ทดลองเป็น Creator ฝึกหัด กับเหล่า Skooldio Creator Square ที่ Creators Playground กันจ้า
หนึ่งในกิจกรรมของเหล่า Skooldio Creator Square ที่จะได้ลองฝึกทำ content ตามฐาน ไม่ว่าจะเป็น Video, TikTok, Podcast, Blog SEO และ Live Streaming
ในวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม เวลาบ่ายโมง ไปจนเกือบหกโมง
ตอนแรกจะมีให้ฟังแต่ละฐานก่อนว่าคืออะไร ต่อมาก็แยกตามฐานที่ลงใน Google Sheet ไว้ และคนนึงเข้าได้เพียง 3 ฐานเท่านั้น
ของเราลง Live Streaming, Video และ Podcast ไป ส่วนบล็อกก็ทำประจำอยู่แล้ว ส่วน TikTok คืออาจจะไม่ใช่ทาง ลองนึกอยู่ว่าถ้าให้พูดเรื่อง Activity บน Android ใน 1 นาที น่าจะแร๊พแน่นอน 5555555
ในบล็อกนี้เราจะรวบแต่ละฐานเข้าด้วยกัน ว่าตอนฟัง ได้ฟังอะไร ตอนทำ ได้ทำอะไร พร้อมแล้ว ไปลุยกันเลยยยยยยยย
Live Streaming
มีการเติบโต 99% ในปี 2020 เนื่องจากช่วงโควิด และมีรายได้สูง
ทำไมเราต้องทำ live broadcasting หล่ะ ?
- เป็นการเพิ่ม reach
- เข้าถึง virtual audience ที่คนดูสามารถ react ต่าง ๆ กับเราได้
- ง่ายและสะดวก
- low-budget มีคอมและ internet ก็ทำได้เลย
- หลังจาก live ก็เอาไปทำต่อได้
Process การทำงาน
- Set Goal: การไลฟ์มีจุดประสงค์ยังไง ผู้ฟังเราเป็นใคร และมี achievement ยังไง
- Create Plan: ให้ทำการ set theme ของรายการ, เราจะไลฟ์ประเภทไหน เช่น เล่าเรื่อง live coding เชิญคนมาคุย, speaker มีคนเราเดียว หรือมีเพื่อนมาร่วมด้วย หรือแขกรับเชิญ, เราจะ promote ยังไง เพราะเราต้องแจ้งก่อนว่าเอ้ออเราจะมีไลฟ์ จะได้มีคนมาดูงี้
- Craft Content: ไลฟ์เราจะมีหัวข้อเป็นอะไร เตรียมสคริป และเราให้ call to action อะไร เช่น ให้คนมาซื้อคอร์ส ซึ่งไม่ต้องมีก็ได้นะ
ที่ฐานจะมีกระดาษมาให้เราเตรียม 3 หัวข้อแรกก่อน และอีกแผ่นเป็น checklist
ตัวโปรแกรมที่ใช้ในการไลฟ์ จะเป็น StreamYard นะ เราสามารถปรับแต่งสี overlay ได้ ให้เพื่อน ๆ เข้ามาได้ มีทั้งฟรีและเสียเงิน ทีมงานพาไปเราลองแปปนึงแหละ แต่รอบแรกอ่ะ เวลาไม่ทันเฉย อดลองฝึกพูดอดไลฟ์เลย ได้แต่แนะนำตัว
อันนี้เป็นสคริปที่ให้ลองทำ แบ่งคนเป็น moderator และแขกรับเชิญ ก็จะเป็นประมาณนี้ ในรอบแรกจะเจอน้องคมกับคุณแจ๋ม โดยให้น้องคมเป็น moderator ส่วนคุณแจ๋มเป็นแขกรับเชิญพูดในส่วน NFT กับ business usecase ส่วนเราเป็นแขกรับเชิญเรื่อง NFT กับ dev usecase
ปล. ส่วนของเราเดี๋ยวไปพูดตรงนี้อีกหน่อยในอีกงานแหละ
อันนี้เป็นสคริปจริงที่ทีมงาน Skooldio ใช้
Video
อันนี้ดีเทลเยอะสุด หนุกหนานสุดตอนดูคนอื่นทำ แถมมีเปิดให้ทุกคนดูตอนจบด้วย 555
ก่อนอื่นเลย . . . video 1 นาที มีค่า 1.8 ล้านคำ
video content เป็น media ที่ช่วยในการขายคอร์สเรียน ทำให้คนอื่นเข้าใจ technical ในเชิง long-form video
แล้วทำไมต้องเป็น video หล่ะ?
