Design thinking VS. Lean VS. Google Design Sprint
งานสัมมนาหัวข้อ Design thinking VS. Lean VS. Google Design Sprint โดย Samyan CO-OP และ UX Academy ในวันที่ 21 สิงหาคม ในเวลา 18:30 - 19:30 ที่ Samyan CO-OP
หรือสามารถดูผ่าน Facebook Live ได้เลย เนื่องจากมาตรการ new normal ที่ให้คนมานั่งฟังได้แค่ 50 คนเท่านั้น เราเลยสบายเลยดูไลฟ์หลัง work from home พอดี และทาง Samyan CO-OP มีให้ลงทะเบียนกันก่อน สำหรับคนอยู่บ้านก็จะมีสไลด์ย้อนหลังส่งมาให้ซึ่งมาอย่างรวดเร็วสุดๆ ได้เช้าวันเสาร์เลย
ในงานนี้พี่แบงค์ได้อธิบายว่าทั้งสามตัวเป็นอย่างไรและต่างกันอย่างไร โดยมีการ warm-up ถามคนฟังในห้องกันก่อน แน่นอนว่าแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันแน่ๆ
เดิมที่เราจะคุ้นเคยกับ Engineer Process ว่าเราต้องทำอะไรบ้างเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ 1 2 3 ส่วน Design Process นั้นจะไม่สามารถบอกได้ว่าต่อไปต้องทำอะไร มากะเกณฑ์ว่าทำอะไรแล้วต้องได้อะไรได้ยากมาก เช่น การทำ software เป็นการทำแล้วไม่เสร็จ อย่างเช่น เราจะทำแอพนี้เสร็จใน 3 เดือน มันไม่มีทางเสร็จ เพราะมีการ release ของออกมาเรื่อยๆ
ดังนั้น software บนโลกนี้ไม่มียังเสร็จ อย่างเช่น Facebook, Instagram และอื่นๆที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันเนอะ
กระบวนการ design จึงมีหลายๆท่า เรามาดูวิวัฒนาการของ Design Process กันเถอะ
Design thinking
เราจะเห็น 2 รูปแบบหลักๆคือ เพชร 2 เม็ดกับ 5 เหลี่ยม
เวลาที่ designer คิดอะไรออกมาตามกระบวนการของเขา จะเริ่มต้นจาก
1) Empathize : user ของเรานั้นเป็นใคร
2) Define : User มีปัญหาอะไร แต่ในที่นี้ไม่ใช่ sympathy เป็น empathy ว่าเขาใช้ชีวิตยังไง
3) Ideate : เราจะไม่แก้ทุกปัญหาของ user ให้เลือกแก้ปัญหาใหญ่ของ user และบริษัทเราสนใจ
วิธีการทำ empathy ที่เร็วที่สุด คือ user interview
- Quick method เร็ว ถูก
- Rich method ราคาแพง แบบอำมาตย์ คือทำห้องใหญ่ๆมี user มานั่งข้างในได้
ผลที่ได้ทั้งคู่คือจะได้ insight คล้ายๆกัน
4) Prototype : 1 ปัญหาแก้ได้หลายทาง และได้วิธีแก้เยอะแยะ
5) Test : นำวิธีต่างๆมาทดลอง อันไหน work ก็เอาไปใช้จริง
ถ้าหัวหน้าชี้ให้เราทำอะไรสักอย่าง ลองถามเขาดูว่ามีวิธีการอื่นอีกไหม (alternative) หรือมีแค่อย่างเดียว และได้เลือกปัญหาใหญ่หรือยัง ถ้าเขาบอกไม่ได้จะน่ากลัวมาก บอกให้ทำ Design Thinking ก่อน ถ้าบอกได้จะ perfect
Design Thinking ทำให้กระบวนการคิดของเรามี logic มากขึ้น ทำให้เราอยู่กับปัญหา สามารถวิเคราะห์ได้ ว่าปัญหาจริงๆมาจากอะไร หา วิธีแก้ปัญหา และเข้าใจมันได้นานขึ้น
Case Study : True Wallet → WeCard ตอนแรกคิดว่าคนที่ใช้บัตรเครดิตเป็น จะใช้เดบิตเป็นด้วย จริงๆคือคนที่ใช้บัตรเครดิตเป็นนั้น จะงงกับการใช้บัตรเดบิตมาก เช่น อ้าวต้องใส่เงินเข้าไปด้วยหรอ แล้วต้องใส่ยังไงอ่ะ และคนที่เข้าใจได้เร็วที่สุดคือคนที่ใช้บัตรเติมของทรู ที่ขูดๆ เอาไว้เติมเกมส์ ดังนั้นคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของ Product นี้
ดังนั้นตัวกราฟนี้จะแบ่งตามนิสัยและพฤติกรรมที่ผ่านมา
และนำปัญหาของคนเล่นเกมส์มาเป็นหมุนวงล้อ ทำให้คนเข้าใจ product ของเรามากขึ้น
