ทำงานไม่มีเวลา แล้วจะทำ content ยังไงให้ปัง โดยคุณอิง ดาริน
บล็อกในวันเดโม่ของ Skooldio Creator Square ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ที่ดองมานาน กับ session ของคุณอิง ดาริน กับ session ที่ชื่อว่า Creating kick-ass content with productive thinking method ที่เป็นประโยชน์ต่อเหล่า creator ที่มีเวลาจำกัดเช่นเรางับ
ในการ take note คุณอิงแนะนำว่า ให้จด keyword ที่สำคัญ หรือที่เราไม่อยากลืม และอยากให้ฟังให้เข้าใจก่อน แล้วค่อยจด (listen for understanding)
Why are we here?
ทำไมเรามาอยู่ที่นี่กันล่ะ?
สมัยนี้มี content ต่าง ๆ มากมาย ให้เราเลือกอ่านกัน และเราจะทำยังไงให้คนฟังเรา
ดังนั้น content เราต้องดีพอเพิ่มให้เขาหันมาหยุดมอง และสนใจเรา
Productive Thinking
productivity เน้น impact มากกว่า จำนวน output คือทำน้อย ได้มาก (less is more แหละ)
What we do every moment
- มันจะประกอบด้วย 3 ก้อน คือ consume (input), process และ action (output)
- ส่วน consume และ process เป็น knowledge management ส่วน action เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า productivity จริง ๆ
- ความแตกต่างระหว่าง Tradidtional Productivity กับ Productive Thinking จะประมาณนี้ในรูปนี้ โดย Productive Thinking เน้นที่ knowledge และ thought เอาไว้เชื่อมต่อ ไม่ใช่การท่องจำ เหมือนทำกับข้าว
Productive Thinking Principles
กระบวนการคิดให้ productive มี 4 อย่าง คือ
(1) Consume Selectively
เลือกเก็บ no FOMO
- เรามีเวลาเท่านี้ เราจะ consume เรื่องอะไร
- ดูจาก 3 เรื่อง คือ know your interests / priorities / values
- 12 favorite problems ปัญหาที่เราอยากจะแก้ อันนี้มาจาก Richard Feynman
(2) Think in Writing
จดเพื่อคิด อันนี้สำคัญ เวลาคิด เอาออกมาบนกระดาษ ให้ externalize ออกมา
(3) Standardize Notes
จดอย่างมีระบบ จดให้เป็นที่
Types of Note:
- daliy note: จดประจำวัน ความคิดเรา
- reference: เสพอะไรจากใครมา มีที่มาที่ไป
- hub: note ของ topic ที่เราสนใจ ของเรา เช่น blockchain note, svelte
- permanent: สำคัญที่สุดในระบบ เป็นความคิดที่เรากลั่นกรองมาแล้ว
(4) Recycle Knowledge
ความรู้มีไว้ใช้ซํ้า เป็นการเอาความรู้นั้นมาใช้
Process
Capture
เป็นการเก็บข้อมูลที่ได้ เข้าไปในระบบของเรา
tool ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในขั้นตอนนี้ อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้อะไร
- Readwise
- Reading apps เอามา highlight ต่าง ๆ ได้ เช่น Instapaper
- Web Clipper ตอนแรกเราก็งง ๆ ว่าแอพอะไร อ่อใน Notion ก็มีแหะ เป็น Chrome Extension แล้วก็จากในแอพแชร์เข้า Notion ก็เป็นตัวนี้เช่นกัน
ซึ่งเราทำคลิปวิธีการใช้งานไว้แล้ว
- Saving Platforms เช่น Raindrop, Walling
- iOS Shortcut เป็นการแปลง data มาเป็น note และสามารถเขียนโค้ดได้ด้วย เท่าที่เราเจอมาคือไม่ได้ coding จ๋าขนาดนั้น มันเป็นแนว flowchart อ่ะ
- Manually จดบนกระดาษ
Connect
เชื่อมต่อข้อมูล ทั้งในหัว และนอกหัว
อะไรที่เป็น 2 พื้นที่ในชีวิตของเรา ที่เราต้องการ focus? (What are 2 areas in life fo you want to focus on?) อาจจะเป็นงาน ครอบครัว งานอดิเรก สุขภาพ อะไรงี้
และปัญหาอะไรที่เราชื่นชอบ 5 ปัญหา (What are your 5 favorite problems?) เรา turn สิ่งเหล่านี้เป็นคำถาม
แล้วอันนี้ช่วยกับ fav problem หรืออะไรไหม? จากนั้นค่อยนำมาย่อยเป็น content
Crytalize
เขียนให้คนอื่นอ่าน และใช้คำง่าย ๆ ด้วยสำนวนของเราเอง
เป็นการเอามาย่อย เพื่อเอาไปใช้งานต่อได้ และสรุปให้สั้นที่สุด
- one note - one idea — Zettelkasten
- book: How to Take Smart Notes
application ที่ใช้ในขั้นตอนนี้ แบ่งเป็น
- Standard Notes Apps เช่น Apple Note, OneNote, Evernote, Bear
- Network Notes Apps เช่น Notion, Obsidian, Roam Research, RemNote, Logseq
แล้วคุณอิงเปิดอันที่จดใน Obsidian ให้ดู มันจะเป็นกราฟความ connect ของข้อมูล ที่เราจดไว้ ว่าเรื่องนี้ มันเชี่อมโยงไปเรื่องนั้นนะ
ในการทำ content คุณอิงจะใช้ Notion ด้วยในการจัดแพลนในการทำ content ต่าง ๆ ควบคู่กับเจ้า Obsidian (ถึงแม้ว่าเราจะเก็งมาในใจว่าคุณอิงจะขาย Obsidian รัว ๆ ไหมนะ 55555555555)
Create
เอาไปใช้จริง เราจะนำความรู้ของเราเอาไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร เช่น เอาไปทำเป็น content
- Publish content: เอาไปทำ content เช่นบล็อกนี้ก็ทำต่อจากที่ได้ฟังแหละ และบล็อกอื่น ๆ ก็เช่นกัน
- Teach it to someone: เอาไปสอนคนอื่นต่อ
- Utilize at work directly: เอาไปใช้ในการทำงานโดยตรง
- Start a new project: เริ่มโปรเจกต์ใหม่
อันนี้เขามีเป็นกระดาษแจกให้เราได้ทำกิจกรรมกันในระหว่างนี้ด้วย
เนื่องจากเวลาไม่พอ เลยไม่ได้ทำแผ่นนี้กัน
อันนี้เป็น resource ทั้งหมดของ session นี้จากคุณอิงนะ
สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า
ช่องทาง Twitter ติดตามข่าวสารแบบไวๆ
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
ช่องทางใหม่ ติดตามทุกๆสตรีมของเราได้ที่
Subscribe ช่อง YouTube ของเราได้ที่
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่