มาทำ New Year’s Resolution ปี 2021 ให้สำเร็จด้วยการใช้ Behavioural Science
เมื่อวันพฤหัสที่ 24 ธันวาคมที่ตรงกับคริสมาตรอีฟ แล้วก็เป็นการ work from home รอบที่ 2 เพราะโควิด เลยทำให้เราได้ดูไลฟ์ Behavioural Science in New Year’s Resolution ของ Skooldio
ไลฟ์จะอยู่ที่นี่เน้อ มัน preview ในนี้ไม่ได้เฉย ฮืออออออ
ดังนั้นเราจึงมาเริ่มสรุปสิ่งที่ฟังให้เข้าใจได้ง่ายๆจ้า ผิดถูกประการใดขออภัยและสามารถทักท้วงได้จ้า
Behavioural Science ใกล้เคียงกับ psychology แต่ตัว psychology เป็นเหมือนร่มใหญ่ ที่มีหลายๆแขนง และมีแขนงนึงที่ศึกษาเรื่องของพฤติกรรมโดยเฉพาะ คือ Behaviouralism เป็นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ผนวกกับเรื่องเศรษฐศาสตร์ เรียกรวมกันว่า พฤติกรรมศาสตร์ ใช้ในการตัดสินใจในเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคม เช่นการออกนโยบายต่างๆ แล้วมีการทดลองควบคุมตัวแปรต่างๆ จึงนำไปสู่ Behavioural Science นั่นเอง เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เมื่อความคิดเปลี่ยน พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนตามด้วย
การตั้งเป้าหมายในปีใหม่นั้น เราจะใช้หลักการของ Behavioural Science เข้ามาช่วยทำให้ New Year’s Resolution ของเราสำเร็จมากขึ้น
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ว่า มนุษย์มีอคติ (bias) ในเวลาที่เราจะตัดสินใจจะทำหรือไม่ทำอะไร เช่น ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะต้องผอมลง พอไปกินข้าว เราจะต้องเลือกว่าจะกินอะไร ระหว่างอาหารคลีน และไก่ทอดบอนชอน บางคนแบ่บบบ อ่ะมื้อนี้บอนชอนก่อนก็ได้ ค่อยกินอาหารคลีนมื้ออื่นก็ได้
เราจะแบ่งการทำ New Year’s Resolution เป็น 2 หัวข้อใหญ่ คือ
- ทำครั้งเดียว เช่น วิ่งมาราธอน
- ทำเป็นนิสัย ต้องตั้งเป้าหมายแบบมีตัวเลข เช่น อ่านหนังสือเดือนละเล่ม
และในหัวข้อใหญ่แบ่งเป็นเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน จะเป็นตาราง 9 ช่องแบบนี้
(1) ทำครั้งเดียว เรื่องส่วนตัว
อคติของเราคือ Hot-cold empathy gap ก็คือ ตอนที่เราหัวร้อน เราจะนึกไม่ออกว่าตอนหัวเย็นคิดยังไง หรือตอนที่เราหัวเย็น ก็จะนึกไม่ออกว่าตอนที่เราหัวร้อนเราคิดยังไง
เช่น เวลาไปกินบุฟเฟ่ต์ เราจะสั่งมาเยอะๆๆๆๆ พอกินไปสักพักเริ่มอิ่ม แล้วปรากฏว่าของสดเหลือเต็มเลย กินไม่หมด แล้วทำยังไงต่อดีอ่ะเนี่ย บางคนอาจจะเทลงหม้อไปเนียนๆ บางคนก็ให้เพื่อนช่วยกินหน่อยงี้
ก็เหมือนกับเวลาที่เราตั้ง New Year’s Resolution เราจะนึกไม่ออกว่า ตอนที่เราอยู่ระหว่างปีเราจะยุ่งวุ่นวายขนาดไหน ทำให้เราไม่ได้ทำอย่างที่ตั้งใจไว้
ทางแก้คือ Commitment ก็คือให้ทำทันที เช่น แพลนว่าจะพาครอบครัวไปเที่ยวภูเก็ต ก็ทำการจองเลย
(2) habit กับเรื่องส่วนตัว
การทำ habit นั้นไม่ง่าย อคติของเราคือ Present Bias ความหมายคือ สุขตอนนี้ และ delay ความสุขในอนาคตออกไป เช่น เข้าร้าน fastfood ร้านนึง มีสลัด กับ ไก่ทอด เราตั้งใจว่าจะต้องกินสลัด แต่แล้วพอทำงานเหนื่อยๆเราก็กลับสั่งไก่ทอดมากิน แล้วก็เตะถ่วงให้เจ้าสลัดเป็นมื้อต่อๆไปแทน
อีกตัวอย่าง อันนี้เป็นตัวอย่างจาก comment ของ live จากทาง Skooldio เนอะ
ถ้าถามว่าอาทิตย์หน้าอยากออกกำลังกาย หรือ อยากกินขนมหวานแสนอ้วน เราก็อยากออกกำลังกาย แต่พอถาม ณ ตอนนี้เลย เราจะไปออกกำลังกาย หรือ อยากกินขนมหวาน เราก็บอกว่าเหนื่อยแล้วอะ อยากกินขนมหวานดีกว่า
ดังนั้นเราจะต้องควบคุมตัวเอง และให้ reward พยายามหารางวัลมาให้ได้ เช่น คนลดนํ้าหนักก็จะมี cheat day เป็นกลไกการให้รางวัล ทำให้ loop ของนิสัยของเราดีขึ้น
