นั่งร่วมงาน Developer Creators and Online Communities Summit ของ Google
พอดีเราเห็นประกาศของงานนี้น่าจะผ่าน newsletter มั้ง ซึ่งตอนที่เราลงทะเบียน online คือเขาปิดรอบลงทะเบียนแบบ offline ไปล่ะ เป็นงานสัมมนาสำหรับ tech content creator พอมานั่งทำงานไปดูไปบ้างก็พบว่ามันเหมาะกับทุกคนที่เป็น content creator เลยนะ
โดย agenda เขาจะมี 3 วัน
Day 1 - CONNECTING (24 Jan.)
Connect with like-minded individuals, experts and industry peers, and establish relationships that extend beyond the event
Day 2 - LEARNING (25 Jan.)
Learn new skills, expand your knowledge, and explore new ideas
Day 3 - SHARING (26 Jan.)
Share your knowledge, experiences and insights with other peers
เนื้อหาที่เราฟังหลัก ๆ คือเน้นไปวันที่ 2 ส่วนวันที่ 3 ก็เข้ามาฟังบ้าง
ส่วนวันแรกเราก็ทำอันนี้ลง social network ไป ทางเขามี guideline ในการโพสด้วยนะ เผื่อนึกไม่ออกว่าจะโพสอะไร นี่ก็เอามาเลยแบบนี้55555555 งานจริงจัดที่สิงคโปร มีคนไทยที่ไปมีพี่เอก พี่ตี๋ คุณตั้ง คือแก๊งค์เหล่า GDE นั่นแหละ
ตัว session ทั้งหมดสามารถดูได้ที่นี่เลย
คลิป live stream ย้อนหลังทางเราย้อนฟังบาง session เพื่อ recap เนอะ ของวันแรก
ของวันที่สอง
เราฟัง session อะไรมาบ้าง มาดูกัน
ปล. อาจจะแปลไม่ค่อยเป๊ะมาก เน้นจับใจความสำคัญมากกว่า
Welcome to Singapore and the SEA developer community landscape fromJanise Tan Regional Lead, Southeast Asia, Developer Ecosystem, Google
จริง ๆ มาฟังไม่ทัน เลยฟังย้อนหลัง แหะ ๆ
พิธีเปิด เขาถามว่ามีใครมาสิงคโปรเป็นครั้งแรกบ้าง ยกมือกันพรึ้บเลยในห้อง แล้วถามต่อว่ามีใครเคยดู crazy rich asia ไหม นั่นน่ะคือสิงคโปรเลย
ซึ่งสิงคโปรเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่เขาเองก็สนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ และมี community เยอะมาก งานนี้ก็เป็นการเรียนรู้ในการทำ content และ engage กับ community ที่มางานใน 2 วันนี้ด้วย
และ SEA เรามี 11 ประเทศ มี 2.2 ล้านคนที่เป็นเดฟ และ 60% โดยประมาณคือ young คืออายุน้อยกว่า 35 ปี
Google Developers Online ที่ Indonsia เป็นงานแรกที่จัดงานในการคอมมูเดฟบนออนไลน์ และ 1 ปีผ่านไป ยัง active อยู่ แถมยังเหนียวแน่นมาก ๆ มีการทำ content event และอื่น ๆ เป็นคอมมูที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
Creator Keynote
from Stephanie Wong, Product Manager, Google
เป็น session keynote ในวันแรกงับ ไถไปที่ 55:02
ตอนนั้นที่เราเข้า Women Developer Academy SEA 2022 มีเพื่อนในค่ายถามว่ามีคนไหนแนะนำเพื่อสร้างแรงบันดาลใจไหม อันนี้จำไม่ได้ว่าใครแนะนำคนนี้มา ซึ่งเขาก็เป็น tech content creator สาวท่านหนึ่ง เป็นคนเอเชียด้วยกัน