- ความลงตัวของ ภาพ เสียง และข้อความ
- เป็นสื่อที่ย่อยง่ายที่สุด เห็นแล้วตีความได้เลย
- สร้างภาพจำได้ effection ที่สุด
คนไทย 99% ในทุกช่วงวัย ดู video มากขึ้นมาก ๆ ดังนั้นเราจะต้องทำยังไงให้คนดูเรา และดูเราจนจบคลิป
การทำ marketing เราต้องมีเป้าหมายชัดเจน ทำในสิ่งที่เราสนใจ และหากลุ่มเป้าหมายให้ชัด
มีการทำ persona ทำความกลุ่มเป้าหมายของเรา ในเชิง demographic และ interest & behavior
สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุด เช่น ภาพใน thumbnail
Tips & Tricks
หา media ที่เหมาะสม
- กลุ่มเป้าหมาย
- พฤติกรรมการใช้งาน
- ขนาดของ video
- แนวตั้งหรือแนวนอน
- ความยาวของ video
workshop เราจะทำอะไรบ้างนะ?
- Ideate เราจะเล่าอะไร เล่าให้ใครฟัง และทำไมเราต้องเล่า
สิ่งที่มีเพิ่มเข้าไป คือ logline เป็น 1 ประโยคสั้น ๆ ว่า content ของเราคืออะไร ซึ่งในโลกภาพยนตร์จะใช้สิ่งนี้ในการบอกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คืออะไร เปรียบเหมือน Elevator Pitch ในโลก startup นั่นเอง
และนำมาปรับใช้ในโลกการตลาดเช่นกัน เช่น go to market
ท่ากันตาย: เริ่มด้วยคำถาม, สิ่งที่ขัดแย้งกับความเข้าใจปกติ, เล่นกับ pain point, ครบ จบ ในที่เดียว
การเล่าเรื่อง ใช้ Story Structure แบบ 3-act structure แบบนี้ แบ่งเรื่องราวเป็น 3 ช่วง
เพิ่มความน่าสนใจของเนื้อหา โดยการนำ HOOK หรือ logline ไปใส่ตอนเปิดคลิป เพื่อดึงคนเข้ามาฟัง video ของเรา ใน 10 วินาทีแรกงี้
การใช้ hook อาจจะดูจาก audience หรือ be relatable จากท่ากันตายก็ได้นะ
ต้อง clear objective ช่วย shape ให้เกิด action ที่ดีที่สุด
เปิดดีและจบปัง ทำให้คนจำได้ ทำให้ video นั้นประสบความสำเร็จ
- Preparation
การถ่าย video เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ยิ่งเราเตรียมตัวหนัก ยิ่งดี
เราต้องคิดว่าหน้ากล้อง และหลังกล้องต้องมีใคร ทำหน้าที่อะไรบ้าง เราต้องใช้ resource เท่าไหร่
อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมี
- อุปกรณ์บันทึกภาพ เช่น กล้อง มือถือ
- อุปกรณ์บันทึกเสียง เช่น ไมค์ สามารถกันลมเข้าด้วยถุงเท้าได้
- ไฟ ทำให้ video ของเรา popup และดูแพง
อันนี้การจัดไฟ และก็ script ที่ควรมี ทำเป็นแผ่นเดียวไปเลย เวลาไปทำงานข้างนอก แจกคนละแผ่นงี้
composition ใช้เป็นตาราง 9 ช่อง สามารถไปเปิดในมือถือของเราได้นะ
- Shooting เราจะ setup ยังไง
ประเภทของ footage
- Footage (A-Roll) อันนี้ถ่ายเพื่อใช้งานจริง
- Insert ซูมเข้าไปใกล้ของที่เราจะเน้น
