มาเติมความรู้สร้างสรรค์ให้เท่าทันในยุคดิจิตอลในงาน CTC2018 - CREATIVE TALK CONFERENCE 2018

Event Jan 31, 2018

งาน CTC2018 - CREATIVE TALK CONFERENCE 2018 บอกเลยว่าน่าสนใจมากๆในแง่ของ speaker เห็นชื่อแต่ละคนนี่ร้องหู้วววว เด็ดๆทั้งนั้น และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านด้วยนะ โดยที่ไม่ต้องรู้ก่อนว่าคนนี้ พูดเรื่องอะไร บางท่านเราเองไม่เคยตัวจริงมาก่อนเลยด้วยนะ

และมี 4 หัวข้อหลักของงาน ที่เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

  • Creative/Design : ความคิดสร้างสรรค์ นำมาซึ่งไอเดียที่ แปลกใหม่
  • Technology : เทคโนโลยีที่จะสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ เหล่านั้นให้เป็นจริง
  • Digital Marketing : แผนการตลาดกับสื่อ ดิจิตอลที่ช่วยสื่อสาร จากแบรนด์ไปถึง ผู้บริโภคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  • Startup/Entrepreneur : หัวใจของการเป็นเจ้าของ กิจการและการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ที่ต้อง อาศัยการเป็นผู้นำและ การเข้าใจมนุษย์

ซึ่งสามารถดูรายละเอียดของงานได้ที่ https://creativetalklive.com/

และด้วยความน่าสนใจทั้งปวง มีขายบัตรรอบแรก 800 บาท 200 ที่นั่ง เต็มใน 48 นาทีที่เปิดขาย

จนมาบัตรฟรี ทำลายสถิติ หมดใน 36 วินาทีเท่านั้น ปล่อยบัตรตอนเจ็ดโมงเช้านะคะเนี่ยยยยย

งานนี้จัดขึ้นวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2560 ที่อาคารหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานที่ที่ developer บางส่วน คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และรายละเอียดกิจกรรมอยู่ที่ https://www.facebook.com/events/146688879314441/

ตารางเวลาแต่ละ session เป็นดังนี้ www.creativetalklive.com/agenda2018.pdf ในงานมีแจกด้วยนะ ตรงจุดลงทะเบียน เริ่มลงทะเบียนแปดโมงครึ่ง เปิดงานเก้าโมง และปิดงานสี่โมงครึ่ง เรียกได้ว่าควรนอนให้พอกันเลยทีเดียว

สถิติที่น่าสนใจ งานนี้คนมาประมาณ 700 คน มีการแบ่งกลุ่มคนเป็นประมาณนี้


พร้อมหรือยัง พร้อมแล้ว มาเลยจ้าาาา

เรามาถึงก็ใกล้เก้าโมง เกือบไม่ได้นั่งห้องใหญ่ซะแล้ววววหล่ะ เข้างานมารับสายรัดข้อมือ บอกเลยว่า แม่มเหนียวกว่าของฟังใจอีกอ่า ซึ่งเราถ่ายตอนจบงานไปแล้ว เอ๊ะทำไมถึงโดนขีดที่สายรัดข้อมือนะ อ่ออออ ทางสปอนเซอร์อย่าง GM Live เขาแจกตั๋วหนังใครคนที่มีรูปดาวที่สายรัดข้อมืออะจ่ะ อิอิ

บัตรฟรีได้นั่งโซนหลังของห้องประชุม ต้องเล่าก่อนว่าตรงทางเข้าห้องประชม มีนวดคอบ่าไหล่ฟรี แล้วหน้าห้องประชุมเป็นที่ขายอาหาร และแจกนํ้าดื่ม และตรงทานแถวนั้นเลย เพราะเอาอาหารเข้าห้องไม่ได้นะ

บรรยากาศห้องประชุม ฉายสไลด์ Creativity is intelligence having fun ของ Albert Einstein อยู่

เมื่อถึงเวลาอันสมควร มีฉาย ads ของสปอนเซอร์ วิดีโอแนะนำการใช้ห้องประชุม และวิดีโอเปิดงาน แต่งานก็เริ่มเลทอยู่แหละ แต่เขาพยายามกระชับเวลา ตอนบ่ายเลยเริ่มตามเวลาเดิม ทำให้มีเวลาทานข้าวน้อยลง

https://twitter.com/SansiriPLC/status/957080003522412545

เปิดงานด้วยคลิปสรุปว่าปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น หลักๆมี The Mask Singer, BNK48 (งานนี้มีเมนชั่นถึงวงนี้เยอะ อย่ารำคาญกันนะจ๊ะ), RoV, ก้าวคนละก้าว เน้นถึง Socially conscious หรือจิตสำนึกต่อสังคมมากขึ้น และมีการ Cooperate ระหว่าง SME กับ Startup, ภาครัฐและเอกชน ในการทำงานร่วมกัน เพื่อทำบางอย่างให้ดีขึ้น และเป็นปีที่มีศัพท์เทคนิคทาง IT เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น AI, Machine leraning, chatbot, blockchain

Simon Sinek ผู้เขียน Start with Why ได้กล่าวไว้ว่า

100% ของลูกค้าคือมนุษย์ 100%ของพนักงานคือมนุษย์ ดังนั้น ไม่เข้าใจมนุษย์ เท่ากับ ไม่เข้าใจธุรกิจ

จากนั้นเป็นคิวของสปอนเซอร์ใหญ่อย่างแสนสิริ กล่าวถึงผู้ฟังงานนี้ไว้ว่า อย่าให้มือถือมารบกวนสมาธิของเรา อยากให้ตอน break-out ไปทำความรู้จักคนอื่น ที่ต่างประเทสเอะอะจับมือ เอะอะคุยกัน (ส่วนใหญ่ในไทยคุยกับคนสนิทหรือคนรู้จักมากกว่า หรือไม่ก็คุยกับเซเลปในงานไปเลยนะ...)

ส่วนเจ้าบ้านอย่างฝั่ง settrade บอกว่าอยากให้ตลาดหลักทรัพย์เข้าใกล้กบประชาชนมากขึ้น สามารถเข้าห้องสมุดมารวยได้ฟรี และมีร้านกาแฟที่ชั้นสอง มีสัมมนาการลงทุนที่เข้าได้ฟรี (บางอันมีเสียเงินนะ แต่เป็นระดับ advance) ส่วนห้องประชุมนี้จองกันข้ามปีเลย จองเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วเลยจ้า

แล้ว settrade คืออะไรหล่ะ คือระบบซื้อขายหุ้น อนุพันธ์ผ่านออนไลน์ และเป็นเจ้าแรกที่ทำ native app บน iOS นะ แต่หลังจากนั้นมีหลายเจ้าทำตามกันมา และทางเขาให้ความสำคัญของ UI/UX และ cache-up technology ใหม่ๆ เน้นเรื่อง data

หลังจากนั้นมีพี่ไดโนเสาร์มา แจกของให้กับคนที่กดบัตรฟรีได้คนแรก และคนกดบัตรเสียเงินได้คนแรก ซึ่งเป็นวิธีใช้เงินแก้ปัญหา 555 ซึ่งคนกดบัตรคนแรกเขามีเทคนิคที่ต่างจากคนอื่น นั่นคือ ซ้อมกด เซฟหน้าเว็บเป็น fav แล้วมีการเลื่อนกะระยะด้วยนะ โอ้ยยยย เนิร์ดสุดๆ

(ทริคจากเรา log-in กรอกข้อมูลส่วนตัวรอไว้ ใกล้ๆเวลากด F5 จนใกล้เห็นบัตรฟรี แล้วพุ่งไปเลยจ้าาาา ใครเจอ sold out บะบายจ้า)

UX มีการเปลี่ยนแปลงอะไรในปี 2017 และมีอะไรเพิ่มในปี 2018
คุณกรัณย์ : คนให้ความสำคัญกับ UX มากขึ้น การให้ user เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้ธุรกิจพัฒนาขึ้น มีการ research กันมากขึ้น คือ มีการไปคุยกับคนออกเงินไปจนถึง user นำมาตีความให้เป็น design ที่ดีที่สุด (คือตอบโจทย์คนใช้งานนะ ไม่ใช่สวยสุด ขอดักก่อน)
คุณดาริน : ปี 2017 มีคนสนใจ UX อบ่างชัดเจนมากขึ้นในทางธุรกิจ และในปี 2018 เริ่มต้นจริงจังมากขึ้น

Brand Communicate กับ UI/UX ยังไง
คุณดาริน : UX ต้องเข้าใจลูกค้าจริงๆ จะไม่เหมือน marketing ดูว่าเราเก่งอะไร support อะไรได้บ้าง หาจุดแข็งของเราให้เจอ แล้ว address need ไป customer
คุณกรัณย์ : UX มองว่าเป็นทุกอย่างของแบรนด์ ถ่ายทอดตั้งแต่ CEO ว่าแบรนด์เราให้อะไรกับลูกค้า expend user เพียวๆไม่ได้ มันต้อง compomite และวัดผลได้ เกิดจากการตั้งตัวแปรให้ถูก แล้วปรับให้เขากับเรา ทำงานร่วมกันทั้งองค์กร

ถ้าเราเป็น designer ต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร
คุณกรัณย์ : hard skill เลือกฝึกแล้วแต่ชอบ พอ UX ใหญ่ขึ้น เราต้องเพิ่ม commulication skill ต้องคุยให้รู้เรื่อง สื่อสารให้เป็น ต้องเคลียร์และเห็นภาพร่วมกัน
คุณดาริน :
- สมัยที่ทำ Amazon (คนละร้านกับร้านขายกาแฟนะเออ พี่อิงชอบเล่นมุขนี้อยู่) คนมีความเชื่อว่า design ไม่สวย ใช้งานง่ายกว่า มี mindset ที่อินกับปัญหาลูกค้า และมีคุณค่าจริงๆอย่างไร
- customer inspirer เข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทำธุรกิจได้ดีขึ้น
- designer ต้อง envisualize ปัญหา

แล้วฝั่ง brand ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
คุณกรัณย์ : คุยกับหลายๆภาคส่วนมากขึ้น ไม่ใช่โยนงานให้กัน มีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบมากขึ้น ลด ego ลงมา ลดการพูดถึงตัวเองให้น้อยลง ฟัง user ให้มากขึ้น รับคำติให้ได้ ทำให้พัฒนาตัวเองได้มากกว่าเดิม