และทำสิ่งเป็นเป้าหมายไกลๆ ให้มาใกล้ๆ เพื่อให้ทำได้ง่ายขึ้น เช่น ปีนี้จะต้องมีเงินเก็บ 100,000 บาท เราก็จะซอยย่อยๆว่าแต่ละเดือนควรเก็บได้เท่าไหร่
หรือจะเน้นที่ความถี่ ก็คือ ตั้งเป้าหมายที่ง่ายๆ และเล็กๆ ไว้ก่อน ค่อยเพิ่มระดับ เช่น ตอนแรกอาจจะวิ่งแค่โลสองโลก่อน สองกิโลกรัมหรอ เปล่าสองกิโลเมตร แล้วอาจจะเพิ่มเป็น 5 เป็น 10 จนมาราธอนเลยก็ได้นะ
(3) ทำครั้งเดียว เรื่องงาน
อาจจะนึกยากนิดนึง ตัวอย่าง เช่น ลาออก ทำธุรกิจใหม่ และมีความกลัวว่ามันจะ work ไหมนะ
case study : lab grown หรือเนื้อวัวเทียม คนจะอคติประมาณว่า เฮ้ยมันจะกินได้หรอ มันเหมือนเนื้อวัวจริงหรือเปล่าเนี่ย จะมีความแหยงๆหน่อย คนก็ไม่กล้ากิน จนเขาทดสอบแบบ blind test เอาเนื้อ lab grown กับเนื้อวัวจริงมาให้ลอง พบว่า รสชาติไม่ต่างกัน แล้วคนแยกไม่ออกด้วย ดังนั้นจึงสามารถเอาไปออกขายได้ ซึ่งช่วงแรกคนก็ไม่ชิน เขาเลยเอาสองตัวนี้มาผสมกันเพื่อให้ผู้บริโภคปรับตัวได้
ปล. ไม่เกี่ยวกับในไลฟ์นี้ นึกถึงเคส lab grown เนื้อคนเฉย อันนั้นใครจะกล้ากินหน่ะนั่น
ดังนั้นทางแก้ก็ครือออออ เอามา blend รวมกัน ช่วยให้ลดความกลัวได้ และกล้าทำมากขึ้น เช่นอยากเปลี่ยนสายงาน อาจจะไปลงเรียนที่ Skooldio วันเสาร์อาทิตย์ได้งี้ เพื่ออัพสกิลงี้ แล้วก็ได้ลองสายงานใหม่ระหว่างเรียนด้วยเง้
ซึ่งก็มีคนนึง เปลี่ยนสายงานจาก Graphic Designer เป็น UI Designer ลองอ่านต่อข้างล่างดูได้จ้า
(4) habit กับเรื่องงาน
เป้าหมายอาจจะเช่น ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือดูแลพูดคุยกับลูกน้องบ่อยๆ แต่พอถึงเวลาที่งานมันถาถมใส่เรา ก็อาจจะทำไม่ได้จริง
สาเหตุส่วนนึงมาจากการโดน distraction จาก technology เช่น เราจะแก้บัคภายใน 1 ชั่วโมงนี้ แต่เจอ notification จากแอพต่างๆ เราถูก distract จากตรงนั้น ทำให้เราทำงานไม่เสร็จสักที เพราะต้องการสมาธิและเวลา โดยหลังจากถูก distract ก็จะต้องจูนใหม่แล้วจึงทำงานต่อ ทำให้เราทำงานได้ไม่ต่อเนื่องด้วย
ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ใน 1 ชั่วโมงนั้น สมมุติว่าถูก distract บ่อยๆ จะกลายเป็นว่าเวลา 1 ชั่วโมง จะถูกซอยย่อยบ่อยเกินไป เรียกว่า time conflective ซึ่งหนังสือที่ชื่อว่า Time Smart ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้แล้ว สามารถไปฟัง podcast ข้างล่างนี้ได้เลยจ้า
ทางแก้ก็คือ ทำ pomodoro technique เราจะ set เวลาว่าเราจะพักทุกกี่นาที มักจะใช้กันว่าพักทุก 25 นาที ทำให้เรารู้จักแบ่งเวลา ไม่จำเป็นต้องรีบตอบข้อความทันทีที่ได้รับ notification มา และเราจะได้ใช้เวลาในการทำงานดีขึ้น
สรุป
- ตั้งเป้าหมายให้วัดผล
- เป้าหมายไกลๆ ให้ซอยย่อยมาใกล้ๆ
- มี motivation กับมัน มี tool ตัวนึงคือ www.stickk.com มาการตั้งเป้าหมายและหยอดเงินเข้าไป ถ้าทำไม่ได้ก็โดนยึดเงินไป
ทาง Skooldio สรุปให้ใน comment ไว้ว่าแบบนี้
อย่าตั้งเป้าให้ไกล ให้ปรับมาเป็นใกล้เห็นชัดๆ อย่าบอกว่าปีหน้าจะสุขภาพดีขึ้นไม่เอามันจับไม่ได้ บอกไปเลยว่าปีหน้าจะกินคลีนวันพฤหัส หยิบมาเป็นการกระทำใกล้ๆ เราจะได้จับต้องได้ เห็นแล้วทำได้เลย
เรามาเริ่มปณิธานใหม่ๆในปี 2021 นี้กันเถอะ
ปล. คนแชร์ไลฟ์เมื่อวานนี้มีลุ้นเสื้อยืดสีแดงของ Skooldio ที่คุณหน่อนใส่ด้วยน้าาา ซึ่งเรามีล้าว 1 ตัวด้วยกัน จริงๆอยากได้กล่องนั้นอ่ะ ที่เป็น skill box สักอย่าง ฮือออออ
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
และช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า