Android Developer ทำแอพให้รองรับ Accessibility ได้อย่างไรบ้าง?
การทำแอพรองรับ Accessibility สำหรับผู้ใช้งานทุกคน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก การออกแบบให้ทุกคนใช้งานได้ ทำให้ UX แอพเราดีขึ้นด้วยนะ
แล้ว Accessibility คืออะไร? แล้วเราทำแอพรองรับสิ่งนี้ได้อย่างไร? ไปดูกัน
Accessibility คืออะไร?
Accessibility คือการออกแบบหรือพัฒนา product ต่าง ๆ ให้ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตา การเคลื่อนไหว
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ
- เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้แอพของเราได้
- ขยายฐานผู้ใช้งาน ทำให้ได้ผู้ใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ว่าแอพเราใส่ใจคนทุกกลุ่ม
เกี่ยวกับ Web Accessibility สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย
แล้วเราทำแอพรองรับ Accessibility ได้อย่างไร?
- text: คำนึงถึง contrast ratio ให้อ่านได้ง่าย
- ถ้า font size น้อยกว่า 18sp หรือ เป็นตัวหนา และ font size น้อยกว่า 14dp ให้ใช้ contrast ratio อย่างน้อย 4.5:1
- นอกนั้นใช้ contrast ratio อย่างน้อย 3:1
- button: ขนาดอย่างน้อย 48 x 48 เพื่อให้กดง่าย
- กำหนด
contentDescription
บน image และ button เพื่อรองรับ feature screen reader ของ Android สำหรับ TextView ไม่ต้องใส่ เพราะมี accessibility server อยู่แล้ว และเราไม่ควรใช้ contentDescription ซํ้ากัน - อันที่ไม่จำเป็นต้อง label ให้ใส่
android:importantForAccessibility="no"
Tool ที่ใช้ในการทดสอบ Accessibility ของแอพของเรา
Accessibility Scanner:
เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์แอป Android และระบุปัญหา Accessibility
สามารถ download ได้ผ่าน Google Play สำหรับฝั่ง user
และฝั่ง developer สามารถใช้ Android Accessibility Test Framework บน Android Studio ได้
TalkBack:
เครื่องมืออ่านหน้าจอที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีปัญหาทางการมองเห็นสามารถใช้งานอุปกรณ์ Android ได้
Android Studio:
เราสามารถ check contentDescription
จาก layout inspector เพื่อดูว่าเราใส่อันที่จำเป็นไปครบหรือยังนะ
Reference
ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า
ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