Q & A น้อยๆ
- ปัญหาของคนที่อยู่ในธุรกิจนั้นมานาน คือ สิ่งที่เขารู้เขาเข้าใจนั้น มัน Obsolete มานานแล้ว เพราะ user เปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นการทำ empathy จึงมีบทบาทมากขึ้น
- ตอนนี้ตลาดไม่ได้ต้องการ product ที่ใช้ได้ ยังต้องการได้ experiences ที่ดีด้วย เช่น ไปกินอาหาร ก็ไม่ได้หวังแค่กินอิ่ม เราก็หวังความอร่อยด้วย
Lean
ฝั่งนี้จะมองว่าจากการทำ design thinking ตั้งแต่ต้นยันจบได้ prototype ออกมาเพื่อเอาไปทดสอบกับ user จริง เรายังไม่เงินที่ได้จาก user เลย แล้วใช้เวลาทั้งหมดไปเท่าไหร่ และทำเสร็จเขาจะซื้อเราไหมนะ จะมีกระบวนการที่ดีกว่าไหมนะ จึงกลายเป็นที่มาของการทำ Lean
Measure ว่า user เขาจะจ่ายไหม เช่น ยอมแลกอะไรบางอย่าง เพื่อเข้ามาใช้ service ของเรา เช่น email เข้ามา register ในระบบ หรือซื้อของในแอพเราหรือไม่ และมันมีคุณค่ามากพอที่จะจ่ายหรือไม่ และเราจะเริ่ม learn ว่าทำไมเขาไม่ยอมจ่าย และนำตรงนั้นไปปรับปรุง
หรือมีไอเดีย เอาไปใช้ทำแอพ ...
ถ้าเราประกอบเป็นรถคันนึง แต่ละอันจะต้องสามารถส่งมอบ value ว่า user ยอมจ่ายหรือไม่
เราสามารถทำกับ software ได้เลย เช่น หั่นแต่ละชิ้นออกมาเป็น feature ต่างๆ เพื่อดูว่า user ใช้ของเราหรือไม่
ถ้า 1 รอบใช้เวลานาน จะเลวร้ายมากๆ เช่น รอบละ 3 เดือน เท่ากับว่าปีนึงเราส่งได้แค่ 4 รอบเท่านั้น มันนานไป ดังนั้นทำให้รอบมันถี่ที่สุด ทำ MVP ยิ่งสั้นยิ่งดี และ waste ราคาแพงที่สุดคือเวลา ดังนั้นจึงต้อง lean เวลาออกไป ยุคนี้ให้เรียนรู้ user ได้เร็วกว่าชนะ
Process ที่เราสนใจ จะมีแค่กระบวนการในการสร้างของชิ้นแรกออกมา เช่น เราทำแอพออกมาอันนึง ได้ apk/aab ออกมา จากนั้นไป submit play store เพื่อให้เขาปั้มของเราออกมาสู่ User
ดังนั้น lean ลดเวลาในการทำ empathy และ define ให้สั้นลง และใช้เวลาในการ test มากขึ้น และ design thinking ค่าทำ prototype เช่น ทำโต๊ะ เก้าอี้
Google Design Sprint
เจ้าแผนผังในนี้อ่ะ ไม่ work หรอก เพราะ idea แรกๆมักจะเป็นไอเดีย ที่ไม่ดี แล้วต้องเสียเวลาเอาไอเดียไม่ดีไปทำ ทำรอบนึงก็อาจจะนาน ใช้เวลา เอาไป launch ก็เสียเงินอีก
ดังนั้นถ้าอยากตอบกระบวนการยากๆได้อย่างเร็วๆ เช่น ทำ AI ที่ต้องมี model เยอะๆงี้ ใช้แบบนี้ก็พอ
และใช้เวลาต่อรอบ 5 วันเท่านั้น โดยตัว framework จะมีหน้าตาเป็นเพชร 3 เม็ด โดยในที่นี้พี่แบงค์จะ wrap-up มาให้ดูคร่าวๆว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง เพราะวันแรกมีกิจกรรมค่อนข้างเยอะอะจ้า
ปล. จริงๆเรื่อง Google Design Sprint ก็จะมีหนังสือเล่มนี้ ถ้าเราอ่านเสร็จจะมาสรุปให้ฟังน้า
วันแรก discover → ได้ problem ที่สามารถตอบ how might we ได้ → define ว่าเราอยากแก้ปัญหาอะไร ปัญหาจริงๆอาจจะไม่ได้เกิดจาก user ก็ได้ อาจจะเกิดจาก shareholder หรือทีมของเราก็เป็นได้ เราแก้อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดก่อน ว่าอุปสรรคนั้นคืออะไรที่ทำให้เราไม่ถึง goal และนำปัญหาที่ได้มา map เป็นกลุ่มๆ
วันที่สอง diverge ระดมสมองให้ idea ดีๆ ให้ได้ออกมาเยอะๆ
วันที่สาม decide เอา idea มาวิเคราะห์และเลือกอันที่น่าสนใจ + prove แล้ว work → จะได้ UI แบบไหน