คุณดาริน : แบรนด์เข้าใจ context มากขึ้น ดูบริบทในการปล่อยของว่า fix กับช่วงชีวิตไหนของลูกค้า/ lifestyle และ fix กับจุดใด

การทำ design แบบไหนที่ไม่ควรทำ หรือ out ไปแล้ว
คุณกรัณย์ :
- การทำอะไรที่เราไม่ถนัด ทุกแบรนด์มี core value อยู่แล้ว ถึงจะได้ผลลัพธ์เท่ากัน แต่ใช้เวลามากขึ้น ปัจจุบัน distritube กันได้ ถ้า user ไม่ expect มันไม่ work และ เสียเวลาทำ
- รับคำสั่งจากเจ้านายแล้วเอามาทำอย่างเดียว อันนี้ก็ไม่รอด ดูข้อจำกัดหรือ user ด้วย ถ้าเรามีเหตุผลแล้ว ผู้บริหารจะเข้าใจ user ก็ happy
คุณดาริน :
- mindset อย่าหาคำตอบที่ดีที่สุด
- หาคำถามที่เราควรจะถามมากที่สุด เราควรจะทำอะไรดีกับแบรนด์ของเรา ถามอะไรที่เรายังไม่รู้
- เราจะตั้งคำถามอะไรที่มี value กับบริษัทมากที่สุด
คุณกรัณย์ : การแสวงหาความแปลกใหม่ คนจะ wow กับมันแค่แปปเดียว บางครั้งเพิ่มการเรียนรู้ของ user และอาจทำให้ user ใช้งานยากขึ้น เช่น เขย่าเพื่อกด back ควรหา solution แก้ปัญหาที่ innovative

เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2018
คุณอรนุช : เริ่มจาก business objective มี 3 อย่างที่คนให้ความสนใจ
1) IoT Intelligence of Thing มีเรื่อง Ai ที่เข้าไป predict ปกติเขียน code ให้ทำตามคำสั่ง งานวิจัยน้องๆเยอะมาก แต่ไม่ได้เข้าไปในตลาด เช่น ไฟฟ้าทางเลือกจากสารอินทรีย์ AI ช่วยควบคุมปรมิาณการจ่ายไฟให้เหมาะสม, CCTV ที่มี AI ที่ capture ว่าอันนี้เป็นวัตถุอะไร
2) data การกระเพือมของ business ไม่ใช่แค่ธนาคาร เป็นสาย technology ผู้เล่นอื่น เช่น ailpay wechat มีระบบจ่ายเงิน ได้ customer data การโอนเงินข้ามประเทศก็ด้วย ดังนั้น customer data จะหลุดไปในบริษัท tech
3) blockchain
คุณปริวรรต :
- เราจะ applied พวกนี้อย่างไรบ้าง ตอนนี้ intergrad เข้าด้วยกันด้วย cloud เช่น smart city แต่ tech ที่เราใช้ไม่ใกล้ชิด user มากนัก
- เก็บข้อมูลจาก sensor เข้า cloud มี big data เช่น transportation ว่าจากบ้านเดินทางไปยังไง
- สามารถเก็บ data เข้ามาประมวลผลด้วย AI และ process บน mobile ได้
- deep tech business ใช้ IT มากขึ้น
- การทำยาในไทยลงทุนสูง ใช้เวลานาน เน้นทำ test kit ชุดทดสอบสำหรับพืช สัตว์
คุณอิสริยะ : คำถามยอดฮิตที่มี momentum ในปีนี้
1) โดนแฮกมา ทำไงดี : เน้นในเรื่อง security, surface of attrack ใช้ IT เยอะ โดนโจมตีเยอะตามไปด้วย มีช่องโหว่ มีโอกาสโดนเยอะขึ้น
2) จะตกงานเพราะ AI หรือเปล่า? : ต้องถามก่อนว่า AI ระดับไหน มีตั้งแต่ Facebook tag หน้าคน จนรถยนต์ไร้คนขับ ฉลาดขึ้นเรื่อยๆแน่นอน มี time frame ว่าช่วงไหนมีอะไร direction ไปทางเดียวกัน และรถยนต์ไร้คนขับเริ่มขายเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐอเมริกา
3) ซื้อ bitcoin ดีไหม : ตอบเรื่องราคาไม่ได้ แต่คงขึ้นลงสักพัก อาจจะเป็นฟองสบู่แตกแน่นอน แต่ต่างจากอดีต มองไม่ออกว่าจะไปทางไหน การลงทุนมีความเสี่ยง ลงทุนเหรียญถูกตัว โดนแฮกก็อดอยู่ดี (จริงๆประเด็นนี้ ตัว session สุดท้ายจะตอบเรื่องนี้ทั้งหมดเลย)
คุณอรนุช : การลงทุน ICO เป็นวิธีการระดมทุนแบบไม่ traditional ควรดูความเป็นไปได้ของโปรเจก ดู background ของ founder และมีอะไรที่เป็น hidden agenda ไหม
คุณปริวรรต : blockchain มาแน่ๆ ใช้ได้ในหลาย application พ่วงกันกับ security ที่ประเทศอิสราเอลมี log การ hack ในโลกว่าเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง ดูว่าใครเชื่อมต่อบ้าง สามารถ access ใน mobile ได้ด้วย ถึงขนาดเขาทำให้ดูได้เลย และเพิ่ม security ให้มากขึ้น และยังไม่ได fully access ในไทย

เนื้อหา session นี้มีอยู่ในเว็บ techsauce ด้วยนะ

https://techsauce.co/events/conference/creative-talk-speakers-predicts-2018-trends/

Trend การตลาดปี 2018
คุณสุธีรพันธุ์ : จะพยายามให้แบรนด์เป็นซื้อเสียเอง, ทาง marketing กลับมามองย้อนกลับไปว่าเรามีแฟนคลับเหมือน BNK48, สร้าง platform ของแบรนด์เอง

คุณอภิศิลป์ :
- เห็นการใช้งบของแบรนด์ไปกับ influrencer ในการสร้าง content กับ product
- แบรนด์เริ่มหาคนที่เหมาะกับ product เช่น ใช้จริงในชีวิตประจำวัน
- brand มี commulity ของตัวเอง เพราะ Facebook ลด reach และ traffic ลง คนลงเงินไปเยอะ เช่น Facebook group ของคนที่ใช้สินค้าของเรา ถ้ามีกลุ่มนี้อาจจะขายของใหม่ให้ในราคาพิเศษ และอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ กล้อง 360 องศา ลงรูปในแอปเขาได้
- ดูว่าลูกค้ามาจากไหนบ้าง อาจจะเป็น Google Search ซึ่งมียอดเข้ามาแตะ 80% direct เท่าเดิม แต่ social ลดลง คน search เพิ่มขึ้น
- digital access เช่น Youtube หรือ Twitter อันนี้ต้องไปดูเพิ่ม

คุณสุธีรพันธุ์ :
- สำรวจตัวเอง อย่าเอาไข่ไปใส่ตะกร้าใบเดียว มีผลต่อ SME ที่ใช้ Facebook อย่างเดียว
- paid own earn อย่าฝากไว้ที่ Facebook มากเกินไป จุดสำคัญคือการเอา media ไปใส่ในเวลาที่เหมาะสม

แล้วฝั่ง user ถุงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ในมุมมองของ marketing

คุณสุธีรพันธุ์ :
- คนดู TV น้อยลง เสพ content เหมือนเดิม แต่ดู screen อื่นกัน และมี on-demand สามารถดูย้อนหลังได้
- นิสัยการไม่มีตัวตนในโลกออนไลน์ เช่น IG story (Sanpchat) คนใช้เยอะขึ้น คนไม่ชอบมีตัวตนในโลกออนไลน์ ไม่อยาก post เยะจนน่ารำคาญ
- content สามารถเสพได้ ต้องหา user ให้เจอ และให้เขาดูอะไรต่อ ทำให้มีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น

คุณอภิศิลป์ : คนมีสมาธิและความสนใจสั้นลง เพราะ device อ่านหรือดูแล้วไม่สนใจ เลื่อผ่าน ความจำสั้น เวลาเฉลี่ยจาก 10 นาทีเหลือ 5 นาที บางกระทู้คนอ่านยาง กระทูนึงคนอ่านใช้เวลาทั้งหมดรวมกันเป็น 2,000 ปี ดังนั้น content ต้องน่าสนใจพอให้คนดูของเรานานๆ และจำแบรนด์เราได้

คุณสุธีรพันธุ์ : เปลี่ยน mindset อย่าวิ่งแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ, 1st prinicial ดูว่าถ้าเราทำสิ่งนี้เกิดขึ้น เราต้องทำอะไร เช่น BNK48 เราต้องสร้าง prinicial ขึ้นมาใหมา ให้มีความคิดสร้างสรรค์เยอะขึ้น

ในปี 2018 อยู่ในยุค digital transformation มีผู้ประกอบการบางคนยังไม่ tranform คิดว่าเขาควรปรับตัวอย่างไรบ้าง
คุณพรทิพย์ : ยังไม่ 100% ในการ tranform SME มีประมาณ 100 ล้านราย 80% ยังช้าอยู่ ปรับตาม mindset/process และมีแค่ 20% ที่ไปได้
ดูในเรื่องระบบการทำธุรกิจว่า process เป็นอย่างไร ตั้งแต่ในองค์กรไปถึงสินค้า/บริการถึงมือลูกค้า, ปฎิวัติวัฒนธรรมองค์กร สามารถนำ digital tranform มาใช้ทั้งระบบได้ไหม
1) ผู้บริหารต้องเล่นด้วย ต้องผลักดัน ส่งเสริมคนในองค์กร
2) คนในองค์กรต้อง smart และ intelligence ด้วย
เช่น คู่สร้างคู่สม mindset ไม่ได้ เขาจะหยุดทำต่อ ทั้งๆอาจจะมีทางไปต่อ

คุณภาวุธ : แบ่งเป็น stage มียุคกระเสือกกระสนจนมีตัวช่วยในการ transform ให้ดีขึ้น เช่น SCB มีการ transform, paranoid to service ไม่ transform จะตายก่อนเลย
มี sense ผลักดันเรื่องใหม่เข้าไปในทีม เช่น รับเงินเดือนเป็น bitcoin และมีการ training จริงจัง
และมีกลยุทธ์ในการผลักดันคน เช่น ตอน town hall มีการทำข้อสอบจากการ training ด้วย ถ้าทำผิดก็จะมีการลงโทษ แบบไม่ได้รุนแรงอะไรมาก

