AMA ถามได้ทุกสิ่งกับพี่ต้า แห่ง Skooldio
เป็น session อาม่า ที่เรากำหนดทิศทางเนื้อหาในการตอบของพี่ต้า แห่ง Skooldio ทางเราเลยจดสรุปไว้หน่อย เผื่อเป็นประโยชน์เนอะ
จริงๆทำสรุปเป็นรูป ที่จดไว้ใน Notability แล้ว แปะลง Twitter ไว้
ซื้อ Notability เพื่อจดโน้ต AMA พี่ต้า ในวันนี้ เอ๊ะ .....
— แอดมินเพจ mikkipastel (@mikkipastel) August 23, 2021
.
อันนี้สรุป "AMA ถามได้ทุกสิ่ง กับพี่ต้า วิโรจน์" ในกลุ่ม Skooldio Tutorials Thailand เดี๋ยวค่อยเอามาส่วนมาทำ content สวยๆต่อจ้า pic.twitter.com/a1D15La6dX
.
แล้วเราก็ทำให้มันอ่านง่ายขึ้น แบบไม่เรียงลำดับคำถาม พร้อมกราฟฟิคสวยงามเนอะ จะเป็นยังไง ไปอ่านกันเลย
คำถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
- ตั้งเวลานอนวันละ 6 ชั่วโมงโดยประมาณ และพยายามทำให้ได้ มีความสามารถอยู่ได้โดยไม่นอน และวันผ่านมาก็สลบไป อันนี้ก็อย่าเอาเป็นตัวอย่าง ถึงแม้ programmer จะเป็นกันบ่อยก็ตาม เพราะกลางคืนมันเงียบ เลยทำงานได้ flow ขึ้น
- คนมีลูกอ่อนจะไม่สามารถนอนเยอะได้ อาการจะคล้ายๆ jetlack บ้าง แต่ดีขึ้นแล้ว
- ในเวลากลางวันถ้าไม่ติดอะไรจะตอบน้องๆ เพื่อไม่ให้น้องรอนาน
- ในชีวิตประจำวันจะไม่ได้ใช้ data อะไรขนาดนั้น อย่างตอนที่ออกในเพจ Mao-invertor จริงๆคือดึงข้อมูลหุ้นที่น่าสนใจขึ้นมาดูแบบคร่าวๆเอง และไม่ได้เก็บ data กับทุกอย่างในชีวิต
- ซื้อ gadget สำหรับเลี้ยงลูก เช่นเครื่องวัดออกซิเจน ดูได้ว่าลูกนอนเป็นยังไง หรือติดผ้าอ้อมว่าฉี่หรืออึกี่รอบต่อวัน
- หลายๆอย่างมีความ geek เช่นพวก Web scraping อันนี้ทำเอามันส์
คำถามเกี่ยวกับ Skooldio
- พี่ต้าอยากได้คนที่มีทัศนคติดีเข้ามาร่วมทีมใน Skooldio ซึ่งสำคัญกว่า skill set วัฒนธรรมองค์กร คือให้คนอยากตื่นมาทำงานทุกวัน ทำให้การทำงานสนุกขึ้น และมีคนย้ายสายมาทำงานที่นี่เยอะมาก เพราะค่อนข้าง open ในเรื่องของ skill และต้องแสดงให้เห็นว่าเราอยากทำสิ่งนี้ เช่นไปเรียนมา ลองทำอะไรสักอย่าง มีพอร์ตให้ดู
- เรื่องคนกับงานเป็นเรื่องของ fit ซึ่งมันไม่ fit ตลอดไป แล้วแต่จังหวะและโอกาส เน้นเรื่องการเรียนรู้ เอาคนเก่งๆเข้ามาเพื่อให้ทุกคนมี challenge การทำงานให้ทุกคนอยากเก่งขึ้น และทำงานสนุก ถ้าเราเบื่อ ยังไม่ต้องย้ายงาน อาจะค่อยๆหาจุดที่เราทำแล้วสนุก แล้วไปคุยกับหัวหน้า คนที่ออกอาจจะที่ทุกคนเก่งกว่าเขา แล้วเก่งตามไม่ทัน