- B-Roll อันนี้ไม่ได้วางแผนตอนถ่ายจริง ใช้ทำภาพเบื้องหลัง
แต่ละฟุตเป็นแบบไหน ลองดูในนี้ได้
ระดับการ zoom หน้าที่ถูกต้อง
เรื่อง eye contact เป็นเรื่องสำคัญ ทำอะไรเห็นในกล้องหมด แนะนำให้หายใจเข้าลึก ๆ และพูดกับกล้อง มองจุดแดง
- Editing
เนื่องจากเนื้อหาไปไวมาก อ่ะ post production แล้วนะ เกี่ยวกับการตัดต่อ ก็จะประมาณนี้
การใช้เพลง ไม่จำเป็นต้องใช้เพลงเดียว ใช้เพลงในการสร้างความตื่นเต้นได้ มุมภาพก็เช่นกัน สามารถตัดความอื้มเออออก แล้วใส่อย่างอื่นเข้าไปแทนหน้าคนพูดได้งี้
ตัวอย่างงานที่เขากล่าวถึง
บางอันเขายังไม่เอาลง ไปติดตามก็แล้วกันเนอะ อิอิ งานดีมากบอกเลย เปิดแปปเดียวอยากดูต่อ
สุดท้ายก่อนทำกิจกรรม เอาโพยกันไป
จากนั้นเขาก็จับคู่ทำกิจกรรม โดยแบ่งคนนึงพูดหน้ากล้อง อีกคนดูหลังกล้อง ในรอบนี้มีผู้ร่วมชะตากรรม คือ น้องคม คุณไม้เอก คุณปราง คุณมาร์ช และคุณเฟรม แล้วเขาจับคู่ตามนั่งเลย ทางเราได้คู่คุณเฟรม
เอ้อออ เขามีให้เลือกมุมด้วยนะ จะเอาถ่ายมุมไหน โซนนั้นมีกล้องตัวนึงต่อจอ มีโต๊ะธรรมดา โต๊ะปรับระดับ แล้วก็นั่งฉากสวย ๆ เขียว ๆ หน่อย เขาให้พูดเปิดคลิปทีมละไม่เกิน 1 นาที ทางเราก็เลยหยิบเรื่องที่เตรียมจากบ้านมาทำ มีคุณเฟรมมาช่วย shape ให้ด้วย แต่นี่ก็ล่กแหละ จะทำได้ไหมนะ 5555555
ถึงเวลาก็ดูสคริป แล้วก็ทำการติดไมค์ wireless แล้วก็จัดท่าทาง มุมกล้อง มีซ้อมก่อนรอบนึง แล้วก็อัดจริงเลย
บรรยากาศในห้อง ตอนที่รอบเราจบแล้ว เอามาเป็น ref มาใน set ของเราในอนาคตเนอะ แต่ยังไงเราคงนั่งสตรีมแหละ เอ้ยยย นั่งทำงาน
ตอนจบงานเปิด video ของทุกคนที่อัดด้วย อันของคุณเกิ้ลคือที่สุดหล่ะ 55555 ส่วนใหญ่ขายคอร์ส Skooldio แบบมิได้นัดหมายอ่า
ปล. ออกกล้องแบบนี้ แต่งหน้าแน่น ๆ มาก่อนก็ดีนะ แหะ
Podcast
อันนี้เป็นประสบการณ์ของคุณหน่อนจากการที่เคยทำ podcast รูปนี้เป็น position ของแต่ละ podcast บางอันคือคุณภาพมาก ๆ ไปเลย บางอันไม่ต้องใช้แรงเยอะ แต่ก็เป็นที่รู้จักได้เหมือนกัน
ของ Skooldio ที่ทำก็คือจากรายการ Chief's Table ที่คนดูอยากฟังแบบเสียง
คุณหน่อนเคยทำ podcast มาก่อน ชื่อว่า The Startup Club ตอนที่ทำงานอยู่ dtac accelerate
ทำไมถึงเริ่มทำ podcast ?
เพราะคนอยากฟังเสียงเฉย ๆ อะไรงี้ แบบฟังตอนทำงาน
แล้วเราจะเริ่มทำ podcast ได้อย่างไร ?
เริ่มจากคิด concept รายการ แล้วก็ planning กันก่อน จากนั้นเริ่มอัดเสียง แล้วตัดต่อ แล้วอัพขึ้นตามช่องทางต่าง ๆ
การเอา podcast ไปต่อยอด
ทำด้วยการใส่ transcription ไว้ในเว็บ เพื่อให้ SEO ดึงมาได้ แล้วเจอ podcast ของเรา
แล้ว workshop จริง เราทำอะไรกันบ้างนะ ?