เขาก็เล่า journey ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และอันนี้เป็นคลิปที่มีคนดูเยอะมาก 8 ล้านวิว! กลายเป็น viral ขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้ happy ขนาดนั้น เนื่องจากการทำ content มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เรื่องยากกว่า คือ ทำให้เติบโต และโดดเด่นออกมา
มี challenge ต่าง ๆ ในการทำ content creator ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำเลย ว่าจะทำเรื่องอะไรดี อันนี้ดีพอหรือยัง พอ upload content ไปสักพักก็จะเริ่มยอมแพ้ เป็น Valley of Dealth แล้วมี momentum ทำให้เด้งขึ้นมาใหม่ พอทำไปเรื่อย ๆ ก็เริ่ม burn out แล้วก็ rinse and repeat process แล้วก็ reinvention
จากตรงนี้จะแบ่งเป็น 3 stage คือ เริ่มต้น เติบโต และขยายออกไป
Start: with the audience
ก่อนอื่นต้องรู้ audience ของเราก่อน Audience before content จากนั้น focus กลุ่มเป้าหมายของ content ของเรา และ rule of 3 ว่าใครคือคนใน 3 ปีที่แล้ว หรือใครคือคนใน 3 ปีของอนาคต
Tell story รู้ audience และตอบคำถามใหญ่ให้ได้ว่า ว่าอะไรเป็น key message ของเรื่องนี้ จากนั้นทำ outline และ draft จากนั้นเริ่ม edit ตบท้ายด้วยการทำพวก visual ต่าง ๆ สร้าง storyboard หรือทำ video
Do (Try): Make a Personal Connection
วิธีตั้ง topic ของสิ่งที่เราทำ เอามา connect กับคนฟัง
Do: Tell, Show, Tell มีการเปิดเรื่อง การแสดง และปิดท้าย
อย่างการเล่าเรื่องก็แบ่งเป็น 5 จุด แบบนี้
การเล่าเรื่องให้เริ่มจาก HOOK ก่อน
Grow: Focus on systems, not outcome
ให้ทำ time block คือวางแผน content ก่อนแหละ ว่าเราจะทำ content อะไร มีจำนวนเท่าไหร่ ลงวันไหน เช่นของเราเองลงบล็อกใหม่ทุกวันศุกร์งี้ จากนั้นก็ทำ content ไป
และมี content planing system เป็นตาราง อาจจะเป็น Google Sheet หรือ Kanban board ของเราจะใช้เป็น Kanban board บน Notion
แล้วเราจะหา idea การทำ content ได้จากไหน?
- Curate อ่าน source online ทำการศึกษาเรื่องนั้น ๆ แล้วอธิบาย
- Learn / Build in public เรื่องไหนที่เราอยากเรียนรู้ต่อ เราก็เรียนแล้วก็ทำ content นี่แหละ
- Discuss เช่น ถามเพื่อน ๆ ในคอมมู
แล้วใช้ data-driven แล้วนำมา adapt กับงานของเรา เช่นทำ SEO, A/B Testing
Scale and grow
ลองหาเล่น platform อื่น ๆ บ้าง เช่นตอนนี้นิยมคลิป reel ทำ 1 content ลงหลาย platform ก็ดีนะ เหนื่อยทีเดียว5555
Collective Catalysts: Igniting your Community through Shared Actions
from Adriana Angelini, Manager, Strategic Partnerships, Discord
เป็น session ที่เราฟังแล้วชอบมาก ๆ แบบเกินความคาดหมาย เหมาะกับทุกคนที่ไม่ใช้แค่ developer หรือ product อย่างเดียว เผลอ ๆ มัน adapt กับชาว web3 ได้ด้วยแหละ เพราะชาว web3 ก็ใช้ Discord ในการ run community แล้วเขามี case study ให้เราได้เรียนรู้ แล้วเขาดูให้หลาย ๆ แบรนด์ด้วย อยากฟังไถไปตรง 4:44:37