Cashless
คุณพรทิพย์ : มาแน่นอน เพราะเป็นเทรนของโลก ในไทยมี QR code พร้อมเพย์ ตัวเลขในไทย 3-5% ที่เป็น cashless ส่วนในจีน 60% สิงคโปร 15-20% >> ถอน ATM ออกเลย ส่วน eCommerce คนใช้บัตรเดบิต/เครดิตน้อย พวก online กับ wallet จะช่วยให้เติบโตมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมี transition ดูข้อมูลได้ สามารถลงค่าธรรมเนียมลงได้ เช่น รถ security เงิน, ตู้ ATM, ค่าพนักงาน
เช่น เหตุการณ์พร้อมเพย์ล่มช่วงสิ้นปี มันจะเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า (เกิดจากใส่ปี พศ. ผิด) มี back-up plan ไหม และพวก wallet bank จะมีทางออกอย่างไรบ้าง ควรจะรวมเป็นแอปเดียว

คุณภาวุธ : ในไทยต่างจากจีน เพราะจีน non-bank เขาแข็งแรงมาก และ non-bank ในไทยมี TrueMoney และ mpay
ในไทยมี e-wallet ที่ได้ license ทั้งสิ้น 27 เจ้าเท่านั้น และตอนนี้ธนาคารคุม เพราะมีพร้อมเพย์, standard QR code ถูกขับเคลื่อนด้วยธนาคารเป็นหลัก และวางกรอบระเบียบ

ระหว่างนั้นคุณภาวุธได้ถามคนในงานว่า มีใครยังไม่ได้ใช้พร้อมเพย์บ้าง ให้โอนเงินผ่านเบอร์ที่สองของคุณภาวุธ แล้วเงินที่เราโอนมา จะสมทบคุณสองไปบริจาคที่เทใจดอทคอม เพราะอยากให้ใช้พร้อมเพย์กันมากขึ้นนั่นเอง ส่วนใหญ่ไม่กล้าใช้เพราะไม่ได้กลัวเรื่อง security (เหมือนเรา) แต่กลัวสรรพากร

คุณพรทิพย์ : ธนาคารสามารถทำ credit score ได้ สำหรับ freelance ทำให้สามารถยื่นกู้เงินได้ง่ายขึ้น MPL ตํ่า เพราะสร้างรายได้สมํ่าเสมอ อย่าง grab ทำ wallet สำหรับคนขับแท็กซี่
คุณภาวุธ : business model เดิมจะถูกฉีกออก เป็นของใหม่ และเปลี่ยนวิธีคิด

เมื่อหมด session รวมของห้อง Main State แล้ว เราจึงโยกย้ายไปห้องที่เราสนใจ ซึ่งเป็นห้องเล็ก พบกับความแออัดของผู้ฟังที่ล้านเกินจำนวนห้องด้วย

User Behaviour 2018
คุณภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ จาก Wongnai, คุณกล้า​ ตั้งสุวรรณ จาก ThothZocial

ตอนแรกเข้าห้องมาด้วยความงง เอ๊ะเริ่ม session ไปยัง พิธีกรประจำห้องบรีฟเรื่องตารางแต่ละห้อง แต่ละ session คร่าวๆว่าห้องนี้มีอะไรบ้าง ก่อนที่ speaker จะมาถึง และเริ่ม session พร้อมกันทุกห้อง

เนื่องจาก session นี้คนเข้ามาเยอะจนห้องเต็ม เราเลยยืนกันหลังห้อง และยืนจดตรงหลังห้องนี้แหละ อาจจะไม่ได้ละเอียดมาก จดตามใจความสำคัญๆจริงๆ

ทั้งสองท่านต่างกันกล่าวว่า ในยุคนี้ data เป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจในยุคสมัยนี้

Data มีความสำคัญและใหญ่ขนาดไหน
คุณกล้า : เก็บ data จาก Facebook, Twitter, บริษัท, Pantip มา 4 ปี ดูว่าคนคิดอะไรกับแรนด์ มี 3,000 ล้านข้อความต่อไป กราฟเพิ่มขึ้นทุกปี ที่เป็น post แบบ public ซึ่ง post แบบ private น่าจะมากกว่าแบบ public 3 เท่า โดยใช้ AI, Big data, และ machine learning ในการอ่านข้อมูลเหล่านี้แทนคน (ซึ่งทั้งหมดจะฟัง social voice หรือมาจากนอกองค์กร)

คุณภัทราวุธ : เก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ ในแต่ละวันมี data 20 GB ต่อวัน ทั้งข้อมูล location ค้นหา ค้นหาร้านอาหารใกล้ตัว ว่าค้นหาอะไรบ้าง เช่น ร้านอาหาร เมนู และ user profile 3 ล้านคน และ multitude user ประมาณ 8 ล้านคน (เป็นข้อมูลภายในองค์กร)

และเราควรทำทั้งสองอย่างไหม?
คุณกล้า : ควรมี อยากรู้คนซื้อ media มีบางอย่างที่รู้และไม่รู้
คุณภัทราวุธ : คนเห็นรีวิวนอกระบบวงใน

User Journey
คุณกล้า : 1st principal search data จากข้างนอกก่อนซื้อ

Insight behavior มีการเปลี่ยนแปลงไปมากไหม
คุณกล้า : จำนวนเพิ่มขึ้นเยอะมาก social media กระจายตัวเยอะมาก
คุณภัทราวุธ : engage กับระบบมีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป data เข้ามามากขึ้น user เลือกของมากขึ้น อ่านข้อมูลมากขึ้น
คุณกล้า : คนอ่านเชื่อมากขึ้น ตัดสินใจมาจากบ้านมากขึ้น, zero moment of trust เชื่อก่อนถึงร้าน
คุณภัทราวุธ : มี content support ประกอบการตัดสินใจ
คุณกล้า : หาช่องทางของตัวเอง, brand royalty แบรนด์ต้องฟังลูกค้าด้วย เป็นโอกาสของแบรนด์

Success case
คุณกล้า : เป็นเคสรวมๆกัน เช่น supermarkets แห่งหนึ่ง อยากรู้ว่าขายอะไรให้คนใน online มากที่สุด เจอ keyword คำว่า “ซื้อ” กับ “แม่” เราต้องตีความหมายมันได้ เช่น แม่ให้ไปซื้อของ ไปซื้อของกับแม่ เฉพาะฉะนั้นลูกค้าในที่นี้คือแม่นั่นเอง เขาเลยปรับใหม่ ให้รอคิวไม่นานมีไวไฟให้เล่น

คุณภัทราวุธ : data ของวงในใช้ในการพัฒนา feature ดูว่า user เปิดดูหรือคลิกอะไรบ้าง แต่เด็กรุ่นใหม่คิดต่างจากคนรุ่นเก่า เลยเปลี่ยน UI ให้มีรูปภาพมากขึ้น คนมาใช้มากขึ้น

คุณกล้า : เริ่มจากเอาใจใส่ comment โพสตัวเอง ที่ reach ตํ่าๆ เช่น การแต่งรูปให้ขนาดของสินค้าใหญ่เกินความเป็นจริง พอลูกค้าไปซื้อลูกค้าเห็นว่าตัวสินค้าเล็กกว่าในรูป ทำให้ได้ knowledge และ learning

คุณภัทราวุธ : รีวิวร้านให้ลูกค้า เอาลงเพจ มีคนบอกว่าไปกินร้านนี้มาแล้วไม่อร่อย คนเข้าใจว่าเป็น user เขียนรีวิวนี้เอง

แนะนำแบรนด์ว่าควรทำอย่างไร?
คุณกล้า : ใช้ social driven business เราไม่สามารถ transform กึ๋นให้ลูกน้องไม่ได้ ต้องมีการกระจายอำนาจ ให้ลูกน้องทำงานได้เร็วขึ้น

คุณภัทราวุธ : การได้มาซึ่งข้อมูล การพึ่งพิง platform ภายนอก ใช้ tool รวบรวม data เพื่อไม่ให้เสียโอกาสพัฒนาปรับปรุง

UI is gone?
คุณกรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล จาก Pheromone, คุณลินดา ไกรวณิช จาก Magnetolabs

ตอนแรกทางพิธีกรลองคุยกับ Google Home ให้เปิดเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายจาก spotify นางดื้อไม่ยอมเปิดจ้า จนบอกเปิดเพลงอะไรก็ได้ใน spotifiy มาให้ที นางยังเงียบ พอพิธีกรพูดเกริ่นเกี่ยวกับ session นี้ไปสักพัก เพลงมาเฉ้ยยยยย พิธีกรเลยสั่งให้นางหยุดทำงานเลยหล่ะ ไม่งั้นมีคลิปอันสวยงามมาเปิดให้ดูหล่ะ ถึงเจ้าตัวอุตส่าห์แซวตัวเองว่าเวลาพรีเซนต์จริงมักจะดับก็ตาม

session นี้เป็นถามตอบเช่นเคย เราไม่เชิงว่าถอดคำพูด speaker มานะ แต่พยายามเชื่อมคำให้เข้ากับโทนเรื่องให้ได้มากที่สุด ถือว่าเป็น session ที่นอกจากจะได้เรื่อง UI/UX แล้ว ยังได้ mindset เชิง business มาด้วย

ยุคต่อไปจำเป็นต้องใช้ AI หรือเปล่า แบบใช้เสียงสั่งงาน ต้องทำ UI ไหม
คุณกรัณย์ : UI ไม่ได้หายไป แต่มี channel เพิ่มมากขึ้น เช่น เสียง, chat, visual carity รวมถึง UI หน้าจอแบบเดิมด้วย อยู่ที่ context of use ใช้งานคนละแบบกัน เช่น ใช้มือไม่สะดวก เลยใช้เสียงสั่งงานแทน designer ไม่ไดตกงาน แต่มีงานเพิ่มขึ้น touch point มากขึ้น

คุณลินดา : ก่อนหน้านี้มาการสั่งงานผ่าน command line และมีเข้ามาเรื่อยๆ UI ไม่ได้หายไป อนาคตอาจจะมีมากกว่าเสียง UI ค่อยๆมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

trend ในอนาคต และ designer ควรเพิ่ม skill ด้านไหน
คุณลินดา : เราอาจจะเป็นตัว UI เอง แทนที่จะศึกษาหรือ focus กับ screen, sound, AI อย่างเดียว ต้องเพิ่มความเข้าใจคนหรือมนุษย์ เพราะออกแบบกับคน แก้ปัญหากับคน คุยกับคน ศึกษาจิตวิทยาของคน เช่น ทุกเช้าขึ้น bts ทุกคนก้มหน้ากันหมด แต่ละคนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ฝึกการสังเกต หา user experience

