร์โพส สังเกตว่าเพจจ่าคนแชร์เยอะกว่า เพราะข้อมูลที่เป็นประโยชน์
อันนี้เป็นจำนวนโพสในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละเพจ ดูมุมขวาด้วย ข้อมูลปี 2015 - 2017 นะ ไม่ใช่ปัจจุบันเน้ออ กลัวคนอ่านบล็อกงง 555
แล้วก็มีไฟล์ excel ตัวนี้ ที่ผ่านการ train data มาแล้ว เอาคำที่คิดว่าเป็นจ่าหรือเจี้ยบมาใส่ เช่น คำว่า อีด-อก เป็นของเพจเจี้ยบแน่ ๆ เลย แล้วใช่ไหมนะ ก็ดูจากตัวนี้ได้เลย (คำถาม คือ คำอื่นดี ๆ ก็มี ทำไมถ่ายคำนี้มานะ 5555555)
แล้วไป ๆ มา ๆ โต๊ะเราก็มีบทสนทนาเกี่ยวกับเลขมงคลขึ้นมาจากคุณมาร์ช โดยจำที่มาไม่ได้ น่าจะ continue จากอันนี้ เหมือนเราสามารถวิเคราะห์เลขพวกนี้เองได้ ว่าเลขไหนดี ไม่ดี เป็น stat และ pattern ซึ่งเราเองก็สงสัยว่าเลข wallpaper สายมู เขาเองเลขจากไหนว้า น่าจะเลขวันเดือนปีเวลาเกิดมั้ง
- สิ่งที่นักเรียนต้องทำ ต้อง engage เพื่อให้ได้ความรู้ และให้เขาได้วิเคราะห์เอง
- Active Learning: excel, codelabs อาจจะมีนั่งกด แก้โค้ดนิด ๆ หน่อย ๆ ไปจนถึง live coding, interactive book / articles, interactive playground เช่น TensorFlow หรือ challenge เขา โดยการให้โจทย์, ทำมือ เหมาะกับ in-person, case discussion อันนี้พี่ต้าเรียนคอร์สนึงของต่างประเทศ หน้าตาเป็นแบบนี้เลย ถ้าแบบ in-person ก็จะยกมือเนอะ แต่แบ่บ online ยกมือก็คงไม่เห็น ก็เลยเป็นหน้าเราที่แปะตัวเลือกของเราแบบนี้
- Retrieval Practice: เป็นการดึงของจากในสมองออกมา ทำให้เรียนแล้วจำได้นานขึ้น
เรื่องนี้เคยฟังใน clubhouse เลยเอามาสรุป อ่านต่อในบล็อกข้างล่างนี้ได้เลย
- Shorter Segments: เรียนและตกผลึก เช่นทำเป็น micro learning บทเรียนสั้น ๆ หรือแบบ Google Primer ก็ได้
- Learning Objective: เน้นความเข้าใจ ให้เขาเปลี่ยนแค่ parameter พอ แต่ถ้าเน้น syntax แบบสาย coding ก็ให้พิมพ์
จากนั้นพักทานขนม พี่ต้าบอกให้ไปลองเล่น Google Primer แล้วมาเล่าให้ฟัง สรุปทุกคนกินขนมไป เม้าไป แล้วนี่เม้าเรื่องอะไร การทำ content ในวัน demo ว่าอะไรคืออะไรยังไงบลา ๆ
อันนี้ภายนอกเหมือนดังโงะ แต่จริงๆคือซาลาเปาไส้หมูอบ และมันม่วงจ้า ตัวอันนี้มีอันนึงทำเหมือนเห็ดเลย เคยเห็นรูปอยู่
Concrete Practice
การลงมือทำอย่างจริงจัง
- Active Participation by ALL learners: แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงมือทำเยอะ ๆ
- Collaboration Interdependence among learner: ทำให้กลุ่มมี mission ร่วมกัน
- รูปนี้ จะเริ่มที่ตัว Concept ถ้าเรียน online ก็จะเน้นความรู้ เริ่มที่ Direct Instruction จากนั้นเป็น Guided Instruction แล้วมาสู่ Concrete Practice เป็นการ workshop ลงมือทำ โดย Collaborative Learning ทำไปด้วยกัน และเมื่อคนเรียนแข็งแรงขึ้นแล้ว ก็เป็น Independent Work ให้เขาลองทำเอง เป็นการวัดว่าเขาเรียนรู้เรื่องไหม
- Learning Goals: อันนี้ที่ทาง Skooldio มี บอกลูกค้าว่าเอ้อมี Online Learning, Instructor-Led Training, Peer Learning, และ Work-Based Learning เรียนแล้วเอาไปใช้ในงานของเขาได้
- วิธีไหนที่เหมาะสมที่สุดในการสอน ก็จะประมาณนี้
ตัวอย่าง เช่น ชุด bootcamp ก็จะมีให้เรียนแบบ online สลับกับ offline workshop กลุ่ม มี coaching และจบด้วย pitching
Conclusions
ได้สรุป ตกผลึกกับตัวเอง
- learner-focused: สรุป, eveluate ได้ในสิ่งที่คนเรียนตั้งใจไว้ไหม, เรียนแล้วอยากทำอะไรต่อ, celebrate คนจำตอนแรกกับตอนจบ leave with positive feeling ♥️
- make connection: ทำไมเราต้องรู้เรื่องนี้ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
Tips and Tricks
case study ต่าง ๆ
TED Talk: แต่ละ session ยาวประมาณ 15 นาที มี hard cut 18 นาที พี่ต้าใช้เวลาซ้อม 3 เดือน มี curator คุมให้ ในช่วง 3 นาทีแรกแนะนำตัวยังไงให้คนฟังรู้สึกว่าคนนี้เก่งจริง มีของ โดยไม่โอ้อวดอ่ะ
Facebook post viral
- เล่นกับกระแส เช่น พูดเรื่อง UX เกี่ยวกับ ตู้เต่าบิน และ PDPA
.