ก่อนอื่นมี worksheet ให้เรากรอกก่อน เป็นการวางแผนรายการ podcast ของเรา ว่า รายการเราชื่ออะไร มีรายละเอียดอะไร มี objective อะไร คนฟังเป็นใคร ตอนละกี่นาที ปล่อยบ่อยแค่ไหน ช่องทางการฟัง แล้ว 5 ตอนแรกของเราคืออะไร
เมื่อวางแผนกันแล้ว ทำปก podcast ของเรา ผ่านเว็บ canva กัน หาคำว่า podcast cover นะ แล้วก็นั่งทำกันไป
ได้ปกแล้ว มาทำการอัดจิ้งเกิ้ลของ podcast เรากัน แอร้ยยยยยย ด้วยไมค์ตัวนี้ของคุณหน่อน แล้วเสียงของผู้ร่วมชะตากรรมคือดีย์มาก นุ่มมาก ในนั้นมีน้องคม กับคุณไม้เอก จนคนที่อยู่ฐาน TikTok หันมามองอ่ะ
ตัวไมค์ใช้งานง่าย ต่อกับ macbook ได้เลย แล้วมีปุ่มกดปิดไมค์อยู่ที่ไมค์ด้วย
อัดเสียงและตัดต่อเสียง โดยใช้โปรแกรม Audacity เลือกเสียงเพลงกันก่อนเลย จากนั้นก็พูดชื่อรายการ และ tagline ผ่านไมค์และโปรแกรมนี้เลย
หลังจากได้จิ้งเกิ้ล เราก็ทำการพูดถึงรายการนี้แบบสั้น ๆ แล้วอัดอีกรอบ จะได้ตอน pilot ของเราแล้ว เย้ ๆ
upload podcast ขึ้นไปที่ Anchor.fm ที่เราเคยใช้ ตอนที่เคยทำ podcast แหละ แหะ
หน้าตา ep0 season 2 ของเรา 55555555555
อันนี้คือรายการ podcast ของเรา ตอนนี้กดปล่อยหล่ะ ในงานไม่กล้าปล่อย กลัวปล่อยแล้วไม่ทำต่อ 555 คือตื่นเต้นที่ได้ฟังผลงานตัวเองอ่าทุกคนนนน~~~
พอทำเสร็จก็ชุบชูใจอยู่น้า แต่เราไม่ได้กดปล่อยในงาน เพราะกลัวปล่อยแล้วหาย 555 แต่เดี๋ยวน่าจะได้กลับมาเริ่มทำใหม่หล่ะ
สวัสดีค่ะทุกคน
กลับมาพบ content podcast อีกครั้งหนึ่งจากเพจ MikkiPastel หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน
ตอนนี้กลับมาพบกันอีกครั้ง เนื่องจากไม่มีเวลาสรุปบล็อก หรือทำ content ในบางเรื่อง ก็เลยใช้การอ่านจากโน้ตที่จดไว้ เป็นการสรุปให้คนอื่น ๆ ได้ฟังด้วย ทำให้ได้ content ที่สดใหม่เสมอ และรวดเร็วกว่าเขียนบล็อก ซึ่งจะเป็นการเล่าแบบสั้นๆ พยายามให้จบครบภายใน 5 นาที ในแต่ละ episode
เอ้ออ ได้ยินว่าของคุณเฟรมเป็นเทคไสยศาสตร์สักอย่าง คิดว่าแนวทางนี้เราก็ติดตามอยู่นะ น่าจะ mass แหละ
TikTok
ทำไมถึงควรทำ ?