คุณกรัณย์ : design เป็นศาสตร์ของการแก้ปัญหา โดยรวมด้าน business, technology และความสวยงาม เข้าด้วยกัน เลือกสายตามความถนัด เช่น design research, production management การ commuicate เป็นสิ่งสำคัญ ออกแบบให้ Al learn ง่ายที่สุด เช่น defect ด้วยสายตาของหุ่นยนต์ ไม่ใช่เรา ทำอย่างไรให้เรียนรู้ตรงนั้นได้ รู้ concept สร้างทฤษฎีใหม่ตามความเข้าใจของเรา สามารถอธิบายได้

"ต่อไปเราจะออกแบบให้ machine ใช้ด้วย"
คุณกรัณย์ : core value ของบริษัทมีอย่างเดียว หรือคนนอกมองเรามาอย่างไร เราเป็นสิ่งที่เราเป็นให้ดีที่สุด เพราะทำทุกอย่างมันกิน resource และเราไม่ได้ถนัดบางอย่าง ทำให้ผลลัพธ์ดีมากขึ้น เช่น ไป SF เพื่อไปซื้อตั๋วหนัง (มีแอบพาดพิงแอปธนาคารในตำนานของชาว UX ซึ่งเป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว แม้แต่ spotify ก็ยังอยู่ในนี้เลย ซึ่งมันผิดไง เข้าแอปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ใช่มาฟังเพลง)

คุณลินดา : เราสามารถทำหลายอย่างได้ แต่ต้องสอดคล้องกับ core value เช่น spotify เป็นแอปฟังเพลง ในอนาคตอาจจะขายเพลง มีเนื้อเพลง จู่ๆ CEO บอกว่าใส่เรื่องดูหนังไปด้วย เช่นผูกกับ Netfilx ซึ่งมันไม่ใช่ core value ที่ตั้งไว้ ควร focus กับ core value และทำมันให้มี มีอีกเคสที่ชอบ คือ แอปวงในทำ feature สั่งอาหารกับแอป มาเป็น partner กันกับ line แต่ line ไม่เก่งเรื่องขนส่ง เลยให้ lalamove เป็น partner ในการส่งอาหารไปให้ลูกค้า แต่ละคนก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด

คุณกรัณย์ : การยัดทุกอย่างเข้าไปในแอปเดียว เป็นการทำโปรแกรมแบบสมัยก่อน ที่ API ยังไม่ดี แต่สมัยนี้ API สามารถคุยกันเองได้แล้ว ดังนั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องยัดทุกอย่าง ควร focus ในสิ่งที่ตัวเองจะเป็นและมี ไม่งั้นจะเป็นภาระ ควรประเมินตัวเองว่าธุรกิจขยายไปได้แค่ไหน เทรนตอนนี้คือดึงศักยภาพมาใช้ร่วมกัน

ช่วยแชร์ resource ให้ designer หน่อยว่า ควรศึกษาจากไหนดี
คำตอบทั้งสองท่านจะคล้ายๆกันที่ว่า resource หาได้เยอะแยะจาก google อยู่แล้ว เลยอยากให้ focus ในประเด็นอื่นที่จำเป็นต่อการทำงานมากกว่า

คุณลินดา : ดู website developer ของอันที่เราจะทำ เช่น amazon alexa, iOS ศึกษาข้อจำกัด คู่มือ สิ่งที่เขาให้มีอะไรบ้าง เราไม่ควรสร้างอะไรใหม่ และ user ไม่ควรเรียนรู้ใหม่

คุณกรัณย์ : เรียนรู้การทำความเข้าใจคนไทย ดูพฤติกรรมว่ามีอะไรแตกต่างไปจาก guideline ต่างประเทศ และเอาไปปรับใช้กับคนไทยได้อย่างไร ทำไมถึงออกแบบมาแบบนี้ และนำมาพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยน เพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

มีอะไรที่จะเสริมไหมครับ?
คุณลินดา : skill การเรียนรู้ ที่ทำให้ developer ตัวเองได้ เพราะเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงเร็ว อยู่ที่ learning ระหว่างทาง เรียนรู้ให้เร็ว อย่าไปทำตามใคร

คุณกรัณย์ : พยายามตั้งคำถามให้เยอะ เป็นนักแก้ปัญหา และหาวิธีแก้ปัญหาให้เป็นและ commulicate ให้ดี

จบ session นี้ ไป session อาหารกลางวันต่อ ปกติเราจะลงรูปอาหารกลางวัน ด้วยความที่หน้างานของใกล้จะหมด เหมือนบางร้านจะ sold out อาหารไปแล้ว เลยไปกินที่ร้านกาแฟชั้นสองของตึก เพื่อประทังชีพ จากนั้นเดินมึนๆมากับน้องๆที่ห้อง Main State คือป้าไม่อยากไปต่อสู้อะไรแล้ว ทั้งที่อยากฟังหัวข้อ "ทำอย่างไรเมื่อ facebook ลด reach" ไม่เป็นไร เราฟังย้อนหลังได้ และสรุปมาหลังจากที่ได้ฟังแล้ว

ห้องนี้สบายดี ไม่ต้องตบตีแย่งชิงอะไรกับใคร

Inspiration Talk
คุณอรรณวุฒิ ลีไพศาลสุวรรณา และ คุณพิริยะ กุลกาญจนาชีวิน จาก TEDxBangkok

เป็นอีก Q & A session ที่ขออนุญาติรวบมาแบบสรุปๆ

จริงๆทั้งสองท่านมีงานประจำกันอยู่แล้ว คุณโอเป็น developer ที่ OmiseGo ส่วนคุณพีททำธุรกิจ start-up ดังนั้นงาน TEDxBangkok นี้ไม่ใช่งานประจำนะ เป็นงานที่ช่วยกันทำกับทีมงานมากกว่า

TEDxBangkok เริ่มจากการไป invoke กับ TED เมื่อปี 2009 เริ่มจากการดู TED แล้วนำมาแชร์ให้เพื่อนฟัง เพื่อนบ่นว่าไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ถนัดภาษาอังกฤษ เลยแปลเป็นภาษาไทยแล้วส่งไปให้ทาง TED ซึ่งทาง TED เอง

แล้ว TED Talk ที่ชอบหล่ะ?
ของคุณโอชอบ "The Magic of Washing Machine" หรือ "เครื่องซักผ้ามหัศจรรย์" เพราะว่าคุณ Hans Posling เป็นอาจารย์ด้านสถิติประชากรชาวสวีเดน ใช้เครื่องซักผ้าเป็นตัวสำรวจเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ทำให้แม่บ้านใช้เวลาซักผ้าด้วยมือใช้เวลาน้อยลง เอาเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่น

https://youtu.be/BZoKfap4g4w

ส่วนคุณพีทชอบเรื่อง "How to use one paper towel" หรือ "เราจะใช้กระดาษทิชชู่กันอย่างไร" ของคุณ Joe Smith เพราะคนปกติชอบเอาสถิติขึ้นมาพูด แต่คนนี้เขา take action ให้ดูเลย โดยการฉีกทิชชู่เอามาซับมือ แล้วเดินออกไปให้คนดูงงเล่น

https://youtu.be/2FMBSblpcrc

output จาก 3 ปีที่ผ่านมา คนเข้าร่วมงาน 2,500 คน มี voluteer ที่มาช่วยงานทั้งสิ้น 400 คน (จริงๆทุกคนช่วยกันทำกันอย่างดีแหละ) จัด 53 talks และมีคนดูรวมทั้งหมด 4.4M view แต่ fail เนื่องจากคนคิดว่างานนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แต่สิ่งที่อยากสร้างจริงๆ คือ สร้างมุมมองใหม่ในสังคม ทำให้เกิดการตั้งคำถามของสังคม และเกิดการถกเถียง เช่น บอกเล่าความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในชีวิต และจัดการมันมาได้อย่างไร

หลักการทำงานคือ ตั้งคำถามกับไอเดียเสมอ แล้วค่อยหา speaker ให้ตรงกับ idea

และอยากให้คนมางานเกิด action ขึ้น มีกิจกรรมข้างนอกด้วย collabition ให้คนมา engage เพื่อให้มาแลกเปลี่ยนกัน และเกิดการถกเถียงกันด้านนอกงาน

ความสวยงามไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เราอยากฟัง แต่อยากให้เข้าใจความแตกต่างกันหลายๆแง่มุม

ที่ผ่านมาใช้ 100-130 คนสำหรับการทำงานของอาสาสมัคร แบ่งการรับสมัครเป็นสองรอบ ซึ่งเขาหยิบรอบแรกมาพูดแหะ (ส่วนรอบสองนี่ไปไหนก็ไม่รู้ งง)

Call team 30-50 คน เริ่มต้นตั้งแต่แรก ตั้งแต่เกิด concept/idea มีการคัดตัวผ่านออนไลน์ จนไปถึง on-call บางคน 15 นาที 30 นาที เคยมีถึง 1 ชั่วโมงเลยหล่ะ แล้วแต่คน ได้คนเก่ง มีความกล้าพูด กล้าฟัง ทีมมีความแตกต่างและหลากหลาย ทั้งเพศ อายุ อาชีพ และในแต่ละปีจะมีอาสาสมัครที่มีอายุสูงมากขึ้น มี mindset ที่อยากทำงานร่วมกันกับเด็กรุ่นใหม่

Trend ในปี 2018 ในปีนี้จะไม่จัดงานสเกลใหญ่แบบ 500-1,000 คน แบบปีก่อนๆ เพราะ

  • Deep is More : คนมองหาอะไรที่ลึกซึ้งขึ้น ทางทีมได้คุยกับทาง Head ที่ London กฎกติกาช่วงแรกห้าม speaker ห้ามพูดเกิน 18 นาที แต่ตอนนี้สามารถดึงดูความสนใจของคนได้แค่ 12 นาทีเท่านั้น คนเลือกอันที่สั้น กระชับที่สุด เคี้ยวง่ายขึ้น
  • Nerd is the new chic : คนที่เขาเนิร์ดอะไรบางอย่างดูน่าสนใจ และดู sexy น่าค้นหา เช่น อาเจ๊กสมชัย ที่เชี่ยวชาญเรื่องเมือง, แวน mayday ที่เชี่ยวชาญเรื่องรถเมล์ รู้หมดว่าจากบ้าน A ไป B ไปด้วยรถเมล์สายอะไร
  • Creativity kills school : โรงเรียนถูกความคิดสร้างสรรค์ทำลาย ดังนั้นโรงเรียนต้องปรับตัวโดยต้องหาความรู้ใหม่ๆ พลิกมุมมอง qurate ข้อมูลให้เล็กๆได้ดีขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์ ที่ก้าวข้ามผ่านเรื่องยูนิฟอร์ม โรงเรียนรุ่งอรุณที่เปิดสอนวิชาบริษัทจำลอง คุณครูจะแบ่งกลุ่มเด็กเป็น 4 ประเภทธุรกิจ เช่นเด็กที่จะไปทำบริษัท event ส่ง resume จริงไปให้บริษัท หรือม้แต่โฆษณาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • Actions > Talks : เช่น ทำกิจกรรมสำรวจป้ายรถเมล์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ตอนนี้ขยายโปรเจกไปที่ขอนแก่นด้วย