วันที่สี่ prototype ทำให้เหมือนจริงที่สุด ไม่ใช่เราปั่นแอพทำทุกอย่างออกมา 1 วัน ไม่ใช่น้าาา เป็นการทำตัวต้นแบบของแอพ สามารถใช้ keynote, powerpoint, Google Slide หรือโปรแกรมที่คุณทำ presentation ต่างๆนั่นแหละ กดแล้วให้ไปสไลด์หน้าไหนต่อ ทำ size ให้พอดีกับหน้าจอมือถือ เพื่อให้ user ลองเอาไปกดเล่นได้ หรือบางอันอาจจะเป็น physical ก็ได้นะ เช่น ห้องสมุดแบบใหม่ หรือคลีนิกเด็ก
สำหรับเรื่องการสร้าง prototype ด้วย keynote สามารถอ่านที่บล็อกนี้ได้จ้า
วันที่ห้า วันสุดท้าย เอาไป test กับ user เสร็จแล้วฉลอง โดยสาเหตุในการฉลองก็คือถ้ามัน work ก็ยินดีด้วย เอาไปทำต่อได้ ถ้ามัน failed ก็คือดีแล้วที่ของจริงไม่ทำแบบนี้
สรุป อันนี้จะสอนความยืดหยุ่นในการทำงานด้วย และอย่ายึดติดกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง มี tool ต่างๆให้เราใช้ได้เยอะแยะเลย จะบิดจาก Design Thinking เพื่อทำให้ได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่าง เช่น ที่ LEGO ซึ่ง run sprint เป็นลํ่าเป็นสันมาก สาเหตุมาจากการที่แต่ละทีมทำงานแบบส่งต่อกัน และแต่ละทีมตีกัน ดังนั้นจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ และตอบโจทย์การทำงานเป็นทีมมากขึ้น
หลายๆธนาคารในไทยเองก็เริ่มเอา Design Sprint มาใช้บ้างแล้ว
Q & A เล็กๆก่อนจบ
- บางที่ที่ทำ Innovation ที่อยากจะคิดของใหม่ๆ ใช้ทั้ง 3 ตัวเลย แต่ใช้คนละเวลากัน
- design sprint จะไม่ออกไป interview user ข้างนอก จะทำก่อนเข้า design sprint โดย sprint master หรือคนอื่นๆออกไปทำก่อน แล้วให้คนที่รู้แล้วไปพูด
และสรุปสุดท้าย แล้วเราจะเอา process ตัวไหนมาใช้ดีหล่ะ ดูที่กราฟนี้สิ เป็นเส้นระหว่างเราเข้าใจ user level ไหน รู้สึกว่าเข้าใจเยอะหรือเข้าใจน้อย
ถ้าไม่เข้าใจ user ให้ไปทำ Design Thinking ก่อน ซึ่ง Modern Design Thinking นั้น นอกจากเราจะเข้าใจ user แล้ว ยังเข้าใจ business และ shareholder ด้วย
และเมื่อเราทำ prototype และเทสไปแล้ว และรู้ว่าเราอยากได้อะไร ก็เริ่ม build เพราะรู้ว่า core value ของมันคืออะไร build ให้น้อยที่สุดเป็น MVP และเอาไปวัดผล เรียนรู้ และบิ้วใหม่ วนไปเรื่อยๆ software ที่ดีจะไม่มีวันเสร็จ จนวันนึงเจอตอ ว่าปัญหาว่าไม่สามารถ scale ไปมากกว่านี้เพราะติดปัญหานี้นะ ให้รัน Design Sprint อะหรือ อะหรือว่า จะไปวางตรงเริ่มต้นแบบมโนสุดๆในส่วนของ Design Thinking ด้านซ้ายมือของรูป ทำให้ทำได้เร็วขึ้นมากๆ
และถ้าจะ map กับ Agile หรือ Scrum ให้ไปวางไว้ตรง build จ้า
แผนภาพและวิธีการเหล่านี้ เหมาะกับบริษัทที่ทำ Innovation หรือทำของใหม่ๆ และควรใช้ทุก process อยู่ที่ว่าเรารู้สึกว่าเราเข้าใจ user แค่ไหน
ที่เหลือจะเป็น Q & A งั้นขอจบบล็อกนี้เท่านี้จ้า และสุดท้ายนี้ขอบคุณทาง Samyan CO-OP ที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้ขึ้นมา และมีการไลฟ์สดให้เราดูด้วย เราเองก็จะตามดูย้อนหลังใน session ก่อนหน้านี้ที่เราสนใจเหมือนกัน จะมี 2 อันนี้เนอะ
แล้วทางเราเองก็เป็นสมาชิกที่ Samyan CO-OP ด้วยนะ
และขอบคุณพี่แบงค์ที่แบ่งปันความรู้ดีๆอีกเช่นเคย ให้เราได้กลับไปคิดต่อ และรีบอ่านหนังสือ Google Design Sprint ต่อให้จบหลังจากดองมาเนิ่นนาน แหะๆ
สรุปจบแล้วฝากเพจได้ เย้ๆ
และฝากช่องทางใหม่ ทาง Twitter ฮับ