- เวลาสัมภาษณ์งานพี่ต้าชวน candidates ชวนคุยเรื่องทั่วไป เพื่อดูวิธีการคิด วิธีการตอบ ทัศนคติ + technical skill ในแต่ละสายงาน และเน้น diversity ความหลากหลายของคนในองค์กร ซึ่งมีวิธีคิดต่างกัน แรกเริ่มเดิมทีตอนก่อตั้งบริษัทแรกๆมีคนที่จบจากจุฬาเป็นประชากรหลักในองค์กร ตอนนี้ก็คือกระจายๆกันแล้ว
- TikTok ตอนแรกทีมจะทำ แต่พี่ต้าไม่เก็ทเลยไม่ได้ทำ (เพราะภาพ TikTok แบบคนไม่ค่อยชอบอ่ะ แบบต้องเต้นอะไรงี้) แต่ทีมก็ทำจนคน follow เป็นแสนใน 1 เดือน ส่วนตัวเราเห็นทาง TikTok ก็ดัน content แบบ tutorial หรือ education อยู่แล้วแหละ แล้วใน TikTok เป็น video สั้นๆ ปกติคลิปที่โปรโมตคอร์สหรือสอนอะไรสักอย่างจะต้องเตรียม production ต่างๆ แต่คลิป TikTok คือทำง่ายๆผ่านมือถือเลย
- ส่วนพี่ต้าจะโผล่มาใน TikTok ไหม ก็อาจจะมี ให้ติดตามกันต่อไป แต่ถ้าเต้น พี่ต้าคงไม่เต้นนะทุกคน
คำถามเกี่ยวกับการทำงาน
- เทคนิคในการทำงานให้ productive ของพี่ต้า คือ work hard, play hard อย่าพยายามบิ้วให้ตัวเองทำงานในตอนที่ตัวเองสมาธิไม่ดี ถ้าโดน interrupt มันจะยังไม่จบเสียที และหาท่า flow ให้อยู่ในการทำงานให้ได้
- เรื่องทีมมีอาการเนือยๆ ก่อนอื่นเราต้องยอมรับสภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง มี empathy กับลูกน้อง
- keep people benefit of the doubt อย่าถามว่าทำไมไม่ได้เป้า หรือ ให้ไปคุย ไปถามว่ามีอะไรให้ช่วยไหม อาจจะชวนเม้ามอย
- ให้ drive ทีมด้วยตัวเลขที่วัดได้ มันจะสนุกขึ้น เช่น ทีมขายคอร์ส วันนี้ขายได้เท่าไหร่แล้ว วันนี้โพสอะไรไปบ้าง มี engagement ยังไง และเก็บ analytics หลังบ้านละเอียดว่าคนเข้ามาจากไหน
- การใช้ shorten url ของ intern คนนั้นๆ ว่าฝึกงานที่นี่ เราทำ content กี่ชิ้น สร้างรายได้ให้องค์กรเท่าไหร่ สามารถใส่ลงไปใน resume ได้
- หลักการการให้ feedback พยายาม set tone ให้ feedback แบบตรงมากกกกก ว่างานคืองาน พยายามถามคำถามกลับว่าทำไมถึงทำแบบนี้ แบบชวนคุย ให้เขาคิดได้เอง บางคนต้องการ guide หรือเด็กจบใหม่อาจจะเน้นให้ทำไปก่อน อาจจะชวนตั้งคำถามเพื่อให้เขาชินกับเราก่อน
- วิธี coaching ที่ดี รับฟังเยอะๆ take time กับมัน
- ให้ space น้องๆ และให้ assign งานน้อง 120% เพื่อดูว่าเขาจัดการตัวเอง จัดลำดับความสำคัญเป็นอย่างไร (ปกติ 70-80%) เพื่อให้น้องมีงานทำตลอด บางทีอาจจะค่อยๆปรับไป