แล้วปีนี้จะเกิดอะไรขึ้นหล่ะ

  • Deep is More : The Explorer ให้อำนาจกับผู้เสพว่าอยากฟังเรื่องอะไร
  • Nerd is the new chic : content creator สร้างเนื้อหาให้ลงลึกกว่าเดิม ให้เหตุผลที่นำไปโต้แย้งกันได้
  • Creativity kills school : TED-Ed club ขโมย resource ครูแนะแนว งานกีฬาสี สร้างพื้นที่ให้เด็กหลังห้อง จัดให้มีเวทีเกิดขึ้นที่โรงเรียนมัธยม
  • Actions > Talks : TEDxAdventures ไม่ได้จัดบนเวทีใหญ่ๆ แต่ทุกที่สามารถเป็นเวทีได้ ไม่ว่าจะเคาท์เตอร์ครัว เรือ

ปิดท้ายด้วย "Knowledge without action is like having no knowledge at all" - Ted Nicholas แต่จริงๆ คือ "Knowledge without action is like having no inspiration at all"

Debase : วุฒิการศึกษาจำเป็นต่อการทำงานสาย tech หรือไม่
ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ จาก iTAX, คุณเลอทัด ศุภดิลก จาก SellSuki, คุณรวิทัต ภู่หลํา จาก Code App, คุณทีปกร ศิริวรรณ จาก Computer Systems Integration

บอกเลยว่าอันนี้สนุก น้องบอกว่ารอบเช้าดีเบตก็สนุกเช่นกัน อ่ะลองฟังซะหน่อย

session debase นั้น จะเป็นพิธีกรชุดนึง มีสองคน สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ แบ่งฝ่ายเลยว่าคนนี้ฝ่ายสนับสนุน คนนี้ฝ่ายค้าน แค่เริ่มต้นก็บลัฟกันสุดๆเลยจ้า สมาชิกแต่ละฝั่งมี 2 คน ไม่รวมพิธีกรนะ ระบบการ debase จะเป็น 5-5-3 คนแต่ละคนจะพูด 5 นาที ทั้งหัวหน้าและลูกทีม และหัวหน้าจะมาพูดปิดอีก 3 นาที เป็นอันจบจ้า

พิธีกรฝ่ายชาย คุณเต๋า เป็นฝ่ายสนับสนุน มีดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ จาก iTAX และคุณเลอทัด ศุภดิลก จาก SellSuki
พิธีกรฝ่านหญิง คุณอุ้ม เป็นฝ่ายค้าน มีคุณรวิทัต ภู่หลํา จาก Code App และคุณทีปกร ศิริวรรณ จาก Computer Systems Integration

เริ่มที่ฝ่ายสนันสนุน โดยคุณยุทธนา จาก iTax
- วุฒิจำเป็นต่อสาย Tech สำหรับผู้ประกอบการ สามารถสกรีน/คัดกรอง ว่ามีพื้นฐานความรู้เพียงพอที่จะทำงานในตำแหน่งนี้ได้ ถ้าไม่มีดีกรี จะผูกกับความเสี่ยง ว่าทำงานได้ไหม ต้นทุนจะเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ที่ iTax มีน้องคนนึงอายุ 16 ปี เป็น Full-stack Developer ที่ iTax ซึ่งเก่งมากๆ แต่คนแบบน้องคนนี้มีน้อย (น้องคนนี้เคยจัดกิจกรรมด้วย อันนี้เพจงานน้องเขา ยอมรับว่าเก่งเกินอายุนะ เท่าที่ส่องดูงานนี้มาทาง social https://www.facebook.com/StupidHackTH/)
- วุฒิจำเป็นต่อสาย Tech สำหรับคนทำงาน บอกว่าเราผ่านอะไรในระกับหนึ่ง มีความรู้จำเป็นที่ต้องใช้ มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี มีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามยุคสมัย ดูวิชาบังคับที่เราต้องเรียน รู้ในสิ่งที่เราควรรู้ เป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดความรู้ได้ ถ้าบางคนบอกว่าเรียนรู้จากที่ทำงานก็ได้แบบ learning on the job อันนี้ไม่ดี เพราะมันไม่ต่อเนื่องกัน

ตามมาด้วยฝ่ายค้าน โดยคุณรวิทัต จาก Code App บอกเลยว่าพี่เขามานิ่งๆ พูดทีนี่มันส์มาก สนุกมาก แต่จดมาไม่เยอะ นั่งคิดตามอยู่ เหมือนปล่อยหมัดเด็ดมาเลย
- คนมางานนี้ไม่ได้สนใจวุฒิการศึกษาของ speaker ใช่ไหม และเราสนใจครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ (เราก็นั่งคิด เราเพิ่งดูไลฟ์ย้อนหลังเพจแปดบรรทัดครึ่งที่คุณอิง Indie Dish ไปออก ก็เพิ่งทราบว่าจบอะไรมา แนะนำให้ไปฟังย้อนหลัง หรือ ดร.ต้า GDE Machine Learning ทุกคนจำได้ว่าเคยเป็น Data Sci ที่ Facebook ก็ไม่ได้สนใจว่าจบปริญญาเอกที่ไหน สาขาอะไร เราสนใจว่าพี่เขาเก่งเรื่อง data มากๆ ใช่ไหม)
- วุฒิการศึกษาเป็นสิ่งที่เราต้องมี หรือเป็นสิ่งที่เราควรมี ใครเป็นคนบอก ตัวเราเอง สังคม หรือบริษัท require ว่าต้องจบปริญญาตรี เราไม่มี choice ให้เลือก เป็น default ของสังคม (เออจริงแหะ เราเรียนจบและหางานทำเลยเนอะ)

ในเมื่อฝ่ายค้านมาแบบนี้ ฝ่ายสนันสนุนต้องดึงคะแนนกลับบ้างหล่ะ โดยคุณเลอทัด จาก SellSuki
- เห็นด้วยว่า สับสนว่าวุฒิการศึกษา มีความสำคัญอย่างไร
- เคยรับคนไม่จบมาทำงาน วุฒิการศึกษาไม่ได้วัดเรื่องความฉลาดอย่างเดียว วัดเรื่องความมีวินัย และการเข้าสังคมด้วย และวัดเรื่องความคิด
- บางคนเอา Steve Job ไปอ้าง ซึ่งเขาต่อยอดความรู้ที่เรียนมา จบประสบความสำเร็จ เช่น เรียนการออกแบบตัวอักษร
- วุฒิการศึกษาที่ดีควรเป็นอย่างไร ช่วยพัฒนาอย่างไรให้ดีขึ้น เราอาจจะให้ความสำคัญบางอย่างผิดไป ถ้ามองในเชิงมหภาค มองแบบทั่งประเทศ อยากได้สิ่งที่ confirm ว่าผ่านการเรียนอะไรมา กันคนแอบอ้าง (น่าจะข่าวเรื่องซื้อวุฒิปลอมนะอันนี้)

ฝ่ายสนับสนุนโต้กลับมาแบบนี้ ฝ่ายค้านจะมีอะไรแย้งกลับไปบ้างหล่ะ โดยคุณทีปกร จาก Computer Systems Integration
- ย้อนที่มาของวุฒิการศึกษา เช่น วิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทำไมเราจึงเลือกเรียน บางคนชอบเล่นเกมส์เลยมาเลือกเรียน (หลายคนเป็น ก็ในคณะเรา ภาคเรานี่แหละ) เอกสาร มคอ. หรือเอกสารไม่มีใครอ่าน (จริงๆย่อมาจาก มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แต่ระดับอาจารย์ เขาก็บอกว่าไม่มีใครอ่านจริงๆนั่นแหละ) บังคับเรื่องมาตรฐานวุฒิการศึกษา วิชาบังคับ 3 ปี และเลือกวิชาเองอีก 1 ปี บางคนรู้ว่าไม่ชอบก็สายไปแล้ว (ไม่จริงทั้งหมดนะ มีเพื่อนซิ่วตอนปีสองเทอมปลายๆนะ มาเรียนปีหนึ่งใหม่เลย บางคนเราว่าทนเรียนจนจบแล้วไปทำนอกสายอาชีพไปเลยก็มี)
- วัฒนธรรมไทยในเรื่องการศึกษา อาจารย์ควรรับงานจากเอกชน เพื่อ upgrade ความรู้ของตัวเองมาสอนนักศึกษา แต่ทำไม่ได้ ผิดอีก (เอ๊ะ คุ้นๆว่าเหมือนได้ยินว่ามีอาจารย์บางคนรับงานนอกจนไม่ยอมสอนเด็ก บางที่อาจารย์ไปทำงานนอก ไม่สอนเด็ก เจอกันอีกทีตอนสอบก็มี คนข้างนอกมองว่าเก่งไง จริงๆไม่ได้สอนเด็กเลย งงไปอีก เออแล้วเด็กจะเก่งตามได้ไง)

แต่ละท่าน แต่ละฝ่ายพูดมาจบครบแล้ว หัวหน้าแต่ละฝ่ายกล่าวปิด
ฝ่ายค้าน โดยคุณรวิทัต จาก Code App
- วุฒิการศึกษา การันตีการศึกษาได้แค่ไหน เราสับสนระหว่าง การมีการศึกษา และ การมีวุฒิการศึกษา เราตั้งคำถามว่าทำไม หรือเพราะบริษัท
- ใช้ได้กับสมัยก่อน ซึ่งมาสามารถหาความรู้ได้จากการเรียนที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ตอนนี้เรียนรู้ได้จากหลายๆที่ ยกเว้นบางอาชีพที่ต้องมีใบประกอบอนุญาติ เช่น หมอ วิศวกร