.
- ท่านชัชชาติ + ทีมขายอะไร ก็เลยเอาเรื่อง Agile มาพูด และทำอะไรให้ reuse เช่น cost ในการทำรูปท่านชัชชาติราคา 3000 บาท ใช้สองรอบก็เฉลี่ยครั้งละ 1500 บาทงี้ คือยิ่งใช้เยอะยิ่งถูกลง คุ้มค่ามากขึ้น
.
- ใน Facebook Post มี CI เล็ก ๆ ของแต่ละคอร์สด้วย
- เล่นกับ data ยังไงให้ตอบ value
เช่น ตอนนั้น My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน ดังมาก แล้วมีน้องดู แล้วเขาก็ทำมาใช่ป่ะ แล้วเก็บข้อมูลแบบ manual มาก ๆ เช่น ฉากวาปไปมา ใครวาปไปมาหาใครกี่ครั้ง
.
อันนี้ก็เล่นกับข้อมูลเหมือนกับ เกี่ยวกับรายการ 5 Minute Podcast
.
- The Secret Sauce มี video content, ทำ content ให้คนอยากแชร์กับเรา
เริ่มจากที่พี่ต้าทำบน Google Sheet
แล้วคนนี้ทำจาก Excel
แล้วมา colab กัน อันนี้หาไม่เจอ
จากนั้นมาเป็น content นี้
.
สุดท้ายเจ้าของรายการแชร์โพสนี้ด้วย
- หนังสือเรียน ให้เขามาเรียนแล้วรู้สึกสนุก แล้วก็นึกถึงบล็อกนี้เลย
- บาง online course คนจะสงสัยว่า เอ๊ะเพิ่งเปิดขาย ทำไมมี feedback แล้วหล่ะ เพราะว่ามีให้กลุ่มเป้าหมายลองเรียนก่อน แล้วให้ feedback เกี่ยวกับคอร์สกลับไปนั่นเอง
- TikTok อันนี้พี่ต้าบอกเองว่าเป็นเรื่องนึงที่คิดผิด คิดผิดตรงคิดว่าเอ้ยมันจะเป็นไปได้หรอ แต่ไม่ได้ห้ามน้อง ๆ ทำนะ ปรากฏว่าปังมาก ๆ แล้วช่วงปีใหม่เอาคลิปใน TikTok ลงเพจช่วงสิ้นปี จากเพจประมาณ 60,000 ขึ้นไปเป็นหลักแสนเพราะคลิปนี้คลิปเดียว
Final Final Tips
- Over Prepare: เตรียมตัวสอนให้เยอะที่สุด
- Over Communicate: ถ้าเรา run workshop ที่มี activity เยอะ ๆ ให้เข่ทำอะไรบ้าง บอกเขาให้ชัดเจนที่สุด
- Get Personal: สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
จะว่าไป เราก็เหมือนแอบ ๆ เรียนมารอบนึง ตอนช่วงโควิด ตอนนั้นร่วมสนุกทำคลิปลง Skooldio Tutorial แล้วได้เรียนฟรีอ่ะ แต่ไม่ได้ใช้ไรเลย 555555555555 ตอนนั้นเพิ่งลองทำรูปประกอบลงบล็อกด้วยหล่ะ
เนื้อหาเก่ียวกับการสอนแหละ เข้าไปอ่านกันได้จ้า
อันนี้ที่เราทำ summary ระหว่างเรียน มีอันที่จดไว้ในสมุดบูโจด้วย ซึ่งก็คือเนื้อหาที่อ่านกันไปด้านบนนั่นแหละ
อันนี้เนื้อหาที่เรียนในสองวันเนอะ
สำหรับวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม เป็น Creator Playground สามารถหาอ่านได้ที่นี่จ้า
สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า
ช่องทาง Twitter ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ ๆ ได้ที่
ช่องทางใหม่ ติดตามทุก ๆ สตรีมของเราได้ที่
Subscribe ช่อง YouTube ของเราได้ที่
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่