Community คือกลุ่มคนที่มีความคิด ความสนใจ และมีเป้าหมายเหมือนกัน มาจาก common + unity นั่นเอง อิอิ และ energy เป็นสิ่งสำคัญในการจัด space ใด ๆ กับชาวคอมมู (จัด space คือจัด session ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ เล่นเกมส์ เม้ามอย อะไรงี้)
จากนั้นมีอะไรให้เล่น ให้ทุกคนยืนขึ้นจ้า อ่ะยืนนนน ถ้าคำถามนั้นเราตอบ yes ก็ยืนต่อไป ถ้า no ก็นั่งลง คำถามแรกแบบสั้น ตอนที่ตื่นมา ออกจากโรงแรม มีใครออกกำลังกายก่อนมาไหม ใครทำ cardio บ้างก่อนมา ถ้า cardio โดยการวิ่งก็ยืนต่อ สุดท้ายก็จะได้คนที่ยืนไม่กี่คน ก็จะกลายเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบวิ่งงี้
Community Flywheel ก็จะเริ่มจากเหตุใดคนถึงมารวมตัวกันที่นี่ ที่ไหนที่ให้เขามารวมตัวกัน และเขาทำอะไรร่วมกัน
Community Energy
เช่น จะทำคอมมูเกี่ยวกับหญ้า อาจจะเป็นแบบการปลูกหญ้า การตกแต่งบ้าน ซึ่ง category is not reason และ reason จริง คือ ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยให้ได้ลูกค้านั่นเอง
ตัวอย่าง Adobe เขาตั้ง Value Received ไว้เป็น Retention ดังนั้นระหว่างถึงตรงน้ันต้องทำอะไรบ้าง อาจจะมีสอนความรู้ มีพื้นที่สำหรับสอบถามความรู้
ดังนั้น energy ไม่ใช้การให้ แต่เป็นการได้รับกลับมา
Community Hub
community ที่เขา support นั้น ให้ทำให้เหมือนบ้าน และทุกคนต้องการบ้าน
ดังนั้นการสร้างบ้าน ก็ต้องใช้ Discord เนอะ ซึ่งเป็นบ้านที่เหมาะกับการ hangout ใด ๆ บนโลก online และใน server มีอะไรบ้าง?
- Text ห้องแชท
- Voice คุยเสียงได้
- Stage เหมือนเป็นการประชุมลูกบ้าน
- Apps สามารถใช้แอพต่าง ๆ ในนั้นได้ ซึ่งตัว tool พวกนี้เราสามารถสร้าง หรือเอามาใช้ใน server ตัวเองได้
วิธีในการเริ่มต้นคอมมู
- เริ่มจากเล็ก ๆ ก่อน
- มี landing page
- มีอะไรให้เขาทำตอนมาที่ server
- ทำให้เขามีส่วนร่วมกับคอมมูเรา
Shared Actions
ให้เขาทำอะไรในคอมมูบ้าง
ตัวอย่างใช้ app บน Discord
ตัวอย่างแอพที่ใช้ NASCAR สำหรับ fandom ของคนชอบ motorsport เพื่อสร้าง engage กับ brand
หรือ Design Buddies ชื่อก็ตรงตัว ช่วยเหลือ designer ในหน้าที่การงาน และมันเป็นบอทที่บอกว่ามีตำแหน่งที่ไหนเปิดบ้าง
Midjourney อันนี้เราเห็นกันบ่อย ให้ AI เจนรูปให้เรา
โดยตัว Discord นั้นเขา turn single-player product เป็นให้เรามีความ interactive กันมากขึ้น มีความ dynamic สามารถใช้งานได้หลายคนอะไรงี้ ให้มีประสบการณ์ร่วมกัน
Putting it all together
นำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างจริงจากตัว speaker คือไปรับต้นไม้มาดูแล แต่น้องต้นไม้ดูห่อเหี่ยวมาก จะทำยังไงดี เลยไปถามที่ Houseplants Community บน Discord เพราะในนั้นมีคนที่น่าจะปลูกต้นไม่ในร่มเยอะ
ใน server ก็จะมีหลายห้อง ถามที่ไหนดี เขาก็จะมีแบ่งเป็นห้อง ๆ ทำให้เราถามได้ถูกที่เนอะ
ในห้องนั้นก็มี bot ว่าเราจะดูแลน้องต้นไม้คนนี้ยังไง
สุดท้าย community นี้ทำให้น้องต้นไม้กลับมาสวยแล้ว เย้ ๆ จบ session ลงเพียงเท่านี้ จากนั้นมี Q & A ยาวอยู่