ฝ่ายสนับสนุนโดยคุณยุทธนา จาก iTax
- เคารพความเห็นของทุกฝ่าย แต่วุฒิการศึกษายังจำเป็นอยู่ดี มองว่าสาย Tech ก็เฉพาะทางเหมือนหมอเช่นกัน มีพื้นฐานความรู้ที่ดีพอในการปรับตัวได้ และช่วยตัดสินใจได้เร็วขึ้น
- ผิดที่โครงสร้างการศึกษา ไม่ใช่วุฒิการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุก 5 ปี เราสามารถหาอ่านได้เพิ่มเติม และนำไปต่อยอดความรู้ได้
- พบเพื่อน, พบอาจารย์ ที่ส่งไม้ต่อไปข้างหน้า (ไม่เน้นทวงบุญคุณเด็กว่าชั้นสอนเธอมาเหมือนครูมัธยมบางท่าน หรือเปรียบเทียบว่าเด็กเก่งกว่าตัวเองก็จะอิฉารัวๆ) play forward และโอกาสการเป็นนักศึกษา มีสิทธิพิเศษหลากหลาย เช่น การซื้อคอมพิวเตอร์ในราคาถูก (macbook นั่นแหละจ้า มีราคานักศึกษาที่ถูกกว่า แต่แพงกว่า notebook อยู่ดี แต่แนะนำให้ใช้ macbook), software ลิขสิทธิ์ (ใช้ฟรี หรือราคานักศึกษา), โครงการแข่งขันต่างๆ เปิดให้นักศึกษามากกว่าบุคคลทั่วไปอีก
- creativity kills schools เป็นเรื่องจริง เราต้องปรับตัว ให้วุฒิการศึกษาสอดคล้องกับโลก เช่น เรียนรู้จากประสบการณ์จริง แบบใน ads มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้วุฒิการศึกษามีความหมายมากกว่าในปัจจุบัน

สรุป วุฒิการศึกษาสำคัญสำหรับสาย Tech และสะท้อนถึงเรื่องสังคม (เพื่อนหรืออาจารย์) การเรียน รวมไปถึงเรื่องอื่นๆด้วย

ตัวของพิธีกรแต่ละท่าน ก็ได้เล่าความอัดอั้นตันใจมาคนละ 1 ประเด็น
- คุณเต๋า บอกว่าเรียนสายคอมมา แต่ให้มาเรียนเคมี เรียนแคลคูลัส เรียนวัสดุ ให้เรียนมาทำไม (นี่ก็ด้วย แต่เรื่องวัสดุขอเถียงนิดนึง น่าจะเกี่ยวกับการทำ hardware นิดหน่อยแหละ เคมีเรียนไปทำไม สุดท้ายสิ่งที่น่าจะใกล้เคียงวิชาเคมีที่สุด คือ การบัดกรี แล้วเรียนวิชาไฟฟ้ายากๆไปทำไม แล้วอาจารย์ภาคนั้นหาว่าภาคเราอ่อน แหมทีภาคตัวเองก็ตกเกินครึ่งอย่ามาโทษกันเลยนะเออ สุดท้ายมีใครเอาวิชาที่ว่าไปใช้จริงจังไหมหล่ะ)
- คุณอุ้ม บอกว่า ใช้วุฒิการศึกษาไปสมัครงานเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน (แอบคำนวณอายุเบาๆ เห้ยพี่ก็หน้าเด็กอยู่นะ) หลังจากนั้นการเปลี่ยนงานก็มองที่ประสบการณ์ล้วนๆ พี่เขามองว่าวุฒิการศึกษาทำให้ได้โอกาสในการทำงาน

eSport - The New Market for Business Opportunities
คุณกีรคิต ทรัพย์วิสุทธิ์ นักลงทุนจาก Mega Esport, คุณพันธชนก เนียมศิริ Coach ของทีม BKT, คุณอุบล ดารา Pro Player จากเกม Overwatch ชื่อ oPuTo

อันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาฟังจากบ้าน แต่พอได้ฟังรู้สึกเปิดโลกมาก ไม่แน่ใจว่า model พวกนี้ จะสามารถปรับกับธุรกิจอะไรได้อีกในบ้านเรา จริงๆเขาถามตอบกัน เลยขอรวบสรุปมาว่า ได้อะไรกลับมาบ้าง

กีฬา eSport คือการแข่งเกมส์ต่างๆ มีกติกาเหมือนกีฬาปกติ มีทั้งเกมส์ที่เล่นคนเดียว กับเล่นเป็นทีม เช่น counter stike, overwatch ซึ่งสิ่งที่เป็น eSport คือ เกิดจากการแข่งขันกัน อาจจะเป็นเกมส์ต่อสู้ หรือวางแผน คนดูผ่าน Twich (https://www.twitch.tv/) ซึ่งโตมากในสหรัฐอเมริกากับยุโรป ทำงานคล้ายๆ YouTube แต่อันนี้เน้น Stream มากกว่า

คนดูต่างจาก YouTube คือใน Twich มีตารางการแข่งขันเกมส์ที่แน่นอน แข่งตรงเวลา เริ่มกันสดๆ ส่วน YouTube เป็นรายการย้อนหลังมากกว่า จริงๆทั้งสองเว็บนี้มี live ทั้งคู่นะ และสิ่งที่ต่างอีกสิ่งนึงคือ notification ของ Twich จะแจ้งเตือนเมื่อมี live ส่วน YouTube เน้น video upload มากกว่า

หน้าที่ของ coach คือ ดูแลการฝึกซ้อมของ player วางแผนการเล่นเหมือนทีมฟุตบอล และตัว player มอง coach เป็นอาจารย์ ติดตรงไหนก็ให้ coach เข้ามาสอนได้ เหมือนรายการ The Face ที่มีเมนเทอร์สอนลูกทีม และตัว coach ดึงศักยภาพของตัว player ออกมาใช้ให้มากที่สุด และอยากให้มอง player เป็นนักกีฬามากกว่าคนเล่นเกมส์

สาเหตุที่มาลงทุนในทีม eSport คือ นักกีฬาได้เงินจากการแข่งขัน, ได้จาก sponsor, donate, subsription และมีสถิติมาให้เราดูด้วย คนไทยสนใจ eSport 1.2 ล้านคน พอกีฬานี้ได้บรรจุ คนสนใจเพิ่มขึ้น 3% คนดูผ่าน Twich 100 ล้าน unique users ต่อสัปดาห์ เป็นธุรกิจใหม่ของภูมิภาค South-East Asian และตลาดมีมูลค่าสูง

การจัดการแข่งขันจะจัดแข่งใน zone เดียวกัน แยกเป็นทวีป เพราะความเร็วอินเตอร์เน็ตแต่ละไม่เท่ากัน แข่งให้ได้ตัวแทนทวีป เพื่อไปแข่งรอบสุดท้ายกับผู้ชนะในแต่ละโซน (เคยได้ยินว่าคนไทยไปแข่งเกมส์กับต่างประเทศ และมีปัญหาเน็ตเราช้า แถมเน็ตฝั่งเราหลุดอีก)

เกมส์ LoL ของเกาหลี หรือ Rov ที่บ้านเราฮิตกัน คนดู live เกินสองแสนคนต่อ match และแข่ง match ละ 15 นาที คนจัดเขาจะรู้ว่าคนดูอยู่ประเทศอะไร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ใน Twich

ส่วน streamer caster ไม่เหมือนการแข่งขัน อันนั้นออกแนวให้ความเห็น หรือ entertain มากกว่า

คนลงทุนจะได้สร้าง ecosystem ของ eSport ใน South-East Asian ปั้นเด็กไทยไปสู่ระดับโลก สร้าง academy สอนเด็กยุคหลัง ทำ content เจาะเด็กรุ่นใหม่ เป็นโอกาสใหม่

ถ้าอยากลงทุน eSport มี know-how กับ expert นิดนึง เพื่อให้ได้ต่อการตัดสินใจ
ส่วน sponser ติดต่อนักกีฬาได้โดนตรง แล้วนักกีฬาจะไปแจ้งต้นสังกัดอีกที
ปล. คน stream มีรายได้, สร้างคุณค่าให้ player ของเรา, คนไหน follower เยอะ ได้ถึงขั้นออก ads ทาง TV

Target อายุคนดู 15-22 ปี ซึ่งผู้หญิงเยอะกว่า มีถึง 80-90% เลยทีเดียว ทำไมหล่ะ ตัว player ขายบุคลิกได้ เล่นเกมส์เก่ง
ถ้า player สนใจเรื่อง marketing มีรายได้มากกว่า 2-3 เท่า

เคยมีครั้งนึงที่ oPuTo ได้รับการ donate จากต่างชาติ 3,000$ ให้ไปซื้อคอมใหม่ เพราะเขาคงเห็นคอมกาก เลยอยากให้เปลี่ยนใหม่ให้ลื่นขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดก่อนเข้ามาแข่งใน eSport นะ ซึ่งเกตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย

รายได้หลักๆมาจากการ subscription ใน Twich เดือนละ 5$ ตัว creator ได้ส่วนแบ่งไปประมาณครึ่งนึง คนจ่ายเงินระบบนี้จะได้สิทธิพิเศษแล้วแต่ช่องเลย เช่น ได้ของคล้ายๆสติ๊กเกอร์ไลน์ ถ้ายังไม่อยากเปย์ อยากเห็นผลงาน สามารถกด follow ได้นะ ซึ่งจำนวนพวกนี้มีผลต่อการถ่ายทอด eSport ของแต่ละช่องได้ด้วยนะ

มี challenge donate ถ้าได้ถึงเป้า จะใส่ชุดเมดเล่นเกมส์ให้ดู

บางการแข่งขันมีจำกัดอายุ เช่น แข่ง overwatch ที่สหรัฐอเมริกางี้ ก็จะให้คนอายุ 18 ปีขึ้นไปมาสมัครแข่ง ถ้าอายุเยอะไม่ได้มีผลอะไร แค่อาจจะเล่นเก่งน้อยลง

มี tie-in กินนํ้ายี่ห้อนึงเล่นๆ แบบกินบ่อยๆ พูดถึง แล้วนํ้ายี่ห้อนั้นมา sponser จริงๆ

ในไทยลง sponser น้อยอยู่ ซึ่งการที่ถูกบรรจุใน sea game นั้นจะทำให้มีความสำคัญมากขึ้น และในไทยเริ่มมาเล่นตรงนี้บ้างแล้ว