- short-form video กำลังมาแรง สรุปเรื่องราวต่าง ๆ ได้สั้น ๆ และแต่ละ platform มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
- TikTok as a search engine for Gen Z เพราะมันครบจบใน 1 นาที
- content for everyone = community
- awareness builder tool, knowledge sharing, community, fun
ถ้าใครได้ workshop อาจจะได้คลิปแรกบน TikTok ตอนที่เข้าฐาน podcast จะแอบได้ยินเสียงจากตรงนั้นด้วย เขาจะพาเปิดดูข้างในว่าเอ้ออมีอะไรบ้าง มีอะไรให้เล่น อะไรงี้
เรื่อง TikTok ของ Skooldio ก็เป็นตำนานเหมือนกันนะ ตอนแรกน้องเมจิกับคุณหน่อนขอพี่ต้าทำ TikTok แต่พี่ต้าค้าน แต่ก็ไม่ได้ห้าม ด้วยเหตุว่า เอ๊ะมันจะได้หรอ ไป ๆ มา ๆ ตอนนั้นได้ 100,000 follower ใน TikTok ในระยะเวลา 1 เดือนงี้ พี่ต้าก็ยอมรับว่าอันนี้คิดผิดไปนะ
ปล. ปัจจุบันมี 300,000+ follower แล้วนะ
รายละเอียดอ่านในนี้ได้เลยจ้า
SEO Blog
- คนเรามีปัญหา ค้นหา search engine
- การทำ SEO เป็นการทำ marketing แบบ organic
- Google หาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ search query ให้กับ user
process การทำงาน
- มีการเตรียมหัวข้อที่เขียน โดยดูจาก Google Trends, Zocial Eye, Mandala AI
- มีการทำ keyword research โดยใช้ Ubersuggest และ Semrush
- ทำ outline structure
- เขียน อาจจะใช้ wordpress, medium หรือ blockdit ก็ได้
- สุดท้ายก็วัดผลเนอะ
หน้าตาการใช้ SEO ก็เป็นประมาณนี้ เราพูดถึงคำนั้นในบทความบ่อย ๆ รูปก็ใส่คำอธิบายด้วย ทำให้เว็บเราติดการค้นหาในอันดับแรก ๆ ได้นะ
ใช้หลักการ 5W 1H ในการเขียน content ว่าเราเขียนเรื่องอะไร ทำไมต้องเขียน เขียนให้ใครอ่าน เอาลงที่ไหน และเอาลงเมื่อไหร่
ลองเอาคำว่า UX Writing ไปค้นหาแบบ incognito เพื่อให้เห็นของจริง ๆ ว่าเว็บเราติดอันดับที่เท่าไหร่นะ อันนี้เราก็ทำบ่อย
สุดท้าย ใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปในบทความ และหมั่นอัพเดตบทความด้วยนะ
แปะเพิ่มจากเจ้าของบล็อก
- ตอนสตรีมบน Twitch อ่ะ คือที่เลือกช่องทางนี้ เพราะว่าน่าจะได้รายได้ไวสุด ซึ่งทางนี้ไลฟ์มา 1 เดือน ยอด follow 50+ ได้ rookie มี sub และก็ bit ได้ แต่เราไม่ค่อยได้ เพราะไม่ค่อยมาสตรีม เราจะใช้ OBS ในการสตรีมนะ ลองมาหลาย ๆ content หล่ะ
ตัว overlay ต่าง ๆ เราก็ลองทำเอง ก็จะประมาณนี้แหละ มีปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม
ตัว live streaming ย้อนหลังที่เป็น coding เราจะอัพลงช่อง YouTube ด้วย เพราะใน twitch เก็บได้แค่ 14 วัน
ถ้าอยากลองทำ Live Streaming ลองมาอ่านบล็อกนี้ได้เลย
- ถ้าทำเว็บเอง แนะนำให้ใช้ Search Control Insight นะ เป็นการรวมร่างของ Google Analytics กับตัว Google Search Console นะ เราจะเห็นว่าคนเข้าเว็บเราวันนึงเท่าไหร่ คนอ่าน content ใหม่ของเรากี่คน อะไรเป็น content ที่คนอ่านจากเว็บเราเยอะ คนเจอเว็บเราจากช่องทางไหน เว็บไหน แล้วก็คนเจอเว็บเราจาก keyword ไหน ก็เอา keyword ที่ได้ไปลอง search เล่นใน incognito ได้
ตัวอย่าง บล็อกรีวิวของเราที่คนอ่านเยอะที่สุด คือรีวิวปากกา lamy
ลองเอา keyword ตรงนี้ไป search พบว่า อันดับควรจะใกล้เคียง 3.3 เนอะ
บาง keyword ที่เราติดอันดับหนึ่ง จะเป็นแบบนี้ เอาคำที่เราเขียนในบล็อกขึ้นมาแบบนี้เลย ซึ่งลืมชื่อเรียกไปหล่ะ 555
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนน้า เนื้อหาแน่น ๆ จุก ๆ นึกได้ก็ใส่ไป พยายามหยิบที่เจอมาใส่ให้ไวที่สุด กลัวลืม ก็เลยรีบสรุปอันนี้ก่อนที่พี่ต้าสอน 555
อันนี้บรรยาการที่พวกเราได้มาทดลองในงาน
.
ส่วนอันนี้ที่เราจดไว้
สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า
ช่องทาง Twitter ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ ๆ ได้ที่
ช่องทางใหม่ ติดตามทุก ๆ สตรีมของเราได้ที่
Subscribe ช่อง YouTube ของเราได้ที่
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่