Mastering Personalized Bot Build: A Discord App-building Workshop from Dirk Primbs, DevEcosystem Lead, Google
มาสร้าง Discord Bot กัน ไถไปฟังที่ 5:40:39
ทำความรู้จัก Discord สร้าง server ยันสร้างบอทเอง เราจะเล่าแบบรวบรัดหน่อย
ตอนนี้มี developer ที่ทำบอท 750k+ และมีแอพที่ active ในนั้น 450k+ ถือว่าเยอะอยู่นะ
และแอพในนั้นมี 3 ประเภท คือ
- ใช้ 3rd-party bot
- customize เอง
- สร้างบอทใหม่เองเล้ยยยย
แล้ว bot สำหรับ role moderator (คนจัดการห้อง Discord) เขาแนะนำตัวไหนบ้าง
- ModMail เป็นบอทที่ใช้เป็นช่องทางในการรายงานเพื่อนที่ไม่น่ารักในคอมมู ให้ทีม mod ได้ทราบ
- Moderation bots: เมื่อทีม mod ทราบและตรวจสอบแล้ว พบว่าคนนี้ไม่น่ารักจริง ก็จะทำการลบข้อความ timeout หรือ ban ใด ๆ ตามระดับพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก
- DevTools เขียนโค้ดจากใน Discord เลย
แล้ว bot สำหรับ engage กับคอมมู
- SoundCloud บอทฟังเพลงกับเพื่อน ๆ แถมยังค้นหาเพลงใหม่ ๆ ได้ด้วย
- MidJourney
- Sketchheads เกมส์วาดรูป
จากนั้นพาไปหน้า Discord Developer Portal สร้างบอทตัวใหม่กัน ไปดู setting แล้วก็เอาบอทมาเข้า server ของเรา ส่วนนี้เราขอผ่านไปเร็ว ๆ แล้วกันเนอะ เพราะมันเริ่มลง technical นิดหน่อย เดี๋ยวทางนี้จะมาเรียบเรียงเพิ่มพร้อมไปกับบทความทำ Discord bot อีกทีนุง
Developer Platform Features
- Messages อันนี้ basic สุดในการสร้าง เริ่มจากสร้าง message endpoint, มี webhook อันนี้เป็นแบบบอทตอบมาอย่างเดียวเนอะ เช่น ศัพท์ประจำวันนี้ขอเสนอ
- Interactive Components เช่น รับ input เป็นแบบฟอร์ม สามารถกดปุ่มได้
- Commands อาจจะรับ input มาจาก Slash command ซึ่งเป็นท่ายอดฮิต หรือ message command หรือ user command ก็ได้
แล้วแบบ slash command สามารถรับได้หลาย ๆ options ด้วยนะ
- Modals เหมือนเรากรอกฟอร์มอ่ะ
- Voice connections สามารถ connect กับ voice channel ได้ ส่วนใหญ่ก็บอทเพลงต่าง ๆ นี่แหละ
- Server Customization เพิ่มหรือ update resource ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวก emoji, role หรือ automod ซึ่งชาว web3 น่าจะเห็นกันชินตาล่ะ สำหรับชาว web2 น่าจะได้เห็นตาม server ใหญ่ ๆ ที่มีห้องเยอะ ๆ งี้
- App Subscriptions สำหรับ package ขายของใด ๆ ที่จ่ายเป็นรายเดือนอะนะ
Developer Resources
- Getting Started
- DDevs
- Developer Portal
- Developer Resources
Transforming Content Creation and Community Engagement with Generative AI
from Esther Irawati Setiawan, Associate Professor, Institut Sains dan Teknologi Terpadu Surabaya
เป็น session ของวันที่ 2 สามารถเลื่อนไปที่ 4:03:24 ได้เลยจ้า
speaker เป็นคนอินโด แล้วเป็น GDE ด้าน Machine Learning ด้วยล่ะ
Agenda
What's Generative AI
ตอนนี้ AI ทำงานได้หลาย ๆ อย่างเลย