การ present brand ที่ sponser ให้เรานั้น นอกจากจะไปแปะโลโก้ที่เสื้อนักกีฬาแล้ว อาจจะมีออกบูธสินค้า หรือเคยไปออก spot ของ KFC 15 วินาทีมาแล้ว ส่วนตัวอย่างของต่างประเทศที่น่าสนใจ คือ ให้นักกีฬา eSport ถือคบเพลิงงานกีฬางานนึงที่เกาหลี

บาง event คนมาดู eSport มากกว่า NBA อีกนะเออ

The New Wave that will change the way we live (Crypto Currency)
นิรันดร์ ประวิทย์ธนา จาก AVA Advisory

เขาเริ่มลงทุนด้านนี้เมื่อปี 2012-2013 ราคา 100$ ปัจจุบันราคามากกว่า 10000$ แล้วจ้า ช่วงนั้นเป็น miner หรือสายขุด สร้างมาโดยไม่มีสินทรัพย์ ผลิตจาก computer

พี่เขาเล่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ยาวเลย แต่สนุกดี ในสมัยก่อนเป็น brother system ใครมีของอะไรมาแลกกัน เช่น เขาปลูกข้าว เราเลี้ยงวัว เอามาแลกกัน เรารู้สึกว่าเลี้ยงวัวได้ไม่ได้ดีอะไรขนาดนั้นก็ไม่ค่อยอยากจะเอาไปแลกกับข้าวอย่างดีอะไรงี้ หรือคนปลูกข้าวเขาไม่ทานเนื้อ อยากทานปลางี้ เลยเกิดสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ คือ หายาก ปลอมแปลงยาก และแบ่งย่อยเป็นชิ้นๆได้ สุดท้ายเป็นทองคำและแร่เงิน แต่เขาเน้นทองคำนะ ณ สมัยนั้น มีช่วงนึงมีเหตุการณ์ที่ทำให้ขนของไปจับจ่ายลำบาก เช่น ไปต่างเมืองงี้ เลยมีการรับฝากทองไว้ในตู้เซฟธนาคารกลาง และออกตั๋วทองคำ เลยทำให้เกิดสกุลเงินขึ้นมา

ช่วงสงครามเวียดนาม ทางสหรัฐอเมริกาทำสงครามจนเงินหมด แก้ปัญหาโดยการพิมพ์ธนบัตรออกมา ซึ่งเกินจากทองคำที่มี คราวนี้มีบางประเทศที่สงสัย เอ๊ะแกน่าจะถึงแตก ทำไมมีธนบัตรออกมาเยอะแยะเลย จนทางยุโรปขอทองคืนเลยจ้า (เขาคงไม่รู้สึกไม่ปลอดภัยแล้ว ทองของข้า) ไปๆมาๆทางเมกายกเลิกการผูกดอลล่ากับทองคำเสียเลย และช่วงฟองสบู่แตก วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2018 เกมาก็ใช้สูตรเดิม พิมพ์ธนบัตรไม่ให้ประเทศล้มละลาย

คราวนี้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาก็มีคนเริ่มคิด ทำอย่างไรไม่ให้สกุลเงินผูกจนเกินไป เลยเกิดสกุลเงินทางเลือกขึ้นมา และไม่ผูกกับรัฐบาล และมี 3 ข้อที่ตรงกันกับข้างต้น คือ มีในระบบจำกัด (อันนี้จำปริมาณไม่ได้ว่าเท่าไหร่), ปลอมแปลงได้ยาก เพราะใช้ blockchain, แบ่งย่อยได้เป็นไมโครบิตคอย และป้องกันการโกงโดยคนทั้งโลกเป็นพยานในระบบ เช่น เราจ่ายเงินไปให้คนนี้แสน Bitcoin คนทั่วโลกจะเป็นพยานในระบบ พยานที่ว่าคือ miner หรือนักขุดนั่นเอง ผลที่ได้คนพวกนี้ก็จะได้ Bitcoin กลับมานั่นเอง เป็นการป้องกัน hacker ปลอมแปลงข้อมูลแต่ข่าวที่โดนแฮกนั้น ไม่ใช่ตัว Bitcoin ที่โดนนะ แต่เป็น technology รอบข้าง Bitcoin

คนมักจะผูกกับสกุลเงิน ของที่หายาก จะได้รับ trust เหมือนงานศิลปะเลย เช่น ภาพวาดแวนโก๊ะเมื่อครั้งยังมีชีวิตขายได้ชิ้นเดียวในราคา 4000 ฟรัง แต่พอหลังจากเสียชีวิตอยู่ดีๆภาพเขาก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา เพราะเป็นของหายาก ดังนั้นปัจจัยที่เป็นของหายาก การันตีคุณค่า แต่คนจะ trust ไหมในระยะยาว สำหรับ Bitcoin ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ มีตัวอย่างอีกเช่น ประเทศเวเนซูเอล่ามีปัญหาเรื่องความล้มเหลวด้านพลังงาน คนไม่ trust สกุลเงินในประเทศ จึงใช้ Bitcoin แทนสกุลเงินเดิมที่มีอยู่

ยืนยันว่า Bitcoin ฟองสบู่แตกแน่นอน กำจัดคนโลภและสินทรัพย์ด้อยค่าในระบบออกจากตลาด สุดท้ายมันจะแข็งแรงกลับขึ้นมา เหมือนบริษัทใหญ่ๆที่เคยล้มและกลับขึ้นมาใหม่

นักเศรษฐศาสตร์มองว่าพวกนี้เป็นสกุลเงินที่ไม่มี productivity จริงหรือ? crypto currency รันบน blockchain เป็นประมาณนี้

  • Bitcoin ทำหน้าที่คล้ายๆทองคำ
  • La token เขาจะซื้อหุ้นจริงมา backup ให้เรา และแก้ปัญหาเทคโนโลยีที่มีอยู่ เช่น การซื้อหุ้น แทงบอล อนาคตจะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่น ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ โต๊ะบอล ส่วนที่เสียให้กับคนกลางจะไปสู่มือคนอื่นๆแทน นั่นคือ พยานในระบบนั่นเอง
    สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีอาชีพคนล่าปลาวาฬ เอาไขปลาวาฬมาจุดไฟ ตอนหลังมีถ่านหินมาแทน อาชีพคนล่าปลาวาฬหมดไป กลายเป็นคนขุดถ่านหินแทน ในอนาคตจะเป็นพ่อค้าคนกลางและอื่นๆแทน

เนื่องจากการขุด Bitcoin นั้น ใช้ทรัพยากรค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าเน็ต ไหนจะต้นทุนการ์ดจอที่ซื้อ ในอนาคตเปลี่ยนระบบคนขุดเป็น true of space แทน โดยการวางเงินประกันในระบบ ดังนั้นก็จะเป็นพยานให้กับระบบ และได้ผลตอบแทนกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้น productivity คือ กำจัดพ่อค้าคนกลางออกไปจากระบบ แต่รัฐบาลประเทศส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ออกแนวต่อต้าน

แต่มันก็มีข้อเสียนะสำหรับ blockchain คือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ เช่น ไม่สามารถลอยตัวค่าเงินบาทเหมือนตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง เพื่อให้ประเทศฟื้นตัวกลับมา

คนส่วนใหญ่ไม่ได้ trust Bitcoin หรอก แต่เน้นเกร็งกำไร เลยเกิดฟองสบู่แตก ซึ่งมันก็มีข้อดีอบปุ่มคือ คนเริ่มตระหนักว่ามีสิ่งนี้เกิดขึ้น เรียนรู้และเข้าใจมันมากขึ้น

ข้อเสีย Bitcoin อีกข้อ คือ โอนช้า โอนแพง ใช้ยาก

สิ่งที่ฝากปิดท้าย ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีในการเรียนรู้ แต่ทำอะไรระวังนิดนึง อย่าโลภจนเกินไป สำหรับสายเทรด และ big player เริ่มมาเล่น Bitcoin มากขึ้น มีความผันผวนมากขึ้น มากกว่าตลาดหุ้นอีก เพราะไม่มีวันปิด เป็น 24/7 ส่วนสายขุดยังเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยอยู่ ได้คืนทุนเมื่อไหร่อาจต้องใช้เวลา

จากนั้นปิดงานโดยสมบูรณ์ คนเริ่มทยอยกลับ

สรุป feedback ข้อเสีย

  1. ใครที่เคยอ่านบล็อกเรา หรือถ้าไม่เคยอ่านมาก่อน ช่างมันเถอะ 55 ปกติเราไปงานพวกนี้ฟรีอยู่แล้วเนอะ และมีอาหารให้พร้อมนะ จัดทั้งวันอย่างน้อยอาหารเที่ยงต้องมา จัดเช้าหรือบ่ายก็มีขนมให้อย่างอิ่มหนำสำราญ แต่งานนี้อาหารต้องซื้อเองหน้าห้องประชุม มีฟรีแค่นํ้าเปล่าจากสปอนเซอร์ แถมบางร้านของมาขายไม่พอด้วย บางร้านเหลือจน 1 แถม 1 เลยก็มี
  2. Session ห้องเล็ก ดูใช้พลังงานกับการรอห้องเปิดแล้วเข้าไปฟังอ่ะ ว่าแล้วห้องเล็กต้องแออัดมากๆ เราเคยไปงาน UX Thailand ที่จัดที่นี่ แต่เป็นชั้น 6 นะ ห้องที่นั่งเต็ม แต่ไม่ได้แออัดขนาดนี้ พอห้องใหญ่นี่โล่งเลย สบายเฉ้ยยยยย ไม่ตบตีกับอะไรให้เหนื่อย อันนี้ปัญหาน่าจะเกิดจากการ communicate ในการปล่อยคิวเข้าออกด้วยสำหรับห้องเล็ก เลยงงว่ารออะไร เริ่มพร้อมจบไม่พร้อมทุกห้องงี้เปล่า
  3. การบริหารเวลาของคนเข้างานสำคัญมากนะ เพิ่งทราบทีหลังว่าสามารถ Q&A speaker ได้ มีตารางพร้อมที่หน้างาน อ้าววว ทำไมไม่บอกแต่ทีแรกหล่ะ แล้วตอนฟังไม่มี session Q&A เลย ความรู้สึกไม่ต่างกับการฟังอยู่บ้านหรือเปล่า? ถ้าอยากให้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน หรือไม่ใช่ concept ของงานหว่า งงเรากลัวคนจัดงานตกใจนะถ้าเจอ feedback จากเราไปแบบนี้ แต่คิดว่าพี่ๆทีมงานน่าจะรับฟังความเห็นในลักษณะติเพื่อก่อได้อยู่แล้วแหละ เพื่อพัฒนาในปีถัดไป :)