- ด้วยความที่วิธีเลือกคนของทาง Skooldio จะไม่เจอคนแบบไม่ Coachable (แบบว่าไม่ค่อยเปิดรับการโค้ช กำแพงสูง) แต่ถ้าเจอจริงๆ คุยตรงๆว่าทำอันไหนได้ดีไม่ดี และให้เขาทำอันนี้ให้ดีขึ้น ถ้าเขาไม่พยายามก็ปล่อยไป แต่ก่อนจะมาตรงนี้ ต้องมอบงานคนที่ถูกงานก่อน และช่วยเขาเต็มที่หรือยัง ถ้าปั้นไม่ขึ้นจริงๆก็ลาก่อน ซึ่งการเอาคนออกในยุคนี้คือปกติ อย่าง Netfilx คนที่เป็น 10% bottom จะถูกให้ออก และรับคนใหม่ที่เก่งๆเข้ามาแทนที่ และถ้าไม่ fit ทั้งคนและบริษัท เราจะเดือดร้อนกัน ดังนั้นเราดูแลเขาให้ดีที่สุดเพื่อ keep relationship ไว้
คำถามเกี่ยวกับงานสอน
- มีการรับงานสองสามเดือนล่วงหน้า และมี topic ในหัว มีอะไรที่ต้องพูดบ้าง? สอนเรื่องอะไร? มีเนื้อหาข้างในอะไรบ้าง? กันเวลาขึ้นโครงว่าจะพูดอะไรบ้างถ้าเรานึกออก แล้วก็ปล่อยไหลไป, สะสม reference ที่เจอเก็บไว้ ทำให้เรามี reference ในการเล่ามากขึ้นก่อนที่จะถึงวันจริง แล้วทำสไลด์
- ให้คนที่นั่งฟังเข้าใจเรา ไม่ต้องเน้นสวยงาม ต้องเตรียมให้ดี ไม่ทำให้คนอื่นเสียเวลา เช่นพูด 15 นาที คนฟัง 500 คน ก็เอาไปคุณว่าเวลาทั้งหมดที่เขามาฟังเราเป็นเท่าไหร่ ซึ่ง talk 15 นาที เตรียมยากกว่าชั่วโมงนึง
- รับงาน talk ที่เราถนัด คือไม่ได้รับทุกงานที่เชิญ บางงานอาจจะไม่ match เช่นพูดเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ก็จะไม่รับ และเมื่อรับงานแล้ว จะต้องทำความเข้าใจคนฟังให้มากที่สุด หรือปัญหาที่องค์กรเจอ
- มี master desk หรือสไลด์มาตรฐาน ทำให้เตรียมพูดได้ในคืนเดียว และเพิ่ม story หรือ case ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา
- พยายาม work around ข้อจำกัด ถ้าเราพยายามเล่นกับข้อจำกัดเราจะมีอะไรให้ทำเยอะ เช่น background ไม่ตรงกัน ทำให้มีปัญหาได้ อาจจะคุยกับจัดงาน จัดกลุ่ม background คนฟัง จริงๆปฏิเสธไปหลายที่ เพราะดูแล customer success ให้ทุกคนเก่งขึ้น ถ้าคุยกับลูกค้าแล้วยังไม่ตรงจริงๆจะไม่รับ และแนะนำคู่แข่งของเราที่ตรงกว่าให้เขา
- ตัดเนื้อหาออกบ้าง ไม่สอนทั้งหมดที่อยากสอน ลดเนื้อหาไม่ให้ยากจนเกินไป ให้คนที่ไม่มีพื้นฐานฟังรู้เรื่อง และได้ take away กลับไป ส่วนคนเก่งๆก็จะมี session Q & A เพื่อตอบเขา
- สื่อสารในหน้าขายให้ชัดที่สุด ในใบสมัครคนสอนจะมีให้ตอบว่า คอร์สนี้ ไม่เหมาะกับใคร ทำให้ทางทีมขายสามารถขายคอร์สได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ไม่ขายหว่านไปเรื่อยๆ
อื่นๆ
รบกวนถามพี่ต้า สมมติเราทำ Time series Prediction model ตัวนึงค่ะ แล้ว performance หรือ accuracy ต่างๆใช้ได้เลย แต่มันก็ไม่ได้หมายถึงว่า model เราจะทำได้ดีแบบนี้เสมอในปีหรือเดือนหน้า ทีนี้เราจะคุยกับทาง business ยังไงว่า model มัน good enough เฟรมวีธีการพรีเซ้นท์ยังไงดีคะ"