- Text: อย่างเราอาจจะใช้ Brad หรือตอนนี้ชื่อ Gemini ในการช่วยเราทำ content ได้ รวมถึงเป็นเพื่อนที่เราสามารถถามเพื่อแก้ปัญหางานเราได้555
- Image: สร้างรูปโดยการพิมพ์ prompt ที่เราต้องการลงไป
- Voice: clone เสียงออกมา ก็มีเช่นกันกับหลาย ๆ ภาษา
- Music Generator ช่วยทำเพลงตามที่เราต้องการอีกด้วย
- Video: ของ Google มี imagen video ออกมา
สิ่งที่เป็น challenge ในการใช้งาน AI จะมีเรื่อง Bias, Misuse และ Explainability
The social Media Saga
และมีเรื่อง social media ปรับเปลี่ยน algorithm ในการแสดง post ด้วยนะ
แล้ว content creator จะใช้ content สร้าง AI ได้อย่างไรบ้างนะ? ใช้ tool ดังนี้
- Brad ที่ตอนนี้ชื่อ Gemini แล้ว ใช้ในการ Brainstorming และ ideation, ช่วยในการทำ content ของเรา และหาเทรนในกาทำ content ส่วน Gemini ในตอนนั้นสามารถรับ prompt ได้หลาย type นะ
- Google Search AI ตัวนี้เน้นหา trend ทำเรื่อง SEO แล้วก็ช่วย check แบบไว ๆ รวมถึงเรื่องความถูกต้องของข้อมูลด้วย
ตัวอย่าง account ที่ AI ทำ content!
อันนี้ที่เขาทำ มีคนพูด แล้วเล่าโน้นนี่
แล้วก็มาทาย prompt ในการทำรูปเหล่านี้กัน มาหลาย ๆ รูปเลย อันนี้เป็นอันที่ถ่ายทัน 555
ของ speaker และทีมเขาก็ทำ AI ออกมาเอง ในการ generate image
วิธีการทำไปอ่านในนี้ได้เลย
ส่วนอันนี้เอาไปเล่นพวก generate video
ต่อมา Generative AI in Discord แน่นอนเราจะนึกถึงอันนึง ใช่แล้ว MidJourney แล้วมีอีกตัวนึง ชื่อ Pika Labs
มี discord server ให้เราลองไปเล่น แชทกับ Gemini ด้วยล่ะ ทางเราลองไปหน่อยนึง
Unleashing Creativity
อย่าลืมเรื่อง story telling เพื่อสร้าง engagement ด้วยนะ
ในที่นี้จะทำผ่าน Gemini Vision กัน เลือก model เป็น Gemini Pro จากนั้นใส่ภาพ prompt ว่าเราต้องการ content ประมาณไหน จนได้ result ออกมา
AI in Music Composition and Production
ในสายเพลงก็มี AI เช่นกัน โดยมันสามารถ generate melody และ harmony เขียนเพลงได้ แถมทำ sound design และ production ได้อีกด้วย เพราะการใช้เพลงตาม platform ต่าง ๆ ก็มี copywrite เลยสร้างเพลงให้เข้ากับ content ของเรา
แต่สุดท้าย AI ก็ไม่สามารถแทนที่ในความคิดสร้างสรรคของคนได้อยู่ดีนะ แต่ช่วยเราคิดได้แหละ
ตัวอย่าง AI tool สำหรับ Harmony Generation มีตัว Amper Music กับ MusicLM
ตัวอย่าง AI tool สำหรับ Sound Design และ Production มี LANDR กับ Nectar
ตัว MusicFX สามารถไปเล่นได้ แต่แค่ในไทยไม่ support แหะ มีอันที่เป็นตัวอย่างให้เราดูด้วยแหะ
อีกตัวนึงคือ Suno AI อันนี้เราไปลองเล่นมา เจนฟรีได้วันละ 10 เพลงล่ะ
ตัวอย่างการแต่งเพลงจาก AI ต้องไปลองฟังนะ เนียนมาก มาจาก Suno AI
session ที่เราฟังคร่าว ๆ แล้วพอจำได้ก็จะประมาณนี้เนอะ ส่วน session อื่น ๆ สามารถไปฟัง live stream ย้อนหลังที่เราแปะไว้ข้างบนได้เลย
ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า
ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