สรุป feedback ข้อดี

  1. ด้วยความที่อาหารที่ขายนั้น สามารถกินแล้วทิ้งได้เลยอย่างไร้เยื่อใย หมายถึงภาชนะเว้ยยยย ซึ่งสะดวกดีกับพื้นที่งานที่ไม่มีที่ให้นั่งกินข้าว (จริงๆมีที่กินข้าว คือ โรงอาหารของตึกล่างสุด ใครไปงาน UX Thailand น่าจะรู้ดี 555)
  2. แต่ละ session เหมาะกับงานสายงานอื่นมากกว่า programmer แน่นอน อาจจะเกิดการแยกร่างไม่ถูกสำหรับบางคน มากัน 4 ห้องเลย session เช้านี่น่าสนุกกันทุกห้อง ตอนบ่าย Developer อย่างเราจะงง ไปห้องไหนดี ถ้าดูโดยรวมนะ
  3. บาง session ไม่ได้เตรียมมาจากบ้าน กลับดีกว่าที่คิดไว้แหะ แอบเสริม อยากให้ทีมงานโปรยว่าแต่ละ session แนวทางเป็นยังไง บางทีเดาทางไม่ถูกเมื่อเห็นหัวข้อ ว่าเราเข้าไปจะได้อะไรหว่า
  4. มี live ย้อนหลังให้ดูทั้ง 4 ห้องเลย กราบบบบบบบบ https://www.facebook.com/pg/creativetalklive/videos/ และตัดวิดีโอเฉพาะ session เพิ่มมาอีก https://www.youtube.com/user/CreativeTalkTH
  5. แบบประเมินทำเป็น QR code สะดวกดี
  6. งานนี้เป็น volunteers ช่วยกันจัด เป็นงานดึงศักยภาพของทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรที่เป็นสาย digital marketing, สาย dev รวมไปถึงไดโนเสาร์ เป็น front-end dev เพราะพี่โจ้บอกว่าเป็นคนมีปากเสียงน้อยสุด (กลับมามองทีมเรา front-end dev ปากเสียงน้อยก็จริง แต่พูดทีเด็ดๆทั้งนั้น 555)
  7. สถานที่จัดงานเดินทางสะดวกดีจริงๆงานนี้ เราก็เกาะกลุ่มน้องรหัส ไม่สิ น่าจะเหลนรหัสเลยมั้ง น้องๆเรียนปี 4 กัน ก็ขอบคุณน้องๆที่มาเป็นเพื่อนป้ากันในวันนั้น น้องๆตั้งใจฟัง จดในไอแพดกันหมดทุกคนเลยน่ายินดี และเราคิดว่าน่าจะมีแชร์กัน เม้าท์มอยกันหลังงานแน่นอน แล้วก็เจอสตาฟงานสาว UX Thailand มางานนี้ด้วย จริงๆแทบไม่เจอใครที่รู้จักหน้า นอกจาก speaker บางท่าน ส่วนเราก็เขียนบล็อก จดใน evernote แชร์ให้คนในฟังใจได้อ่านกัน น่าจะได้นำไปใช้กันทุกทีมเลยนะนี่ 555 ปีหน้าอาจจะมาร่วมกดบัตรฟรีอีกนะคะ :)

และขอบคุณทีมงานทุกท่านที่สละเวลามาจัดงานดีๆแบบนี้ค่ะ

ปิดท้ายด้วยไดโนเสาร์ ที่ไม่ยอมอยู่นิ่งเลย นี่คนไม่มีปากเสียงจริงหรือ ล้อเล่นๆ

ปล. มีคุณพริ้วที่สรุปเสร็จก่อนเรา เลยอนุญาตอ่านอีกทีหลังปล่อยบล็อกนะคะ กลัวเขียนแล้วออกมาคล้ายๆนี่แหละคะ
เมื่อข้าพเจ้าไปงาน Creative Talk Conference 2018 A Year in (P)review #CTC2018
และอันนี้ทาง contentshifu สรุปเฉพาะของ digital marketing https://www.contentshifu.com/others/digital-marketing-wrapup-ceative-talk-conference/

ส่วนงานที่ข้าพเจ้าเคยเขียนนั้น ขอแปะไว้สักงานสักงานแล้วกัน เผื่อคุณเคยอ่านบล็อกนี้เป็นครั้งแรก :)
- ตื่นเต้นจังเลย Developer อย่างเราได้ไปงาน UX Thailand 2017 ด้วย ในงานมีอะไรบ้างมาดูกัน
- มาเพิ่มของใหม่ให้ไฟลุกโชนกับงาน Firebase Meetup Bangkok 2017


แต่ๆๆๆๆๆ เรามีของแถมจ้า สำหรับ session นึงที่เราอยากเข้า แล้วไม่ได้เข้า เลยดูไลฟ์ย้อนหลังจ้า เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

ทำอย่างไรเมื่อ Facebook ลด reach
คุณสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ และคุณอรวี สมิทธิผล จาก Content Shifu

ทำอย่างไรเมื่อ facebook ลด reach เขาบอกว่าต้อง ทำใจ

Facebook’s Mission Statement เขาเน้น friend และ family
ดังนั้นจึงแบ่งกลยุทธ์เป็น On Facebook กับ Off Facebook

On Facebook:
1) ใช้เพจอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ : Make it right, More Creative, and More Technical

Make it right
- ไม่ได้สนับสนุนโพสที่ให้ user แสดง reaction (post bait) เพราะไม่มีประโยชน์ต่อกลุ่ม audient จริงๆ
- ทำเว็บให้ optimite ได้เร็วขึ้น
- update ข่าวสาร algorithm ของ facebook อย่างสมํ่าเสมอ ใน https://newsroom.fb.com/

More Creative
- ทดลองทำ ดูผลลัพธ์ ปรับ ใช้เวลาทดลองกันค่อนข้างเยอะ เช่น โพสรูปขายรถ facebook มี tool ช่วย เช่น Facebook Creative ใน Facebook ads สามารถใส่รูปภาพและ caption ได้หลายแบบ ปล่อยเป็น ads picture x caption แบบ ทำให้ test ได้รวดเร็วมากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง

More Technical
- Facebook pixel เอาโค้ดติดตาม access ของเรา เช่น เว็บหรือแอป เอาไปทำ retargeting ได้
- custom audience ปรับแต่งกลุ่มเป้าหมาย เอา email list ไปยิง ads หรือติดตามคนเคยเข้าหน้าเว็บไซต์ของเรา
- lookalike เป็นอีกกลุ่มนึง ดู profile คนที่กด like แล้วเทียบว่าคนที่ยังไม่ได้กดมีอะไรคล้ายกัน แล้วยิง ads ไปหาคนกลุ่มนี้
- automated rule ถ้า ads เผาเงินไปสูงมากๆ มันจะแจ้งเตือนให้เราตัดสินใจ
- Facebook Analytics ได้ personal information ชัดเจน
- สรุป Funnel อยู่ในทุกๆขั้นตอน

2) Product อะไรที่ควรเข้าไปศึกษา :
Facebook page >> Red Ocean : ให้มอง
- Facebook Messenser (chatbot),
- Facebook Group (link with page; special post >> document, poll, sale, group chat; notification; form แรกเข้า)

Reference:
- jonloomer.com
- socialmediaexaminer.com
- adespresso.com
- blog.bufferapp.com

Off Facebook: ไม่ควรวางไข่ในตะกร้าใบเดียว
Facebook is subset on digital marketing

Social media อื่นๆ เช่น line, IG, youtube, twitter, linked แม้แต่ pantip เองด้วย เราต้องใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจ และดูว่ามีแรงทำแค่ไหน (แรงงานกับแรงเงิน)

Tool ช่วยจัดการ social media
- Buffer : รองรับ Facebook, Twitter, IG, Google+ ใช้งานง่าย ฟรี แต่ feature ยังไม่ครบครัน
- Hootsuite อยู่มานาน feature ครบครัน แต่ใช้งานยาก มีทีมเยอะเสียเงินแพง
- ตัวอื่นๆลองไปอ่านที่ https://contentshifu.com/resources
ถ้าใช้ Facebook ขายด้วย ดู marketplace ต่างๆ เช่น Lazada, 11street, shopee ถ้าเป็น service ดู freelance bay กับ fastwork ถ้าขายหลายช่องทาง ใช้ X COMMERCE ช่วยจับการ order และ invoice คนไทยทำ ราคาไม่แพง
สุดท้าย social media และ marketplace เป็นเพียงแค่บ้านเช่า บ้านจริงๆคือ website ของเรานั่นเอง ข้อดีของการมี website เอง คือ
1) เสมือนอสังหาริมทรัพย์ในโลกออนไลน์ ดูแลดีๆมีมูลค่ามากขึ้น
2) สามารถปรับแต่งได้ตามใจ
3) ถูกค้นเจอบน search engine : ตัวอย่าง analytics ฝั่ง social ค่อนข้างคงที่ส่วน search สูงขึ้นมาเรื่อยๆเมื่อเราสร้าง content ที่ดีพอ

ธุรกิจที่ควรมี website (บางอันอาจยังเพิ่งเริ่มใหม่อาจยังไม่เหมาะ)

  • B2B มีความซับซ้อนค่อนข้างสูง
  • แก้ปัญหาให้คน เช่น consulting education
  • มีมูลค่าต่อชิ้นค่อนข้างสูง เช่น อสังหริมทรัพย์ ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญPlatform website : Wordpress.org eCommerce สามารถใส่ plug-in เพิ่มได้ เช่น Woo commerce, magento, bento web
    4) ข้อมูลคือพลังทางอำนาจเช่น Facebook เขาจะบอกข้อมูลคร่าวๆไม่รู้รายคนเราต้องเก็บข้อมูลชื่ออีเมลล์เบอร์โทรตำแหน่งความชอบงบประมาณแล้วเอามาทำ CRM ต่อเก็บโดยยื่นหูยื่นแมวแจกการแจกของใช้ google form เก็บ data หรือ Facebook leads ads เพื่อเก็บ email หรือเบอร์โทรถ้า advance ใช้ landing page มี tool แนะนำคือ instapage กับ landingi

สรุป:

  • Facebook ยังคงเป็นหนึ่งใน Digital Platform ที่ทรงพลังที่สุด ทุกคนต้องใช้ให้เป็น
  • Page คือพื้นฐานที่ควรต้องมี Messenger และ Group คืออนาคต
  • อย่าวางไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว และถ้าเป็นไปได้ สร้างเว็บไซต์
  • ข้อมูลคือพลังอำนาจ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.