คุยกับ business ว่า model มีความผิดพลาดอย่างไร แสดงให้ดูเรื่อง performance กับรันจริงๆ เล่าเรื่องหลักการเกี่ยวกับ pattern ในอดีต ถ้าเปลี่ยนก็ต้องมีการ update model และ latency อยู่ที่ level ไหน ทำนายพลาดเรื่องอะไรบ้าง เราจะต้อง monitor ตลอดเวลา และแยก forecast กับ goal ออกไป
ทำไมพี่ต้าถึงตัดสินใจออกจากเฟสบุคมาทำ skooldio ที่ไทยคะ
เนื่องจากพี่จ้าบอกว่าเล่าไปหลายๆที่เลยเล่าสรุป เราเลยสรุปมาอีกที ก็คือมีช่วงนึงที่คุณต้ากลับมาไทยแบบหยุดยาวๆช่วงปีใหม่ของปีนึง แล้วก็มีคนเชิญพี่ต้ามาพูดที่งานนึง ซึ่งคนสนใจเยอะมาก แบบนั่งกันเต็มเลย ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้พี่ต้ารู้สึกว่าที่ไทยคนสนใจเรื่อง Data Scientist กันมาก และยังมีคนในสายงานนี้ไม่เยอะ
พอพี่ต้ามาคิดๆแล้ว ที่เมกาคือ Data Scientist ขาดเราไปคนนึงที่นั่นก็หาใหม่ได้ และคิดว่ากลับมาไทยมาสร้าง impact ในเรื่องนี้ ซึ่งข้อดีก็คือได้เจอเพื่อน ได้อยู่กับครอบครัว
ซึ่งการตัดสินใจอะไรบางอย่างนั้น เราจะต้อง trade-off ว่าเลือกอันไหน จะได้อะไรหรือเสียอะไรเนอะ
เรียนจบมา ทำงานบริษัทใหญ่ๆก่อน หรือเริ่มทำ Start up ดีครับ
อันนี้ไม่มีถูกผิด การฝึกงานปีสามและจบงานทำงานเลยอาจจะน้อยไป อาจจะไปฝึกงานทุกปีที่ปิดเทอม เช่น เริ่มตั้งแต่ปิดเทอมปี 1 2 3 ลองฝึกงานให้ครบทุก style (บริษัทเล็ก กลาง ใหญ่ หรือหลากหลายสายงานก็ได้) เพื่อให้รู้ว่าชอบและไม่ชอบงานอะไร
- startup : เป็ด + grit ความอดทน
- บริษัทใหญ่ ไม่ไล่คนออก สวัสดิการดี อยู่จนเกษียณ มีระบบ back-office ที่แข็งแรง
ถ้าจบมาอยากเป็นพนักงานบริษัท startup ให้ทำบริษัทใหญ่ๆเพื่อให้เห็นระบบก่อน เพื่อเราเห็นภาพการทำงานได้ชัดเจน จะได้ไม่มั่ว
แต่ถ้าอยากตั้ง startup เอง หา advisor ที่ดี เพื่อพาเราไปถูกทางได้
สุดท้าย ฝากกลุ่ม Skooldio Tutorials ที่ไลฟ์อาม่า session นี้ เป็นกลุ่มที่แชร์ความรู้ เพื่อให้เราเก่งขึ้นในช่วงโควิดนี้นะ
สามารถ support ค่ากาแฟเจ้าของบล็อกได้ที่ปุ่มแดงส้มสุดน่ารักที่มุมซ้ายล่าง หรือกดปุ่มตรงนี้ก็ได้จ้า
กด follow Twitter เพื่อได้รับข่าวสารก่อนใคร เช่น สปอย content ใหม่ หรือสรุป content เร็วๆในนี้จ้า
ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่
download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่